Skip to main content

วันนี้เป็นวันระลึก "เหตุการณ์ 28 กุมภาพันธ์" 1947 หรือเรียกกันว่า "228 Incident" เหตุสังหารหมู่ประชาชนทั่วประเทศไต้หวัน โดยรัฐบาลที่เจียงไคเชกบังคับบัญชาในฐานะผู้นำก๊กมินตั๋งในจีนแผ่นดินใหญ่

เหตุเริ่มที่ไทเป เกิดจากการจับกุมและทุบตีหญิงขายบุหรี่หนีภาษีโดยเจ้าหน้าที่โรงงานยาสูบ ทำให้คนโกรธแค้น คนจน ผู้ใช้แรงงานซึ่งไม่พอใจการผูกขาดบุหรี่มายาวนาน จึงไปรวมตัวกันหน้าโรงงานยาสูบ เกิดเหตุวิวาทกัน จนมีเสียงปืน มีคนถูกยิงตาย หลายคนบาดเจ็บ วันรุ่งขึ้นคนไปล้อมทำเนียบ governor

 

 

คนประท้วงบุกยึดสถานีวิทยุแล้วประกาศข่าวไปทั่วประเทศ เมื่อคนรู้ เหตุการณ์ก็บานปลาย จากไทเป การลุกฮือก็ขยายไปเมืองใหญ่ทั่วประเทศ 

 

 

 

governor ไต้หวันจึงขอกำลังไปที่แผ่นดินใหญ่ เจียงไคเชกจึงส่งกำลังทหารมาปราบ กองกำลังทหารก๊กมินตั๋งยิงคนทั่วประเทศไต้หวันแบบไม่แยกแยะ คนเสียชีวิตไป 28,000 คน หลังเหตุการณ์ รัฐบาลยังล่าสังหารคนที่ถูกกล่าวหาว่าอยู่เบื้องหลังเหตุกาณ์อีก เรียกว่า White Terror ทำให้คนตาบและสูญหายอีกนับหมื่นคน ประเทศอยู่ในกฎอัยการศึกจนถึงปี 1987

ภายหลัง รัฐบาลก๊กมินตั๋ง ปี 1995 โดยลีเตงฮุย ประธานาธิบดีคนนี้ปฏิรูปประเทศให้เป็นประชาธิปไตย มีการเลือกตั้ง มีพรรคการเมือง ลีเตงฮุยได้ขอโทษประชาชน แล้วเริ่มรวบรวมข้อมูลเหตุการณ์ ทำ Peace Park และเอาสถานีวิทยุที่คนบุกไปยึดเป็นพิพิธภัณฑ์ เล่าเรื่องและแสดงชื่อเหยื่อทุกคน มีคลิปบันทึกการกล่าวขอโทษประชาชนของประธานาธิบดีไต้หวัน

เจียงไคเชกเป็นผู้ที่ถูกตราหน้าว่าต้องรับผิดชอบต่อเหตุกาณ์นี้ ในวาระครบรอบ 70 ปรเหตุการณ์ (2 ปีที่แล้ว) มีการเรียกร้องให้รื้ออนุสาวรีย์เจียงไคเชกทั้งหมดทั่วประเทศ แต่ก็ไม่ได้มีการทำกันจริงๆ ทุกๆ ปีจะมีข่าวการพ่นสีแดงบนอนุสาวรีย์ของเขาในที่ต่างๆ เพื่อสื่อถึงเลือดประชาชนที่ตายไปทั้งในเหตุการณ์ 228 และการปราบปรามประชาชนหลังจากนั้น

ในปีนี้ เมื่อวานนี้เอง ก็มีการทาสีแดงบนอนุสาวรีย์แห่งหนึ่ง ซึ่งมีหุ่นเขานั่งบนหลังม้า ส่วนม้าก็ถูกตัดขาออกข้างหนึ่ง อีกกรณีคือชายคนหนึ่ง วิ่งเข้าไปในเขตหวงห้าม แล้วปาโจ๊กใส่อนุสาวรีย์เจียงไคเชก ที่อนุสรณ์สถานของเขา พร้อมตะโกนว่า "ไอ้ เพื่อประท้วงว่า ประชาชนอีกจำนวนมากที่ได้รับผลจากการใช้กฎอัยการศึกมานานกว่า 40 ปียังไม่ได้รับความเป็นธรรม

ในปีนี้ รัฐบาลที่นำโดยพรรค Democratic Progressive Party จัดงานระลึกด้วยการที่ประธานาธิบดีโค้งคารวะญาติเหยื่อทุกคน แล้วออกประกาศนียบัตรถอดถอนรายชื่อผู้เป็นภัยต่อชาติให้แก่เหยื่อในเหตุกาณ์และผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้อง

ที่ผ่านมาเงินของก๊กมินตั๋งถูกเอามาแจกจ่ายเป็นค่าชดเชยแก่เหยื่อ แต่ประชาชนและหน่วยงานรัฐเรียกร้องว่า ประธานาธิบดีคนปัจจุบันก็ยังไม่ได้เร่งรัดสอบสวนเหตุการณ์ ที่ยังมีคนอีกมายังไม่ได้รับความเป็นธรรม

ไต้หวันเพิ่งเป็นประชาธิปไตย แต่มีพัฒนาการทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมที่ก้าวกระโดดมาก

 

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่แน่ใจว่านโยบายยุบโรงเรียนขนาดเล็กนี้จะดีหรือไม่ สงสัยว่า "คิดดีแล้วหรือที่จะยุบโรงเรียนขนาดเล็ก" ในทางเศรษฐศาสตร์แบบทื่อๆ คงมี "จุดคุ้มทุน" ของการจัดการศึกษาอยู่ระดับหนึ่ง ตามข่าว ดูเหมือนว่าควรจะอยู่ที่การมีนักเรียนโรงเรียนละ 60 คน แต่คงมีเหตุผลบางอย่างที่โรงเรียนตามพื้นที่ชนบทไม่สามารถมีนักเรียนมากขนาดนั้นได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตอนนี้เถียงกันมากเรื่องกะหรี่ ว่ากันไปมาจนกระทั่งทั้งสองฝ่ายก็หนีไม่พ้นเอาคำเดียวกัน หรือทัศนะคติเหยียดเพศหญิงเช่นเดียวกันมาด่ากัน ฝ่ายหนึ่งด่าอีกฝ่ายว่า "อีกะหรี่" อีกฝ่ายหนึ่งด่ากลับว่า "แม่มึงสิเป็นกะหรี่" หรือ "ไปเอากระโปรงอีนั่นมาคลุมหัวแทนไป๊" ตกลงก็ยังหนีไม่พ้นสังคมที่ดูถูกเพศหญิงอยู่ดี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงสั้นๆ ของชีวิตผมมีโอกาสได้รู้จักคนในแวดวงนักเขียนรูป ผ่านครูสอนวาดเส้นให้ผมคนหนึ่ง ครูผมคนนี้มีเพื่อนคนหนึ่งที่เขาสนิทสนมกันดี ชื่อไสว วงษาพรหม เมื่อคืน ได้สนทนากับคนในแวดวงศิลปะ ที่เรือนชานแห่งหนึ่งที่มีไมตรีให้เพื่อนฝูงเสมอ ผมจึงเพิ่งทราบว่าไสวเสียชีวิตไปหลายปีแล้ว ลอง google ดูพบว่าเขาเสียชีวิตเมื่อ 22 สิงหาคม 2551
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทำไม "เหี้ย ควย หี เย็ด" จึงกลายเป็นภาพเขียนชุดล่าสุดของศิลปินเขียนภาพชั้นนำของไทย ทำไม "กะหรี่" จึงเป็นส่วนหนึ่งของข้อเขียนนักเขียนการ์ตูนผู้ทรงอิทธิพลของไทย ทำไมนักเศรษฐศาสตร์ไทยชั้นนำจึงเขียนคำ "อยากเอา" เป็นความเห็นประกอบภาพวิจารณ์นักการเมือง ทำไมภาษาแบบนี้จึงกลายมาเป็นภาษาทางการเมืองของคนที่มีความสามารถในการสื่อสารเหนือคนทั่วไปเหล่านี้ หลายคนวิเคราะห์แล้วว่า เพราะพวกเขาเร่ิมจนแต้มทางการเมือง "เถียงสู้อีกฝ่ายไม่ได้ก็เลยด่าแม่งไป"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วานนี้ (29 เมษายน 2556) "ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา" และ "ศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย" มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดอภิปราย "สู่สันติภาพในอุษาคเนย์" งานนี้จัดท่ามกลางบรรยากาศการเจรจาสันติภาพระหว่างรัฐบาลไทยกับ BRN
ยุกติ มุกดาวิจิตร
“นักวิชาการเสื้อแดง” เป็นเสมือนตำแหน่งทางวิชาการอย่างหนึ่ง การตีตราตำแหน่งนี้สะท้อนความเฉยชาและคับแคบต่อปัญหาสิทธิมนุษยชนและความเป็นธรรมของปัญญาชนไทย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวานเพ่ิงดูพี่ "มากขา" หลายขา แล้วก็อยากมีความเห็นอย่างใครๆ เขาบ้าง ส่วนใครที่ยังไม่ได้ดูแล้วกำลังคิดจะไปดู ก็อย่าเพ่ิงอ่านครับ เดี๋ยวจะเซ็งเสียก่อน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทุกๆ ปี ผมสอนวิชา “ชาติพันธ์ุ์นิพนธ์: การวิพากษ์และการนำเสนอแนวใหม่” ระดับปริญญาตรี ผมออกแบบให้วิชานี้เป็นการศึกษาแบบสัมมนา มีการแลกเปลี่ยนความเห็นของนักศึกษามากกว่าการบรรยายของผู้สอน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสองวันก่อน มีคนที่สนใจนโยบายรถไฟความเร็วสูงคนหนึ่งถามผมว่า "อาจารย์รู้ไหมว่า โอกาสที่รถไฟไทยจะตรงเวลามีเท่าไหร่" ผมตอบ "ไม่รู้หรอก" เขาบอกว่า "มีเพียง 30%" 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"ปีใหม่" เป็นจินตกรรมของเวลาที่กำหนดการสิ้นสุดและการเริ่มต้น ศักราช เวลาของสังคม การจัดระบบของเวลา ล้วนมีเทศกาลกำกับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
น่าละอายใจที่สภาผู้แทนราษฎรปัดตกข้อเสนอของประชาชนกว่าสามหมื่นคนที่เสนอให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ถ้าบอกกันตรงๆ ว่า "กลัวอ่ะ" ก็จบ ประชาชนอาจจะให้อภัยความปอดแหกได้ แต่ประชาชนส่วนหนึ่งจะตัดสินใจไม่เลือกพวกคุณเข้ามาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนฯ อีกอย่างแน่นอน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ยามหมดปีการศึกษาทีไร ก็ชวนให้ทบทวนถึงหน้าที่การงานด้านการเรียนการสอนของตนเอง แต่ผมทำตามแบบที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ หรือ สกอ. ให้ทำไม่เป็นหรอก เพราะมันไร้สาระ เป็นกลไกเกินไป และไม่ก่อประโยชน์อะไรนอกจากเปลืองกระดาษและน้ำหมึก ผมมักทำในแบบของผมเองนี่แหละ