Skip to main content

การดีเบตระหว่างนักเรียนกับรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการที่หน้ากระทรวงฯ เมื่อวาน (5 กย. 63) ชี้ให้เห็นชัดว่า หากยังจะให้คนที่มีระบบคิดวิบัติแบบนี้ดูแลกระทรวงศึกษาธิการอยู่ ก็จะยิ่งทำให้การศึกษาไทยดิ่งลงเหวลึกไปยิ่งขึ้น

เมื่อวาน กลุ่ม #นักเรียนเลว ได้นัด #รัฐมนตรีเลว (เพราะไม่ยอม #ไปต่อแถว  แต่ได้ดีเพราะเป่านกหวีดล้มการเลือกตั้งจนปูทางสู่การรัฐประหารปี 2557) ให้มาแลกเปลี่ยนความเห็นกัน รัฐมนตรี (รมต.)​โอ้เอ้อยู่นานกว่าจะออกมาพบนักเรียนที่อุตส่าห์มีตัวแทนเดินทางมาจากจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ มาเล่าปัญหาและรับฟังแนวทางแก้ไขปัญหาของรัฐมนตรี ในที่สุดรัฐมนตรีก็ออกมา  
 
ในบรรดาคำถามและข้อเท็จจริงหลายประการที่นักเรียนซักไซ้เอาจากรัฐมนตรี นอกจากรัฐมนตรีจะมีข้อมูลน้อยกว่านักเรียนแล้ว ความเสื่อมของรัฐมนตรีคนนี้อย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือความวิบัติในตรรกะของเขา ที่จับได้พอสังเขปมีดังนี้
 
ข้อแรก ต่อคำถามเรื่องการแก้ปัญหาความรุนแรงในโรงเรียน นักเรียนแจ้งว่ามีกรณีนักเรียนถูกคุกคามจากการแสดงออกทางการเมือง 109 โรงเรียน รมต. บอกว่า ครูมี 5 แสนคน มีกรณีคุกคามเพียงแค่ส่วนน้อยซึ่งเขากำลังจัดการตามวินัยอยู่  
 
ประเด็นคือ หากประเทศไทยทั้งประเทศมีโจร 10,000 คน แล้วประชากรทั้งหมดมี 70 ล้านคน คุณจะบอกว่า มีคนอีกตั้งหลายสิบล้านคนที่ไม่เป็นโจร ขอให้วางใจ อย่างนั้นเหรอ ประเด็นคือ แค่มีโจรเพียงรายเดียวก็ต้องไม่ได้แล้วสิ นี่คือความไม่เด็ดขาดของ รมต. และคือวิธีการเข้าใจปัญหาแบบใช้คณิตศาสตร์อย่างวิบัติ ต่อปัญหาความรุนแรงในโรงเรียน แม้เกิดขึ้นรายสองราย ก็ถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ จะเอาตัวเลขว่าครูส่วนใหญ่ยังเป็นครูที่ดีอยู่มาอ้างกลบเกลื่อนปัญหาแบบนี้ใช้ไม่ได้
 
ข้อสอง การแจ้งเบาะแสความรุนแรงในโรงเรียน รมต. บอกว่านักเรียนสามารถแจ้งมาได้ เปิดช่องทางให้แล้ว แล้วยังบอกว่า พวกนักเรียนก็ต้องให้ความเป็นธรรมกับผู้ถูกกล่าวหาด้วย  
 
ปัญหาคือ ครูมีทั้งอำนาจในการให้คุณให้โทษนักเรียน และมีสถานะทางสังคมที่เหนือกว่านักเรียน แทนที่ รมต. จะพยายามหาวิธีให้นักเรียนที่แจ้งเหตุความรุนแรงได้รับความปลอดภัย และกล้าที่จะนำเสนอปัญหา หรือลงพื้นที่ไปไต่สวนอย่างจริงจัง แต่ รมต. กลับมาเรียกร้องให้นักเรียนให้ความเป็นธรรมกับครูที่ถูกกล่าวหา แทนที่พวกเขาจะต้องการได้รับความยุติธรรม เขาก็จะยังไม่มั่นใจในความปลอดภัยว่าหากแจ้งแล้ว เหยื่อการถูกทำร้ายเหล่านี้ก็อาจถูกทำร้ายซ้ำซ้อนจากครูที่กระทำรุนแรงต่อพวกเขายิ่งขึ้นเข้าไปอีก
 
ข้อสาม เรื่องการใส่เครื่องแบบนักเรียน รมต. อ้างว่าเครื่องแบบนักเรียนมีความปลอดภัย ผู้คนพบเห็นจะปกป้อง ไม่ทำร้ายนักเรียน  
 
ข้อนี้คือความเลอะเทอะขั้นสูงสุดของความคิดที่ รมต. แสดงออกมาเมื่อวาน นักเรียนแย้งทันทีว่าเครื่องแบบไม่ใช่ชุดเกราะ ไม่สามารถปกป้องภัยอะไรได้ เพราะแม้แต่ในโรงเรียน นักเรียนใส่เครื่องแบบตลอดเวลายังถูกครูทำร้าย ครูใช้คามรุนแรงทั้งทางกายและวาจา ไม่เว้นแม้แต่จากระบบอาวุโส รุ่นพี่รุ่นน้องในโรงเรียน ที่เกิดเหตุการทำร้ายร่างกาย ทำร้ายจิตใจ ผ่านการรับน้องกันอยู่เป็นประจำทุกปี แถมเครื่องแบบนักเรียนปัจจุบันยังกลายเป็นวัตถุทางเพศ ความเด็กถูกผูกติดกับเครื่องแบบนักเรียน ทำให้เครื่องแบบนักเรียนกลายเป็นสิ่งยั่วยุทางเพศ
 
ข้อสี่ เรื่องทรงผม นักเรียนถามว่าหากนักเรียนชายจะไว้ผมยาวถึงหลังแล้วเสียหายตรงไหน รมต. ตอบว่า ยังมีคนอีกมากเขาไม่ได้อยากเห็นแบบนี้ เหมือนกับว่า รมต. จะนิยมตรรกนี้มากเป็นพิเศษ เพราะมักใช้กับประเด็นอื่นๆ ด้วย
 
นี่คือตัวอย่างการใช้ความเป็นเสียงส่วนใหญ่เพื่อทำลายหลักการที่ถูกต้อง ทรงผมและการแต่งกายเป็นสิทธิส่วนตัวในการแสดงออกซึ่งตัวตน โรงเรียนละเมิดสิทธิของนักเรียนในข้อนี้มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน การที่ใครจะไม่พอใจกับทรงผมหรือการแต่งกายของคนอื่นอย่างไร ก็ไม่ได้หมายความว่าเขาจะมีสิทธิมาแทรกแซงการแต่งกายของคนอื่นได้  
 
ที่สำคัญคือ การสอนระเบียบวินัยไม่จำเป็นต้องบังคับที่การแต่งการและทรงผม ดูอย่างคนที่แต่งกายในเครื่องแบบอย่างหทาร ตำรวจ ในระเทศไทยสิ ยังละเมิดกฎหมาย คุกคามประชาชน ฉีกรัฐธรรมนูญได้เสมอ หากเครื่องแบบสามารถสร้างระเบียบวินัยได้จริง ทำไมเรายังมีทหารและตำรวจสวมเครื่องแบบก่อการรัฐประหาร เป็นกบฏ ล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย ละเมิดกฎหมายสูงสุดของประเทศอยู่เสมอๆ ล่ะ
 
การดีเบตเมื่อวาน เห็นได้ชัดว่านักเรียนชนะขาดทั้งในเชิงตรรกะและข้อมูล และก็สมควรแล้วที่เขาจะไล่คุณออกจากการเป็น รมต. ถ้าคุณยังเรียกการถกเถียงด้วยเหตุด้วยผลและข้อเท็จจริงลักษณะนี้ว่าการคุกคามอีกล่ะก็ คุณจะให้นักเรียนเรียกสิ่งที่คุณกับขบวนการ กปปส. ทำกับประเทศนี้ว่าอะไร หากไม่ใช่การปล้นอำนาจประชาชนแล้วเสวยอำนาจเป็นรัฐมนตรีอย่างหน้าไม่อาย
 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (24 ธันวาคม 2555) กสทช.เชิญให้ผมไปร่วมแสดงความเห็นในเวทีเสวนาสาธารณะ “1 ปี กสทช. กับความ (ไม่) สมหวังของสังคมไทย” ทีแรกผมไม่คิดว่าตนเองจะสามารถไปวิจารณ์อะไรกสทช.ได้ แต่ผู้จัดยืนยันว่าต้องการมุมมองแบบมานุษยวิทยา ผมจึงตกปากรับคำไป 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อโต้แย้งต่อความเห็นผมจากของเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ที่ลงในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1355920241&grpid=03&catid=&subcatid=) ย้ำให้เห็นชัดถึงความอับจนของกรอบคิดของคนกลุ่มนี้ต่อไปนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไม่เพียงแต่นักเขียนบางคนเท่านั้นที่อาจจะไม่เข้าใจหรือมองข้ามประเด็นความแตกต่างทางชาติพันธ์ุ แต่ผมคิดว่าแวดวงภาษาและวรรณกรรมบ้านเราอาจจะไม่ตระหนักถึงปัญหานี้โดยรวมเลยก็ได้ และในแง่หนึ่ง ผมคิดว่าซีไรต์เองอาจจะมีส่วนสร้างวัฒนธรรมไม่อ่อนไหวต่อความแตกต่างทางวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน และถึงที่สุดแล้ว นี่อาจจะกลายเป็นข้อจำกัดที่ปิดกั้นโอกาสที่วรรณกรรมไทยจะก้าวเข้าสู่ระดับสากล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะของนายแพทย์ที่เป็นตัวแทนของคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ แสดงให้เห็นถึงความคิดคับแคบของผู้มีอำนาจกลุ่มหนึ่ง ที่มักใช้อำนาจก้าวก่ายชีวิตผู้คน บนความไม่รู้ไม่เข้าใจไม่อยากรับผิดชอบต่อปัญหาเชิงโครงสร้างที่ละเอียดอ่อน และบนกรอบข้ออ้างเรื่องคุณธรรมความดีที่ยกตนเองเหนือคนอื่น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แทนที่จะเถียงกับอีกท่านหนึ่งที่วิจารณ์ผมต่อหน้ามากมายเมื่อวาน ผมขอใช้พลังงานเถียงกับข้อเสนอล่าสุดของอาจารย์ธีรยุทธ บุญมีจากข่าวในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354935625&grpid=01&catid=&subcatid=) ดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นึกไม่ถึงและนึกไม่ออกจริงๆ ว่า ทำไมคนเปิดร้านขายหนังสือในปลายศตวรรษที่ 20 - ต้น 21 จะมีความคิดแบบนี้ได้ นี่แสดงว่าเขาไม่ได้อ่านหนังสือที่เขาขายบ้างเลย หรือนี่แสดงว่าการอ่านหนังสือไม่ได้ช่วยจรรโลงจิตใจนายทุนบางคนขึ้นมาได้เลย*
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่ออ่านข่าวแอร์โฮสเตสที่เพิ่งถูกให้ออก ผมมีคำถามหลายข้อ ทั้งในมิติของโซเชียลมีเดีย hate speech และสิทธิแรงงาน อย่างไรก็ดี ขอเคลียร์ก่อนว่าหากใครทราบจุดยืนทางการเมืองของผม ย่อมเข้าใจดีว่าความเห็นต่อไปนี้ไม่ได้มาจากความเห็นทางการเมืองที่เอนเอียงไปในทางเดียวกับพนักงานสายการบินคนนี้แต่อย่างใด ข้อสังเกตคือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขณะกำลังนั่งกินหอยแครงลวกอยู่เวลานี้ ก็ชวนให้คิดถึงคำพูดของนักวิชาการกัมพูชาคนหนึ่ง ที่เคยนั่งต่อหน้าอาหารเกาหลีจานพิเศษ คือหนอนทะเลดิบตัดเป็นชิ้นๆ ขยับตัวดึบๆ ดึบๆ อยู่ในจานแม้จะถูกตั้งทิ้งไว้เป็นชั่วโมง ตอนนั้น ผมบ่ายเบี่ยงไม่กล้ากินอยู่นาน แม้จะรู้ว่าเป็นอาหารพิเศษราคาแพงที่ศาสตราจารย์ชาวเกาหลีสรรหามาเลี้ยงต้อนรับการมาเกาหลีครั้งแรกของพวกเราหลายคน เพื่อนกัมพูชาบอกว่า "กินเถอะพี่ หอยแครงลวกในเมืองไทยน่ากลัวกว่านี้อีก" ผมจึงหาเหตุที่จะหลบเลี่ยงอีกต่อไปไม่ได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมนั่งดูบันทึกรายการ The Voice Thailand (เดอะวอยซ์) เป็นประจำ แม้ว่าจะเห็นคล้อยตามคำนิยมของโค้ชทั้ง 4 อยู่บ่อยๆ แถมยังแอบติดตามความเห็นเปรี้ยวๆ ของนักเขียนบางคนที่ชอบเรียกตนเองสวนทางกับวัยเธอว่า "ป้า" ซึ่งหมดเงินกดโหวตมากมายให้นักร้องหนุ่มน้อยแนวลูกทุ่ง แต่ผมไม่ได้รับความบันเทิงจากเดอะวอยซ์เพียงจากเสียงเพลง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมพยายามถามตัวเองว่า การจะสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามที่นำโดย "เสธ.อ้าย" จะมาจากเหตุผลประการใดบ้าง แต่ผมก็ชักจะเริ่มไม่แน่ใจว่า เอาเข้าจริง คนที่เข้าร่วมชุมนุมกับเสธ.อ้ายจะมีเหตุผลหรือไม่ หรือหากมี พวกเขาจะใช้เหตุผลชุดไหนกันในการเข้าร่วมชุมนุม ยังไงก็ตาม อยากถามพวกคุณที่ไปชุมนุมว่า พวกคุณอยากให้ประเทศเป็นอย่างนี้จริงๆ หรือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (20 พฤศจิกายน 2555) นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชิญไปบรรยายในงานสัมมนา "การเมืองเรื่องคนธรรมดา" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ขอตัดส่วนหนึ่งของบทบรรยายของผมที่ใช้ชื่อว่า "การเมืองวัฒนธรรมดา: ความไม่ธรรมดาของสามัญชน" มาเผยแพร่ในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2555 นิสิตรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเชิญไปร่วมกิจกรรมจุฬาวิชาการ โดยให้ไปวิจารณ์บทความนิสิตปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ 4 ชิ้น 1) ว่าด้วยเบื้องหลังทางการเมืองของการก่อตั้งองค์การอาเซียน 2) ว่าด้วยบทบาทและการต่อรองระหว่างประเทศในอาเซียน 3) ว่าด้วยการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าของธุรกิจเอกชนไทยในคู่ค้าอาเซียน และ 4) ว่าด้วยนโยบายชนกลุ่มชาติพันธ์ุในพม่า ข้างล่างนี้คือบันทึกบทวิจารณ์