Skip to main content

การเสียสละกับการรักษาหลักการมักถูกนำมาใช้อ้างหรือมากกว่านั้นคืออาจมีส่วนใช้ในการตัดสินใจ

ผมไม่สามารถตัดสินใจแทนเพื่อนได้ แต่ผมยังคิดว่าเพื่อนมีเวลาและกล้าหาญพอที่จะตัดสินใจเลือกแนวทางที่ไม่ต้องอ้างเรื่องการเสียสละ หรือคิดให้มากขึ้นถึงต้นทุนของทั้งสังคมที่ใหญ่กว่าและเครือข่ายสังคมของเพื่อนเอง

เวลาเราคิดว่าต้องเสียสละ เราเสียอะไรบ้าง บางคนอาจคิดจากหลักของความเป็นผู้มีคุณธรรม การเสียสละมักเป็นเรื่องทางศาสนา งานศึกษาเรื่องการเสียสละมีตั้งแต่การมองว่า การเสียสละคือการสื่อสารกับสิ่งเหนือมนุษย์ หากจะถือว่าสิ่งเหนือมนุษย์ก็คือสังคมนั่นแหละ การเสียสละก็คือการทำงานเพื่อคนอื่น เป็นการอุทิศตัวให้สังคม

 

แต่การศึกษาสังคมมนุษย์ยังมีอีกแนวทางหนึ่งที่มองว่า การเสียสละไม่ใช่คุณธรรมสูงส่งอะไรหรอก แต่มันเป็นการสร้างข้อแลกเปลี่ยน หรือพูดให้ตรงกว่านั้นคือ มันเป็นการแลกเปลี่ยนอย่างหนึ่งนั่นเอง ผู้ที่เสีย หรือเชื่อโดยบริสุทธิ์ใจว่าเขายอมเสียโดยไม่รับอะไรกลับคืนมาเลย ยอมให้ในขนาดที่ผู้รับทั้งไม่อาจปฏิเสธได้และไม่สามารถให้ตอบแทนคืนได้นั่น อันที่จริงเขาก็คือผู้มีอำนาจสูงสุดแบบหนึ่งนั่นเอง

 

ให้ชัดกว่านั้น มีผู้กล่าวว่า การเสียสละก็คือการสะสมทุนแบบหนึ่งของผู้เสียสละ มันคือการสะสมทุนทางสังคมและเศรษฐกิจ ผ่านการหลบเลี่ยงว่าเขาเป็นผู้ให้ เป็นผู้ละทิ้ง เป็นผู้สละตน หากแต่ผลที่เขาจะได้รับตอบแทนก็คือ อำนาจราชศักดิ์ต่างๆ ที่ทั้งแปลงไปเป็นทุนทางสังคม เครือข่ายผู้ภักดี และทุนทางเศรษฐกิจแบบต่างๆ

 

ผมเชื่อในมุมมองการเสียสละอย่างหลังมากกว่า และเลือกทีาจะมองว่า การเสียสละมีต้นทุนเสมอ หากเบือกว่านะเสียสละอะไรไป ก็ต้องคิดง่ายๆ ด้วยว่า สิ่งที่เสียไปกับที่จะได้มามันคุ้มกันไหม 

 

การเสียสละบางอย่างถูกใช้อ้างเพื่อหักล้างต่อหลักการของตนเอง เพื่อรักษาเครือข่ายทางสังคมของตนเอง เพราะเชื่อว่าหากยอมทิ้งหรือปิดตาข้างหนึ่งยอมลืมหลักการที่ดีกว่า อาจจะดีกว่าการยอมยึดถือหลักการแต่ต้องเสียเครือข่ายไป ผมเห็นคนมากมายเลือกแบบนั้นแล้วสุดท้ายเขาก็เสื่อมลงๆ

 

หากเพื่อนเชื่อมั่นต่อหลักการที่ยึดถือและป่าวประกาศมาตลอดว่าสังคมนี้จะต้องก้าวไปสู่สังคมที่เคารพในสิทธิเสรีภาพของประชาชน ยึดมั่นในหลักการประชาธิปไตย การยอมสูญเสียหลักการนี้เพื่อรักษาตำแหน่งแห่งที่ของตน รักษาเครือข่ายของตนนั้น อย่างไหนเรียกว่าเป็นการเสียสละมากกว่ากันแน่

 

เราได้เห็นกันมามากแล้วว่า การก้าวเข้าไปในวังวนของอำนาจแบบเผด็จการนั้น ไม่เคยช่วยอะไรแก่สังคม ชุมชน ประชาชนโดยกว้างได้ แต่หากเพื่อนเราบางคนยังคงยังเชื่ออยู่ว่า เขาต้องยอมเสียสละเพื่อรักษาเครือข่ายทางสังคมของเขา ผมก็เสียใจที่ทำได้แค่นั่งรอดูว่า เขาจะไปอยู่ในกลุ่มผู้อับจนและเสื่อมถอยทางการเมืองแบบประชาธิปไตยไปได้อีกถึงไหน

 

แต่หากเพื่อนกล้าถอยออกมา ผมมั่นใจว่าเครือข่ายทางสังคมของเพื่อนรวมทั้งผมเอง ก็ย่อมเข้าใจและพร้อมสู้ร่วมกับเพื่อนต่อไป

 

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (24 ธันวาคม 2555) กสทช.เชิญให้ผมไปร่วมแสดงความเห็นในเวทีเสวนาสาธารณะ “1 ปี กสทช. กับความ (ไม่) สมหวังของสังคมไทย” ทีแรกผมไม่คิดว่าตนเองจะสามารถไปวิจารณ์อะไรกสทช.ได้ แต่ผู้จัดยืนยันว่าต้องการมุมมองแบบมานุษยวิทยา ผมจึงตกปากรับคำไป 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อโต้แย้งต่อความเห็นผมจากของเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ที่ลงในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1355920241&grpid=03&catid=&subcatid=) ย้ำให้เห็นชัดถึงความอับจนของกรอบคิดของคนกลุ่มนี้ต่อไปนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไม่เพียงแต่นักเขียนบางคนเท่านั้นที่อาจจะไม่เข้าใจหรือมองข้ามประเด็นความแตกต่างทางชาติพันธ์ุ แต่ผมคิดว่าแวดวงภาษาและวรรณกรรมบ้านเราอาจจะไม่ตระหนักถึงปัญหานี้โดยรวมเลยก็ได้ และในแง่หนึ่ง ผมคิดว่าซีไรต์เองอาจจะมีส่วนสร้างวัฒนธรรมไม่อ่อนไหวต่อความแตกต่างทางวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน และถึงที่สุดแล้ว นี่อาจจะกลายเป็นข้อจำกัดที่ปิดกั้นโอกาสที่วรรณกรรมไทยจะก้าวเข้าสู่ระดับสากล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะของนายแพทย์ที่เป็นตัวแทนของคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ แสดงให้เห็นถึงความคิดคับแคบของผู้มีอำนาจกลุ่มหนึ่ง ที่มักใช้อำนาจก้าวก่ายชีวิตผู้คน บนความไม่รู้ไม่เข้าใจไม่อยากรับผิดชอบต่อปัญหาเชิงโครงสร้างที่ละเอียดอ่อน และบนกรอบข้ออ้างเรื่องคุณธรรมความดีที่ยกตนเองเหนือคนอื่น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แทนที่จะเถียงกับอีกท่านหนึ่งที่วิจารณ์ผมต่อหน้ามากมายเมื่อวาน ผมขอใช้พลังงานเถียงกับข้อเสนอล่าสุดของอาจารย์ธีรยุทธ บุญมีจากข่าวในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354935625&grpid=01&catid=&subcatid=) ดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นึกไม่ถึงและนึกไม่ออกจริงๆ ว่า ทำไมคนเปิดร้านขายหนังสือในปลายศตวรรษที่ 20 - ต้น 21 จะมีความคิดแบบนี้ได้ นี่แสดงว่าเขาไม่ได้อ่านหนังสือที่เขาขายบ้างเลย หรือนี่แสดงว่าการอ่านหนังสือไม่ได้ช่วยจรรโลงจิตใจนายทุนบางคนขึ้นมาได้เลย*
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่ออ่านข่าวแอร์โฮสเตสที่เพิ่งถูกให้ออก ผมมีคำถามหลายข้อ ทั้งในมิติของโซเชียลมีเดีย hate speech และสิทธิแรงงาน อย่างไรก็ดี ขอเคลียร์ก่อนว่าหากใครทราบจุดยืนทางการเมืองของผม ย่อมเข้าใจดีว่าความเห็นต่อไปนี้ไม่ได้มาจากความเห็นทางการเมืองที่เอนเอียงไปในทางเดียวกับพนักงานสายการบินคนนี้แต่อย่างใด ข้อสังเกตคือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขณะกำลังนั่งกินหอยแครงลวกอยู่เวลานี้ ก็ชวนให้คิดถึงคำพูดของนักวิชาการกัมพูชาคนหนึ่ง ที่เคยนั่งต่อหน้าอาหารเกาหลีจานพิเศษ คือหนอนทะเลดิบตัดเป็นชิ้นๆ ขยับตัวดึบๆ ดึบๆ อยู่ในจานแม้จะถูกตั้งทิ้งไว้เป็นชั่วโมง ตอนนั้น ผมบ่ายเบี่ยงไม่กล้ากินอยู่นาน แม้จะรู้ว่าเป็นอาหารพิเศษราคาแพงที่ศาสตราจารย์ชาวเกาหลีสรรหามาเลี้ยงต้อนรับการมาเกาหลีครั้งแรกของพวกเราหลายคน เพื่อนกัมพูชาบอกว่า "กินเถอะพี่ หอยแครงลวกในเมืองไทยน่ากลัวกว่านี้อีก" ผมจึงหาเหตุที่จะหลบเลี่ยงอีกต่อไปไม่ได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมนั่งดูบันทึกรายการ The Voice Thailand (เดอะวอยซ์) เป็นประจำ แม้ว่าจะเห็นคล้อยตามคำนิยมของโค้ชทั้ง 4 อยู่บ่อยๆ แถมยังแอบติดตามความเห็นเปรี้ยวๆ ของนักเขียนบางคนที่ชอบเรียกตนเองสวนทางกับวัยเธอว่า "ป้า" ซึ่งหมดเงินกดโหวตมากมายให้นักร้องหนุ่มน้อยแนวลูกทุ่ง แต่ผมไม่ได้รับความบันเทิงจากเดอะวอยซ์เพียงจากเสียงเพลง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมพยายามถามตัวเองว่า การจะสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามที่นำโดย "เสธ.อ้าย" จะมาจากเหตุผลประการใดบ้าง แต่ผมก็ชักจะเริ่มไม่แน่ใจว่า เอาเข้าจริง คนที่เข้าร่วมชุมนุมกับเสธ.อ้ายจะมีเหตุผลหรือไม่ หรือหากมี พวกเขาจะใช้เหตุผลชุดไหนกันในการเข้าร่วมชุมนุม ยังไงก็ตาม อยากถามพวกคุณที่ไปชุมนุมว่า พวกคุณอยากให้ประเทศเป็นอย่างนี้จริงๆ หรือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (20 พฤศจิกายน 2555) นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชิญไปบรรยายในงานสัมมนา "การเมืองเรื่องคนธรรมดา" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ขอตัดส่วนหนึ่งของบทบรรยายของผมที่ใช้ชื่อว่า "การเมืองวัฒนธรรมดา: ความไม่ธรรมดาของสามัญชน" มาเผยแพร่ในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2555 นิสิตรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเชิญไปร่วมกิจกรรมจุฬาวิชาการ โดยให้ไปวิจารณ์บทความนิสิตปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ 4 ชิ้น 1) ว่าด้วยเบื้องหลังทางการเมืองของการก่อตั้งองค์การอาเซียน 2) ว่าด้วยบทบาทและการต่อรองระหว่างประเทศในอาเซียน 3) ว่าด้วยการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าของธุรกิจเอกชนไทยในคู่ค้าอาเซียน และ 4) ว่าด้วยนโยบายชนกลุ่มชาติพันธ์ุในพม่า ข้างล่างนี้คือบันทึกบทวิจารณ์