Skip to main content

ครึ่งวันที่ผมมีประสบการณ์ตรงในกระบวนการยุติธรรมไทย บอกอะไรเกี่ยวกับสังคมไทยมากมาย

1. ตำรวจในภาพที่ดูน่ากลัว ชอบข่มขู่ชาวบ้าน หายไปเมื่อเขาเผชิญหน้ากับอำนาจอย่างอื่น ผมเองอาจเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจที่กลับไปข่มขู่ตำรวจได้ ตำรวจชั้นผู้น้อยแทบจะมือไม้สั่นเมื่อเอาเอกสารมายื่นให้ผมลงนาม ตำรวจไม่กล้าสบตาเมื่อผมซักไปจนเขาจนมุมด้วยเหตุผล

 

เมื่ออยู่ต่อหน้าอำนาจที่ "สูงสุด" ในกระบวนการยุติธรรมไทย คือผู้พิพากษา ตำรวจระดับ "ผู้กอง" ก็ลุกลี้ลุกลนมากได้ กลายเป็นเหมือนเด็กน้อยต่อหน้าผู้ใหญ่ที่มากอำนาจและบารมี มือไม้สั่น ตอบคำถามตะกุกตะกัก แทบสิ้นสติ ส่วนหนึ่งคงเพราะเขาเตรียมตัวมาไม่ดี หรือไม่ก็เพราะเขารู้อยู่แก่ใจว่าเขาไม่มีหลักฐานมากพอตามที่กล่าวหาผู้ต้องหาด้วย

 

2. ภาษาเป็นเครื่องมือแห่งอำนาจของตำรวจไม่น้อยไปกว่าอาวุธและเครื่องมือหนักอื่นๆ ตำรวจใช้ภาษาเป็นเครื่องมือของอำนาจผ่านการจดบันทึก การทำเอกสาร การอ่าน การลงนาม ในเกมของอำนาจนี้ เห็นได้ชัดเลยว่าถ้าใครภาษาไม่ดี ใครตรรกของการสื่อสารไม่ดี ก็จะตกเป็นเบี้ยล่างได้ง่ายๆ  

 

ความน่าเป็นห่วงก็คือ ในเกมอำนาจของภาษานี้ ตำรวจใช้ภาษาได้แย่มาก ทั้งพิมพ์ผิดมาก ผิดแม้กระทั่งหัวเอกสารลงชื่อผู้ต้องหาคนหนึ่ง แต่ในเอกสารลงชื่ออีกคนหนึ่ง พิมพ์ชื่อสถานที่เกิดเหตุผิด เว้นวรรคผิด ใช้เครื่องหมายวรรคตอนผิด สะกดผิดมาก ยังไม่ต้องพูดถึงว่า ใช้ภาษาไม่ค่อยเป็นตรรกเหตุผลมากนัก การจัดเตรียมเอกสาร การพิมพ์เอกสารต่างๆ ทั้งๆ ที่มีผลต่อชีวิตผู้คนจำนวนมาก กระทำโดยแทบจะไม่มีการไตร่ตรองตรวจทาน

 

นี่ยังไม่นับว่า ถ้อยคำทางกฎหมาย หรือ technical terms ทางกฎหมายต่างๆ มีอีกมาก ถ้าประชาชนไม่รู้เท่าทัน ถ้าทนายไม่เก่ง ไม่จริงจังพอ ถ้าผู้ต้องหาไม่มีประสบการณ์มากพอ ก็ตกหลุมพรางของอำนาจภาษามั่วๆ ของตำรวจได้ง่ายๆ

 

3. งานส่วนใหญ่ของกระบวนการยุติธรรมคืองานเอกสาร กระดาษจำนวนมากถูกใช้ในงานเอกสาร ในการจัดการกับผู้ต้องหาหนึ่งคน ระบบทั้งหมดมีต้นทุนสูงมาก แค่คดีเล็กๆ ของคนคนหนึ่ง เอกสารของตำรวจก็เกือบร้อยหน้า ที่พิมพ์ซ้ำๆ ซากๆ เอกสารของทนายอีกนับร้อยหน้า ภาระของระบบในการพิจารณาชีวิตคนหนึ่งคนไม่มีน้อยทีเดียว แม้ว่าจะเป็นเพียงคดีเล็กน้อยเท่านั้น

 

เอกสารที่ทั้งกระบวนการผลิตมาให้ผู้รับผิดชอบต้องอ่านต้องพิจารณากันเหล่านี้ ไม่แน่ใจว่าทุกตัวอักษร ทุกหน้า จะได้รับการพิจารณาถี่ถ้วนแค่ไหน ยังไม่นับว่า ภาษาเขียนไม่ดีอีก ทำให้อาจจะอ่านเนื้อความคลาดเคลื่อนได้ง่าย แล้วผลคือจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชีวิตคนได้มากขนาดไหนจากเอกสารยุ่งเหยิงเหล่านี้

 

4. ในกระบวนการยุติธรรมมีการตรวจสอบถ่วงดุลกันของอำนาจหลายระดับ ศาลตรวจสอบตำรวจ ธุรการศาลมีอำนาจนอกเหนือจากศาล ทนาย ถ้าเก่ง แม่นยำ มีไหวพริบ และมีศักดิ์ศรีพอ ก็พอจะตรวจสอบถ่วงดุลตำรวจและศาลได้บ้าง แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นกับ "อะไรอื่นๆ" อีกมากมายที่มองไม่เห็น ที่นอกเหนือสถานการณ์เฉพาะหน้าของการดำเนินคดี หากดูไปหลายๆ คดี คงได้เห็นการใช้อำนาจกันหลายลักษณะมากกว่าแค่ครึ่งวันนี้

 

5. เทคโนโลยีดิจิทัลมีบทบาทในกระบวนการยุติธรรมไทยไม่น้อย มีกรณีที่ศาล "พิจารณา" (เขาเรียกว่า "ชี้" คืออะไรไม่ค่อยเข้าใจกระบวนการ) ผ่านเทเลคอม สื่อสารกันผ่านหน้าจอทีวี ไม่ได้เจอตัวกันตรงๆ บางกรณีก็พบเจอกันตรงๆ (ไม่ค่อยเข้าใจว่าต่างกันอย่างไร หรือด้วยเหตุผลอะไร) สนทนากันต่อหน้าต่อตา

 

อีกเทคโนโลยีคือเครื่องมือ dictate น่าจะเป็นการสื่อสารระหว่างผู้พิพากษากับเสมียนศาล เป็นการบอกให้พิมพ์คำพิพากษากันสดๆ ต่อหน้าผู้ร้อง ทนาย ผู้ต้องหา ผู้รวมเข้าฟัง เมื่อพิมพ์ออกมาแล้วผู้พิพากษาจะแก้ด้วยมืออีกที

 

น่าจะมีการศึกษาการพิจารณาคดีและกระบวนการยุติธรรมในประเทศไทยด้วยวิธีการแบบมานุษยวิทยากันอย่างจริงๆ จังๆ เสียที หรืองานแบบนี้จะทำแทบไม่ได้หากไม่ได้เป็นผู้ต้องคดีเสียเองก่อน การศึกษาอย่างมีส่วนร่วมด้วยการตกเป็นส่วนหนึ่งของสังคมแบบนี้เสียก่อนคงเป็นวิธีการที่ไม่มีนักมานุษยวิทยาคนไหนอยากทำ

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอแสดงความคารวะจากใจจริงถึงความกล้าหาญจริงจังของพวกคุณ พวกคุณแสดงออกซึ่งโครงสร้างอารมณ์ของยุคสมัยอย่างจริงใจไม่เสแสร้ง อย่างที่แม่ของพวกคุณคนหนึ่งบอกกล่าวกับผมว่า "พวกเขาก็เป็นผลผลิตของสังคมในยุค 10 ปีที่ผ่านมานั่นแหละ" นั่นก็คือ พวกคุณได้สื่อถึงความห่วงใยต่ออนาคตของสังคมไทยที่พวกคุณนั่นแหละจะต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อไปให้สังคมได้รับรู้แล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปฏิกิริยาของสังคมต่อการกักขังนักศึกษา 14 คนได้ชี้ให้เห็นถึงการก้าวพ้นกำแพงความกลัวของประชาชน อะไรที่กระตุ้นให้ผู้คนเหล่านี้แสดงตัวอย่างฉับพลัน และการแสดงออกเหล่านี้มีนัยต่อสถานการณ์ขณะนี้อย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในโลกนี้มีสังคมมากมายที่ไม่ได้นับว่าตนเองเป็นกลุ่มชนเดียวกัน และการแบ่งแยกความแตกต่างของกลุ่มคนนั้นก็ไม่ได้ทาบทับกันสนิทกับความเป็นประเทศชาติ ชาว Rohingya (ขอสงวนการเขียนด้วยอักษรโรมัน เพราะไม่เห็นด้วยกับการออกเสียงตามภาษาพม่า) ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของกลุ่มคนที่ไม่ได้มีขอบเขตพื้นที่ที่อาศัยครอบครองอยู่ทาบกันสนิทกับขอบเขตพื้นที่ประเทศใดประเทศหนึ่ง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงเวลาของการสัมภาษณ์นักศึกษาใหม่ในแต่ละปีถือเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ที่ผมจะใช้อัพเดทความเปลี่ยนแปลงของสังคมหรือทำความเข้าใจสังคม จากมุมมองและประสบการณ์ชีวิตสั้นๆ ของนักเรียนที่เพิ่งจบการศึกษามัธยม ปีที่ผ่านๆ มาผมและเพื่อนอาจารย์มักสนุกสนานกับการตรวจสอบสมมติฐานของแต่ละคนว่าด้วยประเด็นต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องความขัดแย้งทางการเมือง บางทีก็ตรงกับที่มีสมมติฐานไว้บ้าง บางทีก็พลาดไปบ้าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (31 พค. 58) ผมไปเป็นเพื่อนหลานสาววัย 13 ปี ที่ชวนให้ไปเที่ยวงานเทศกาลการ์ตูนญี่ปุ่นที่โรงแรมแห่งหนึ่งแถวถนนสุขุมวิท ผมเองสนับสนุนกิจกรรมเขียนการ์ตูนของหลานอยู่แล้ว และก็อยากรู้จักสังคมการ์ตูนของพวกเขา ก็เลยตอบรับคำชวน เดินทางขึ้นรถเมล์ ต่อรถไฟฟ้าไปกันอย่างกระตือรือล้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สนามบินที่ไหนๆ ก็ดูเหมือนๆ กันไปหมด อยู่ที่ว่าจะออกจากไหน ด้วยเรื่องราวอะไร หรือกำลังจะไปเผชิญอะไร ในความคาดหวังแบบไหน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"ปับ เจียน ความ เจ้า ปัว ฟ้า" แปลตามตัวอักษรได้ว่า "หนังสือ เล่า เรื่อง เจ้า กษัตริย์ (แห่ง)ฟ้า" ซึ่งก็คือไบเบิลนั่นเอง แต่แปลเป็นภาษาไทดำแล้วพิมพ์ด้วยอักษรไทดำ อักษรลาว และอักษรเวียดนาม เมื่ออ่านแล้วจะออกเสียงและใช้คำศัพท์ภาษาไทดำเป็นหลัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
กรณีการออกเสียงชื่อชาว Rohingya ว่าจะออกเสียงอย่างไรดี ผมก็เห็นใจราชบัณฑิตนะครับ เพราะเขามีหน้าที่ต้องให้คำตอบหน่วยงานของรัฐ แต่ผมไม่เห็นด้วยกับการออกเสียงให้ตายตัวเบ็ดเสร็จว่าควรจะออกเสียงอย่างไรกันแน่ ยิ่งอ้างว่าออกเสียงตามภาษาพม่ายิ่งไม่เห็นด้วย ตามเหตุผลดังนี้ครับ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (7 พค. 58) ผมสอนวิชา "มานุษยวิทยาวัฒนธรรม" ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซินเป็นวันสุดท้าย มีเรื่องน่ายินดีบางอย่างที่อยากบันทึกไว้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
มันคงมีโครงสร้างอะไรบางอย่างที่ทำให้ "ร้านสะดวกซื้อ" เกิดขึ้นมาแทนที่ "ร้านขายของชำ" ได้ ผมลองนึกถึงร้านขายของชำสามสี่เมืองที่ผมเคยอาศัยอยู่ชั่วคราวบ้างถาวรบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อปี 2553 เป็นปีครบรอบวันเกิด 80 ปี จิตร ภูมิศักดิ์ มีการจัดงานรำลึกใหญ่โตที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อเอ่ยถึงจิตรทีไร ผมก็มักเปรยกับอาจารย์ประวัติศาสตร์จุฬาฯ ท่านหนึ่งว่า "น่าอิจฉาที่จุฬาฯ มีวิญญาณของความหนุ่ม-สาวผู้ชาญฉลาดและหล้าหาญอย่างจิตรอยู่ให้ระลึกถึงเสมอๆ" อาจารย์คณะอักษรฯ ที่ผมเคารพรักท่านนี้ก็มักย้อนบอกมาว่า "ธรรมศาสตร์ก็ต้องหาคนมาเชิดชูของตนเองบ้าง"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันที่ 30 เมษายน 2558 เป็นวันครบรอบ 40 ปี "ไซ่ง่อนแตก"Ž เดิมทีผมก็ใช้สำนวนนี้อยู่ แต่เมื่อศึกษาเกี่ยวกับเวียดนามมากขึ้น ก็กระอักกระอ่วนใจที่จะใช้สำนวนนี้ เพราะสำนวนนี้แฝงมุมมองต่อเวียดนามแบบหนึ่งเอาไว้