Skip to main content

ประเด็น "สถาบันกษัตริย์" ในประเทศไทยปัจจุบันไม่ใช่เรื่องศีลธรรมและไม่ใช่แค่เรื่องความรู้สึก แต่เป็นเรื่องของสถาบันทางการเมืองและการเป็นส่วนหนึ่งของสังคมการเมืองไทย ถ้าไม่เข้าใจตรงกันแบบนี้ก่อนก็จะไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ฟัง/อ่านข้อเสนอของนักศึกษา/ประชาชนที่เสนอในการชุมนุมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อวานนี้ได้ในฐานะคนที่ทำงานในระบบองค์กรขนาดใหญ่คนหนึ่ง ผมย้ำกับเพื่อนร่วมงานเสมอว่า "หากเราไม่เคยทำอะไรแต่ระเบียบไม่ได้ห้าม ก็จงหาทางทำมันให้ได้ เพราะมันแค่ ไม่เคยทำ ไม่ใช่ทำไม่ได้"  

"แล้วหากระเบียบใดขัดขวางการทำงาน ความก้าวหน้าขององค์กร เราก็ควรรื้อระเบียบทิ้งแล้วร่างขึ้นใหม่ เพื่อให้การงานที่มุ่งหวังเดินหน้าจนลุล่วงไปได้" 

สิ่งที่นักศึกษาและประชาชนเสนอในคืนวันที่ 10 สิงหาคม 2563 ก็เป็นในลักษณะเดียวกันนั้น เป็นวิธีคิดแบบเดียวกันนี้ เพียงแค่ไม่ถูกใจ ไม่คุ้นเคย ไม่ได้หมายความว่าเป็นไปไม่ได้ ทำไม่ได้ หรือไม่ถูกต้อง คนละเรื่องกัน  

ไม่อย่างนั้นแล้วมนุษย์ก็จะเป็นเพียงสัตว์ที่ถูกกักขังอยู่ในกรงของระเบียบที่ตนเองเขียนขึ้นมา ผมไม่คิดว่ามนุษย์ปัจจุบันจะยินดีเป็นอย่างนั้น และผมคิดว่านักศึกษาและประชาชนในขณะนี้ก็คิดและกำลังรื้อกรงขังนั้น 

แล้วในสถานการณ์แบบนี้ มหาวิทยาลัยและคณาจารย์ผู้ประสิทธิประสาทวิชาความรู้สมัยใหม่ หลังสมัยใหม่ หลังอาณานิคม หลังบลาๆๆ ฯลฯ สารพัดจะก้าวหน้า ควรจะทำอะไร 

พวกเราจะนั่งดูดายสอนหนังสือไปวันๆ ทำวิจัยไปวันๆ เพื่อสะสมแต้มให้มหาวิทยาลัย สะสมรางวัลและตำแหน่งทางวิชาการของตนเอง ไต่อันดับของมหาวิทยาลัยโลกไปเพื่ออะไรกัน หากเราไม่สามารถส่งเสริมความก้าวหน้าของสังคม ไม่สามารถกระทั่งร่วมกับนักศึกษาของพวกเรา ประชาชนที่ส่งเสียเงินค่าเล่าเรียนให้พวกเราทำมาหากิน กอบกู้ความเป็นมนุษย์ออกมาจากกรงขังของกฎหมายได้ 

แต่หากจะไม่ทำอะไรเลย คณาจารย์และมหาวิทยาลัยก็ไม่สมควรที่จะออกหน้าลุกขึ้นมาปิดกั้นการเสนอหาทางที่จะออกจากกรงขังนั้นเสียเอง หากจะไม่ทำอไะไรเลย ก็ควรจะหาหนทางประคับประคองไม่ให้เกิดสถานการณ์ที่เลวร้ายยิ่งขึ้นไปอีก

ในแถลงการณ์ของทั้งส่วนตัวโดยรองอธิการบดีฯ เช้าวันนี้ (11 สค. 63) และแถลงการของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ต่อการชุมนุมของนักศึกษาและประชาชน อยู่ในประเภทของการ "นอกจากจะไม่ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นแล้ว ยังอาจช่วยปูทางไปสู่การปิดกั้น กดทับ หรือแม้แต่การปราบปรามอย่างรุนแรงกับผู้แสดงความเห็นต่างอย่างสงบและเป็นเหตุเป็นผล" 

ผมเรียนถามครับว่า ท่านผู้บริหารมหาวิทยาลัยไม่รู้หรอกหรือว่าถ้อยคำประเภท "เกินขอบเขต" "กระทบต่อความรู้สึกของประชาชน" "ศีลธรรมอันดีงานของสังคม" ล้วนแล้วแต่เป็นถ้อยคำหมิ่นเหม่ต่อการปูทางไปสู่การ "ลดค่าความเป็นคน" และปูทางไปสู่การทำร้ายกันทั้งในทางถ้อยคำและกายภาพ  

ถ้อยคำเหล่านี้ถูกชนชั้นนำไทยใช้เรื่อยมาเพื่อทำลายคุณค่าของหลักเหตุผล หลักการทางกฎหมาย หลักสิทธิเสรีภาพของมนุษย์ ที่พวกเราเองนั่นแหละพร่ำสอนนักศึกษาและเทศนาให้ประชาชน 

ในฐานะคนหนึ่งในประชาคมธรรมศาสตร์ ผมเกรงว่าผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กำลังหลงผิดคิดว่าสิ่งที่ได้แสดงออกไปนั้นเป็นการบรรเทาสถานการณ์ ผมยังหวังว่าพวกท่านจะเข้าใจดีว่าเส้นแบ่งระหว่างการช่วยบรรเทาสถานการณ์กับการซ้ำเติมสถานการณ์ไม่ใช่เส้นบางๆ แต่มีความชัดเจนอยู่  

และหวังว่าท่านจะเข้าใจว่าสิ่งที่ทำไปนั้นกลับจะเป็นการใส่ไฟ หันกระบอกปืนเข้าหานักศึกษาและประชาชนเสียมากกว่าการปกป้องหลักการต่างๆ ที่พวกเขาก็ร่ำเรียนมาจากพวกเรานั่นแหละ 

ผมจะเสียใจมากหากปฏิกิริยาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในวันนี้จะกลายไปเป็นบันไดก้าวแรกๆ ของการเพิ่มความเกลียดชังต่อนักศึกษาและประชาชนที่เห็นต่าง จนเลยเถิดไปเป็นการปราบปรามนักศึกษาและประชาชนอีกครั้งหนึ่ง

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา หลายคนคงเป็นแบบผม คือพยายามข่มอารมณ์ฝ่าฟันการสบถของท่านผู้นำ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตั้งแต่ที่ผมรู้จักงานฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์มา มีปีนี้เองที่ผมคิดว่ากิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่มีความหมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปี 2558 เป็นปีที่คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีอายุครบ 50 ปี นับตั้งแต่เริ่มเป็นแผนกอิสระในคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์มาตั้งแต่ปี 2508
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เปิดภาคการศึกษานี้มีเรื่องน่าตื่นเต้นคือ วันแรกที่ไปสอน (ผมสอนอังคาร, พฤหัสบดี ครั้งละ 1 ชั่วโมง 15 นาที) มีนักเรียนมาเต็มห้อง เขากำหนดโควต้าไว้ที่ 34 คน แต่หลังจากผมแนะนำเค้าโครงการบรรยาย คงเพราะงานมาก จุกจิก ก็มีคนถอนชื่อออกไปจำนวนหนึ่ง คืนก่อนที่จะไปสอนครั้งที่สอง ผมก็เลยฝันร้าย คือฝันว่าวันรุ่งขึ้นมีนักเรียนมาเรียนแค่ 3 คน แล้วเรียนๆ ไปนักเรียนหนีหายไปเหลือ 2 คน แต่พอตื่นไปสอนจริง ยังมีนักเรียนเหลืออีก 20 กว่าคน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อได้ทราบว่าอาจารย์เก่งกิจทำวิจัยทบทวนวรรณกรรมด้านชนบทศึกษา โดยลงแรงส่วนหนึ่งอ่านงาน “ทบทวนภูมิทัศน์การเมืองไทย” (ต่อไปนี้จะเรียกว่า “ทบทวนภูมิทัศน์ฯ”) (อภิชาต ยุกติ นิติ 2556) ที่ผมมีส่วนร่วมกับนักวิจัยในทีมทั้งหมด 6 คนในตอนแรก และ 9 คนในช่วงทำวิจัยใหญ่ [1] ผมก็ตื่นเต้นยินดีที่นานๆ จะมีนักวิชาการไทยอ่านงานนักวิชาการไทยด้วยกันเองอย่างเอาจริงเอาจังสักที 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะให้ผมเขียนเรื่องอุปสรรคขัดขวางโลกวิชาการไทยต่อการก้าวขึ้นสู่ความเป็นเลิศในระดับนานาชาติไปอีกเรื่อยๆ น่ะ ผมก็จะหาประเด็นมาเขียนไปได้อีกเรื่อยๆ นั่นแหละ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ถ้านับย้อนกลับไปถึงช่วงปีที่ผมเริ่มสนใจงานวิชาการจนเข้ามาทำงานเป็นอาจารย์ ก็อาจนับได้ไปถึง 25 ปีที่ผมเห็นความเปลี่ยนแปลงในโลกวิชาการไทย ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่สำคัญคือการบริหารงานในมหาวิทยาลัย แต่ขอยกเรื่องนั้นเอาไว้ก่อน เพราะหากค่อยๆ ดูเรื่องย่อยๆ ไปเรื่อยๆ แล้วก็น่าจะช่วยให้เห็นอะไรมากขึ้นว่า การบริหารงานวิชาการในขณะนี้วางอยู่บนระบบแบบไหน เป็นระบบที่เน้นสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการในเชิงปริมาณหรือคุณภาพกันแน่ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บอกอีกครั้งสำหรับใครที่เพิ่งอ่านตอนนี้ ผมเขียนเรื่องนี้ต่อเนื่องกันมาชิ้นนี้เป็นชิ้นที่ 5 แล้ว ถ้าจะไม่อ่านชิ้นอื่นๆ (ซึ่งก็อาจชวนงงได้) ก็ขอให้กลับไปอ่านชิ้นแรก ที่วางกรอบการเขียนครั้งนี้เอาไว้แล้ว อีกข้อหนึ่ง ผมยินดีหากใครจะเพิ่มเติมรายละเอียด มุมมอง หรือประสบการณ์ที่แตกต่างออกไป แต่ขอให้แสดงความเห็นแบบ "ช่วยกันคิด" หน่อยนะครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อันที่จริงวิทยานิพนธ์เป็นส่วนน้อยๆ ของโลกวิชาการอันกว้างใหญ่ และเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเป็นนักวิชาการ แต่วิทยานิพนธ์ก็เป็นผลงานที่อาจจะดีที่สุดของนักวิชาการส่วนใหญ่ แต่สังคมวิชาการไทยกลับให้คุณค่าด้อยที่สุด พูดอย่างนี้เหมือนขัดแย้งกันเอง ขอให้ผมค่อยๆ อธิบายก็แล้วกันครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ก่อนเริ่มพูดเรื่องนี้ ผมอยากชี้แจงสักหน่อยนะครับว่า ที่เขียนนี่ไม่ใช่จะมาบ่นเรื่อยเปื่อยเพื่อขอความเห็นใจจากสังคม แต่อยากประจานให้รู้ว่าระบบที่รองรับงานวิชาการไทยอยู่เป็นอย่างไร ส่วนจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร อย่าถามผมเลย เพราะผมไม่มีอำนาจ ไม่ต้องมาย้อนบอกผมด้วยว่า "คุณก็ก้มหน้าก้มตาทำงานไปให้ดีที่สุดก็แล้วกัน" เพราะถ้าไม่เห็นว่าสิ่งที่เล่าไปเป็นประเด็นก็อย่าสนใจเสียเลยดีกว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมขอเริ่มที่เรืองซึ่งถือได้ว่าเป็นยาขมที่สุดของแวดวงมหาวิทยาลัยไทยเลยก็แล้วกัน ที่จริงว่าจะเขียนเรื่องการผลิตความรู้ก่อน แต่หนีไม่พ้นเรื่องการสอน เพราะนี่เป็นอุปสรรคใหญ่ต่อการทำงานวิชาการในไทยมากถึงมากที่สุดเลยก็ว่าได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อผมมาสอนหนังสือถึงได้รู้ว่า วันครูน่ะ เขามีไว้ปลอบใจครู ก็เหมือนกับวันสตรี เอาไว้ปลอบใจสตรี วันเด็กเอาไว้หลอกเด็กว่าผู้ใหญ่ให้ความสำคัญ แต่ที่จริงก็เอาไว้ตีกินปลูกฝังอะไรที่ผู้ใหญ่อยากได้อยากเป็นให้เด็ก ส่วนวันแม่กับวันพ่อน่ะอย่าพูดถึงเลย เพราะหากจะช่วยเป็นวันปลอบใจแม่กับพ่อก็ยังจะดีเสียกว่าที่จะให้กลายเป็นวันฉวยโอกาสของรัฐไทยอย่างที่เป็นอยู่นี้