Skip to main content

วันแม่นำความกระอักกระอ่วนใจมาให้ผมตั้งแต่ยังเด็ก เพราะแม่ในเพลง "ค่าน้ำนม" ที่เด็กในกรุงเทพฯ รุ่นผมถูกให้หัดร้องตามจนแทบจะจำเนื้อได้ทั้งเพลงมาตั้งแต่จำความได้ ไม่ตรงกับแม่ในชีวิตจริงของผมไม่ใช่ว่าผมไม่มีแม่หรอก ไม่ใช่ว่าแม่ผมไม่ดีหรอก ไม่ใช่ว่าผมโตมาโดยไม่ได้ถูกเลี้ยงโดยแม่หรอก ผมมีพ่อมีแม่และโตมากับครอบครัวที่พ่อ-แม่-ลูกอยู่ด้วยกันมาตลอดนี่แหละ แต่แม่ในอุดมคติน่ะดูดีเกินกว่าที่ลูกอย่างผมและอาจจะลูกอีกหลายๆ คนเห็นเป็นความขาดแคลนของตนเอง แต่ที่จริงแม่ในอุดมคติอาจเป็นความฟุ่มเฟือยของชีวิตจริงก็ได้

แน่นอนไม่มีใครรู้ว่าตอนยังแบเบาะเคยกินนมแม่ตัวเองหรือเปล่า แต่แม่ผมไม่ได้ให้นมลูกแน่นอน เพราะผมจำได้ว่าน้องชายผมที่อายุน้อยกว่าผม 4 ปี ไม่ได้กินนมแม่อย่างแน่นอน ยิ่งกว่านั้น แม่ผมยืนยันว่าไม่ได้ให้ลูกกินนมตัวเอง เธออธิบายว่า “แม่มีนมไม่พอ” จะจริงไม่จริงอย่างไรก็ตาม ผมจึงรู้สึกถึงความเป็นลูกต่ำมาตรฐานที่ไม่ได้กินนมแม่มาตลอด

ชีวิตคนปัจจุบันมีมากมายที่แม่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเขา ยิ่งในสังคมครอบครัวขยาย คนทั้งก่อนและก้ำกึ่งกับยุคสมัยใหม่ย่อมรู้ดีว่า ครอบครัวแบบ "พ่อ-แม่-ลูก" น่ะ มันแสนจะเป็นความโรแมนติก (แปลว่า เป็นความฝันหวานแหวว) ของคนชั้นกลางในเมือง

แม่ผมโตขึ้นมาในสังคมกลางเก่ากลางใหม่ ยายผมเล่าว่าเธอเคยนั่งเรือจากบ้านแพน อยุธยา มาท่าเตียนเพื่อไปเที่ยวงานฉลองรัฐธรรมนูญที่ถนนราชดำเนิน ฉะนั้น จะว่ายายผมและแม่ผมอยู่ในยุคเก่าก็ไม่ถูกนัก แต่แม่ผมทั้งปฏิเสธความเป็นยุคเก่าของแม่เธอ (ยายผม) และก็ยังสานต่อความเป็นยุคเก่าคือภาวะครอบครัวขยาย

แม่ผมโตขึ้นมาในช่วงที่สามียาย คือตาผมซึ่งผมไม่เคยเจอ เสียชีวิตไปแล้วทิ้งลูก 7 คนไว้กับภรรยาเขาคือยายผม ลูกคนเล็กเด็กแฝดสองคนเสียชีวิตไปหนึ่ง (ที่จริงเขามีอีกคนที่เป็นแฝดและเสียชีวิตไปก่อนหน้าหนึ่งคน) เด็กทั้ง 6 คนโตขึ้นมาไม่ใช่ด้วยมือยายผมคนเดียว ยายผมฝากลูกไปอยู่กับญาติๆ สามคนรวมทั้งแม่ผมเคยไปอยู่วัดกับ "หลวงตา" คือพี่ชายตาผมที่บวชเป็นพระตั้งแต่เด็ก

การเป็นเด็กวัดของแม่ผมไม่น่าจะลำบากนักหรอก เพราะหลวงตาผมเป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุหริภุญชัยที่ลำพูน เรื่องราวหลวงตาผมน่าสนใจไปอีกแบบ เอาไว้หาโอกาสอื่นเล่า แต่เรื่องชีวิตแม่ผมคือ เธอเป็นเด็กวัดระดับหลานเจ้าคุณ จึงน่าจะมีชีวิตสะดวกสบายทีเดียว หลังจากนั้นเธอก็ย้ายไปอยู่กับญาติห่างๆ อีกคนที่กรุงเทพฯ แล้วพบกับพ่อผมที่มาเป็นเด็กวัดที่วัดราชา แต่เขาอยู่คนละฐานะกับแม่ผมที่ลำพูนแน่นอน

ถ้าใช้มาตรฐานเพลงค่าน้ำนมและจินตกรรมแม่ที่สร้างกันขึ้นมาทุกวันนี้ ครอบครัวแม่ผมล้มเหลวแน่นอน แต่เพราะเธอไม่ได้โตมากับการโหมประโคมโฆษณาความเป็นแม่แบบเดียวอย่างทุกวันนี้ อย่างที่รุ่นผมถูกกรอกใส่หัวมา แม่ผมก็เลยเลือกรับและปฏิเสธความเป็นแม่เธอได้อย่างที่เธอเองต้องการ

ผมเองโตมากับการที่แม่บอกว่าเธอไม่อยากเลี้ยงลูกแบบยายเลี้ยง คือเต็มไปด้วยความรุนแรง เต็มไปด้วยการด่าทอด้วยคำหยาบคาย ความรุนแรงของยายผมรับรู้มากระทั่งผมกับพี่สาวโตแล้วจนยายเลิกใช้ความรุนแรง ยายผมไม่ค่อยด่าว่าหรือตีหลานหรอก ที่จริงผมกับพี่สาว ซึ่งยายเลี้ยงมาตั้งแต่วัยแบเบาะ (เพราะอะไรเดี๋ยวค่อยเล่าต่อ) ถูกยายตามใจอย่างค่อนข้างมากทีเดียว แต่บางครั้งเวลาที่ยายลงโทษ ก็นึกได้ถึงคำแม่ที่มาบอกทีหลังว่า ทำไมเธอจึงไม่อยากเลี้ยงลูกแบบยายเลี้ยงเธอมา ความเป็นแม่แบบยายผม กับความเป็นแม่แบบแม่ผม จึงแตกต่างกันมากทีเดียว

แต่ด้วยความที่ยายเลี้ยงมาในวัยเด็กด้วย ผมก็เลยคิดว่ายายเป็นแม่อีกคนหนึ่งเสมอมา เมื่อพ่อกับแม่ผมตัดสินใจจะมาใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ เขาไม่มีเวลาและไม่มีที่อยู่อาศัยเพียงพอที่จะให้คนหลายคนมาอยู่ที่บ้านได้ ไม่มีเวลาเลี้ยงผมกับพี่สาวในช่วงโรงเรียนปิดเทอม แล้วสมัยก่อนก็ไม่มีที่รับฝากเลี้ยงเด็ก ถึงมี ก็ไม่มีสวัสดิการรัฐ ไม่มีเงินส่วนตัวพอจะจ่ายให้ใครดูแลเด็กเล็ก

ในช่วงวัยเด็กตั้งแต่ก่อนจำความได้ ผมกับพี่สาวจึงถูกยายเลี้ยงดูมาในเขตชนบทของอำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อโตถึงวัยเข้าโรงเรียนแล้ว พ่อกับแม่ก็ย้ายผมกับพี่มาอยู่กรุงเทพฯ แต่เมื่อไหร่ปิดเทอมใหญ่ ก็จะส่งผมกับพี่ไปอยู่กับยาย ไม่ก็ไปอยู่กับย่าและป้าๆ ลุงๆ พี่ๆ ลูกป้าๆ ลุงๆ ที่ริมทะเลบ้านหน้าสตน หัวไทร นครศรีธรรมราช ความที่อยู่กับยายมาตั้งแต่แบเบาะ ตั้งแต่คลานมุดผ้าถุงยายบ้าง น้าๆ บ้าง ก็จึงคิดว่ายายเป็นแม่อีกคนหนึ่ง แล้วก็โตมากับนมผง นมกระป๋อง รู้จักแต่ค่าน้ำนมวัว

เด็กอย่างผมไม่ได้มีความยุ่งยากกับการเผชิญหน้ากับจินตกรรมแม่มากเท่ากับเด็กอีกหลายๆ ที่เติบโตขึ้นมาในครอบครัวที่ไม่มีแม่ ไม่ว่าจะด้วยเหตุอะไรก็แล้วแต่ แล้วแม่ที่แม่ผมโตมาด้วย กับแม่ของแม่ที่ผมรู้จักก็ต่างกัน ส่วนแม่ผมก็ไม่เป็นแม่แบบยายแน่นอน แต่ความเป็นแม่ที่คับแคบของจินตกรรมแม่ก็คงจะกีดกันความเป็นแม่และครอบครัวที่ไม่ได้ต้องมีแม่ได้เสมอไปหรอก

เมื่อใดที่วันแม่เลิกมีไว้เพื่อลำเลิกบุญคุณอย่างหยาบโลนเพียงเพื่อโยงไปกับแม่อุดมคติบางคนที่ก็อาจจะล้มเหลวในการเป็นแม่ในชีวิตจริงเท่านั้น ลูกจำนวนมากคงนึกสบายใจขึ้นที่จะร่วมระลึกถึงความรักความผูกพัน ความเสียสละ ความเอาใจใส่ดูแล ของคนที่ทำหน้าที่เลี้ยงดูเรามาในวัยเด็กจนแม้กระทั่งเราเติบโตเป็นผู้ใหญ่แล้วก็ตาม

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้เป็นวันระลึก "เหตุการณ์ 28 กุมภาพันธ์" 1947 หรือเรียกกันว่า "228 Incident" เหตุสังหารหมู่ประชาชนทั่วประเทศไต้หวัน โดยรัฐบาลที่เจียงไคเชกบังคับบัญชาในฐานะผู้นำก๊กมินตั๋งในจีนแผ่นดินใหญ่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
มีเพื่อนขอให้ผมช่วยแนะนำร้านอาหารในฮานอยให้ แต่เห็นว่าเขาจะไปช่วงสั้นๆ ก็เลยแนะนำไปไม่กี่แห่ง ส่วนร้านเฝอ ขอแยกแนะนำต่างหาก เพราะร้านอร่อยๆ มีมากมาย เอาเฉพาะที่ผมคุ้นๆ แค่ 2-3 วันน่ะก็เสียเวลาตระเวนกินจนไม่ต้องไปกินอย่างอื่นแล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
มีวันหนึ่ง อาจารย์อคินเดินคุยอยู่กับอาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่ง ผมเดินตามทั้งสองท่านมาข้างหลังอย่างที่ทั้งสองท่านรู้ตัวดี ตอนนั้นผมกำลังเรียนปริญญาเอกที่อเมริกา หรือไม่ก็เรียนจบกลับมาแล้วนี่แหละ อาจารย์อคินไม่รู้จักผม หรือรู้จักแต่ชื่อแต่ไม่เคยเห็นหน้า หรือไม่ก็จำหน้าไม่ได้ ผมแอบได้ยินอาจารย์อคินเปรยกับอาจารย์อีกท่านว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คืนวาน วันฮาโลวีน นักศึกษาชวนผมไปพูดเรื่องผี ปกติผมไม่อยู่รังสิตจนมืดค่ำ แต่ก็มักใจอ่อนหากนักศึกษาชวนให้ร่วมเสวนา พวกเขาจัดงานกึ่งรื่นเริงกึ่งเรียนรู้ (น่าจะเรียกว่าเริงรู้ หรือรื่นเรียนก็คงได้) ในคืนวันผีฝรั่ง ในที่ซึ่งเหมาะแก่การจัดคือพิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยา เพราะมีของเก่าเยอะ ก็ต้องมีผีแน่นอน ผมก็เลยคิดว่าน่าสนุกเหมือนกัน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ถึงกับต่อต้านกิจกรรมเชียร์อย่างรุนแรง เพราะคนสำคัญใกล้ตัวผมก็เป็นอดีตเชียร์ลีดเดอร์งานบอลประเพณีฯ ด้วยคนหนึ่ง และเพราะอย่างนั้น ผมจึงพบด้วยตนเองจากคนใกล้ตัวว่า คนคนหนึ่งกับช่วงชีวิตช่วงหนึ่งของมหาวิทยาลัยมันเป็นเพียงแค่ส่วนเสี้ยวหนึ่งของพัฒนาการของแต่ละคน แต่ก็ยังอยากบ่นเรื่องการเชียร์อยู่ดี เพราะความเข้มข้นของกิจกรรมในปัจจุบันแตกต่างอย่างยิ่งจากในสมัยของผม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเพิ่งไปเก็บข้อมูลวิจัยเรื่องการรู้หนังสือแบบดั้งเดิมของ "ลาวโซ่ง" ในไทยที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ได้ราว 2 วัน ได้ข้อมูลมากมายเกี่ยวกับประเด็นที่สนใจ แต่ก็ได้อย่างอื่นมาด้วยไม่น้อยเช่นกัน เรื่องหนึ่งคือความรู้เกี่ยวกับปลา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันก่อนปฐมนิเทศนักศึกษาปริญญาโท-เอกของคณะ ในฐานะคนดูแลหลักสูตรบัณฑิตศึกษาทางมานุษยวิทยา ผมเตรียมหัวข้อมาพูดให้นักศึกษาฟัง 4 หัวข้อใหญ่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ชื่อโมเฮน-โจ-ดาโรแปลตามภาษาซินธ์ (Sindh) ว่า "เนิน (ดาโร) แห่ง (โจ) ความตาย (โมเฮน)" เหตุใดจึงมีชื่อนี้ ผมก็ยังไม่ได้สอบถามค้นคว้าจริงจัง แต่ชื่อนี้ติดหูผมมาตั้งแต่เรียนปริญญาเอกอยู่ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน และเพราะโมเฮนโจดาโรและเมืองคู่แฝดที่ห่างไกลออกไปถึง 600 กิโลเมตรชื่อ "ฮารัปปา" นี่แหละที่ทำให้ผมชอบวิชาโบราณคดีและทำให้อยากมาปากีสถาน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ก่อนมา รู้อยู่แล้วว่าปากีสถานช่วงเดือนนี้คือเดือนที่ร้อนมาก และก็เพิ่งรู้ว่าเดือนนี้แหละที่ร้อนที่สุด แต่ที่ทำให้ “ใจชื้น” (แปลกนะ เรามีคำนี้ที่แปลว่าสบายใจ โดยเปรียบกับอากาศ แต่ที่ปากีสถาาน เขาคงไม่มีคำแบบนี้) คือ ความร้อนที่นี่เป็นร้อนแห้ง ไม่ชื้น และจึงน่าจะทนได้มากกว่า 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ครึ่งวันที่ผมมีประสบการณ์ตรงในกระบวนการยุติธรรมไทย บอกอะไรเกี่ยวกับสังคมไทยมากมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมลองเอากรณีทุบรถกับทุบลิฟมาเปรียบเทียบกัน แล้วก็เห็นความแตกต่างกันมากหลายมุม ได้เห็นความเหลื่อมล้ำของสังคมที่สนใจกรณีทั้งสองอย่างไม่สมดุลกัน แต่สุดท้ายมันบอกอะไรเรื่องเดียวกัน คือความบกพร่องของสถาบันจัดการความขัดแย้งของประเทศไทย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนรุ่นใหม่ครับ...