Skip to main content

จากเหตุการณ์เข้ามาคุกคามพื้นที่ทางวิชาการของคณะทหารในการประชุมไทยศึกษานานาชาติครั้งที่ 13 ที่เชียงใหม่ จนทำให้นักวิชาการที่มาร่วมประชุมกลุ่มหนึ่งแสดงออกด้วยการชูป้าย "เวทีวิชาการไม่ใช่ค่ายทหาร" แล้วท้ายสุดมีนักวิชาการ 5 คนถูกตั้งข้อหาว่าเป็นคนนอกเข้ามายุยงให้ต่อต้านรัฐบาล

ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรนั้น เห็นได้ชัดว่าเจ้าหน้าที่รัฐจงใจบิดเบือนเพื่อปิดกั้นเสรีภาพทางวิชาการ เสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน ที่แม้มีได้เป็นการต่อต้านรัฐบาลโดยตรงก็ตาม 

ซ้ำร้าย การตั้งข้อหาอย่างบิดเบือนนั้นเองได้นำมาซึ่งกระแสทัดทาน ไม่เห็นด้วย จนกระทั่งอาจลุกลามไปสู่การต่อต้านรัฐบาลที่คุกคามเสรีภาพการแสดงออกของประชาชนอย่างหนักข้อขึ้นทุกวัน แม้ในที่ประชุมทางวิชาการนานาชาติ ที่มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาความรู้ และย่อมเป็นผลดีทั้งกับประเทศชาติ และประชากรโลก รัฐบาลเผด็จการประยุทธ จันทร์โอชาก็ยังไม่รู้จักอดกลั้น ไม่รู้จักละเว้น ไม่เข้าใจมาตรฐานสากล ไม่รู้จักละเว้น 

จากกรณีนี้ แวดวงวิชาการทั่วโลกจึงออกแถลงการณ์ให้รัฐบาลไทยยกเลิกการตั้งข้อหาว่านักวิชาการทั้ง 5 นั้นมีความผิด ที่น่าตกใจที่สุดในชีวิตทางวิชาการกว่า 20 ปีของผมคือ การที่สมาคมวิชาการทั่วโลก ทั้งทวีปยุโรป อมเริกา ออสเตรเลีย เอเชีย ต่างก็เรียกร้องไปในทิศทางเดียวกันคือให้ยกเลิกการตั้งข้อหากับทั้ง 5 นักวิชาการนั้น  

เอาแค่คร่าวๆ เช่น AAS (สมาคมเอเชียศึกษา) EUROSEAS (สมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาแห่งยุโรป) (http://www.newmandala.org/international-statement-support-…/) และล่าสุดคือ AAA (สมาคมมานุษยวิทยาอเมริกัน) ซึ่งใหญ่กว่า มีอิทธิพลข้ามพื้นที่ครอบคลุมทั่วโลกมากกว่าสองสมาคมแรกยิ่งนัก (http://www.americananthro.org/Particip…/AdvocacyDetail.aspx…) ก็ออกแถลงการณ์เรียกร้องในเรื่องเดียวกัน 

ครั้งสุดท้ายที่สมาคม AAA เอ่ยถึงเรื่องอื้อฉาวในประเทศไทยน่าจะเมื่อช่วงสงครามเย็น ที่มีกรณีนักมานุษยวิทยาอเมริกันถูกกล่าวหาว่าทำงานให้รัฐบาลอเมริกันในสงครามปราบปรามขบวนการคอมมิวนิสต์ในไทย มีการสอบสวนใหญ่โต แล้วเรื่องก็จบไป แต่ทิ้งบาดแผลไว้มากมายทั้งในวงการมานุษยวิทยาโลกและในแวดวงวิชาการไทย 

คราวนี้มาเรื่องที่เห็นชัดว่าคนในสมาคมนานาชาติต่างๆ ที่เดิมอาจจะมีสมาชิกไม่เห็นด้วยกันกับรายละเอียดเรื่องต่างๆ มาก่อน มีความขัดแย้งกันภายในมาก่อน มางานนี้ สมาคมทั้งหลายเหล่านี้ไม่มีทางจะเห็นแตกต่างกันเป็นอื่นได้แน่ๆ นี่ก็เพราะว่า ไม่มีนักวิชาการที่ไหนในโลกเขาทนนิ่งเฉยกับเรื่องการละเมิดเสรีภาพทางวิชาการแบบนี้ได้ ไม่มีใครเขาจะยอมให้ทหารมาตั้งข้อหากับนักวิชาการที่เพียงแค่ปกป้องสิทธิเสรีภาพของตัวเองได้ ไม่มีใครเขายอมรับได้ว่าการปกป้องสิทธิตนเองเป็นภัยต่อชาติได้  

แต่ที่ยิ่งน่าเป็นห่วงคือกระแสของนักวิชาการในประเทศไทยเองต่างหาก จนป่านนี้ยังไม่เห็นมหาวิทยาลัยลุกขึ้นมาปกป้องบุคคลากรที่ทรงคุณค่าของตนเอง จนป่านนี้ยังมีนักวิชาการไทยอีกมากที่นิ่งเฉย หรืออาจจะไ่รู้สึกรู้สาด้วยซ้ำว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ใหญ่หลวงแค่ไหน 

ผมนึกเล่นๆ ว่านี่ถ้านักวิชาการไทยคนไหนลุกมายกคาถาว่า "อย่างน้อยไทยก็ไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของใคร" แล้วล่ะก็ ผมคงจะประกาศไม่คบหาทำงานกับคนคนนั้นได้จนตายเลยทีเดียว 

แต่แค่จะมีนักวิชาการคนไหนพูดอะไรทำนองที่ว่า "นั่นมันบ้านเธอ นี่มันบ้านฉัน มาตรฐานวิชาการบ้านฉันเป็นแบบนี้ อย่ามายุ่งกับฉัน นักวิชาการโลกจะมารู้อะไรดีกว่านักวิชาการไทย นักวิชาการในโลกนี้จะมาเข้าใจอะไรกับเงื่อนไขในประเทศไทย" แล้วยิ่งถ้าผมรู้ว่าเขาเรียนจบจากต่างประเทศ จากยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่นมาแล้วล่ะก็ ผมคงกระอักกระอ่วนใจที่จะทำงานด้วยได้ 

หากแวดวงวิชาการไทยอยากมีมาตรฐานโลกแต่ไม่ลุกมาปกป้องสิทธิเสรีภาพของตนเอง หากมหาวิทยาลัยไทยมองไม่เห็นว่าการที่นักวิชการทั่วโลกเขามาแสดงออกช่วยปกป้องเสรีภาพของนักวิชาการไทยนั้น มันแสดงถึงความตกต่ำของแวดวงวิชาการมากแค่ไหนแล้ว มหาวิทยาลัยไทยเลิกดัดจริตอยากมีมาตรฐานสากลได้แล้วล่ะ เลิกส่งคนไปเรียนต่างประเทศสักทีเถอะ เลิกส่งลูกหลานพวกคุณเองไปเรียนต่างประเทศเถอะ สั่งสอนกันเองตามวัดตามวากันไปนี่แหละ

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (4 ตุลาคม 2560) นิสิตมหาวิทยาลัยหนึ่งโทรศัพท์มาสัมภาษณ์เรื่องการพิมพ์คำ "คะ" "ค่ะ" ผิดๆ ในโซเชียลมีเดียและการส่งข้อความต่างๆ บอกว่าจะเอาไปลงวารสารของคณะเธอ เธอถามว่าการใช้คำผิดแบบนี้มีนัยทางสังคมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวาน (30 กันยายน 2560) นักศึกษาปริญญาโทชั้นเรียนมานุษยวิยาคนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้เขียนบทละครเรื่อง "The Dark Fairy Tales นิทานเรื่องนี้ไม่เคยเล่า" ชวนไปดูและร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นหลังละครจบ ช่วยให้คิดอะไรเกี่ยวกับการอ่านนิทานได้อีกมากทีเดียวจึงอยากบันทึกไว้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การสนทนาอย่างออกรสไม่ได้จะต้องอยู่ในบรรยากาศเคร่งขรึมในห้องเรียน ห้องสัมมนาเสมอไป ด้วยเหตุนี้ผมจึงเชื่อว่า การใช้เวลานอกห้องเรียน นอกห้องสัมมนาวิชาการ สำคัญไม่น้อยไปกว่าการใช้เวลาในห้องสี่เหลี่ยมที่มีระเบียบต่างๆ ควบคุมการสนทนาอย่างเคร่งครัดเกินไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จากเหตุการณ์เข้ามาคุกคามพื้นที่ทางวิชาการของคณะทหารในการประชุมไทยศึกษานานาชาติครั้งที่ 13 ที่เชียงใหม่ จนทำให้นักวิชาการที่มาร่วมประชุมกลุ่มหนึ่งแสดงออกด้วยการชูป้าย "เวทีวิชาการไม่ใช่ค่ายทหาร" แล้วท้ายสุดมีนักวิชาการ 5 คนถูกตั้งข้อหาว่าเป็นคนนอกเข้ามายุยงให้ต่อต้านรัฐบาล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันแม่นำความกระอักกระอ่วนใจมาให้ผมตั้งแต่ยังเด็ก เพราะแม่ในเพลง "ค่าน้ำนม" ที่เด็กในกรุงเทพฯ รุ่นผมถูกให้หัดร้องตามจนแทบจะจำเนื้อได้ทั้งเพลงมาตั้งแต่จำความได้ ไม่ตรงกับแม่ในชีวิตจริงของผม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะอาจารย์มหาวิทยาลัยคนหนึ่ง ผมไม่อาจยอมรับการกระทำของอาจารย์ต่อนิสิตด้วยความรุนแรงดังที่เกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยอันทรงเกียรติแห่งหนึ่งได้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้เกิดความผิดพลาดบางอย่างทำให้บทแนะนำอาจารย์แคทเธอรีน บาววี องค์ปาฐกคนหนึ่งของงานประชุมไทยศึกษาปีนี้ที่จังหวัดเชียงใหม่ ไม่ได้ถูกนำเสนอในงานประชุม ในเมื่อผมเตรียมไปพูดแล้วแต่ไม่ได้พูด ก็ขอนำบันทึกที่ร่างไว้นี้มาเผยแพร่ในที่นี้แทนก็แล้วกัน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"ฟ้าข้างในนี้กว้างกว่าข้างนอก ฟ้าในนี้กว้างจนแทบจะเห็นขอบฟ้า"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้คงเป็นช่วงเขียนรายงาน เขียนวิทยานิพนธ์ของหลายๆ คน ผมเองช่วงนี้เป็นช่วงต้องอ่านงานนักศึกษามากมาย ที่สาหัสที่สุดคืองานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโทและเอก 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมอ่านงานจิตรครั้งแรกๆ ก็ตอนที่เรียนมหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรี ตอนนั้นเมื่อออกจากโลกโรงเรียนก็รู้สึกว่า โลกหนังสือของห้องสมุดธรรมศาสตร์ช่างกว้างใหญ่มาก กว้างใหญ่กว่าห้องสมุดแห่งชาติที่สมัยเรียนมัธยมผมชอบไปสิงอยู่มากนัก นี่กล่าวเฉพาะหนังสือที่น่าอ่านเกี่ยวกับสังคม วัฒนธรรม ปรัชญา และศาสนา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (3 พค. 60) ผมไปวิจารณ์งานนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยซึ่งคณะราษฎรมีส่วนก่อตั้งเช่นกัน แต่สำคัญผิดกันไปว่าผู้อื่นมีบุญคุณมากกว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บางทีนามสกุลกับบทบาทความเป็นครูของครูฉลบชลัยย์ พลางกูร คงไม่ทำให้คนสนใจครูฉลบเกินบทบาทไปกว่าการเป็นภรรยาของนายจำกัด พลางกูร และเป็นผู้ให้กำเนิดโรงเรียนดรุโณทยาน