Skip to main content

วันนี้เป็นวันระลึก "เหตุการณ์ 28 กุมภาพันธ์" 1947 หรือเรียกกันว่า "228 Incident" เหตุสังหารหมู่ประชาชนทั่วประเทศไต้หวัน โดยรัฐบาลที่เจียงไคเชกบังคับบัญชาในฐานะผู้นำก๊กมินตั๋งในจีนแผ่นดินใหญ่

เหตุเริ่มที่ไทเป เกิดจากการจับกุมและทุบตีหญิงขายบุหรี่หนีภาษีโดยเจ้าหน้าที่โรงงานยาสูบ ทำให้คนโกรธแค้น คนจน ผู้ใช้แรงงานซึ่งไม่พอใจการผูกขาดบุหรี่มายาวนาน จึงไปรวมตัวกันหน้าโรงงานยาสูบ เกิดเหตุวิวาทกัน จนมีเสียงปืน มีคนถูกยิงตาย หลายคนบาดเจ็บ วันรุ่งขึ้นคนไปล้อมทำเนียบ governor

 

 

คนประท้วงบุกยึดสถานีวิทยุแล้วประกาศข่าวไปทั่วประเทศ เมื่อคนรู้ เหตุการณ์ก็บานปลาย จากไทเป การลุกฮือก็ขยายไปเมืองใหญ่ทั่วประเทศ 

 

 

 

governor ไต้หวันจึงขอกำลังไปที่แผ่นดินใหญ่ เจียงไคเชกจึงส่งกำลังทหารมาปราบ กองกำลังทหารก๊กมินตั๋งยิงคนทั่วประเทศไต้หวันแบบไม่แยกแยะ คนเสียชีวิตไป 28,000 คน หลังเหตุการณ์ รัฐบาลยังล่าสังหารคนที่ถูกกล่าวหาว่าอยู่เบื้องหลังเหตุกาณ์อีก เรียกว่า White Terror ทำให้คนตาบและสูญหายอีกนับหมื่นคน ประเทศอยู่ในกฎอัยการศึกจนถึงปี 1987

ภายหลัง รัฐบาลก๊กมินตั๋ง ปี 1995 โดยลีเตงฮุย ประธานาธิบดีคนนี้ปฏิรูปประเทศให้เป็นประชาธิปไตย มีการเลือกตั้ง มีพรรคการเมือง ลีเตงฮุยได้ขอโทษประชาชน แล้วเริ่มรวบรวมข้อมูลเหตุการณ์ ทำ Peace Park และเอาสถานีวิทยุที่คนบุกไปยึดเป็นพิพิธภัณฑ์ เล่าเรื่องและแสดงชื่อเหยื่อทุกคน มีคลิปบันทึกการกล่าวขอโทษประชาชนของประธานาธิบดีไต้หวัน

เจียงไคเชกเป็นผู้ที่ถูกตราหน้าว่าต้องรับผิดชอบต่อเหตุกาณ์นี้ ในวาระครบรอบ 70 ปรเหตุการณ์ (2 ปีที่แล้ว) มีการเรียกร้องให้รื้ออนุสาวรีย์เจียงไคเชกทั้งหมดทั่วประเทศ แต่ก็ไม่ได้มีการทำกันจริงๆ ทุกๆ ปีจะมีข่าวการพ่นสีแดงบนอนุสาวรีย์ของเขาในที่ต่างๆ เพื่อสื่อถึงเลือดประชาชนที่ตายไปทั้งในเหตุการณ์ 228 และการปราบปรามประชาชนหลังจากนั้น

ในปีนี้ เมื่อวานนี้เอง ก็มีการทาสีแดงบนอนุสาวรีย์แห่งหนึ่ง ซึ่งมีหุ่นเขานั่งบนหลังม้า ส่วนม้าก็ถูกตัดขาออกข้างหนึ่ง อีกกรณีคือชายคนหนึ่ง วิ่งเข้าไปในเขตหวงห้าม แล้วปาโจ๊กใส่อนุสาวรีย์เจียงไคเชก ที่อนุสรณ์สถานของเขา พร้อมตะโกนว่า "ไอ้ เพื่อประท้วงว่า ประชาชนอีกจำนวนมากที่ได้รับผลจากการใช้กฎอัยการศึกมานานกว่า 40 ปียังไม่ได้รับความเป็นธรรม

ในปีนี้ รัฐบาลที่นำโดยพรรค Democratic Progressive Party จัดงานระลึกด้วยการที่ประธานาธิบดีโค้งคารวะญาติเหยื่อทุกคน แล้วออกประกาศนียบัตรถอดถอนรายชื่อผู้เป็นภัยต่อชาติให้แก่เหยื่อในเหตุกาณ์และผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้อง

ที่ผ่านมาเงินของก๊กมินตั๋งถูกเอามาแจกจ่ายเป็นค่าชดเชยแก่เหยื่อ แต่ประชาชนและหน่วยงานรัฐเรียกร้องว่า ประธานาธิบดีคนปัจจุบันก็ยังไม่ได้เร่งรัดสอบสวนเหตุการณ์ ที่ยังมีคนอีกมายังไม่ได้รับความเป็นธรรม

ไต้หวันเพิ่งเป็นประชาธิปไตย แต่มีพัฒนาการทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมที่ก้าวกระโดดมาก

 

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลังจากพินิจพิเคราะห์แล้วว่า ท่านผู้นำกำลังจะหมดเรื่องพล่ามในไม่ช้า เพราะเริ่มวนเวียนและเล่าเรื่องตัวเองมากขึ้น ท่านจึงควรหาความรู้รอบตัวมากขึ้น ก็เลยขอตามกระแส แนะนำหนังสือให้ท่านอ่าน ก็ไม่รู้จะ tag ท่านยังไง แต่คิดว่า เขียนใส่ขวดลอยไปก็อาจจะลอยไปถึงตีนบันไดบ้านท่านบ้างสักวัน ก็ขออนุญาตแนะนำดังนี้ครับท่าน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นท่านผู้นำไม่นิยมผู้หญิง เพราะในคณะรัฐบาลท่านมีผู้หญิงเพียง 2 คน ผมก็เลยขอแนะนำท่านว่า ผู้หญิงทำงานความคิดเก่งๆ มีมากมาย ไม่ใช่ให้ลูกน้องเอาผู้หญิงมาเต้นโป๊เปลือยดูกันในค่ายทหารเท่านั้น แต่ก็เอาล่ะ ขอแนะนำนักมานุษยวิทยาสตรีที่ผมชื่นชอบสัก 10 คนก็แล้วกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรามีปาก เขามีปืน เราขัดขืน เขาข่มเหงเรานักเขียน เขานักเลง เรายำเกรง เขาลำพอง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ใครที่รู้จักอาคารดังๆ ของแฟรงค์ ลอยด์ ไรท์ (Frak Lloyd Wright) อย่าง Guggenhiem Museum ที่นิวยอร์ค บ้านน้ำตกที่เพลซิลวาเนีย Imperial Hotel ที่โตเกียว อาจจะนึกไม่ถึงว่า บ้านที่ไรท์เรียกว่าเป็นบ้านของเขานั้นอยู่ในชนบทที่ Spring Green มลรัฐวิสคอนซิน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะแบบนี้ปรากฏตัวบ่อยครั้งในข้อถกเถียงทางการเมืองไทย ในระบบการศึกษาไทย ตำราเรียนไทย ประวัติศาสตรืไทยแบบทางการก็ยังสอนแบบนี้อยู่ คนไทยไม่ว่าจะใส่เสื้อสีใด ส่วนใหญ่ก็ยังเชื่อแบบนี้อยู่ ทัศนะแบบนี้คงกะลาความเป็นไทยเอาไว้อย่างหนาเตอะเกรอะกรัง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บทสนทนาระหว่าง นายอานันท์ ปันยารชุน กับนายภิญโญ ไตรสุริยธรรมา ล่าสุด เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2557 ที่โรงแรมมณเฑียร มีสาระที่น่าสนใจหลายประการต่อการเข้าใจการเมืองไทย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 นึกถึงชิคาโก ผู้คนคงนึกถึงตึกระฟ้าที่เคยประชันกันกับนิวยอร์ค นึกถึงธุรกิจที่ดึงดูดให้ใครต่อใครมาอาศัยที่นี่จนเป็นเมืองใหญ่อันดับ 3 ของสหรัฐอเมริกา นึกถึงสถาปัตยกรรมอันหลากหลายและฟังเมืองใหม่หลังไฟไฟม้ใหญ่จนราบไปทั้งเมือง นึกถึงอัลคาโปนเจ้าพ่อชื่อดัง นึกถึงพิพิธภัณฑ์ที่เดินดูกันทั้งเดือนก็คงไม่หมด นึกถึงมหาวิทยาลัยอันโด่งดังอย่างมหาวิทยาลัยแห่งชิคาโก แต่ใครบ้างจะนึกถึงแมกไม้และสายน้ำของชิคาโก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
  เมื่อวันจันทร์ (11 สค.) หลังจากใช้เวลาอยู่ใน Field Museum (ซึ่งพอดีมีนิทรรศการว่าด้วยกำเนิดของ Field Museum ที่เกี่ยวข้องกับกำเนิดของมานุษยวิทยาอเมริกันอย่างยิ่ง) ไปกว่า 4 ชั่วโมงแล้ว ผมลังเลอย่างยิ่งที่จะเข้าชม The Art Institute of Chicago ต่อ เพราะเกรงว่าจะไม่ทันได้ครุ่นคิดอะไรกับความรู้และความรู้สึกแบบอัดแน่นจากเมื่อ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักเรียนคนหนึ่งถามเรื่อง "การเขียน" และการวางแผน "อนาคต" ของเขา ผมเขียนตอบไปอย่างยาว เห็นว่าอาจเป็นประโยชน์กับคนอื่นๆ บ้าง ก็เลยขอนำมาเผยแพร่ที่นี่ครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะอาจารย์ธรรมศาสตร์ ผมไม่อาจยินดีกับการที่ผู้บริหารสูงสุดของมหาวิทยาลัยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จาก คสช. 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อก่อนผมเถียงกับเพื่อนเสมอว่า อย่ามาถามว่าผมเป็นคนที่ไหน เพราะคนเราอาจมีหลายบ้าน มีใครในยุคนี้ที่ไม่ย้ายบ้านบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำสวยหรูนี้ประดิษฐ์ขึ้นมาในภาษาไทยโดยใครนั้น ผู้ที่ติดตามแวดวงวิชาการในระยะ 30 ปีที่ผ่านมาย่อมทราบดี ไม่ว่าจิตวิญญาณของผู้ที่กล่าวคำนี้จะยังอยู่กับแนวคิดนี้ที่เขาอาจพลั้งปากออกมาหรือไม่ คนที่สนิทชิดเชื้อกับผู้ประดิษฐ์คำท่านนี้ก็คงจะทราบดี