Skip to main content

การเสียสละกับการรักษาหลักการมักถูกนำมาใช้อ้างหรือมากกว่านั้นคืออาจมีส่วนใช้ในการตัดสินใจ

ผมไม่สามารถตัดสินใจแทนเพื่อนได้ แต่ผมยังคิดว่าเพื่อนมีเวลาและกล้าหาญพอที่จะตัดสินใจเลือกแนวทางที่ไม่ต้องอ้างเรื่องการเสียสละ หรือคิดให้มากขึ้นถึงต้นทุนของทั้งสังคมที่ใหญ่กว่าและเครือข่ายสังคมของเพื่อนเอง

เวลาเราคิดว่าต้องเสียสละ เราเสียอะไรบ้าง บางคนอาจคิดจากหลักของความเป็นผู้มีคุณธรรม การเสียสละมักเป็นเรื่องทางศาสนา งานศึกษาเรื่องการเสียสละมีตั้งแต่การมองว่า การเสียสละคือการสื่อสารกับสิ่งเหนือมนุษย์ หากจะถือว่าสิ่งเหนือมนุษย์ก็คือสังคมนั่นแหละ การเสียสละก็คือการทำงานเพื่อคนอื่น เป็นการอุทิศตัวให้สังคม

 

แต่การศึกษาสังคมมนุษย์ยังมีอีกแนวทางหนึ่งที่มองว่า การเสียสละไม่ใช่คุณธรรมสูงส่งอะไรหรอก แต่มันเป็นการสร้างข้อแลกเปลี่ยน หรือพูดให้ตรงกว่านั้นคือ มันเป็นการแลกเปลี่ยนอย่างหนึ่งนั่นเอง ผู้ที่เสีย หรือเชื่อโดยบริสุทธิ์ใจว่าเขายอมเสียโดยไม่รับอะไรกลับคืนมาเลย ยอมให้ในขนาดที่ผู้รับทั้งไม่อาจปฏิเสธได้และไม่สามารถให้ตอบแทนคืนได้นั่น อันที่จริงเขาก็คือผู้มีอำนาจสูงสุดแบบหนึ่งนั่นเอง

 

ให้ชัดกว่านั้น มีผู้กล่าวว่า การเสียสละก็คือการสะสมทุนแบบหนึ่งของผู้เสียสละ มันคือการสะสมทุนทางสังคมและเศรษฐกิจ ผ่านการหลบเลี่ยงว่าเขาเป็นผู้ให้ เป็นผู้ละทิ้ง เป็นผู้สละตน หากแต่ผลที่เขาจะได้รับตอบแทนก็คือ อำนาจราชศักดิ์ต่างๆ ที่ทั้งแปลงไปเป็นทุนทางสังคม เครือข่ายผู้ภักดี และทุนทางเศรษฐกิจแบบต่างๆ

 

ผมเชื่อในมุมมองการเสียสละอย่างหลังมากกว่า และเลือกทีาจะมองว่า การเสียสละมีต้นทุนเสมอ หากเบือกว่านะเสียสละอะไรไป ก็ต้องคิดง่ายๆ ด้วยว่า สิ่งที่เสียไปกับที่จะได้มามันคุ้มกันไหม 

 

การเสียสละบางอย่างถูกใช้อ้างเพื่อหักล้างต่อหลักการของตนเอง เพื่อรักษาเครือข่ายทางสังคมของตนเอง เพราะเชื่อว่าหากยอมทิ้งหรือปิดตาข้างหนึ่งยอมลืมหลักการที่ดีกว่า อาจจะดีกว่าการยอมยึดถือหลักการแต่ต้องเสียเครือข่ายไป ผมเห็นคนมากมายเลือกแบบนั้นแล้วสุดท้ายเขาก็เสื่อมลงๆ

 

หากเพื่อนเชื่อมั่นต่อหลักการที่ยึดถือและป่าวประกาศมาตลอดว่าสังคมนี้จะต้องก้าวไปสู่สังคมที่เคารพในสิทธิเสรีภาพของประชาชน ยึดมั่นในหลักการประชาธิปไตย การยอมสูญเสียหลักการนี้เพื่อรักษาตำแหน่งแห่งที่ของตน รักษาเครือข่ายของตนนั้น อย่างไหนเรียกว่าเป็นการเสียสละมากกว่ากันแน่

 

เราได้เห็นกันมามากแล้วว่า การก้าวเข้าไปในวังวนของอำนาจแบบเผด็จการนั้น ไม่เคยช่วยอะไรแก่สังคม ชุมชน ประชาชนโดยกว้างได้ แต่หากเพื่อนเราบางคนยังคงยังเชื่ออยู่ว่า เขาต้องยอมเสียสละเพื่อรักษาเครือข่ายทางสังคมของเขา ผมก็เสียใจที่ทำได้แค่นั่งรอดูว่า เขาจะไปอยู่ในกลุ่มผู้อับจนและเสื่อมถอยทางการเมืองแบบประชาธิปไตยไปได้อีกถึงไหน

 

แต่หากเพื่อนกล้าถอยออกมา ผมมั่นใจว่าเครือข่ายทางสังคมของเพื่อนรวมทั้งผมเอง ก็ย่อมเข้าใจและพร้อมสู้ร่วมกับเพื่อนต่อไป

 

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลังจากพินิจพิเคราะห์แล้วว่า ท่านผู้นำกำลังจะหมดเรื่องพล่ามในไม่ช้า เพราะเริ่มวนเวียนและเล่าเรื่องตัวเองมากขึ้น ท่านจึงควรหาความรู้รอบตัวมากขึ้น ก็เลยขอตามกระแส แนะนำหนังสือให้ท่านอ่าน ก็ไม่รู้จะ tag ท่านยังไง แต่คิดว่า เขียนใส่ขวดลอยไปก็อาจจะลอยไปถึงตีนบันไดบ้านท่านบ้างสักวัน ก็ขออนุญาตแนะนำดังนี้ครับท่าน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นท่านผู้นำไม่นิยมผู้หญิง เพราะในคณะรัฐบาลท่านมีผู้หญิงเพียง 2 คน ผมก็เลยขอแนะนำท่านว่า ผู้หญิงทำงานความคิดเก่งๆ มีมากมาย ไม่ใช่ให้ลูกน้องเอาผู้หญิงมาเต้นโป๊เปลือยดูกันในค่ายทหารเท่านั้น แต่ก็เอาล่ะ ขอแนะนำนักมานุษยวิทยาสตรีที่ผมชื่นชอบสัก 10 คนก็แล้วกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรามีปาก เขามีปืน เราขัดขืน เขาข่มเหงเรานักเขียน เขานักเลง เรายำเกรง เขาลำพอง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ใครที่รู้จักอาคารดังๆ ของแฟรงค์ ลอยด์ ไรท์ (Frak Lloyd Wright) อย่าง Guggenhiem Museum ที่นิวยอร์ค บ้านน้ำตกที่เพลซิลวาเนีย Imperial Hotel ที่โตเกียว อาจจะนึกไม่ถึงว่า บ้านที่ไรท์เรียกว่าเป็นบ้านของเขานั้นอยู่ในชนบทที่ Spring Green มลรัฐวิสคอนซิน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะแบบนี้ปรากฏตัวบ่อยครั้งในข้อถกเถียงทางการเมืองไทย ในระบบการศึกษาไทย ตำราเรียนไทย ประวัติศาสตรืไทยแบบทางการก็ยังสอนแบบนี้อยู่ คนไทยไม่ว่าจะใส่เสื้อสีใด ส่วนใหญ่ก็ยังเชื่อแบบนี้อยู่ ทัศนะแบบนี้คงกะลาความเป็นไทยเอาไว้อย่างหนาเตอะเกรอะกรัง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บทสนทนาระหว่าง นายอานันท์ ปันยารชุน กับนายภิญโญ ไตรสุริยธรรมา ล่าสุด เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2557 ที่โรงแรมมณเฑียร มีสาระที่น่าสนใจหลายประการต่อการเข้าใจการเมืองไทย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 นึกถึงชิคาโก ผู้คนคงนึกถึงตึกระฟ้าที่เคยประชันกันกับนิวยอร์ค นึกถึงธุรกิจที่ดึงดูดให้ใครต่อใครมาอาศัยที่นี่จนเป็นเมืองใหญ่อันดับ 3 ของสหรัฐอเมริกา นึกถึงสถาปัตยกรรมอันหลากหลายและฟังเมืองใหม่หลังไฟไฟม้ใหญ่จนราบไปทั้งเมือง นึกถึงอัลคาโปนเจ้าพ่อชื่อดัง นึกถึงพิพิธภัณฑ์ที่เดินดูกันทั้งเดือนก็คงไม่หมด นึกถึงมหาวิทยาลัยอันโด่งดังอย่างมหาวิทยาลัยแห่งชิคาโก แต่ใครบ้างจะนึกถึงแมกไม้และสายน้ำของชิคาโก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
  เมื่อวันจันทร์ (11 สค.) หลังจากใช้เวลาอยู่ใน Field Museum (ซึ่งพอดีมีนิทรรศการว่าด้วยกำเนิดของ Field Museum ที่เกี่ยวข้องกับกำเนิดของมานุษยวิทยาอเมริกันอย่างยิ่ง) ไปกว่า 4 ชั่วโมงแล้ว ผมลังเลอย่างยิ่งที่จะเข้าชม The Art Institute of Chicago ต่อ เพราะเกรงว่าจะไม่ทันได้ครุ่นคิดอะไรกับความรู้และความรู้สึกแบบอัดแน่นจากเมื่อ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักเรียนคนหนึ่งถามเรื่อง "การเขียน" และการวางแผน "อนาคต" ของเขา ผมเขียนตอบไปอย่างยาว เห็นว่าอาจเป็นประโยชน์กับคนอื่นๆ บ้าง ก็เลยขอนำมาเผยแพร่ที่นี่ครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะอาจารย์ธรรมศาสตร์ ผมไม่อาจยินดีกับการที่ผู้บริหารสูงสุดของมหาวิทยาลัยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จาก คสช. 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อก่อนผมเถียงกับเพื่อนเสมอว่า อย่ามาถามว่าผมเป็นคนที่ไหน เพราะคนเราอาจมีหลายบ้าน มีใครในยุคนี้ที่ไม่ย้ายบ้านบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำสวยหรูนี้ประดิษฐ์ขึ้นมาในภาษาไทยโดยใครนั้น ผู้ที่ติดตามแวดวงวิชาการในระยะ 30 ปีที่ผ่านมาย่อมทราบดี ไม่ว่าจิตวิญญาณของผู้ที่กล่าวคำนี้จะยังอยู่กับแนวคิดนี้ที่เขาอาจพลั้งปากออกมาหรือไม่ คนที่สนิทชิดเชื้อกับผู้ประดิษฐ์คำท่านนี้ก็คงจะทราบดี