Skip to main content

การเสียสละกับการรักษาหลักการมักถูกนำมาใช้อ้างหรือมากกว่านั้นคืออาจมีส่วนใช้ในการตัดสินใจ

ผมไม่สามารถตัดสินใจแทนเพื่อนได้ แต่ผมยังคิดว่าเพื่อนมีเวลาและกล้าหาญพอที่จะตัดสินใจเลือกแนวทางที่ไม่ต้องอ้างเรื่องการเสียสละ หรือคิดให้มากขึ้นถึงต้นทุนของทั้งสังคมที่ใหญ่กว่าและเครือข่ายสังคมของเพื่อนเอง

เวลาเราคิดว่าต้องเสียสละ เราเสียอะไรบ้าง บางคนอาจคิดจากหลักของความเป็นผู้มีคุณธรรม การเสียสละมักเป็นเรื่องทางศาสนา งานศึกษาเรื่องการเสียสละมีตั้งแต่การมองว่า การเสียสละคือการสื่อสารกับสิ่งเหนือมนุษย์ หากจะถือว่าสิ่งเหนือมนุษย์ก็คือสังคมนั่นแหละ การเสียสละก็คือการทำงานเพื่อคนอื่น เป็นการอุทิศตัวให้สังคม

 

แต่การศึกษาสังคมมนุษย์ยังมีอีกแนวทางหนึ่งที่มองว่า การเสียสละไม่ใช่คุณธรรมสูงส่งอะไรหรอก แต่มันเป็นการสร้างข้อแลกเปลี่ยน หรือพูดให้ตรงกว่านั้นคือ มันเป็นการแลกเปลี่ยนอย่างหนึ่งนั่นเอง ผู้ที่เสีย หรือเชื่อโดยบริสุทธิ์ใจว่าเขายอมเสียโดยไม่รับอะไรกลับคืนมาเลย ยอมให้ในขนาดที่ผู้รับทั้งไม่อาจปฏิเสธได้และไม่สามารถให้ตอบแทนคืนได้นั่น อันที่จริงเขาก็คือผู้มีอำนาจสูงสุดแบบหนึ่งนั่นเอง

 

ให้ชัดกว่านั้น มีผู้กล่าวว่า การเสียสละก็คือการสะสมทุนแบบหนึ่งของผู้เสียสละ มันคือการสะสมทุนทางสังคมและเศรษฐกิจ ผ่านการหลบเลี่ยงว่าเขาเป็นผู้ให้ เป็นผู้ละทิ้ง เป็นผู้สละตน หากแต่ผลที่เขาจะได้รับตอบแทนก็คือ อำนาจราชศักดิ์ต่างๆ ที่ทั้งแปลงไปเป็นทุนทางสังคม เครือข่ายผู้ภักดี และทุนทางเศรษฐกิจแบบต่างๆ

 

ผมเชื่อในมุมมองการเสียสละอย่างหลังมากกว่า และเลือกทีาจะมองว่า การเสียสละมีต้นทุนเสมอ หากเบือกว่านะเสียสละอะไรไป ก็ต้องคิดง่ายๆ ด้วยว่า สิ่งที่เสียไปกับที่จะได้มามันคุ้มกันไหม 

 

การเสียสละบางอย่างถูกใช้อ้างเพื่อหักล้างต่อหลักการของตนเอง เพื่อรักษาเครือข่ายทางสังคมของตนเอง เพราะเชื่อว่าหากยอมทิ้งหรือปิดตาข้างหนึ่งยอมลืมหลักการที่ดีกว่า อาจจะดีกว่าการยอมยึดถือหลักการแต่ต้องเสียเครือข่ายไป ผมเห็นคนมากมายเลือกแบบนั้นแล้วสุดท้ายเขาก็เสื่อมลงๆ

 

หากเพื่อนเชื่อมั่นต่อหลักการที่ยึดถือและป่าวประกาศมาตลอดว่าสังคมนี้จะต้องก้าวไปสู่สังคมที่เคารพในสิทธิเสรีภาพของประชาชน ยึดมั่นในหลักการประชาธิปไตย การยอมสูญเสียหลักการนี้เพื่อรักษาตำแหน่งแห่งที่ของตน รักษาเครือข่ายของตนนั้น อย่างไหนเรียกว่าเป็นการเสียสละมากกว่ากันแน่

 

เราได้เห็นกันมามากแล้วว่า การก้าวเข้าไปในวังวนของอำนาจแบบเผด็จการนั้น ไม่เคยช่วยอะไรแก่สังคม ชุมชน ประชาชนโดยกว้างได้ แต่หากเพื่อนเราบางคนยังคงยังเชื่ออยู่ว่า เขาต้องยอมเสียสละเพื่อรักษาเครือข่ายทางสังคมของเขา ผมก็เสียใจที่ทำได้แค่นั่งรอดูว่า เขาจะไปอยู่ในกลุ่มผู้อับจนและเสื่อมถอยทางการเมืองแบบประชาธิปไตยไปได้อีกถึงไหน

 

แต่หากเพื่อนกล้าถอยออกมา ผมมั่นใจว่าเครือข่ายทางสังคมของเพื่อนรวมทั้งผมเอง ก็ย่อมเข้าใจและพร้อมสู้ร่วมกับเพื่อนต่อไป

 

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา หลายคนคงเป็นแบบผม คือพยายามข่มอารมณ์ฝ่าฟันการสบถของท่านผู้นำ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตั้งแต่ที่ผมรู้จักงานฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์มา มีปีนี้เองที่ผมคิดว่ากิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่มีความหมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปี 2558 เป็นปีที่คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีอายุครบ 50 ปี นับตั้งแต่เริ่มเป็นแผนกอิสระในคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์มาตั้งแต่ปี 2508
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เปิดภาคการศึกษานี้มีเรื่องน่าตื่นเต้นคือ วันแรกที่ไปสอน (ผมสอนอังคาร, พฤหัสบดี ครั้งละ 1 ชั่วโมง 15 นาที) มีนักเรียนมาเต็มห้อง เขากำหนดโควต้าไว้ที่ 34 คน แต่หลังจากผมแนะนำเค้าโครงการบรรยาย คงเพราะงานมาก จุกจิก ก็มีคนถอนชื่อออกไปจำนวนหนึ่ง คืนก่อนที่จะไปสอนครั้งที่สอง ผมก็เลยฝันร้าย คือฝันว่าวันรุ่งขึ้นมีนักเรียนมาเรียนแค่ 3 คน แล้วเรียนๆ ไปนักเรียนหนีหายไปเหลือ 2 คน แต่พอตื่นไปสอนจริง ยังมีนักเรียนเหลืออีก 20 กว่าคน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อได้ทราบว่าอาจารย์เก่งกิจทำวิจัยทบทวนวรรณกรรมด้านชนบทศึกษา โดยลงแรงส่วนหนึ่งอ่านงาน “ทบทวนภูมิทัศน์การเมืองไทย” (ต่อไปนี้จะเรียกว่า “ทบทวนภูมิทัศน์ฯ”) (อภิชาต ยุกติ นิติ 2556) ที่ผมมีส่วนร่วมกับนักวิจัยในทีมทั้งหมด 6 คนในตอนแรก และ 9 คนในช่วงทำวิจัยใหญ่ [1] ผมก็ตื่นเต้นยินดีที่นานๆ จะมีนักวิชาการไทยอ่านงานนักวิชาการไทยด้วยกันเองอย่างเอาจริงเอาจังสักที 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะให้ผมเขียนเรื่องอุปสรรคขัดขวางโลกวิชาการไทยต่อการก้าวขึ้นสู่ความเป็นเลิศในระดับนานาชาติไปอีกเรื่อยๆ น่ะ ผมก็จะหาประเด็นมาเขียนไปได้อีกเรื่อยๆ นั่นแหละ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ถ้านับย้อนกลับไปถึงช่วงปีที่ผมเริ่มสนใจงานวิชาการจนเข้ามาทำงานเป็นอาจารย์ ก็อาจนับได้ไปถึง 25 ปีที่ผมเห็นความเปลี่ยนแปลงในโลกวิชาการไทย ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่สำคัญคือการบริหารงานในมหาวิทยาลัย แต่ขอยกเรื่องนั้นเอาไว้ก่อน เพราะหากค่อยๆ ดูเรื่องย่อยๆ ไปเรื่อยๆ แล้วก็น่าจะช่วยให้เห็นอะไรมากขึ้นว่า การบริหารงานวิชาการในขณะนี้วางอยู่บนระบบแบบไหน เป็นระบบที่เน้นสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการในเชิงปริมาณหรือคุณภาพกันแน่ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บอกอีกครั้งสำหรับใครที่เพิ่งอ่านตอนนี้ ผมเขียนเรื่องนี้ต่อเนื่องกันมาชิ้นนี้เป็นชิ้นที่ 5 แล้ว ถ้าจะไม่อ่านชิ้นอื่นๆ (ซึ่งก็อาจชวนงงได้) ก็ขอให้กลับไปอ่านชิ้นแรก ที่วางกรอบการเขียนครั้งนี้เอาไว้แล้ว อีกข้อหนึ่ง ผมยินดีหากใครจะเพิ่มเติมรายละเอียด มุมมอง หรือประสบการณ์ที่แตกต่างออกไป แต่ขอให้แสดงความเห็นแบบ "ช่วยกันคิด" หน่อยนะครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อันที่จริงวิทยานิพนธ์เป็นส่วนน้อยๆ ของโลกวิชาการอันกว้างใหญ่ และเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเป็นนักวิชาการ แต่วิทยานิพนธ์ก็เป็นผลงานที่อาจจะดีที่สุดของนักวิชาการส่วนใหญ่ แต่สังคมวิชาการไทยกลับให้คุณค่าด้อยที่สุด พูดอย่างนี้เหมือนขัดแย้งกันเอง ขอให้ผมค่อยๆ อธิบายก็แล้วกันครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ก่อนเริ่มพูดเรื่องนี้ ผมอยากชี้แจงสักหน่อยนะครับว่า ที่เขียนนี่ไม่ใช่จะมาบ่นเรื่อยเปื่อยเพื่อขอความเห็นใจจากสังคม แต่อยากประจานให้รู้ว่าระบบที่รองรับงานวิชาการไทยอยู่เป็นอย่างไร ส่วนจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร อย่าถามผมเลย เพราะผมไม่มีอำนาจ ไม่ต้องมาย้อนบอกผมด้วยว่า "คุณก็ก้มหน้าก้มตาทำงานไปให้ดีที่สุดก็แล้วกัน" เพราะถ้าไม่เห็นว่าสิ่งที่เล่าไปเป็นประเด็นก็อย่าสนใจเสียเลยดีกว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมขอเริ่มที่เรืองซึ่งถือได้ว่าเป็นยาขมที่สุดของแวดวงมหาวิทยาลัยไทยเลยก็แล้วกัน ที่จริงว่าจะเขียนเรื่องการผลิตความรู้ก่อน แต่หนีไม่พ้นเรื่องการสอน เพราะนี่เป็นอุปสรรคใหญ่ต่อการทำงานวิชาการในไทยมากถึงมากที่สุดเลยก็ว่าได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อผมมาสอนหนังสือถึงได้รู้ว่า วันครูน่ะ เขามีไว้ปลอบใจครู ก็เหมือนกับวันสตรี เอาไว้ปลอบใจสตรี วันเด็กเอาไว้หลอกเด็กว่าผู้ใหญ่ให้ความสำคัญ แต่ที่จริงก็เอาไว้ตีกินปลูกฝังอะไรที่ผู้ใหญ่อยากได้อยากเป็นให้เด็ก ส่วนวันแม่กับวันพ่อน่ะอย่าพูดถึงเลย เพราะหากจะช่วยเป็นวันปลอบใจแม่กับพ่อก็ยังจะดีเสียกว่าที่จะให้กลายเป็นวันฉวยโอกาสของรัฐไทยอย่างที่เป็นอยู่นี้