Skip to main content

ผมไม่ถึงกับต่อต้านกิจกรรมเชียร์อย่างรุนแรง เพราะคนสำคัญใกล้ตัวผมก็เป็นอดีตเชียร์ลีดเดอร์งานบอลประเพณีฯ ด้วยคนหนึ่ง และเพราะอย่างนั้น ผมจึงพบด้วยตนเองจากคนใกล้ตัวว่า คนคนหนึ่งกับช่วงชีวิตช่วงหนึ่งของมหาวิทยาลัยมันเป็นเพียงแค่ส่วนเสี้ยวหนึ่งของพัฒนาการของแต่ละคน แต่ก็ยังอยากบ่นเรื่องการเชียร์อยู่ดี เพราะความเข้มข้นของกิจกรรมในปัจจุบันแตกต่างอย่างยิ่งจากในสมัยของผม

ผมไม่มีปัญหากับการที่จะถ่ายรูปแต่งตัวแบบไหนหรือไม่แต่งมากมาย เพื่อถ่ายรูปคัทเอาต์ เพราะผมเข้าใจดีว่าการทำประชาสัมพันธ์ต้องการอะไร แล้วผ่านการคิดมาบ้างพอสมควร และถึงจะเรื่องโป๊จะเปลือยอย่างไร ก็แล้วแต่วัตถุประสงค์ อย่างที่กลุ่มนักศึกษาซึ่งเคยประท้วงเรื่องชุดนักศึกษา ก็เคยทำคัทเอาต์แรงๆ มาแล้ว ซึ่งผมก็เคยเห็นด้วยกับพวกเขาในตอนนั้น
 
แต่ผมว่า คำถามที่คนถกเถียงกันเรื่องคัทเอาต์ชุดนี้ ส่วนหนึ่งมาจากความสงสัยที่มีต่อกิจกรรมการเชียร์ของนักศึกษาด้วย จะเชียร์กันไปเพื่ออะไร เชียร์ลีดเดอร์มีไว้ทำไมกันแน่
 
ผมไม่แน่ใจว่าการแสดงออกด้วยการส่งเสียงดังๆ การฝึกซ้อมอย่างหนัก จนเรียกว่าหนักเกินกว่าที่อดีตเชียร์ลีดเดอร์มหาวิทยาลัยใกล้ตัวผมจะเข้าใจได้ (คือเธอยืนยันว่า สมัยเธอไม่ได้หนักหนาขนาดนี้) แล้วล่ะก็ ผมก็ไม่รู้ว่ากิจกรรมนี้จะทำไปเพื่ออะไรกันแน่
 
ข้อดีส่วนหนึ่งการเชียร์คงช่วยให้นักศึกษาจะได้ทำกิจกรรมร่วมกัน จะได้ฝึกใช้ชีวิตร่วมกัน ฝึกทักษะทางสังคมต่างๆ ทำความเข้าใจการทำงานร่วมกัน รวมทั้งฝึกการเป็นผู้นำของสังคม ที่อาจเริ่มจากระเบียบความพร้อมเพรียง แต่สำหรับผม นั่นก็เป็นการร่วมสังคมและการมีภาวะผู้นำที่อยู่ในระดับหยาบเสียเหลือเกิน ไม่ต่างกับกิจกรรมวิ่งและทำอะไรให้ตรงตามจังหวะง่ายๆ แบบทหาร
 
แต่หลายต่อหลายครั้ง กิจกรรมนี้กลายเป็นกิจกรรมที่อยู่เหนือการเรียนการสอน จนเหมือนกับว่า พวกเขาเข้ามาเพื่อมีสังคมเป็นหลัก มากกว่าที่จะเข้ามาเพื่อศึษาหาความรู้ หรือมหาวิทยาลัยเดี๋ยวนี้ไม่ได้มีไว้เพื่อให้ความรู้อีกแล้วจริงๆ นั่นแหละ
 
ผมเคยตักเตือนนักศึกษาคนหนึ่งที่มาขอลาเรียนเพื่อไปร่วมกิจกรรมเชียร์ในห้องเรียนกว่าร้อยคนด้วยน้ำเสียงเรียบๆ ว่า "คุณเสียเงินแพงๆ มาเรียนโครงการพิเศษภาษาอังกฤษที่ได้สิทธิพิเศษคือการได้เรียนในกรุงเทพฯ ก็เพื่อไปร่วมกิจกรรมเชียร์อย่างนั้นหรือ คุณแน่ใจหรือว่าพ่อแม่ผู้ปกครองคุณที่เสียเงินให้คุณมาเรียนเขาเข้าใจสิ่งที่คุณเลือกจะทำ" ในที่สุดนักศึกษาคนนั้นก็ตัดสินใจนั่งเรียนต่อ อาจจะเพราะอับอายเพื่อนหรือสำนึกได้ก็ไม่ทราบ
 
ปัจจุบันกิจกรรมการเชียร์กลายเป็นกิจกรรมสำคัญและเบียดเบียนการใช้พื้นที่ว่างและพื้นที่เงียบสงบในมหาวิทยาลัยอย่างยิ่ง สมัยก่อนที่ท่าพระจันทร์ โรงอาหารริมน้ำ (เรียกกันว่าโรงอาหารเศรษฐ) เป็นที่พบปะกันของพวกเด็กเนิร์ดที่จะมานั่งถกเถียงแลกเปลี่ยนความคิด เป็นที่สุมหัวของพวกชอบอ่านชอบเขียน เป็นที่แลกเปลี่ยนข้อมูลเรื่องห้องเรียน อาจารย์คนไหน ฯลฯ
 
แต่ปัจจุบัน ตรงไหนว่าง ไม่ว่าจะเวลาไหน ก็จะกลายเป็นที่ฝึกซ้อมการเป็นเชียร์ลีดเดอร์อย่างไม่เว้นเวลา หรือเพราะพื้นที่ถกเถียงย้ายไปอยู่ในพื้นที่ออนไลน์หมดแล้ว หรือเพราะไม่มีใครสนใจกิจกรรมทางปัญญากันแล้ว
 
ในหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในช่วงของความขัดแย้งทางการเมืองและการปิดกั้นการแสดงออกทางการเมืองของนักศึกษาใน 4-5 ปีที่ผ่านมานี้ ผมนับถือกิจกรรมการเชียร์ในงานบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์ ที่กล้าแสดงออก กล้ายืนหยัดที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก และกล้าแม้จะต้องฝ่าฝืนการใช้อำนาจป่าเถื่อนของทหาร
 
งานบอลฯ หลายปีที่ผ่านมาจึงทำให้ผมรู้สึกว่า ผมเองก็ต้องทบทวนความเข้าใจของตนเองเสียใหม่ เพราะเดิมที เมื่อเข้าเรียนที่ธรรมศาสตร์ ผมไม่เคยเข้าร่วมงานบอลฯ และการเชียร์ เพราะผมเข้าใจว่า งานบอลฯ และการเชียร์แบบที่ทำกันนี้เป็นรูปแบบหนึ่งของโซตัส และเป็นระบบที่สืบทอดความเป็นสถาบันนิยมและระบบชนชั้นทางการศึกษา
 
แต่เมื่อเดี๋ยวนี้การเชียร์กลับมาเน้นการแสดงออกที่เรือนร่างแบบในคัทเอาต์ที่กำลังถกเถียงกัน และกิจกรรมการเชียร์โดยทั่วๆ ไปก็ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงการแสดงออกทางความคิดในฐานะปัญญาชนผู้มีเสรีภาพทางความคิด และมีความกล้าหาญที่จะแสดงออกแม้จะถูกกดทับปิดกั้น ผมก็ชักจะกลับมาไม่แน่ใจว่า ตกลงนักศึกษาธรรมศาสตร์คิดว่าการเชียร์และการมีเชียร์ลีดเดอร์ มีไปเพื่ออะไรกันแน่
 
มากไปกว่านั้น ผมก็ชักสงสัยว่า การเอาจริงเอาจังกับการเชียร์มากจนล้นพ้นนั้น ไปด้วยกันได้กับการพัฒนาการศึกษาหรือไม่ หรือมหาวิทยาลัยมีไว้เพื่อมาฝึกความพร้อมเพรียง ฝึกการยิ้มต่อหน้าคนนับพัน และฝึกการแสดงออกทางเรือนร่างของนักศึกษาบางคน มากกว่าจะมาสร้างการถกเถียงความคิด มาสร้างความรู้ มาพัฒนาการศึกษา กันแน่

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (24 ธันวาคม 2555) กสทช.เชิญให้ผมไปร่วมแสดงความเห็นในเวทีเสวนาสาธารณะ “1 ปี กสทช. กับความ (ไม่) สมหวังของสังคมไทย” ทีแรกผมไม่คิดว่าตนเองจะสามารถไปวิจารณ์อะไรกสทช.ได้ แต่ผู้จัดยืนยันว่าต้องการมุมมองแบบมานุษยวิทยา ผมจึงตกปากรับคำไป 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อโต้แย้งต่อความเห็นผมจากของเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ที่ลงในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1355920241&grpid=03&catid=&subcatid=) ย้ำให้เห็นชัดถึงความอับจนของกรอบคิดของคนกลุ่มนี้ต่อไปนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไม่เพียงแต่นักเขียนบางคนเท่านั้นที่อาจจะไม่เข้าใจหรือมองข้ามประเด็นความแตกต่างทางชาติพันธ์ุ แต่ผมคิดว่าแวดวงภาษาและวรรณกรรมบ้านเราอาจจะไม่ตระหนักถึงปัญหานี้โดยรวมเลยก็ได้ และในแง่หนึ่ง ผมคิดว่าซีไรต์เองอาจจะมีส่วนสร้างวัฒนธรรมไม่อ่อนไหวต่อความแตกต่างทางวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน และถึงที่สุดแล้ว นี่อาจจะกลายเป็นข้อจำกัดที่ปิดกั้นโอกาสที่วรรณกรรมไทยจะก้าวเข้าสู่ระดับสากล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะของนายแพทย์ที่เป็นตัวแทนของคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ แสดงให้เห็นถึงความคิดคับแคบของผู้มีอำนาจกลุ่มหนึ่ง ที่มักใช้อำนาจก้าวก่ายชีวิตผู้คน บนความไม่รู้ไม่เข้าใจไม่อยากรับผิดชอบต่อปัญหาเชิงโครงสร้างที่ละเอียดอ่อน และบนกรอบข้ออ้างเรื่องคุณธรรมความดีที่ยกตนเองเหนือคนอื่น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แทนที่จะเถียงกับอีกท่านหนึ่งที่วิจารณ์ผมต่อหน้ามากมายเมื่อวาน ผมขอใช้พลังงานเถียงกับข้อเสนอล่าสุดของอาจารย์ธีรยุทธ บุญมีจากข่าวในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354935625&grpid=01&catid=&subcatid=) ดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นึกไม่ถึงและนึกไม่ออกจริงๆ ว่า ทำไมคนเปิดร้านขายหนังสือในปลายศตวรรษที่ 20 - ต้น 21 จะมีความคิดแบบนี้ได้ นี่แสดงว่าเขาไม่ได้อ่านหนังสือที่เขาขายบ้างเลย หรือนี่แสดงว่าการอ่านหนังสือไม่ได้ช่วยจรรโลงจิตใจนายทุนบางคนขึ้นมาได้เลย*
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่ออ่านข่าวแอร์โฮสเตสที่เพิ่งถูกให้ออก ผมมีคำถามหลายข้อ ทั้งในมิติของโซเชียลมีเดีย hate speech และสิทธิแรงงาน อย่างไรก็ดี ขอเคลียร์ก่อนว่าหากใครทราบจุดยืนทางการเมืองของผม ย่อมเข้าใจดีว่าความเห็นต่อไปนี้ไม่ได้มาจากความเห็นทางการเมืองที่เอนเอียงไปในทางเดียวกับพนักงานสายการบินคนนี้แต่อย่างใด ข้อสังเกตคือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขณะกำลังนั่งกินหอยแครงลวกอยู่เวลานี้ ก็ชวนให้คิดถึงคำพูดของนักวิชาการกัมพูชาคนหนึ่ง ที่เคยนั่งต่อหน้าอาหารเกาหลีจานพิเศษ คือหนอนทะเลดิบตัดเป็นชิ้นๆ ขยับตัวดึบๆ ดึบๆ อยู่ในจานแม้จะถูกตั้งทิ้งไว้เป็นชั่วโมง ตอนนั้น ผมบ่ายเบี่ยงไม่กล้ากินอยู่นาน แม้จะรู้ว่าเป็นอาหารพิเศษราคาแพงที่ศาสตราจารย์ชาวเกาหลีสรรหามาเลี้ยงต้อนรับการมาเกาหลีครั้งแรกของพวกเราหลายคน เพื่อนกัมพูชาบอกว่า "กินเถอะพี่ หอยแครงลวกในเมืองไทยน่ากลัวกว่านี้อีก" ผมจึงหาเหตุที่จะหลบเลี่ยงอีกต่อไปไม่ได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมนั่งดูบันทึกรายการ The Voice Thailand (เดอะวอยซ์) เป็นประจำ แม้ว่าจะเห็นคล้อยตามคำนิยมของโค้ชทั้ง 4 อยู่บ่อยๆ แถมยังแอบติดตามความเห็นเปรี้ยวๆ ของนักเขียนบางคนที่ชอบเรียกตนเองสวนทางกับวัยเธอว่า "ป้า" ซึ่งหมดเงินกดโหวตมากมายให้นักร้องหนุ่มน้อยแนวลูกทุ่ง แต่ผมไม่ได้รับความบันเทิงจากเดอะวอยซ์เพียงจากเสียงเพลง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมพยายามถามตัวเองว่า การจะสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามที่นำโดย "เสธ.อ้าย" จะมาจากเหตุผลประการใดบ้าง แต่ผมก็ชักจะเริ่มไม่แน่ใจว่า เอาเข้าจริง คนที่เข้าร่วมชุมนุมกับเสธ.อ้ายจะมีเหตุผลหรือไม่ หรือหากมี พวกเขาจะใช้เหตุผลชุดไหนกันในการเข้าร่วมชุมนุม ยังไงก็ตาม อยากถามพวกคุณที่ไปชุมนุมว่า พวกคุณอยากให้ประเทศเป็นอย่างนี้จริงๆ หรือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (20 พฤศจิกายน 2555) นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชิญไปบรรยายในงานสัมมนา "การเมืองเรื่องคนธรรมดา" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ขอตัดส่วนหนึ่งของบทบรรยายของผมที่ใช้ชื่อว่า "การเมืองวัฒนธรรมดา: ความไม่ธรรมดาของสามัญชน" มาเผยแพร่ในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2555 นิสิตรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเชิญไปร่วมกิจกรรมจุฬาวิชาการ โดยให้ไปวิจารณ์บทความนิสิตปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ 4 ชิ้น 1) ว่าด้วยเบื้องหลังทางการเมืองของการก่อตั้งองค์การอาเซียน 2) ว่าด้วยบทบาทและการต่อรองระหว่างประเทศในอาเซียน 3) ว่าด้วยการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าของธุรกิจเอกชนไทยในคู่ค้าอาเซียน และ 4) ว่าด้วยนโยบายชนกลุ่มชาติพันธ์ุในพม่า ข้างล่างนี้คือบันทึกบทวิจารณ์