Skip to main content

ประเด็น "สถาบันกษัตริย์" ในประเทศไทยปัจจุบันไม่ใช่เรื่องศีลธรรมและไม่ใช่แค่เรื่องความรู้สึก แต่เป็นเรื่องของสถาบันทางการเมืองและการเป็นส่วนหนึ่งของสังคมการเมืองไทย ถ้าไม่เข้าใจตรงกันแบบนี้ก่อนก็จะไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ฟัง/อ่านข้อเสนอของนักศึกษา/ประชาชนที่เสนอในการชุมนุมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อวานนี้ได้ในฐานะคนที่ทำงานในระบบองค์กรขนาดใหญ่คนหนึ่ง ผมย้ำกับเพื่อนร่วมงานเสมอว่า "หากเราไม่เคยทำอะไรแต่ระเบียบไม่ได้ห้าม ก็จงหาทางทำมันให้ได้ เพราะมันแค่ ไม่เคยทำ ไม่ใช่ทำไม่ได้"  

"แล้วหากระเบียบใดขัดขวางการทำงาน ความก้าวหน้าขององค์กร เราก็ควรรื้อระเบียบทิ้งแล้วร่างขึ้นใหม่ เพื่อให้การงานที่มุ่งหวังเดินหน้าจนลุล่วงไปได้" 

สิ่งที่นักศึกษาและประชาชนเสนอในคืนวันที่ 10 สิงหาคม 2563 ก็เป็นในลักษณะเดียวกันนั้น เป็นวิธีคิดแบบเดียวกันนี้ เพียงแค่ไม่ถูกใจ ไม่คุ้นเคย ไม่ได้หมายความว่าเป็นไปไม่ได้ ทำไม่ได้ หรือไม่ถูกต้อง คนละเรื่องกัน  

ไม่อย่างนั้นแล้วมนุษย์ก็จะเป็นเพียงสัตว์ที่ถูกกักขังอยู่ในกรงของระเบียบที่ตนเองเขียนขึ้นมา ผมไม่คิดว่ามนุษย์ปัจจุบันจะยินดีเป็นอย่างนั้น และผมคิดว่านักศึกษาและประชาชนในขณะนี้ก็คิดและกำลังรื้อกรงขังนั้น 

แล้วในสถานการณ์แบบนี้ มหาวิทยาลัยและคณาจารย์ผู้ประสิทธิประสาทวิชาความรู้สมัยใหม่ หลังสมัยใหม่ หลังอาณานิคม หลังบลาๆๆ ฯลฯ สารพัดจะก้าวหน้า ควรจะทำอะไร 

พวกเราจะนั่งดูดายสอนหนังสือไปวันๆ ทำวิจัยไปวันๆ เพื่อสะสมแต้มให้มหาวิทยาลัย สะสมรางวัลและตำแหน่งทางวิชาการของตนเอง ไต่อันดับของมหาวิทยาลัยโลกไปเพื่ออะไรกัน หากเราไม่สามารถส่งเสริมความก้าวหน้าของสังคม ไม่สามารถกระทั่งร่วมกับนักศึกษาของพวกเรา ประชาชนที่ส่งเสียเงินค่าเล่าเรียนให้พวกเราทำมาหากิน กอบกู้ความเป็นมนุษย์ออกมาจากกรงขังของกฎหมายได้ 

แต่หากจะไม่ทำอะไรเลย คณาจารย์และมหาวิทยาลัยก็ไม่สมควรที่จะออกหน้าลุกขึ้นมาปิดกั้นการเสนอหาทางที่จะออกจากกรงขังนั้นเสียเอง หากจะไม่ทำอไะไรเลย ก็ควรจะหาหนทางประคับประคองไม่ให้เกิดสถานการณ์ที่เลวร้ายยิ่งขึ้นไปอีก

ในแถลงการณ์ของทั้งส่วนตัวโดยรองอธิการบดีฯ เช้าวันนี้ (11 สค. 63) และแถลงการของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ต่อการชุมนุมของนักศึกษาและประชาชน อยู่ในประเภทของการ "นอกจากจะไม่ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นแล้ว ยังอาจช่วยปูทางไปสู่การปิดกั้น กดทับ หรือแม้แต่การปราบปรามอย่างรุนแรงกับผู้แสดงความเห็นต่างอย่างสงบและเป็นเหตุเป็นผล" 

ผมเรียนถามครับว่า ท่านผู้บริหารมหาวิทยาลัยไม่รู้หรอกหรือว่าถ้อยคำประเภท "เกินขอบเขต" "กระทบต่อความรู้สึกของประชาชน" "ศีลธรรมอันดีงานของสังคม" ล้วนแล้วแต่เป็นถ้อยคำหมิ่นเหม่ต่อการปูทางไปสู่การ "ลดค่าความเป็นคน" และปูทางไปสู่การทำร้ายกันทั้งในทางถ้อยคำและกายภาพ  

ถ้อยคำเหล่านี้ถูกชนชั้นนำไทยใช้เรื่อยมาเพื่อทำลายคุณค่าของหลักเหตุผล หลักการทางกฎหมาย หลักสิทธิเสรีภาพของมนุษย์ ที่พวกเราเองนั่นแหละพร่ำสอนนักศึกษาและเทศนาให้ประชาชน 

ในฐานะคนหนึ่งในประชาคมธรรมศาสตร์ ผมเกรงว่าผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กำลังหลงผิดคิดว่าสิ่งที่ได้แสดงออกไปนั้นเป็นการบรรเทาสถานการณ์ ผมยังหวังว่าพวกท่านจะเข้าใจดีว่าเส้นแบ่งระหว่างการช่วยบรรเทาสถานการณ์กับการซ้ำเติมสถานการณ์ไม่ใช่เส้นบางๆ แต่มีความชัดเจนอยู่  

และหวังว่าท่านจะเข้าใจว่าสิ่งที่ทำไปนั้นกลับจะเป็นการใส่ไฟ หันกระบอกปืนเข้าหานักศึกษาและประชาชนเสียมากกว่าการปกป้องหลักการต่างๆ ที่พวกเขาก็ร่ำเรียนมาจากพวกเรานั่นแหละ 

ผมจะเสียใจมากหากปฏิกิริยาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในวันนี้จะกลายไปเป็นบันไดก้าวแรกๆ ของการเพิ่มความเกลียดชังต่อนักศึกษาและประชาชนที่เห็นต่าง จนเลยเถิดไปเป็นการปราบปรามนักศึกษาและประชาชนอีกครั้งหนึ่ง

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
มีเพื่อนคนหนึ่งตั้งประเด็นว่า ในอีก 10 ปีข้างหน้า มหาวิทยาลัยไทยในหลายจังหวัดว่าจะพัฒนาไปไกลกว่ามหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ โดยเฉพาะทางด้าน "สังคมศาสตร์" ผมก็เลยคิดอะไรขึ้นมาได้หลายอย่าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมอ่านเรื่องการขายข้าวของ บก.ลายจุด ไปขัดใจคนอีกฝั่งหนึ่งแล้ว ทีแรกก็ไม่ค่อยอยากสนใจนัก เพราะ บก.ลายจุด ขยับทำอะไรที ฝ่ายนั้นก็คอยจ้องโจมตีเรื่อยไปจนน่าเบื่อไปแล้ว แต่พอเสธ.ไก่อูมาสนใจการขายข้าวของ บก.ลายจุด ผมว่า อ้อ อย่างนี้นี่เอง ทำไมการขายข้าวของ บก.ลายจุด จึงน่าสนใจขึ้นมาได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นโจมตีกระแนะกระแหนส่วนหนึ่งของความเห็นผมกันยกใหญ่ แต่ผมว่าก็ดีนะ มันชี้ขีดจำกัดของความคิดคนดี ก็ไม่ใช่ว่าผมจะพูดถูกหมดหรือพูดครบถ้วนหมดจดหรอก เพียงแต่มีข้อแย้งกับข้อโต้แย้งเหล่านั้นได้มากเช่นกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สิทธิมนุษยชนเป็นแนวคิดที่มีรากฐานอยู่ในประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมืองไทยมาเนิ่นนาน น่าจะนานไม่น้อยไปกว่าแนวคิดประชาธิปไตย หากแต่น่าสงสัยว่า ทำไมแนวคิดนี้จึงยังไม่เป็นที่เข้าใจกันเสียที 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายวันมานี้ มีนักคิดหลายๆ คนเสนอวิธีทำความเข้าใจสังคมไทยใหม่ๆ มากมาย หลายคนพยายามไม่ตัดสินว่านี่คือการถอยหลังหรือย้อนรอยกลับไปในอดีต เพราะนักศึกษาประวัติศาสตร์สังคมย่อมทราบดีว่า สังคมเปลี่ยนแปลงเสมอ และในเมื่อเงื่อนไขเปลี่ยนไป เราจะเข้าใจสังคมปัจจุบันอย่างไร ผมคนหนึ่งล่ะที่พยายามไม่คิดว่านี่เป็นการ "ถอยหลัง" หรือซ้ำรอยอดีตอย่าง deja vu 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรื่องไม่เป็นเรื่องบางครั้งก็ชวนให้น่ารำคาญ ทำให้ต้องมาคอยอารัมภบทออกตัวมากมาย ทั้งๆ ที่ไม่จำเป็น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมโชคดีที่มีโอกาสได้รับเชิญไปร่วมประชุมวิชาการด้านสิทธิมนุษยชนที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเมื่อวันศุกร์สัปดาห์ก่อน ทั้งหมดเป็นประสบการณ์แปลกใหม่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แนวโน้มของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แสดงให้เห็นทิศทางที่ชัดเจนขึ้นว่า จะเป็นรัฐธรรมนูญที่ลดอำนาจของประชาชนลง แนวโน้มนี้ไม่ได้เหนือความคาดหมายของผู้เฝ้าติดตามการเมืองไทยในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีกระบวนการต่อเนื่องของการทำลายประชาธิปไตยในประเทศไทย จนกระทั่งเมื่อการเลือกตั้งทั่วไปปี 2557 ที่เกิดปรากฏการณ์ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองไทย นั่นคือการชุมนุมทางการเมืองและใช้กำลังรุนแรงของมวลชนเข้าไปปิดล้อมทำลายการเลือกตั้ง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่จำเป็นต้องสาธยายคุณูปการของอาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลต่อสังคมไทย หากคุณไม่เห็นคุณูปการของอาจารย์สมศักดิ์ คุณก็คือคนที่ไม่เข้าใจว่าตนเองกำลังกรอกยาฝิ่นใส่ปากตัวเอง แล้วเมายาอยู่จนหลงคิดไปว่ากำลังดื่มโอสถบำรุงกำลัง หากคุณไม่คิดอย่างนั้น ก็ไม่ต้องอ่านต่อไปแล้วไม่ต้องมาพยายามเถียงกับผมให้เสียเวลาเปลืองอารมณ์ที่จะต้องคุยกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันศุกร์ที่ผ่านมา (20 กพ. 58) ผมไปร่วมกิจกรรม 4 กิจกรรมด้วยกัน ทั้งหมดเกี่ยวกันบ้าง ไม่เกี่ยวกันบ้าง แต่อยากเล่าให้ฟังว่ามันชวนคิดและชวนตกใจมากทีเดียว 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อเห็นข่าวว่ามีการพูดถึงคนไทยมาจากเขาอัลไตกันขึ้นมาอีก ผมก็ระลึกขึ้นมาทันทีว่า เรื่องนี้ได้ข้อตกลงกันไปชัดเจนนานแล้วนี่นาว่า เป็นความรู้ที่ผิดพลาด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
รัฐบาลทหารไม่อยากให้ถูกเรียกว่าตนเองเป็นเผด็จการ เพราะยอมรับความจริงไม่ได้ว่า ที่ตนเป็นอยู่นั้นเป็นเผด็จการ เหมือนโจรที่ไม่อยากถูกเรียกว่าโ