Skip to main content

การดีเบตระหว่างนักเรียนกับรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการที่หน้ากระทรวงฯ เมื่อวาน (5 กย. 63) ชี้ให้เห็นชัดว่า หากยังจะให้คนที่มีระบบคิดวิบัติแบบนี้ดูแลกระทรวงศึกษาธิการอยู่ ก็จะยิ่งทำให้การศึกษาไทยดิ่งลงเหวลึกไปยิ่งขึ้น

เมื่อวาน กลุ่ม #นักเรียนเลว ได้นัด #รัฐมนตรีเลว (เพราะไม่ยอม #ไปต่อแถว  แต่ได้ดีเพราะเป่านกหวีดล้มการเลือกตั้งจนปูทางสู่การรัฐประหารปี 2557) ให้มาแลกเปลี่ยนความเห็นกัน รัฐมนตรี (รมต.)​โอ้เอ้อยู่นานกว่าจะออกมาพบนักเรียนที่อุตส่าห์มีตัวแทนเดินทางมาจากจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ มาเล่าปัญหาและรับฟังแนวทางแก้ไขปัญหาของรัฐมนตรี ในที่สุดรัฐมนตรีก็ออกมา  
 
ในบรรดาคำถามและข้อเท็จจริงหลายประการที่นักเรียนซักไซ้เอาจากรัฐมนตรี นอกจากรัฐมนตรีจะมีข้อมูลน้อยกว่านักเรียนแล้ว ความเสื่อมของรัฐมนตรีคนนี้อย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือความวิบัติในตรรกะของเขา ที่จับได้พอสังเขปมีดังนี้
 
ข้อแรก ต่อคำถามเรื่องการแก้ปัญหาความรุนแรงในโรงเรียน นักเรียนแจ้งว่ามีกรณีนักเรียนถูกคุกคามจากการแสดงออกทางการเมือง 109 โรงเรียน รมต. บอกว่า ครูมี 5 แสนคน มีกรณีคุกคามเพียงแค่ส่วนน้อยซึ่งเขากำลังจัดการตามวินัยอยู่  
 
ประเด็นคือ หากประเทศไทยทั้งประเทศมีโจร 10,000 คน แล้วประชากรทั้งหมดมี 70 ล้านคน คุณจะบอกว่า มีคนอีกตั้งหลายสิบล้านคนที่ไม่เป็นโจร ขอให้วางใจ อย่างนั้นเหรอ ประเด็นคือ แค่มีโจรเพียงรายเดียวก็ต้องไม่ได้แล้วสิ นี่คือความไม่เด็ดขาดของ รมต. และคือวิธีการเข้าใจปัญหาแบบใช้คณิตศาสตร์อย่างวิบัติ ต่อปัญหาความรุนแรงในโรงเรียน แม้เกิดขึ้นรายสองราย ก็ถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ จะเอาตัวเลขว่าครูส่วนใหญ่ยังเป็นครูที่ดีอยู่มาอ้างกลบเกลื่อนปัญหาแบบนี้ใช้ไม่ได้
 
ข้อสอง การแจ้งเบาะแสความรุนแรงในโรงเรียน รมต. บอกว่านักเรียนสามารถแจ้งมาได้ เปิดช่องทางให้แล้ว แล้วยังบอกว่า พวกนักเรียนก็ต้องให้ความเป็นธรรมกับผู้ถูกกล่าวหาด้วย  
 
ปัญหาคือ ครูมีทั้งอำนาจในการให้คุณให้โทษนักเรียน และมีสถานะทางสังคมที่เหนือกว่านักเรียน แทนที่ รมต. จะพยายามหาวิธีให้นักเรียนที่แจ้งเหตุความรุนแรงได้รับความปลอดภัย และกล้าที่จะนำเสนอปัญหา หรือลงพื้นที่ไปไต่สวนอย่างจริงจัง แต่ รมต. กลับมาเรียกร้องให้นักเรียนให้ความเป็นธรรมกับครูที่ถูกกล่าวหา แทนที่พวกเขาจะต้องการได้รับความยุติธรรม เขาก็จะยังไม่มั่นใจในความปลอดภัยว่าหากแจ้งแล้ว เหยื่อการถูกทำร้ายเหล่านี้ก็อาจถูกทำร้ายซ้ำซ้อนจากครูที่กระทำรุนแรงต่อพวกเขายิ่งขึ้นเข้าไปอีก
 
ข้อสาม เรื่องการใส่เครื่องแบบนักเรียน รมต. อ้างว่าเครื่องแบบนักเรียนมีความปลอดภัย ผู้คนพบเห็นจะปกป้อง ไม่ทำร้ายนักเรียน  
 
ข้อนี้คือความเลอะเทอะขั้นสูงสุดของความคิดที่ รมต. แสดงออกมาเมื่อวาน นักเรียนแย้งทันทีว่าเครื่องแบบไม่ใช่ชุดเกราะ ไม่สามารถปกป้องภัยอะไรได้ เพราะแม้แต่ในโรงเรียน นักเรียนใส่เครื่องแบบตลอดเวลายังถูกครูทำร้าย ครูใช้คามรุนแรงทั้งทางกายและวาจา ไม่เว้นแม้แต่จากระบบอาวุโส รุ่นพี่รุ่นน้องในโรงเรียน ที่เกิดเหตุการทำร้ายร่างกาย ทำร้ายจิตใจ ผ่านการรับน้องกันอยู่เป็นประจำทุกปี แถมเครื่องแบบนักเรียนปัจจุบันยังกลายเป็นวัตถุทางเพศ ความเด็กถูกผูกติดกับเครื่องแบบนักเรียน ทำให้เครื่องแบบนักเรียนกลายเป็นสิ่งยั่วยุทางเพศ
 
ข้อสี่ เรื่องทรงผม นักเรียนถามว่าหากนักเรียนชายจะไว้ผมยาวถึงหลังแล้วเสียหายตรงไหน รมต. ตอบว่า ยังมีคนอีกมากเขาไม่ได้อยากเห็นแบบนี้ เหมือนกับว่า รมต. จะนิยมตรรกนี้มากเป็นพิเศษ เพราะมักใช้กับประเด็นอื่นๆ ด้วย
 
นี่คือตัวอย่างการใช้ความเป็นเสียงส่วนใหญ่เพื่อทำลายหลักการที่ถูกต้อง ทรงผมและการแต่งกายเป็นสิทธิส่วนตัวในการแสดงออกซึ่งตัวตน โรงเรียนละเมิดสิทธิของนักเรียนในข้อนี้มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน การที่ใครจะไม่พอใจกับทรงผมหรือการแต่งกายของคนอื่นอย่างไร ก็ไม่ได้หมายความว่าเขาจะมีสิทธิมาแทรกแซงการแต่งกายของคนอื่นได้  
 
ที่สำคัญคือ การสอนระเบียบวินัยไม่จำเป็นต้องบังคับที่การแต่งการและทรงผม ดูอย่างคนที่แต่งกายในเครื่องแบบอย่างหทาร ตำรวจ ในระเทศไทยสิ ยังละเมิดกฎหมาย คุกคามประชาชน ฉีกรัฐธรรมนูญได้เสมอ หากเครื่องแบบสามารถสร้างระเบียบวินัยได้จริง ทำไมเรายังมีทหารและตำรวจสวมเครื่องแบบก่อการรัฐประหาร เป็นกบฏ ล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย ละเมิดกฎหมายสูงสุดของประเทศอยู่เสมอๆ ล่ะ
 
การดีเบตเมื่อวาน เห็นได้ชัดว่านักเรียนชนะขาดทั้งในเชิงตรรกะและข้อมูล และก็สมควรแล้วที่เขาจะไล่คุณออกจากการเป็น รมต. ถ้าคุณยังเรียกการถกเถียงด้วยเหตุด้วยผลและข้อเท็จจริงลักษณะนี้ว่าการคุกคามอีกล่ะก็ คุณจะให้นักเรียนเรียกสิ่งที่คุณกับขบวนการ กปปส. ทำกับประเทศนี้ว่าอะไร หากไม่ใช่การปล้นอำนาจประชาชนแล้วเสวยอำนาจเป็นรัฐมนตรีอย่างหน้าไม่อาย
 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
มีวันหนึ่ง อาจารย์อคินเดินคุยอยู่กับอาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่ง ผมเดินตามทั้งสองท่านมาข้างหลังอย่างที่ทั้งสองท่านรู้ตัวดี ตอนนั้นผมกำลังเรียนปริญญาเอกที่อเมริกา หรือไม่ก็เรียนจบกลับมาแล้วนี่แหละ อาจารย์อคินไม่รู้จักผม หรือรู้จักแต่ชื่อแต่ไม่เคยเห็นหน้า หรือไม่ก็จำหน้าไม่ได้ ผมแอบได้ยินอาจารย์อคินเปรยกับอาจารย์อีกท่านว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คืนวาน วันฮาโลวีน นักศึกษาชวนผมไปพูดเรื่องผี ปกติผมไม่อยู่รังสิตจนมืดค่ำ แต่ก็มักใจอ่อนหากนักศึกษาชวนให้ร่วมเสวนา พวกเขาจัดงานกึ่งรื่นเริงกึ่งเรียนรู้ (น่าจะเรียกว่าเริงรู้ หรือรื่นเรียนก็คงได้) ในคืนวันผีฝรั่ง ในที่ซึ่งเหมาะแก่การจัดคือพิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยา เพราะมีของเก่าเยอะ ก็ต้องมีผีแน่นอน ผมก็เลยคิดว่าน่าสนุกเหมือนกัน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ถึงกับต่อต้านกิจกรรมเชียร์อย่างรุนแรง เพราะคนสำคัญใกล้ตัวผมก็เป็นอดีตเชียร์ลีดเดอร์งานบอลประเพณีฯ ด้วยคนหนึ่ง และเพราะอย่างนั้น ผมจึงพบด้วยตนเองจากคนใกล้ตัวว่า คนคนหนึ่งกับช่วงชีวิตช่วงหนึ่งของมหาวิทยาลัยมันเป็นเพียงแค่ส่วนเสี้ยวหนึ่งของพัฒนาการของแต่ละคน แต่ก็ยังอยากบ่นเรื่องการเชียร์อยู่ดี เพราะความเข้มข้นของกิจกรรมในปัจจุบันแตกต่างอย่างยิ่งจากในสมัยของผม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเพิ่งไปเก็บข้อมูลวิจัยเรื่องการรู้หนังสือแบบดั้งเดิมของ "ลาวโซ่ง" ในไทยที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ได้ราว 2 วัน ได้ข้อมูลมากมายเกี่ยวกับประเด็นที่สนใจ แต่ก็ได้อย่างอื่นมาด้วยไม่น้อยเช่นกัน เรื่องหนึ่งคือความรู้เกี่ยวกับปลา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันก่อนปฐมนิเทศนักศึกษาปริญญาโท-เอกของคณะ ในฐานะคนดูแลหลักสูตรบัณฑิตศึกษาทางมานุษยวิทยา ผมเตรียมหัวข้อมาพูดให้นักศึกษาฟัง 4 หัวข้อใหญ่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ชื่อโมเฮน-โจ-ดาโรแปลตามภาษาซินธ์ (Sindh) ว่า "เนิน (ดาโร) แห่ง (โจ) ความตาย (โมเฮน)" เหตุใดจึงมีชื่อนี้ ผมก็ยังไม่ได้สอบถามค้นคว้าจริงจัง แต่ชื่อนี้ติดหูผมมาตั้งแต่เรียนปริญญาเอกอยู่ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน และเพราะโมเฮนโจดาโรและเมืองคู่แฝดที่ห่างไกลออกไปถึง 600 กิโลเมตรชื่อ "ฮารัปปา" นี่แหละที่ทำให้ผมชอบวิชาโบราณคดีและทำให้อยากมาปากีสถาน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ก่อนมา รู้อยู่แล้วว่าปากีสถานช่วงเดือนนี้คือเดือนที่ร้อนมาก และก็เพิ่งรู้ว่าเดือนนี้แหละที่ร้อนที่สุด แต่ที่ทำให้ “ใจชื้น” (แปลกนะ เรามีคำนี้ที่แปลว่าสบายใจ โดยเปรียบกับอากาศ แต่ที่ปากีสถาาน เขาคงไม่มีคำแบบนี้) คือ ความร้อนที่นี่เป็นร้อนแห้ง ไม่ชื้น และจึงน่าจะทนได้มากกว่า 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ครึ่งวันที่ผมมีประสบการณ์ตรงในกระบวนการยุติธรรมไทย บอกอะไรเกี่ยวกับสังคมไทยมากมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมลองเอากรณีทุบรถกับทุบลิฟมาเปรียบเทียบกัน แล้วก็เห็นความแตกต่างกันมากหลายมุม ได้เห็นความเหลื่อมล้ำของสังคมที่สนใจกรณีทั้งสองอย่างไม่สมดุลกัน แต่สุดท้ายมันบอกอะไรเรื่องเดียวกัน คือความบกพร่องของสถาบันจัดการความขัดแย้งของประเทศไทย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนรุ่นใหม่ครับ... 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (4 ตุลาคม 2560) นิสิตมหาวิทยาลัยหนึ่งโทรศัพท์มาสัมภาษณ์เรื่องการพิมพ์คำ "คะ" "ค่ะ" ผิดๆ ในโซเชียลมีเดียและการส่งข้อความต่างๆ บอกว่าจะเอาไปลงวารสารของคณะเธอ เธอถามว่าการใช้คำผิดแบบนี้มีนัยทางสังคมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวาน (30 กันยายน 2560) นักศึกษาปริญญาโทชั้นเรียนมานุษยวิยาคนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้เขียนบทละครเรื่อง "The Dark Fairy Tales นิทานเรื่องนี้ไม่เคยเล่า" ชวนไปดูและร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นหลังละครจบ ช่วยให้คิดอะไรเกี่ยวกับการอ่านนิทานได้อีกมากทีเดียวจึงอยากบันทึกไว้