Skip to main content

จากเหตุการณ์ #กราดยิงโคราช เราเห็นอะไรเกี่ยวกับทหารไทยบ้าง

1. ทหารชั้นผู้ใหญ่หาผลประโยชน์จากทหารชั้นผู้น้อย ข่าวความคับแค้นใจจากการถูกนายทหารชั้นผู้ใหญ่และญาตินายทหารชั้นผู้ใหญ่โกง ข่าวความไม่โปร่งใสของการทำธุรกิจที่ดินระหว่างทหารชั้นผู้ใหญ่กับทหารชั้นผู้น้อย แสดงถึงประโยชน์ทับซ้อน การหาผลประโยชน์อย่างไม่เป็นธรรมในกองทัพ การฉ้อฉลในกองทัพ ทั้งหมดนี้รอการตรวจสอบต่อไป แต่นี่เป็นเพียงเหตุเฉพาะหน้าของเหตุการณ์ เหตุซึ่งใหญ่กว่านั้นในระดับโครงสร้างคือการหละหลวมของระบบ และความล้าหลังของบุคลากรและองค์กรกองทัพไทย ที่เราก็ได้เห็นจากเหตุการณ์นี้เช่นกัน

2. ทหารชั้นผู้น้อยไม่มีวินัย ควบคุมตนเองไม่ได้ ความไร้วินัยของทหารบางคน ไม่ได้แสดงถึงแค่ระดับปัจเจก แต่แสดงถึงการที่กองทัพไม่รู้จักวิธีควบคุมกำลังคนที่ถืออาวุธ การสร้างวินัยไม่ใช่แค่การควบคุมท่าทางในการนั่ง ยืน เดิน ตามที่เป็นข่าวแล้วกองทัพก็รีบออกมาปฏิเสธ นั่นไม่ใช่สาระของวินัยทหาร แต่ยังต้องมีเป็นการดูแลสภาพจิตใจ ตรวจสอบลักษณะนิสัย การฝึกฝนให้เคารพหน้าที่ เคร่งครัดกับระเบียบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใครก็ตามที่เข้าถึงอาวุธสงครามร้ายแรงได้ ยิ่งต้องมีการตรวจสอบควบคุมอย่างใกล้ชิด การปล่อยให้คนมีลักษณะนิยมความรุนแรงเป็นพื้นฐาน สามารถเข้าถึงอาวุธสงครามร้ายแรงได้ ทำให้น่าสงสัยว่าทหารไทยคิดถึงระเบียบวินัยแบบไหนกัน

3. ทหารทั้งค่ายทหารไม่สามารถป้องกันตนเองได้ เรื่องน่าวิตกกังวลแก่ทั้งสังคมคือ ศักยภาพในการป้องกันตนเองของทหาร โดยเฉพาะทหารที่ดูแลคลังอาวุธสงคราม และการคุ้มครองประชาชน การที่คนเพียงคนเดียว แม้จะมีอาวุธแต่ในระหว่างที่เขาเข้าไปชิงอาวุธนั้น เขาน่าจะยังไม่ได้ใช้อาวุธสงครามร้ายแรง แต่เพียงเท่านั้นก็ยังสามารถเข้าถึงคลังอาวุธและนำอาวุธพร้อมขับรถทหารออกมาตามลำพังได้ นี่ย่อมทำให้ประชาชนขาดความมั่นใจว่าทหารจะสามารถทำหน้าที่คุ้มครองประชาชนได้หรือไม่ เพราะขนาดทหารเองยังคุ้มครองตนเองไม่ได้เลย

4. ทหารทั้งค่ายทหารไม่สามารถป้องกันการก่อการร้ายทั้งในค่ายและที่จะเกิดต่อเนื่องในสังคมวงกว้างได้ หลังจากคนร้ายได้อาวุธร้ายแรงไปแล้ว ค่ายทหารทั้งค่ายก็ปล่อยให้เขาหลุดรอดจนออกไปก่อเหตุได้ นี่แสดงถึงความไม่มีประสิทธิภาพในการป้องกันเหตุร้ายที่กำลังจะขยายตัวออกไป ประชาชนยังสงสัยอีกด้วยว่าค่ายทหารมีการซ้อมการป้องกันภัยอย่างไรหรือไม่ มีขั้นตอนที่เป็นระเบียบปฏิบัติอย่างไร หากทหารทั้งค่ายไม่มีกลไกในการป้องกันการก่อการร้าย ไม่สามารถสกัดกั้นเหตุร้ายที่จะเกิดขึ้นได้ แล้วทหารจะปกป้องประชาชนได้อย่างไร นี่ยังไม่นับว่าจะไปรบทัพจับศึกกับใครเขาได้ 

5. ทหารชั้นผู้ใหญ่ไม่มีวุฒิภาวะในภาวะความสูญเสีย ในภาวะของความสูญเสีย ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยนัก แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่เคยเกิดขึ้นเสียเลยจนนายทหารชั้นผู้ใหญ่ที่เป็นถึงระดับผู้นำกองทัพจะไม่เคยมีประสบการณ์ แต่ประสบการณ์อาจจะไม่ได้สอนคนคนนั้นเลยหากเขาไม่มีพื้นฐานจิตใจที่ดีงามต่อประชาชนอย่างแท้จริง หากเขายังคงมองประชาชนว่าเป็นคนอยู่ใต้การปกครอง ใต้การบังคับบัญชาของเขาเท่านั้น ข้อนี้จึงน่ากังวลว่า หากกองทัพไทยยังคงอบรบสั่งสอนให้บุคลากรมีนิสัยกักขฬะต่อประชาชนเช่นนี้ หากกองทัพยังคงยอมรับและปล่อยให้คนแบบนี้มาเป็นผู้นำเรื่อยๆ จะเป็นกองทัพที่รับใช้ ดูแลทุกข์สุข เห็นใจประชาชนได้อย่างไร

6. ทหารชั้นผู้ใหญ่ไม่รู้จักสำนึกผิด ความยอมรับผิดต่อหน้าที่ต่อความรับผิดชอบมีย่อมมากขึ้นตามอำนาจที่มี ยิ่งอำนาจมากยิ่งต้องมีความรับผิดอบมากและยิ่งต้องมีสำนึกต่อความรับผิดมาก แต่ทหารชั้นผู้ใหญ่ไทยกลับเป็นตรงกันข้าม ยิ่งผิดมากยิ่งแก้ตัวมาก ยิ่งปัดความรับผิดชอบมาก ยิ่งไม่แยแสมาก ในเหตุการณ์นี้ เห็นได้ชัดว่าทหารชั้นผู้ใหญ่ปัดความรับผิดชอบให้ทหารชั้นผู้น้อยที่ก่อความผิด ทหารชั้นผู้ใหญ่ไม่รู้จักยอมรับความบกพร่องของการรักษาความปลอดภัยในค่ายทหารเอง ประชาชนย่อมสงสัยว่าพวกเขาห่วงการมีอยู่ของฐานะ ตำแหน่ง รายได้ หน้าตา ของตนเอง มากกว่าการมีความรับผิดชอบต่อความปลอดภัยของประชาชนหรือไม่

7. ทหารทั้งกองทัพไร้ธรรมาภิบาล ทหารทั้งกองทัพชอบแก้ตัวให้แก่กันมากกว่าทบทวนตรวจสอบปัญหา เมื่อเกิดปัญหาแล้ว แทนที่จะตั้งกรรมการตรวจสอบ ทบทวนตนเอง ทบทวนความบกพร่อม ไต่สวนข้อเท็จจริงเพื่อปรับปรุง กองทัพไทยกลับมีแต่กลไกการแก้ตัว หน่วยงานประชาสัมพันธ์มีหน้าที่แก้ต่างให้กับความผิดของทหารชั้นผู้ใหญ่ แก้ต่างให้กับความด้อยประสิทธิภาพของกองทัพ แก้ปัญหาด้วยปากมากกว่าการสร้างระบบการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ การตรวจสอบจะต้องมาจากภายนอก หรือมีคนจากภายนอกมีส่วนร่วม โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการตรวจสอบความผิดพลาด ไม่ใช่เหตุเกิดยังไม่ทันข้ามวัน ก็แก้ตัวแล้วว่าไม่มีข้อผิดพลาด ไม่มีความบกพร่อง หรืออ้างกระทั่งว่าตรวจสอบแล้วไม่พบความบกพร่อง 

ทั้งหมดนี้ยังไม่ต้องพูดถึงการปฏิรูปกองทัพใดๆ เลย แค่ทำในสิ่งที่ควรจะทำ แค่เป็นทหารที่ควรจะเป็น แค่ทำหน้าที่ตนเองให้ดี ทหารไทยทุกระดับยังแสดงให้เห็นไม่ได้เลยว่ามีความสามารถทำได้ แล้วประชาชนจะเชื่อมั่นในคำพูดว่าจะปกป้องคุ้มครองประชาชน จะป้องกันประเทศชาติได้อย่างไร มิพักต้องเอ่ยถึงว่า ที่ทุกวันนี้กองทัพไทยเข้ามายุ่มย่ามกับการบริหารประเทศ คือทำเกินหน้าที่ของตนเองนั้น จะทำให้ดีได้อย่างไร เพราะแม้แต่หน้าที่ของตนเองยังทำให้ดีไม่ได้เลย

#ทหารมีไว้ทำไม

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่แน่ใจว่านโยบายยุบโรงเรียนขนาดเล็กนี้จะดีหรือไม่ สงสัยว่า "คิดดีแล้วหรือที่จะยุบโรงเรียนขนาดเล็ก" ในทางเศรษฐศาสตร์แบบทื่อๆ คงมี "จุดคุ้มทุน" ของการจัดการศึกษาอยู่ระดับหนึ่ง ตามข่าว ดูเหมือนว่าควรจะอยู่ที่การมีนักเรียนโรงเรียนละ 60 คน แต่คงมีเหตุผลบางอย่างที่โรงเรียนตามพื้นที่ชนบทไม่สามารถมีนักเรียนมากขนาดนั้นได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตอนนี้เถียงกันมากเรื่องกะหรี่ ว่ากันไปมาจนกระทั่งทั้งสองฝ่ายก็หนีไม่พ้นเอาคำเดียวกัน หรือทัศนะคติเหยียดเพศหญิงเช่นเดียวกันมาด่ากัน ฝ่ายหนึ่งด่าอีกฝ่ายว่า "อีกะหรี่" อีกฝ่ายหนึ่งด่ากลับว่า "แม่มึงสิเป็นกะหรี่" หรือ "ไปเอากระโปรงอีนั่นมาคลุมหัวแทนไป๊" ตกลงก็ยังหนีไม่พ้นสังคมที่ดูถูกเพศหญิงอยู่ดี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงสั้นๆ ของชีวิตผมมีโอกาสได้รู้จักคนในแวดวงนักเขียนรูป ผ่านครูสอนวาดเส้นให้ผมคนหนึ่ง ครูผมคนนี้มีเพื่อนคนหนึ่งที่เขาสนิทสนมกันดี ชื่อไสว วงษาพรหม เมื่อคืน ได้สนทนากับคนในแวดวงศิลปะ ที่เรือนชานแห่งหนึ่งที่มีไมตรีให้เพื่อนฝูงเสมอ ผมจึงเพิ่งทราบว่าไสวเสียชีวิตไปหลายปีแล้ว ลอง google ดูพบว่าเขาเสียชีวิตเมื่อ 22 สิงหาคม 2551
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทำไม "เหี้ย ควย หี เย็ด" จึงกลายเป็นภาพเขียนชุดล่าสุดของศิลปินเขียนภาพชั้นนำของไทย ทำไม "กะหรี่" จึงเป็นส่วนหนึ่งของข้อเขียนนักเขียนการ์ตูนผู้ทรงอิทธิพลของไทย ทำไมนักเศรษฐศาสตร์ไทยชั้นนำจึงเขียนคำ "อยากเอา" เป็นความเห็นประกอบภาพวิจารณ์นักการเมือง ทำไมภาษาแบบนี้จึงกลายมาเป็นภาษาทางการเมืองของคนที่มีความสามารถในการสื่อสารเหนือคนทั่วไปเหล่านี้ หลายคนวิเคราะห์แล้วว่า เพราะพวกเขาเร่ิมจนแต้มทางการเมือง "เถียงสู้อีกฝ่ายไม่ได้ก็เลยด่าแม่งไป"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วานนี้ (29 เมษายน 2556) "ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา" และ "ศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย" มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดอภิปราย "สู่สันติภาพในอุษาคเนย์" งานนี้จัดท่ามกลางบรรยากาศการเจรจาสันติภาพระหว่างรัฐบาลไทยกับ BRN
ยุกติ มุกดาวิจิตร
“นักวิชาการเสื้อแดง” เป็นเสมือนตำแหน่งทางวิชาการอย่างหนึ่ง การตีตราตำแหน่งนี้สะท้อนความเฉยชาและคับแคบต่อปัญหาสิทธิมนุษยชนและความเป็นธรรมของปัญญาชนไทย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวานเพ่ิงดูพี่ "มากขา" หลายขา แล้วก็อยากมีความเห็นอย่างใครๆ เขาบ้าง ส่วนใครที่ยังไม่ได้ดูแล้วกำลังคิดจะไปดู ก็อย่าเพ่ิงอ่านครับ เดี๋ยวจะเซ็งเสียก่อน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทุกๆ ปี ผมสอนวิชา “ชาติพันธ์ุ์นิพนธ์: การวิพากษ์และการนำเสนอแนวใหม่” ระดับปริญญาตรี ผมออกแบบให้วิชานี้เป็นการศึกษาแบบสัมมนา มีการแลกเปลี่ยนความเห็นของนักศึกษามากกว่าการบรรยายของผู้สอน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสองวันก่อน มีคนที่สนใจนโยบายรถไฟความเร็วสูงคนหนึ่งถามผมว่า "อาจารย์รู้ไหมว่า โอกาสที่รถไฟไทยจะตรงเวลามีเท่าไหร่" ผมตอบ "ไม่รู้หรอก" เขาบอกว่า "มีเพียง 30%" 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"ปีใหม่" เป็นจินตกรรมของเวลาที่กำหนดการสิ้นสุดและการเริ่มต้น ศักราช เวลาของสังคม การจัดระบบของเวลา ล้วนมีเทศกาลกำกับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
น่าละอายใจที่สภาผู้แทนราษฎรปัดตกข้อเสนอของประชาชนกว่าสามหมื่นคนที่เสนอให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ถ้าบอกกันตรงๆ ว่า "กลัวอ่ะ" ก็จบ ประชาชนอาจจะให้อภัยความปอดแหกได้ แต่ประชาชนส่วนหนึ่งจะตัดสินใจไม่เลือกพวกคุณเข้ามาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนฯ อีกอย่างแน่นอน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ยามหมดปีการศึกษาทีไร ก็ชวนให้ทบทวนถึงหน้าที่การงานด้านการเรียนการสอนของตนเอง แต่ผมทำตามแบบที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ หรือ สกอ. ให้ทำไม่เป็นหรอก เพราะมันไร้สาระ เป็นกลไกเกินไป และไม่ก่อประโยชน์อะไรนอกจากเปลืองกระดาษและน้ำหมึก ผมมักทำในแบบของผมเองนี่แหละ