Skip to main content

มีเพื่อนขอให้ผมช่วยแนะนำร้านอาหารในฮานอยให้ แต่เห็นว่าเขาจะไปช่วงสั้นๆ ก็เลยแนะนำไปไม่กี่แห่ง ส่วนร้านเฝอ ขอแยกแนะนำต่างหาก เพราะร้านอร่อยๆ มีมากมาย เอาเฉพาะที่ผมคุ้นๆ แค่ 2-3 วันน่ะก็เสียเวลาตระเวนกินจนไม่ต้องไปกินอย่างอื่นแล้ว

เอาจริงๆ ถ้าจะเขียนเรื่อง phở หรือเฝอ (เขียนเป็นไทยว่า เฝ่อ จะได้เสียงใกล้เสียงฮานอยที่ผมคุ้นมากกว่า แต่คนไทยคุ้นที่จะออกเสียงว่าเฝอ ก็เฝอไปก็แล้วกันครับ) ผมเขียนได้ยาวเลยล่ะครับ  

 

เอาสั้นๆ คือเฝ่อ “ไม่เท่ากับ” ก๋วยเตี๋ยว เพราะสำหรับคนไทย ก๋วยเตี๋ยวหมายถึงอาหารเส้นประเภทต่างๆ แต่เฝอเป็นเพียงก๋วยเตี๋ยวชนิดเดียว จะว่าไป ภาษาเวียดนามก็ไม่มีคำที่รวบรวมอาหารเส้นทั้งหมดด้วยชื่อเดียวกันแบบที่คนไทยใช้คำว่าก๋วยเตี๋ยวหรอกครับ อาหารเส้นแต่ละอย่างก็จะมีชื่อแตกต่างกันไปตามชื่อชนิดเส้นและเครื่องปรุงหลักของมัน  

 

เฝอภาคเหนือ โดยเฉพาะที่ฮานอย มีลักษณะเฉพาะตั้งแต่เส้นสดนุ่ม น้ำซุปใสแต่รสชาติเข้มข้น เฝอเนื้อมีกลิ่นเครื่องเทศเข้มกว่าเฝอไก่ ผักโรยมีแต่ต้นหอม ผักชี อาจมีหัวหอมบ้าง เฝอไก่เพิ่มใบมะนาวซอยนิดหน่อย

 

ช่วงวันหยุดปีใหม่นี้ หากใครไปฮานอย ผมมีร้านเฝอในฮานอยที่อยากแนะนำอยู่จำนวนหนึ่ง ส่วนใหญ่มีแต่เฝอเนื้อวัว สำหรับโลเกชั่น ให้เอาชื่อถนนใส่กูเกิ้ลแมผส์ดูก็จะเจอแล้วล่ะครับ เดินหานิดหน่อยคงไม่เป็นไร ถนนในย่านเมืองเก่าฮานอยระยะทางสั้นๆ ครับ

 

ร้านแรก เป็นร้านที่ผมกินมานานเกินสิบปี คือร้านที่ผมไม่เคยรู้จักชื่อ รู้แต่ว่าอยู่ตรงมุมถนนบ้าดด่าน (Bát Đàn) ตัดกับถนนห่างเดี๋ยว (Hàng Điếu) ร้านจะอยู่ฝั่งตรงข้ามกับศาลเจ้าเล็กๆ แห่งหนึ่ง ผมรู้จักร้านนี้จากเพื่อนคนหนึ่ง ที่บ้านอยู่บานเมืองฮานอย แต่เขาก็ยืนยันว่า เมื่อไหร่ที่มีโอกาส เขาก็จะดั้นด้นมากินที่นี่  

 

ผมเองไปกินทีไรก็ยังเจอคนขายหน้าเดิม ร้านนี้อร่อยทั้งเฝอเนื้อและเฝอไก่ ที่พิเศษอีกอย่างคือ ร้านนี้มีเฝ่อซ่าว (phở xào) หรือเฝอผัด ที่ขายดีมากเป็นที่นิยมมากมานานนับสิบปีแล้วเช่นกัน แต่ถึงอย่างไร ผมก็แนะนำว่า ควรหาโอกาสเวียนไปลองทั้งเฝอน้ำและเฝอผัดครับ

 

ร้านที่สอง ชื่อ Phở Thìn เป็นร้านดังเก่าแก่อยู่เลขที่ 13 ถนนหล่อดุ๊ก (Lò Đúc) ปกติคนจะเรียกว่าร้านเฝอหล่อดุ๊ก ผมรู้จักร้านนี้จากเพื่อนกินชาวฮานอยคนหนึ่ง เพื่อนคนนี้เดิมทีที่ทำงานเขาอยู่ใกล้ร้านนี้ เขาเองเป็นคนเวียดนามที่ปกติไม่ค่อยกินเนื้อ แต่บอกว่า หากเขาจะกินเฝอหรือจะแนะนำใคร ก็จะพามาร้านนี้ ร้านนี้มีร้านรวงชัดเจน ไม่ใช่ร้านริมถนนแบบร้านแรก ราคาสูงกว่าร้านแรกเพราะเฝอชามใหญ่กว่า ใส่เนื้อมากกว่า  

 

ร้านนี้เท่าที่จำได้จะมีแต่เฝอเนื้อวัว ทั้งเนื้อสด (tái) และเนื้อสุก (chín) “เนื้อสุก” ที่ว่านี่ เขาต้มนานพอสมควร แต่ไม่ถึงกับเปื่อย เขาจะต้มทั้งชิ้นใหญ่ๆ แล้วแขวนไว้ เวลาจะเสิร์ฟเขาจึงจะหั่น ด้านในของเนื้อจึงไม่แห้งเกินไป  

 

ร้านต่อมา ผมไม่เคยรู้ชื่อร้านเหมือนกัน เป็รเฝอร้านใหม่ที่มาแรงมากในย่านเมืองเก่าฮานอย ตั้งอยู่บนถนนเอิ๋วเฉี่ยว (Ấu Triệu) ผมรู้จักร้านนี้จากที่เคยไปพักโรงแรมบนถนนนี้โรงแรมหนึ่ง ปกติร้านนี้จะปิดเร็ว เปิดแต่เช้าตรู่ราว 6 โมงเช้า พอสัก 11 โมงเช้าก็หมดแล้ว วันนั้นผมจำเป็นต้องหาอะไรรองท้องแต่เช้า ก็เลยได้ชิม แล้วก็เข้าใจทันทีว่าทำไมคนจึงมากินกันมากนักและทำไมจึงหมดเร็ว

 

เฝอร้านนี้เขาอร่อยที่น้ำซุปจริงๆ น้ำต้มกระดูกวัวที่ต้มไว้ทั้งวัน เพื่อขายเฉพาะไม่กี่ชั่วโมงก่อนเที่ยง มีความหนักแน่นในรสชาติทว่าสีสันใสสะอาดมาก เนื้อวัวร้านนี้มักเสิร์ฟแบบ tái คือซอยบางๆ วางดิบๆ ลงมาในจาน เมื่อเราจะกิน พอได้น้ำซุปร้อนๆ ที่ต้มไว้นับสิบชั่วโมงเข้าไป เนื้อก็จะสุกพอดี พร้อมชะรสและความฉ่ำของเนื้อลงไปในชามนั้นเอง

 

เฝออีกร้านหนึ่งที่เจอโดยบังเอิญแต่รสชาติตราตรึงมากคือเฝอในร้านอาหารทะเล ชื่อ Đại Hải อยู่เลขที่ 25 ถนนตงด่าน (Tông Đàn) ใกล้ๆ พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ ร้านนี้แปลกตรงที่เป็นร้านอาหารขนาดค่อนข้างใหญ่ มีอาหารหลายชนิด ชื่อร้านก็สื่อถึงความเชี่ยวชาญอาหารทะเล แต่แปลกที่กลับมีเฝอเนื้อที่อร่อยมากอยู่ ร้านนี้รู้สึกจะมีเฝอไก่ด้วย แต่ผมไม่เคยลอง ลองแต่เฝอเนื้อ

 

ร้านนี้กลิ่นเครื่องเทศค่อนข้างชัดสักนิด แต่ไม่ได้มากจนกระทั่งกลบเกลื่อนรสเนื้อในน้ำซุปเฃย หลายคนที่มาชิมที่นี่เอ่ยปากว่า น้ำซุปเนื้อแบบนี้หายากมากในบ้านเรา ด้วยความที่เป็นร้านใหญ่ ร้านนี้ก็ดีที่มีอาหารอื่นๆ ให้เลือกอีกมากมาย แต่หลายคนก็นิยมไปเพียงเพื่อจะกินเฝออยู่ดี 

 

อีกร้านคือ เฝอเลขที่ 10 ถนนหลีก๊วกซือ (Phở 10 Lý Quốc Sư) เฝอร้านนี้ปัจจุบันกลายเป็นร้านที่มีหลายสาขาไปแล้ว ร้านดั้งเดิมอยู่หมายเลข 10 ถนนหลีก๊วกซือที่ว่า หากแต่ร้านอื่นๆ ที่เป็นสาขา ก็ใช้ชื่อเดียวกันนี้ แต่ตั้งอยู่ที่ถนนต่างๆ ผมเองไม่เคยลองกินที่ร้านต้นกำเนิด เพราะคิวยาวมาก เคยแต่ไปชิมที่ร้านที่หมายเลข 42 ถนนห่างโวย (Hàng Vôi) ไม่ไกลจากร้านดั้งเดิมนัก แค่ข้ามไปคนละฝั่งกับ “ทะเลสาบคืนดาบ”  

 

ทีแรกผมก็ไม่ค่อยไว้ใจร้านนี้นัก เพราะเห็นว่าเป็นร้านที่นักท่องเที่ยวนิยมกินกัน แต่เมื่อเพื่อนกินคนฮานอยอีกคนหนึ่งพาไป เมื่อได้ชิมแล้ว ผมก็ว่าร้านนี้ก็แนะนำให้เพื่อนๆ ไปกินได้เหมือนกัน เฝอร้านนี้มีความเป็นเฝอไซ่ง่อนผสมกับเฝอฮานอย ทั้งสีและรสชาติน้ำที่จัดขึ้นกว่าเฝอฮานอยที่แนะนำมาข้างต้น และชนิดของผักที่ใส่และยกมาให้กินเคียงกับเฝอ แม้จะยังไม่ถึงกับเฝอฮวา ถนนปาสเตอร์ อันเป็นเฝอไซ่ง่อนที่โด่งดังที่ผมเคยกินเมื่อสิบกว่าปีก่อน แต่ก็นับได้ว่าร้านนี้ทำเฝอได้ดีทีเดียว แถมร้านนี้ยังมีของกินเล่นอื่นๆ อีกมาก มีรายการอาหารค่อนข้างหลายหลาย เป็นร้านใหญ่นั่งสบาย  

 

สุดท้าย หากใครอยากลองเฝอบ้านๆ แบบที่ตื่นเช้าขึ้นมาแล้วคนฮานอยจะเดินไปหากินใกล้ๆ ตลาดสดล่ะก็ ผมขอแนะนำเฝอลองม์ (Phở Long) ร้านนี้อยู่ในย่านตลาดแบ๊คควา (Chợ Bách Khoa) ย่านที่ผมเคยอาศัยอยู่เมื่อสิบกว่าปีก่อนสมัยที่ไปเก็บข้อมูลทำงานวิจัยในเวียดนาม เฝอร้านนี้น้ำใส รสชาติดี เส้นเยอะหน่อย ด้วยความที่เป็นเฝอราคาย่อมเยาในชุมชนละแวกบ้าน คนกินส่วนใหญ่ก็คนแถวนั้น ร้านเปิดเฉพาะช่วงเช้า กลางวันก็เริ่มวาย  

 

ยังมีอาหารเส้นอีกมากมายที่อยากแนะนำให้เพื่อนๆ ไปลอง และมั่นใจว่าหลายจานหากินไม่ได้ในเมืองไทย เช่น บู๋นเซียว บู๋นจ่า บู๋นส็อบหมุ่ง บู๋นทาน เหมียนเลือน เหมียนงาน เหมียนหวีด แล้วยังมีอาหารเส้นภาคกลางอย่างบู๋นบ่อหเว๋ บู๋นบ่อนามโบะ หมี่หวั่นถัน ฯลฯ เอาไว้โอกาสหน้าครับ

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา หลายคนคงเป็นแบบผม คือพยายามข่มอารมณ์ฝ่าฟันการสบถของท่านผู้นำ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตั้งแต่ที่ผมรู้จักงานฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์มา มีปีนี้เองที่ผมคิดว่ากิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่มีความหมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปี 2558 เป็นปีที่คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีอายุครบ 50 ปี นับตั้งแต่เริ่มเป็นแผนกอิสระในคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์มาตั้งแต่ปี 2508
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เปิดภาคการศึกษานี้มีเรื่องน่าตื่นเต้นคือ วันแรกที่ไปสอน (ผมสอนอังคาร, พฤหัสบดี ครั้งละ 1 ชั่วโมง 15 นาที) มีนักเรียนมาเต็มห้อง เขากำหนดโควต้าไว้ที่ 34 คน แต่หลังจากผมแนะนำเค้าโครงการบรรยาย คงเพราะงานมาก จุกจิก ก็มีคนถอนชื่อออกไปจำนวนหนึ่ง คืนก่อนที่จะไปสอนครั้งที่สอง ผมก็เลยฝันร้าย คือฝันว่าวันรุ่งขึ้นมีนักเรียนมาเรียนแค่ 3 คน แล้วเรียนๆ ไปนักเรียนหนีหายไปเหลือ 2 คน แต่พอตื่นไปสอนจริง ยังมีนักเรียนเหลืออีก 20 กว่าคน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อได้ทราบว่าอาจารย์เก่งกิจทำวิจัยทบทวนวรรณกรรมด้านชนบทศึกษา โดยลงแรงส่วนหนึ่งอ่านงาน “ทบทวนภูมิทัศน์การเมืองไทย” (ต่อไปนี้จะเรียกว่า “ทบทวนภูมิทัศน์ฯ”) (อภิชาต ยุกติ นิติ 2556) ที่ผมมีส่วนร่วมกับนักวิจัยในทีมทั้งหมด 6 คนในตอนแรก และ 9 คนในช่วงทำวิจัยใหญ่ [1] ผมก็ตื่นเต้นยินดีที่นานๆ จะมีนักวิชาการไทยอ่านงานนักวิชาการไทยด้วยกันเองอย่างเอาจริงเอาจังสักที 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะให้ผมเขียนเรื่องอุปสรรคขัดขวางโลกวิชาการไทยต่อการก้าวขึ้นสู่ความเป็นเลิศในระดับนานาชาติไปอีกเรื่อยๆ น่ะ ผมก็จะหาประเด็นมาเขียนไปได้อีกเรื่อยๆ นั่นแหละ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ถ้านับย้อนกลับไปถึงช่วงปีที่ผมเริ่มสนใจงานวิชาการจนเข้ามาทำงานเป็นอาจารย์ ก็อาจนับได้ไปถึง 25 ปีที่ผมเห็นความเปลี่ยนแปลงในโลกวิชาการไทย ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่สำคัญคือการบริหารงานในมหาวิทยาลัย แต่ขอยกเรื่องนั้นเอาไว้ก่อน เพราะหากค่อยๆ ดูเรื่องย่อยๆ ไปเรื่อยๆ แล้วก็น่าจะช่วยให้เห็นอะไรมากขึ้นว่า การบริหารงานวิชาการในขณะนี้วางอยู่บนระบบแบบไหน เป็นระบบที่เน้นสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการในเชิงปริมาณหรือคุณภาพกันแน่ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บอกอีกครั้งสำหรับใครที่เพิ่งอ่านตอนนี้ ผมเขียนเรื่องนี้ต่อเนื่องกันมาชิ้นนี้เป็นชิ้นที่ 5 แล้ว ถ้าจะไม่อ่านชิ้นอื่นๆ (ซึ่งก็อาจชวนงงได้) ก็ขอให้กลับไปอ่านชิ้นแรก ที่วางกรอบการเขียนครั้งนี้เอาไว้แล้ว อีกข้อหนึ่ง ผมยินดีหากใครจะเพิ่มเติมรายละเอียด มุมมอง หรือประสบการณ์ที่แตกต่างออกไป แต่ขอให้แสดงความเห็นแบบ "ช่วยกันคิด" หน่อยนะครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อันที่จริงวิทยานิพนธ์เป็นส่วนน้อยๆ ของโลกวิชาการอันกว้างใหญ่ และเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเป็นนักวิชาการ แต่วิทยานิพนธ์ก็เป็นผลงานที่อาจจะดีที่สุดของนักวิชาการส่วนใหญ่ แต่สังคมวิชาการไทยกลับให้คุณค่าด้อยที่สุด พูดอย่างนี้เหมือนขัดแย้งกันเอง ขอให้ผมค่อยๆ อธิบายก็แล้วกันครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ก่อนเริ่มพูดเรื่องนี้ ผมอยากชี้แจงสักหน่อยนะครับว่า ที่เขียนนี่ไม่ใช่จะมาบ่นเรื่อยเปื่อยเพื่อขอความเห็นใจจากสังคม แต่อยากประจานให้รู้ว่าระบบที่รองรับงานวิชาการไทยอยู่เป็นอย่างไร ส่วนจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร อย่าถามผมเลย เพราะผมไม่มีอำนาจ ไม่ต้องมาย้อนบอกผมด้วยว่า "คุณก็ก้มหน้าก้มตาทำงานไปให้ดีที่สุดก็แล้วกัน" เพราะถ้าไม่เห็นว่าสิ่งที่เล่าไปเป็นประเด็นก็อย่าสนใจเสียเลยดีกว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมขอเริ่มที่เรืองซึ่งถือได้ว่าเป็นยาขมที่สุดของแวดวงมหาวิทยาลัยไทยเลยก็แล้วกัน ที่จริงว่าจะเขียนเรื่องการผลิตความรู้ก่อน แต่หนีไม่พ้นเรื่องการสอน เพราะนี่เป็นอุปสรรคใหญ่ต่อการทำงานวิชาการในไทยมากถึงมากที่สุดเลยก็ว่าได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อผมมาสอนหนังสือถึงได้รู้ว่า วันครูน่ะ เขามีไว้ปลอบใจครู ก็เหมือนกับวันสตรี เอาไว้ปลอบใจสตรี วันเด็กเอาไว้หลอกเด็กว่าผู้ใหญ่ให้ความสำคัญ แต่ที่จริงก็เอาไว้ตีกินปลูกฝังอะไรที่ผู้ใหญ่อยากได้อยากเป็นให้เด็ก ส่วนวันแม่กับวันพ่อน่ะอย่าพูดถึงเลย เพราะหากจะช่วยเป็นวันปลอบใจแม่กับพ่อก็ยังจะดีเสียกว่าที่จะให้กลายเป็นวันฉวยโอกาสของรัฐไทยอย่างที่เป็นอยู่นี้