Skip to main content

วันแม่นำความกระอักกระอ่วนใจมาให้ผมตั้งแต่ยังเด็ก เพราะแม่ในเพลง "ค่าน้ำนม" ที่เด็กในกรุงเทพฯ รุ่นผมถูกให้หัดร้องตามจนแทบจะจำเนื้อได้ทั้งเพลงมาตั้งแต่จำความได้ ไม่ตรงกับแม่ในชีวิตจริงของผมไม่ใช่ว่าผมไม่มีแม่หรอก ไม่ใช่ว่าแม่ผมไม่ดีหรอก ไม่ใช่ว่าผมโตมาโดยไม่ได้ถูกเลี้ยงโดยแม่หรอก ผมมีพ่อมีแม่และโตมากับครอบครัวที่พ่อ-แม่-ลูกอยู่ด้วยกันมาตลอดนี่แหละ แต่แม่ในอุดมคติน่ะดูดีเกินกว่าที่ลูกอย่างผมและอาจจะลูกอีกหลายๆ คนเห็นเป็นความขาดแคลนของตนเอง แต่ที่จริงแม่ในอุดมคติอาจเป็นความฟุ่มเฟือยของชีวิตจริงก็ได้

แน่นอนไม่มีใครรู้ว่าตอนยังแบเบาะเคยกินนมแม่ตัวเองหรือเปล่า แต่แม่ผมไม่ได้ให้นมลูกแน่นอน เพราะผมจำได้ว่าน้องชายผมที่อายุน้อยกว่าผม 4 ปี ไม่ได้กินนมแม่อย่างแน่นอน ยิ่งกว่านั้น แม่ผมยืนยันว่าไม่ได้ให้ลูกกินนมตัวเอง เธออธิบายว่า “แม่มีนมไม่พอ” จะจริงไม่จริงอย่างไรก็ตาม ผมจึงรู้สึกถึงความเป็นลูกต่ำมาตรฐานที่ไม่ได้กินนมแม่มาตลอด

ชีวิตคนปัจจุบันมีมากมายที่แม่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเขา ยิ่งในสังคมครอบครัวขยาย คนทั้งก่อนและก้ำกึ่งกับยุคสมัยใหม่ย่อมรู้ดีว่า ครอบครัวแบบ "พ่อ-แม่-ลูก" น่ะ มันแสนจะเป็นความโรแมนติก (แปลว่า เป็นความฝันหวานแหวว) ของคนชั้นกลางในเมือง

แม่ผมโตขึ้นมาในสังคมกลางเก่ากลางใหม่ ยายผมเล่าว่าเธอเคยนั่งเรือจากบ้านแพน อยุธยา มาท่าเตียนเพื่อไปเที่ยวงานฉลองรัฐธรรมนูญที่ถนนราชดำเนิน ฉะนั้น จะว่ายายผมและแม่ผมอยู่ในยุคเก่าก็ไม่ถูกนัก แต่แม่ผมทั้งปฏิเสธความเป็นยุคเก่าของแม่เธอ (ยายผม) และก็ยังสานต่อความเป็นยุคเก่าคือภาวะครอบครัวขยาย

แม่ผมโตขึ้นมาในช่วงที่สามียาย คือตาผมซึ่งผมไม่เคยเจอ เสียชีวิตไปแล้วทิ้งลูก 7 คนไว้กับภรรยาเขาคือยายผม ลูกคนเล็กเด็กแฝดสองคนเสียชีวิตไปหนึ่ง (ที่จริงเขามีอีกคนที่เป็นแฝดและเสียชีวิตไปก่อนหน้าหนึ่งคน) เด็กทั้ง 6 คนโตขึ้นมาไม่ใช่ด้วยมือยายผมคนเดียว ยายผมฝากลูกไปอยู่กับญาติๆ สามคนรวมทั้งแม่ผมเคยไปอยู่วัดกับ "หลวงตา" คือพี่ชายตาผมที่บวชเป็นพระตั้งแต่เด็ก

การเป็นเด็กวัดของแม่ผมไม่น่าจะลำบากนักหรอก เพราะหลวงตาผมเป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุหริภุญชัยที่ลำพูน เรื่องราวหลวงตาผมน่าสนใจไปอีกแบบ เอาไว้หาโอกาสอื่นเล่า แต่เรื่องชีวิตแม่ผมคือ เธอเป็นเด็กวัดระดับหลานเจ้าคุณ จึงน่าจะมีชีวิตสะดวกสบายทีเดียว หลังจากนั้นเธอก็ย้ายไปอยู่กับญาติห่างๆ อีกคนที่กรุงเทพฯ แล้วพบกับพ่อผมที่มาเป็นเด็กวัดที่วัดราชา แต่เขาอยู่คนละฐานะกับแม่ผมที่ลำพูนแน่นอน

ถ้าใช้มาตรฐานเพลงค่าน้ำนมและจินตกรรมแม่ที่สร้างกันขึ้นมาทุกวันนี้ ครอบครัวแม่ผมล้มเหลวแน่นอน แต่เพราะเธอไม่ได้โตมากับการโหมประโคมโฆษณาความเป็นแม่แบบเดียวอย่างทุกวันนี้ อย่างที่รุ่นผมถูกกรอกใส่หัวมา แม่ผมก็เลยเลือกรับและปฏิเสธความเป็นแม่เธอได้อย่างที่เธอเองต้องการ

ผมเองโตมากับการที่แม่บอกว่าเธอไม่อยากเลี้ยงลูกแบบยายเลี้ยง คือเต็มไปด้วยความรุนแรง เต็มไปด้วยการด่าทอด้วยคำหยาบคาย ความรุนแรงของยายผมรับรู้มากระทั่งผมกับพี่สาวโตแล้วจนยายเลิกใช้ความรุนแรง ยายผมไม่ค่อยด่าว่าหรือตีหลานหรอก ที่จริงผมกับพี่สาว ซึ่งยายเลี้ยงมาตั้งแต่วัยแบเบาะ (เพราะอะไรเดี๋ยวค่อยเล่าต่อ) ถูกยายตามใจอย่างค่อนข้างมากทีเดียว แต่บางครั้งเวลาที่ยายลงโทษ ก็นึกได้ถึงคำแม่ที่มาบอกทีหลังว่า ทำไมเธอจึงไม่อยากเลี้ยงลูกแบบยายเลี้ยงเธอมา ความเป็นแม่แบบยายผม กับความเป็นแม่แบบแม่ผม จึงแตกต่างกันมากทีเดียว

แต่ด้วยความที่ยายเลี้ยงมาในวัยเด็กด้วย ผมก็เลยคิดว่ายายเป็นแม่อีกคนหนึ่งเสมอมา เมื่อพ่อกับแม่ผมตัดสินใจจะมาใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ เขาไม่มีเวลาและไม่มีที่อยู่อาศัยเพียงพอที่จะให้คนหลายคนมาอยู่ที่บ้านได้ ไม่มีเวลาเลี้ยงผมกับพี่สาวในช่วงโรงเรียนปิดเทอม แล้วสมัยก่อนก็ไม่มีที่รับฝากเลี้ยงเด็ก ถึงมี ก็ไม่มีสวัสดิการรัฐ ไม่มีเงินส่วนตัวพอจะจ่ายให้ใครดูแลเด็กเล็ก

ในช่วงวัยเด็กตั้งแต่ก่อนจำความได้ ผมกับพี่สาวจึงถูกยายเลี้ยงดูมาในเขตชนบทของอำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อโตถึงวัยเข้าโรงเรียนแล้ว พ่อกับแม่ก็ย้ายผมกับพี่มาอยู่กรุงเทพฯ แต่เมื่อไหร่ปิดเทอมใหญ่ ก็จะส่งผมกับพี่ไปอยู่กับยาย ไม่ก็ไปอยู่กับย่าและป้าๆ ลุงๆ พี่ๆ ลูกป้าๆ ลุงๆ ที่ริมทะเลบ้านหน้าสตน หัวไทร นครศรีธรรมราช ความที่อยู่กับยายมาตั้งแต่แบเบาะ ตั้งแต่คลานมุดผ้าถุงยายบ้าง น้าๆ บ้าง ก็จึงคิดว่ายายเป็นแม่อีกคนหนึ่ง แล้วก็โตมากับนมผง นมกระป๋อง รู้จักแต่ค่าน้ำนมวัว

เด็กอย่างผมไม่ได้มีความยุ่งยากกับการเผชิญหน้ากับจินตกรรมแม่มากเท่ากับเด็กอีกหลายๆ ที่เติบโตขึ้นมาในครอบครัวที่ไม่มีแม่ ไม่ว่าจะด้วยเหตุอะไรก็แล้วแต่ แล้วแม่ที่แม่ผมโตมาด้วย กับแม่ของแม่ที่ผมรู้จักก็ต่างกัน ส่วนแม่ผมก็ไม่เป็นแม่แบบยายแน่นอน แต่ความเป็นแม่ที่คับแคบของจินตกรรมแม่ก็คงจะกีดกันความเป็นแม่และครอบครัวที่ไม่ได้ต้องมีแม่ได้เสมอไปหรอก

เมื่อใดที่วันแม่เลิกมีไว้เพื่อลำเลิกบุญคุณอย่างหยาบโลนเพียงเพื่อโยงไปกับแม่อุดมคติบางคนที่ก็อาจจะล้มเหลวในการเป็นแม่ในชีวิตจริงเท่านั้น ลูกจำนวนมากคงนึกสบายใจขึ้นที่จะร่วมระลึกถึงความรักความผูกพัน ความเสียสละ ความเอาใจใส่ดูแล ของคนที่ทำหน้าที่เลี้ยงดูเรามาในวัยเด็กจนแม้กระทั่งเราเติบโตเป็นผู้ใหญ่แล้วก็ตาม

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (24 ธันวาคม 2555) กสทช.เชิญให้ผมไปร่วมแสดงความเห็นในเวทีเสวนาสาธารณะ “1 ปี กสทช. กับความ (ไม่) สมหวังของสังคมไทย” ทีแรกผมไม่คิดว่าตนเองจะสามารถไปวิจารณ์อะไรกสทช.ได้ แต่ผู้จัดยืนยันว่าต้องการมุมมองแบบมานุษยวิทยา ผมจึงตกปากรับคำไป 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อโต้แย้งต่อความเห็นผมจากของเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ที่ลงในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1355920241&grpid=03&catid=&subcatid=) ย้ำให้เห็นชัดถึงความอับจนของกรอบคิดของคนกลุ่มนี้ต่อไปนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไม่เพียงแต่นักเขียนบางคนเท่านั้นที่อาจจะไม่เข้าใจหรือมองข้ามประเด็นความแตกต่างทางชาติพันธ์ุ แต่ผมคิดว่าแวดวงภาษาและวรรณกรรมบ้านเราอาจจะไม่ตระหนักถึงปัญหานี้โดยรวมเลยก็ได้ และในแง่หนึ่ง ผมคิดว่าซีไรต์เองอาจจะมีส่วนสร้างวัฒนธรรมไม่อ่อนไหวต่อความแตกต่างทางวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน และถึงที่สุดแล้ว นี่อาจจะกลายเป็นข้อจำกัดที่ปิดกั้นโอกาสที่วรรณกรรมไทยจะก้าวเข้าสู่ระดับสากล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะของนายแพทย์ที่เป็นตัวแทนของคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ แสดงให้เห็นถึงความคิดคับแคบของผู้มีอำนาจกลุ่มหนึ่ง ที่มักใช้อำนาจก้าวก่ายชีวิตผู้คน บนความไม่รู้ไม่เข้าใจไม่อยากรับผิดชอบต่อปัญหาเชิงโครงสร้างที่ละเอียดอ่อน และบนกรอบข้ออ้างเรื่องคุณธรรมความดีที่ยกตนเองเหนือคนอื่น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แทนที่จะเถียงกับอีกท่านหนึ่งที่วิจารณ์ผมต่อหน้ามากมายเมื่อวาน ผมขอใช้พลังงานเถียงกับข้อเสนอล่าสุดของอาจารย์ธีรยุทธ บุญมีจากข่าวในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354935625&grpid=01&catid=&subcatid=) ดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นึกไม่ถึงและนึกไม่ออกจริงๆ ว่า ทำไมคนเปิดร้านขายหนังสือในปลายศตวรรษที่ 20 - ต้น 21 จะมีความคิดแบบนี้ได้ นี่แสดงว่าเขาไม่ได้อ่านหนังสือที่เขาขายบ้างเลย หรือนี่แสดงว่าการอ่านหนังสือไม่ได้ช่วยจรรโลงจิตใจนายทุนบางคนขึ้นมาได้เลย*
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่ออ่านข่าวแอร์โฮสเตสที่เพิ่งถูกให้ออก ผมมีคำถามหลายข้อ ทั้งในมิติของโซเชียลมีเดีย hate speech และสิทธิแรงงาน อย่างไรก็ดี ขอเคลียร์ก่อนว่าหากใครทราบจุดยืนทางการเมืองของผม ย่อมเข้าใจดีว่าความเห็นต่อไปนี้ไม่ได้มาจากความเห็นทางการเมืองที่เอนเอียงไปในทางเดียวกับพนักงานสายการบินคนนี้แต่อย่างใด ข้อสังเกตคือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขณะกำลังนั่งกินหอยแครงลวกอยู่เวลานี้ ก็ชวนให้คิดถึงคำพูดของนักวิชาการกัมพูชาคนหนึ่ง ที่เคยนั่งต่อหน้าอาหารเกาหลีจานพิเศษ คือหนอนทะเลดิบตัดเป็นชิ้นๆ ขยับตัวดึบๆ ดึบๆ อยู่ในจานแม้จะถูกตั้งทิ้งไว้เป็นชั่วโมง ตอนนั้น ผมบ่ายเบี่ยงไม่กล้ากินอยู่นาน แม้จะรู้ว่าเป็นอาหารพิเศษราคาแพงที่ศาสตราจารย์ชาวเกาหลีสรรหามาเลี้ยงต้อนรับการมาเกาหลีครั้งแรกของพวกเราหลายคน เพื่อนกัมพูชาบอกว่า "กินเถอะพี่ หอยแครงลวกในเมืองไทยน่ากลัวกว่านี้อีก" ผมจึงหาเหตุที่จะหลบเลี่ยงอีกต่อไปไม่ได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมนั่งดูบันทึกรายการ The Voice Thailand (เดอะวอยซ์) เป็นประจำ แม้ว่าจะเห็นคล้อยตามคำนิยมของโค้ชทั้ง 4 อยู่บ่อยๆ แถมยังแอบติดตามความเห็นเปรี้ยวๆ ของนักเขียนบางคนที่ชอบเรียกตนเองสวนทางกับวัยเธอว่า "ป้า" ซึ่งหมดเงินกดโหวตมากมายให้นักร้องหนุ่มน้อยแนวลูกทุ่ง แต่ผมไม่ได้รับความบันเทิงจากเดอะวอยซ์เพียงจากเสียงเพลง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมพยายามถามตัวเองว่า การจะสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามที่นำโดย "เสธ.อ้าย" จะมาจากเหตุผลประการใดบ้าง แต่ผมก็ชักจะเริ่มไม่แน่ใจว่า เอาเข้าจริง คนที่เข้าร่วมชุมนุมกับเสธ.อ้ายจะมีเหตุผลหรือไม่ หรือหากมี พวกเขาจะใช้เหตุผลชุดไหนกันในการเข้าร่วมชุมนุม ยังไงก็ตาม อยากถามพวกคุณที่ไปชุมนุมว่า พวกคุณอยากให้ประเทศเป็นอย่างนี้จริงๆ หรือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (20 พฤศจิกายน 2555) นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชิญไปบรรยายในงานสัมมนา "การเมืองเรื่องคนธรรมดา" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ขอตัดส่วนหนึ่งของบทบรรยายของผมที่ใช้ชื่อว่า "การเมืองวัฒนธรรมดา: ความไม่ธรรมดาของสามัญชน" มาเผยแพร่ในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2555 นิสิตรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเชิญไปร่วมกิจกรรมจุฬาวิชาการ โดยให้ไปวิจารณ์บทความนิสิตปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ 4 ชิ้น 1) ว่าด้วยเบื้องหลังทางการเมืองของการก่อตั้งองค์การอาเซียน 2) ว่าด้วยบทบาทและการต่อรองระหว่างประเทศในอาเซียน 3) ว่าด้วยการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าของธุรกิจเอกชนไทยในคู่ค้าอาเซียน และ 4) ว่าด้วยนโยบายชนกลุ่มชาติพันธ์ุในพม่า ข้างล่างนี้คือบันทึกบทวิจารณ์