Skip to main content

วินาทีที่พรรคอนาคตใหม่ถูกยุบ ความสำคัญไม่ใช่ว่าพรรคการเมืองหนึ่งถูกยุบไปหรอก แต่ความสำคัญอยู่ที่ว่า ผู้มีอำนาจกำลังสร้างความแตกร้าวครั้งใหม่ที่พวกเขาอาจจะพบปฏิกิริยาโต้ตอบที่ไม่เหลือเศษซากอะไรให้กอบกู้โลกเก่าของพวกเขากลับมาได้อีกต่อไป

หากใครเข้าใจแค่ว่า การยุบพรรคอนาคตใหม่คือการปิดฉากการเมืองของกลุ่มการเมืองที่แหลมคม ก้าวหน้า มองว่านี่เป็นการกำราบและกรรโชกพลังก้าวหน้าของสังคมนี้ได้อีกขั้นหนึ่ง ผมว่าพวกเขากำลังคิดผิด

พรรคอนาคตใหม่เกิดขึ้นมาและเติบโตได้จากความแตกร้าวทางการเมืองครั้งก่อน ที่วางอยู่บนการเมืองสีเสื้อ การเมืองความดี-ความชั่ว การเมืองแบ่งขั้วแบบเก่าถูกแทนที่ไปพ้นการเมืองแบบเก่าในหลายๆ มิติ มีอะไรบ้างที่ใหม่ มีอะไรบ้างที่การยุบพรรคการเมืองหนึ่งที่เป็นตัวแทนของพลังแบบนี้จะไม่สามารถทำลายพลังแบบนี้ได้

ข้อแรก อนาคตใหม่เกิดมากจากการเป็นทางเลือกของการเมืองขัดแย้งสีเสื้อที่ไม่มีทางออก เสียงที่เลือกอนาคตใหม่แสดงความเบื่อหน่ายกับความขัดแย้งแบ่งขั้วตรงข้ามอย่างชัดเจน เสียงอนาคตใหม่เป็นตัวแทนของ "คนเป็นกลางทางการเมือง" แบบหนึ่ง ต่างจากเสียงเลือกพลังประชารัฐ ที่เป็นเสียงอนุรักษนิยมสุดขั้ว กับเสียงเพื่อไทย ที่เป็นพลังสนับสนุน "ทักษิณ" และการเมืองมวลชนจากทศวรรษ 2540 คือ 20 ปีที่แล้วอย่างสุดขั้ว

ถ้าได้คุยกับคนขับแท็กซี่ที่ฟังการอภิปรายทั้งวัน จะได้ยินพวกเขาพูดว่า "การอภิปรายในสภาของพรรคอนาคตใหม่นี่ เปลี่ยนการเมืองไปจริงๆ นะ เข้าประเด็นตรงๆ ไม่เสียเวลาไปกัดคนโน้นคนนี้" นี่คือเสียงของคนที่แสวงหาทางเลือกใหม่ทางการเมือง แล้วเขาพบว่าพรรคอนาคตใหม่คือทางเลือก คนไม่อยากเหลือง คนไม่อยากแดงจำนวนมาก หันมาเลือกอนาคตใหม่

ข้อสอง อนาคตใหม่เป็นตัวแทนของคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจการเมือง ไม่ใช่คนรุ่นใหม่ทุกคนที่ใส่ใจการเมือง ไม่ใช่คนรุ่นใหม่ทุกคนที่ใส่ใจการเมืองแล้วเลือกอนาคตใหม่ แต่คนรุ่นใหม่จำนวนมาก มากชนิดที่ผมกล้ายืนยันว่าคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจการเมืองส่วนใหญ่เลือกอนาคตใหม่ การยุบพรรคอนาคตใหม่คือการผลักให้คนรุ่นใหม่เหล่านี้ไปยืนเป็นปฏิปักษ์กับการใช้อำนาจรัฐที่พวกเขาเห็นว่า "อยุติธรรม"

หากคิดแต่เพียงว่าคนรุ่นใหม่หรือผู้ลงคะแนนเสียงหน้าใหม่ยังอ่อนด้อย ไร้เดียงสา ก็เท่ากับว่าคุณไม่อยากให้เขาเติบโตในทางของเขาเอง คุณยังอยากให้ลูกหลานคุณเป็นเด็กแบเบาะให้คุณชักจูงไปทางไหนก็ได้ แต่อันที่จริงแล้ว พวกเขาเติบโตและเห็นโลกกว้างและใหม่กว่าโลกตอนที่พวกคุณอาบน้ำร้อนมาก่อนนั้นมากมายนัก

ข้อสาม อนาคตใหม่มีคนสนับสนุนไม่น้อย และคนที่สนับสนุนไม่น้อยเหล่านี้ส่วนหนึ่งคือคนที่มีปากมีเสียง มีอำนาจต่อรอง มีทุนทางสังคมและวัฒนธรรมสูง ผมไม่ได้จะบอกว่าเสียงของคนที่เลือกพรรคอื่นจะไม่สำคัญ แต่เสียงที่เลือกคนพรรคนี้คือเสียงที่พวกคุณเองเกรงกลัว เพราะพวกเขาอยู่ในเครือข่ายทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจ ที่ช่วงชิงอำนาจศูนย์กลางของพวกคุณได้

ดูง่ายๆ เฉพาะในกรุงเทพฯ เสียงเลือกอนาคตใหม่เป็นเสียงที่มีคะแนน 1 ใน 3 ของเสียงกรุงเทพฯ ทั้งหมด พรรคเก่าแก่พรรคหนึ่งหมดที่นั่งไปในกรุงเทพฯ ก็เพราะ 1 ใน 3 ของเสียงนี้ การลิดรอนเสียงของคนเหล่านี้ การท้าทายเสียงของคนที่มีทุนทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองที่ทัดเทียมกับพวกคุณเหล่านี้ จะผลักให้พวกเขาเป็นปฏิปักษ์กับพวกคุณมากยิ่งขึ้น

การทำลายทางเลือกใหม่ การผลักให้พลังของคนรุ่นใหม่ไปเป็นปฏิปักษ์กับพลังอนุรักษนิยมอย่างเปิดเผย การท้าทายพลังของทุนใหม่แบบต่างๆ ที่เติบโตรดต้นคอและในครัวเรือนของคนรุ่นอนุรักษนิยมเอง กำลังสร้างเงื่อนไขให้เกิดความขัดแย้งรอบใหม่ 

เรายังไม่รู้หรอกว่าปฏิกิริยาต่อการผลักไสทางการเมืองรอบนี้จะเป็นอย่างไร แต่เราจะได้เห็นกันเร็วๆ นี้ว่า พลังของอนาคตที่ก่อตัวขึ้นเงียบๆ ในรถแท็กซี่ ในโรงภาพยนตร์ ในร้านเบเกอร์รี่ ในร้านนมสด ในทวิตเตอร์ ในนิยายออนไลน์ จะตีกลับและรุกไล่พลังอนุรักษนิยมอย่างไร

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (4 ตุลาคม 2560) นิสิตมหาวิทยาลัยหนึ่งโทรศัพท์มาสัมภาษณ์เรื่องการพิมพ์คำ "คะ" "ค่ะ" ผิดๆ ในโซเชียลมีเดียและการส่งข้อความต่างๆ บอกว่าจะเอาไปลงวารสารของคณะเธอ เธอถามว่าการใช้คำผิดแบบนี้มีนัยทางสังคมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวาน (30 กันยายน 2560) นักศึกษาปริญญาโทชั้นเรียนมานุษยวิยาคนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้เขียนบทละครเรื่อง "The Dark Fairy Tales นิทานเรื่องนี้ไม่เคยเล่า" ชวนไปดูและร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นหลังละครจบ ช่วยให้คิดอะไรเกี่ยวกับการอ่านนิทานได้อีกมากทีเดียวจึงอยากบันทึกไว้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การสนทนาอย่างออกรสไม่ได้จะต้องอยู่ในบรรยากาศเคร่งขรึมในห้องเรียน ห้องสัมมนาเสมอไป ด้วยเหตุนี้ผมจึงเชื่อว่า การใช้เวลานอกห้องเรียน นอกห้องสัมมนาวิชาการ สำคัญไม่น้อยไปกว่าการใช้เวลาในห้องสี่เหลี่ยมที่มีระเบียบต่างๆ ควบคุมการสนทนาอย่างเคร่งครัดเกินไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จากเหตุการณ์เข้ามาคุกคามพื้นที่ทางวิชาการของคณะทหารในการประชุมไทยศึกษานานาชาติครั้งที่ 13 ที่เชียงใหม่ จนทำให้นักวิชาการที่มาร่วมประชุมกลุ่มหนึ่งแสดงออกด้วยการชูป้าย "เวทีวิชาการไม่ใช่ค่ายทหาร" แล้วท้ายสุดมีนักวิชาการ 5 คนถูกตั้งข้อหาว่าเป็นคนนอกเข้ามายุยงให้ต่อต้านรัฐบาล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันแม่นำความกระอักกระอ่วนใจมาให้ผมตั้งแต่ยังเด็ก เพราะแม่ในเพลง "ค่าน้ำนม" ที่เด็กในกรุงเทพฯ รุ่นผมถูกให้หัดร้องตามจนแทบจะจำเนื้อได้ทั้งเพลงมาตั้งแต่จำความได้ ไม่ตรงกับแม่ในชีวิตจริงของผม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะอาจารย์มหาวิทยาลัยคนหนึ่ง ผมไม่อาจยอมรับการกระทำของอาจารย์ต่อนิสิตด้วยความรุนแรงดังที่เกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยอันทรงเกียรติแห่งหนึ่งได้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้เกิดความผิดพลาดบางอย่างทำให้บทแนะนำอาจารย์แคทเธอรีน บาววี องค์ปาฐกคนหนึ่งของงานประชุมไทยศึกษาปีนี้ที่จังหวัดเชียงใหม่ ไม่ได้ถูกนำเสนอในงานประชุม ในเมื่อผมเตรียมไปพูดแล้วแต่ไม่ได้พูด ก็ขอนำบันทึกที่ร่างไว้นี้มาเผยแพร่ในที่นี้แทนก็แล้วกัน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"ฟ้าข้างในนี้กว้างกว่าข้างนอก ฟ้าในนี้กว้างจนแทบจะเห็นขอบฟ้า"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้คงเป็นช่วงเขียนรายงาน เขียนวิทยานิพนธ์ของหลายๆ คน ผมเองช่วงนี้เป็นช่วงต้องอ่านงานนักศึกษามากมาย ที่สาหัสที่สุดคืองานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโทและเอก 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมอ่านงานจิตรครั้งแรกๆ ก็ตอนที่เรียนมหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรี ตอนนั้นเมื่อออกจากโลกโรงเรียนก็รู้สึกว่า โลกหนังสือของห้องสมุดธรรมศาสตร์ช่างกว้างใหญ่มาก กว้างใหญ่กว่าห้องสมุดแห่งชาติที่สมัยเรียนมัธยมผมชอบไปสิงอยู่มากนัก นี่กล่าวเฉพาะหนังสือที่น่าอ่านเกี่ยวกับสังคม วัฒนธรรม ปรัชญา และศาสนา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (3 พค. 60) ผมไปวิจารณ์งานนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยซึ่งคณะราษฎรมีส่วนก่อตั้งเช่นกัน แต่สำคัญผิดกันไปว่าผู้อื่นมีบุญคุณมากกว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บางทีนามสกุลกับบทบาทความเป็นครูของครูฉลบชลัยย์ พลางกูร คงไม่ทำให้คนสนใจครูฉลบเกินบทบาทไปกว่าการเป็นภรรยาของนายจำกัด พลางกูร และเป็นผู้ให้กำเนิดโรงเรียนดรุโณทยาน