Skip to main content

คนรุ่นใหม่ครับ... 

ข้อแรก ในยุคของการต่อสู้ของพวกคุณ ข้อได้เปรียบอย่างหนึ่งคือ คุณมีสื่อมวลชนของคุณเอง คือ social media คนรุ่นคุณคือคนที่รู้พลังของมันดีที่สุด คุณรู้ดีว่าลักษณะพิเศษของสื่อใหม่นี้คือการที่คุณสร้างการรวมตัวทางไกลได้ คุณสร้างความเคลื่อนไหวที่เผด็จการไม่สามารถเด็ดหัวทิ้งง่านๆ ได้ เพราะมันเป็นการเคลื่อนไหวแบบ "รากฝอย" (ถ้าอ่านหนังสือบ้างก็คงรู้นะว่าที่มามันมาอย่างไร) การเคลื่อนไหวของคนรุ่นคุณมันจึงเป็นการเคลื่อนไหวที่ป่วนเผด็จการได้ดีกว่าคนรุ่นเก่าด้วยซ้ำ

 

ข้อสอง แต่คุณอย่าไปอ่อนไหวกับสื่อใหม่นี้มาก คุณอย่าไปหล่อเลี้ยงตัวตนคุณด้วยสื่อนี้เลย คุณอย่าไปคิดว่าการเป็น influential persons ต้องได้มาด้วยการเป็น celebrity สิ คุณอยากทำแค่ดังชั่วช้ามคืนแล้วดับไปอีกนานเหรอ คุณทำอะไรได้ไกลและลึกกว่านั้นเยอะ ขอให้คุณคิดถึงขบวนการระยะยาว ค่อยๆ สู้ไป ถ้าริจะทำงานใหญ่แล้วก็อย่าอ่อนแอสิครับ ขออย่าได้คอยออดอ้อนมวลชนด้วยโซเชียลมีเดียจนเสียขบวนการสิครับ คิดถึงคนอื่นและโลกที่คุณคาดหวังระยะยาวให้มากเข้าไว้ คุณไม่ได้อยากจะมีชีวิตอยู่แค่ชั่วดราม่าที่ปัจจุบันนี้ไม่เกินสัปดาห์เดียวกับหมดอายุไขแล้วไม่ใช่เหรอ  

 

ข้อสาม เราต่างรู้กันดีกว่าเราต่อสู้เพื่ออนาคตของเราเอง และในบางจุด เราปะทะกันบ้าง แต่ถึงจุดของการเคลื่อนไหวที่ต้องการขบวนการขนาดใหญ่ เราต้องยอมอ่อนข้อกับการสร้างแนวร่วมขยายเครือข่ายบ้าง อย่าจุกจิกกับเรื่องเล็กน้อยมาก อย่าทำตัวเป็นไม้บรรทัดกับทุกสิ่ง คุณดูสิ คนที่ทำตัวเป็นไม้บรรทัดทุกสิ่งน่ะ ทุกวันนี้เขาสร้างขบวนการอะไรได้ เขาเองยังแทบเอาตัวไม่รอด ถ้าจะสู้กับอะไรใหญ่ๆ ก็ขอให้รู้จักฟังบ้าง และบางครั้งก็ต้องกล้ำกลืนเก็บหลักการอันแข็งแกร่งของตัวเองไว้ในใจบ้าง อย่างน้อยก็ในระยะที่เรายังอหังการที่อาจจะเป็นไปอย่างผิดๆ ว่าหลักการอันแข็งแกร่งของเรายังไม่มีใครหยั่งรู้กี่มากนัก

 

ข้อสี่ พวกคุณควรประเมินสถานการณ์ของตนเอง สร้างประวัติศาสตร์ของตนเอง การเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงประวัติศาสตร์ไม่มีทางเหมือนกัน โลกปัจจุบันนี้แค่ 10 ปีก็จำกันไม่ได้แล้วว่า 10 ปีที่แล้วเกิดอะไรขึ้น เพราะเงื่อนไขไม่เคยเหมือนกัน แต่แน่นอน เราสรุปบทเรียนจากที่อื่นหรือยุคอื่นมาเพื่อการเคลื่อนไหวของเราเองได้ แต่อย่ายึดติดข้อสรุปอย่างตายตัว เรื่องแบบนี้มันไม่ต่างจากการทำงานทางวิชาการ หรือการทำงานสร้างสรรค์ต่างๆ เราต้องรู้แนวทางทั่วไปพร้อมๆ กับรู้ข้อจำกัดเฉพาะตัวของเรา ต้องคิดว่าเงื่อนไขเฉพาะของเราคืออะไร แล้วจะเอาบทเรียนจากคนในอดีต จากคนที่อื่น มาต่อยอดพัฒนาการเคลื่อนไหวของเราเองอย่างไร

 

คนรุ่นเก่าครับ...  

 

ข้อแรก ขอทีเถอะครับ อย่าถามซ้ำซากว่า "คนรุ่นใหม่ทำอะไร" "คนรุ่นใหม่หายไปไหนในการต่อสู้ทางการเมือง" คนทุกรุ่นเขามีแนวทางการดิ้นรนของเขาเอง คนแต่ละรุ่นมีการเมืองในขอบเขตของเขาเอง พวกคุณคงตกยุคแล้วที่ไม่รู้ว่าการเมืองมันมีมากกว่าที่คุณเข้าใจ การเมืองทางการมันเป็นแค่การเมืองเดียวที่คนรุ่นคุณคาดหวัง  

 

ถ้าคุณก้าวผ่านยุคการเมืองของ "ซ้ายใหม่" มา คุณน่าจะรู้ว่าตั้งแต่ทศวรรษ 1970 มาแล้วที่การเมืองมันกระจัดกระจายและเป็นเรื่องระยะยาว คุณจะคาดหวังว่าคนรุ่นใหม่จะต้องสร้างการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกผันในแบบคนรุ่นคุณทำน่ะเหรอ นั่นแสดงว่าคุณไม่เข้าใจว่าการเมืองสมัยนี้มันซับซ้อนกว่ายุคของคุณมากแล้วล่ะ ไม่มีการโค่นล้ม การปฏิวัติใด ที่นำไปสู่สังคมที่ดีกว่าในทุกด้านอย่างแท้จริงอีกต่อไป ถ้าคุณยังคาดหวังให้คนรุ่นใหม่ลุกฮือต่อสู้ในแนวทางที่คุณต้องการ แสดงว่าคุณล้มเหลวในการประเมินการเมืองปัจจุบัน

 

ข้อสอง แทนที่คุณจะถามคนรุ่นใหม่ คุณควรจะถามตัวเองว่า "แล้วคุณล่ะทำอะไรบ้าง" "แล้วพวกคุณหดหัวไปอยู่ที่ไหนล่ะ" สำหรับคนรุ่นเก่าที่คอยฝากความหวังไว้กับคนรุ่นใหม่น่ะ พวกคุณเป็นคนไม่รับผิดชอบต่อสังคมที่คุณอยู่ไม่น้อยไปกว่าคนรุ่นใหม่ที่เฉยเมยหรอก  

 

ทุกวันนี้คนเราไม่ตายกันง่ายๆ สักที พวกคุณคนรุ่นเก่าจะเป็นประชากรหลักของสังคมชราภาพ อนาคตอันใกล้และอีกไกลมันไม่ใช่อนาคตของคนรุ่นใหม่เท่านั้นหรอก แต่มันจะมันอนาคตของพวกเราที่กำลังก้าวสู่ภาวะชรานี่แหละ ถ้าคุณไม่ออกมาสู้ด้วยตนเอง ก็อย่าผลักภาระเสี่ยงให้กับคนรุ่นใหม่ ขอร้องว่า ถ้าคุณไม่เรียกร้องกับตนเองเสียก่อน ก็ไม่ต้องไปคาดหวังคนรุ่นใหม่

 

ไม่ว่าจะรุ่นไหน ถ้าไม่ร่วมกันสู้ เราก็จะต้องอยู่ใต้เงื่อนไขกะลาแคบๆ กันต่อไป

 

ด้วยรักและนับถือ

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (24 ธันวาคม 2555) กสทช.เชิญให้ผมไปร่วมแสดงความเห็นในเวทีเสวนาสาธารณะ “1 ปี กสทช. กับความ (ไม่) สมหวังของสังคมไทย” ทีแรกผมไม่คิดว่าตนเองจะสามารถไปวิจารณ์อะไรกสทช.ได้ แต่ผู้จัดยืนยันว่าต้องการมุมมองแบบมานุษยวิทยา ผมจึงตกปากรับคำไป 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อโต้แย้งต่อความเห็นผมจากของเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ที่ลงในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1355920241&grpid=03&catid=&subcatid=) ย้ำให้เห็นชัดถึงความอับจนของกรอบคิดของคนกลุ่มนี้ต่อไปนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไม่เพียงแต่นักเขียนบางคนเท่านั้นที่อาจจะไม่เข้าใจหรือมองข้ามประเด็นความแตกต่างทางชาติพันธ์ุ แต่ผมคิดว่าแวดวงภาษาและวรรณกรรมบ้านเราอาจจะไม่ตระหนักถึงปัญหานี้โดยรวมเลยก็ได้ และในแง่หนึ่ง ผมคิดว่าซีไรต์เองอาจจะมีส่วนสร้างวัฒนธรรมไม่อ่อนไหวต่อความแตกต่างทางวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน และถึงที่สุดแล้ว นี่อาจจะกลายเป็นข้อจำกัดที่ปิดกั้นโอกาสที่วรรณกรรมไทยจะก้าวเข้าสู่ระดับสากล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะของนายแพทย์ที่เป็นตัวแทนของคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ แสดงให้เห็นถึงความคิดคับแคบของผู้มีอำนาจกลุ่มหนึ่ง ที่มักใช้อำนาจก้าวก่ายชีวิตผู้คน บนความไม่รู้ไม่เข้าใจไม่อยากรับผิดชอบต่อปัญหาเชิงโครงสร้างที่ละเอียดอ่อน และบนกรอบข้ออ้างเรื่องคุณธรรมความดีที่ยกตนเองเหนือคนอื่น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แทนที่จะเถียงกับอีกท่านหนึ่งที่วิจารณ์ผมต่อหน้ามากมายเมื่อวาน ผมขอใช้พลังงานเถียงกับข้อเสนอล่าสุดของอาจารย์ธีรยุทธ บุญมีจากข่าวในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354935625&grpid=01&catid=&subcatid=) ดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นึกไม่ถึงและนึกไม่ออกจริงๆ ว่า ทำไมคนเปิดร้านขายหนังสือในปลายศตวรรษที่ 20 - ต้น 21 จะมีความคิดแบบนี้ได้ นี่แสดงว่าเขาไม่ได้อ่านหนังสือที่เขาขายบ้างเลย หรือนี่แสดงว่าการอ่านหนังสือไม่ได้ช่วยจรรโลงจิตใจนายทุนบางคนขึ้นมาได้เลย*
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่ออ่านข่าวแอร์โฮสเตสที่เพิ่งถูกให้ออก ผมมีคำถามหลายข้อ ทั้งในมิติของโซเชียลมีเดีย hate speech และสิทธิแรงงาน อย่างไรก็ดี ขอเคลียร์ก่อนว่าหากใครทราบจุดยืนทางการเมืองของผม ย่อมเข้าใจดีว่าความเห็นต่อไปนี้ไม่ได้มาจากความเห็นทางการเมืองที่เอนเอียงไปในทางเดียวกับพนักงานสายการบินคนนี้แต่อย่างใด ข้อสังเกตคือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขณะกำลังนั่งกินหอยแครงลวกอยู่เวลานี้ ก็ชวนให้คิดถึงคำพูดของนักวิชาการกัมพูชาคนหนึ่ง ที่เคยนั่งต่อหน้าอาหารเกาหลีจานพิเศษ คือหนอนทะเลดิบตัดเป็นชิ้นๆ ขยับตัวดึบๆ ดึบๆ อยู่ในจานแม้จะถูกตั้งทิ้งไว้เป็นชั่วโมง ตอนนั้น ผมบ่ายเบี่ยงไม่กล้ากินอยู่นาน แม้จะรู้ว่าเป็นอาหารพิเศษราคาแพงที่ศาสตราจารย์ชาวเกาหลีสรรหามาเลี้ยงต้อนรับการมาเกาหลีครั้งแรกของพวกเราหลายคน เพื่อนกัมพูชาบอกว่า "กินเถอะพี่ หอยแครงลวกในเมืองไทยน่ากลัวกว่านี้อีก" ผมจึงหาเหตุที่จะหลบเลี่ยงอีกต่อไปไม่ได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมนั่งดูบันทึกรายการ The Voice Thailand (เดอะวอยซ์) เป็นประจำ แม้ว่าจะเห็นคล้อยตามคำนิยมของโค้ชทั้ง 4 อยู่บ่อยๆ แถมยังแอบติดตามความเห็นเปรี้ยวๆ ของนักเขียนบางคนที่ชอบเรียกตนเองสวนทางกับวัยเธอว่า "ป้า" ซึ่งหมดเงินกดโหวตมากมายให้นักร้องหนุ่มน้อยแนวลูกทุ่ง แต่ผมไม่ได้รับความบันเทิงจากเดอะวอยซ์เพียงจากเสียงเพลง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมพยายามถามตัวเองว่า การจะสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามที่นำโดย "เสธ.อ้าย" จะมาจากเหตุผลประการใดบ้าง แต่ผมก็ชักจะเริ่มไม่แน่ใจว่า เอาเข้าจริง คนที่เข้าร่วมชุมนุมกับเสธ.อ้ายจะมีเหตุผลหรือไม่ หรือหากมี พวกเขาจะใช้เหตุผลชุดไหนกันในการเข้าร่วมชุมนุม ยังไงก็ตาม อยากถามพวกคุณที่ไปชุมนุมว่า พวกคุณอยากให้ประเทศเป็นอย่างนี้จริงๆ หรือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (20 พฤศจิกายน 2555) นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชิญไปบรรยายในงานสัมมนา "การเมืองเรื่องคนธรรมดา" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ขอตัดส่วนหนึ่งของบทบรรยายของผมที่ใช้ชื่อว่า "การเมืองวัฒนธรรมดา: ความไม่ธรรมดาของสามัญชน" มาเผยแพร่ในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2555 นิสิตรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเชิญไปร่วมกิจกรรมจุฬาวิชาการ โดยให้ไปวิจารณ์บทความนิสิตปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ 4 ชิ้น 1) ว่าด้วยเบื้องหลังทางการเมืองของการก่อตั้งองค์การอาเซียน 2) ว่าด้วยบทบาทและการต่อรองระหว่างประเทศในอาเซียน 3) ว่าด้วยการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าของธุรกิจเอกชนไทยในคู่ค้าอาเซียน และ 4) ว่าด้วยนโยบายชนกลุ่มชาติพันธ์ุในพม่า ข้างล่างนี้คือบันทึกบทวิจารณ์