Skip to main content

ถ้าคุณไม่สามารถเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ได้แล้ว ก็โปรดอย่าถ่วงรั้งการเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่เลย 

ผมในวันนี้ วัยย่าง 56 ขวบปี ผ่านช่วงวัยที่ต่อสู้กับความล้าหลังของคนรุ่นก่อนหน้ามามาก ผมโชคดีหน่อยที่บรรดาครูของผมจำนวนหนึ่ง ลงแรงเรียนรู้ไปกับศิษย์ แต่ก็มีครูจำนวนมากที่ล้าหลังเหนี่ยวรั่งการเรียนรู้ของศิษย์ 

ในทศวรรษ 2530 ที่เริ่มเรียนบัณฑิตศึกษาระดับปริญญาโท ด้วยการเรียนในไทยใต้บรรยากาศกดทับของคนรุ่นเก่ามากมาย (จะมียกเว้นก็แต่ครูของผมจำนวนหนึ่ง) 

ผมจึงปวารณาตนเองว่า เมื่อมาเป็นครูผู้สอนแแล้ว จะต้องไม่ทำแบบเดียวกับที่ผมและเพื่อนๆ รุ่นพี่รุ่นน้องใกล้เคียงกันถูกกระทำมาอย่างเด็ดขาด 

เมื่อเรียนจบกลับมา ผมถูกคำถามใหม่ๆ มากมายจากนักศึกษาทุกระดับชั้นปี ผมเห็นอดีตของตัวเองในพวกเขาเหล่านั้นว่า คนรุ่นใหม่ๆ เขาหิวกระหายความแปลกใหม่ที่ตอบโจทย์ของชีวิตเขาอยู่เสมอทุกรุ่น 

สมัยผม ผมกับเพื่อนๆ อ่านหนังสือล้ำหน้าอาจารย์ไปนับสิบปี นี่ไม่ใช่จะคุยโม้ แต่มันมีเหตุผลที่อธิบายได้ว่า นั่นเป็นเพราะ 

(1) อาจารย์ยุ่งกับงานสอน งานวิจัย และงานบริหารมากกว่านักศึกษา จึงเห็นอะไรใหม่ๆ ช้ากว่านักศึกษา 

(2) การเรียนรู้ของอาจารย์ต้องมีการวางรากฐานอย่างมั่นคง จึงมักอาศัยเวลามากกว่านักศึกษา 

(3) อาจารย์สนใจสานต่อโจทย์วิจัยในยุคเก่าของตนเอง มากกว่านักศึกษาที่มุ่งแสวงหาอะไรใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ในรุ่นของตนเองเสมอ

อย่างไรก็ตาม สมัยเป็นนักศึกษา ผมและเพื่อนๆ ก็ยังไม่มีทักษะและพื้นฐานที่ดีพอที่จะเข้าใจงานใหม่ๆ ในสมัยนั้น 

แต่ครูอาจารย์ที่สอนเราอยู่ก็มีน้อยเกินไปที่จะมาร่วมเรียนรู้และชี้นำเราได้ ยิ่งที่จะเสี่ยงมาดั้นด้นหาความรู้ใหม่ยิ่งน้อยยิ่งกว่า

เมื่อจบปริญญาเอกจากอเมริกากลับมา นักเรียนผมไม่ว่าจะในระดับการศึกษาไหน มีคำถามมากมายที่ผมตอบไม่ได้ ยิ่งระดับ ป. โท ป.เอก ยิ่งถามอะไรที่ซับซ้อนเกินกว่าความรู้ของผม 

เช่น ในยุคอินเทอร์เน็ต มีนักศึกษาถามผมว่านักมานุษยวิทยาจะศึกษาสังคมออนไลน์ได้อย่างไร คำถามนี้อาจารย์ผมคนหนึ่งที่เป็นหนึ่งในปรมจารย์ด้านสื่อศึกษาในทศวรรษ 1990 ยังตอบไม่ได้เลย

ทางที่ผมเลือกคือ ขอเรียนรู้ร่วมไปกับพวกเขา ไม่ว่าจะในแง่ข้อมูล วิธีการศึกษา ทฤษฎี และหลักปรัชญาพื้นฐาน 

สิ่งที่คนผ่านการเรียนปริญญาเอกมาแล้วมีคือ อย่างน้อยในสาขาวิชาที่เราจบมา เรารู้ว่าจะปูพื้นฐานให้คนอย่างไร และสำคัญที่สุดคือ จะนำความรู้จากแนวคิดใหม่ๆ ไปสู่การวิจัยที่ได้ความรู้ใหม่ๆ อย่างไร

เพียงแต่ว่า เมื่อเจอกับปรากฏการณ์ที่เกินความรู้ของเรา เจอกับวิธีคิดใหม่ๆ ที่เราไม่ได้เรียนมา คำถามคือ ฐานความรู้ของเราครูบาอาจารย์รุ่นเก่า จะส่งเสริมให้เกิดความรู้ใหม่ๆ แก่นักวิชาการรุ่นใหม่ๆ อย่างไร 

วิธีหนึ่งที่ผมทำคือ ปล่อยให้นักศึกษาเป็นตัวของตัวเองตามความสนใจของเขาอย่างเต็มที่ แต่วิธีที่ควรทำควบคู่กันคือ สร้างคนให้พร้อมเรียนรู้ตั้งแต่มัธยมปลาย

อีกวิธีคือ ผมจะลงแรงเรียนพร้อมพวกเขา บ่อยครั้งที่ผมให้ นศ.เลือกเองว่าจะเรียนอะไร แล้วมาจัดตารางสอนร่วมกัน

ฝากถึงอาจารย์รุ่นเก่าว่า ขออย่าดูถูกความรู้ของนักเรียนรุ่นใหม่ๆ เลย ขอให้พยายามผลักดันให้นักเรียนก้าวหน้าไปไกลกว่าตนเองด้วยฐานความรู้ที่ท่านมี 

ขออย่าเอาขีดจำกัดความรู้ของตนเอง มาปิดกั้นความกระหายใคร่รู้และแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ที่ทันโลกวิชาการและปรากฏการณ์ปัจจุบันเลย
 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา หลายคนคงเป็นแบบผม คือพยายามข่มอารมณ์ฝ่าฟันการสบถของท่านผู้นำ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตั้งแต่ที่ผมรู้จักงานฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์มา มีปีนี้เองที่ผมคิดว่ากิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่มีความหมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปี 2558 เป็นปีที่คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีอายุครบ 50 ปี นับตั้งแต่เริ่มเป็นแผนกอิสระในคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์มาตั้งแต่ปี 2508
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เปิดภาคการศึกษานี้มีเรื่องน่าตื่นเต้นคือ วันแรกที่ไปสอน (ผมสอนอังคาร, พฤหัสบดี ครั้งละ 1 ชั่วโมง 15 นาที) มีนักเรียนมาเต็มห้อง เขากำหนดโควต้าไว้ที่ 34 คน แต่หลังจากผมแนะนำเค้าโครงการบรรยาย คงเพราะงานมาก จุกจิก ก็มีคนถอนชื่อออกไปจำนวนหนึ่ง คืนก่อนที่จะไปสอนครั้งที่สอง ผมก็เลยฝันร้าย คือฝันว่าวันรุ่งขึ้นมีนักเรียนมาเรียนแค่ 3 คน แล้วเรียนๆ ไปนักเรียนหนีหายไปเหลือ 2 คน แต่พอตื่นไปสอนจริง ยังมีนักเรียนเหลืออีก 20 กว่าคน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อได้ทราบว่าอาจารย์เก่งกิจทำวิจัยทบทวนวรรณกรรมด้านชนบทศึกษา โดยลงแรงส่วนหนึ่งอ่านงาน “ทบทวนภูมิทัศน์การเมืองไทย” (ต่อไปนี้จะเรียกว่า “ทบทวนภูมิทัศน์ฯ”) (อภิชาต ยุกติ นิติ 2556) ที่ผมมีส่วนร่วมกับนักวิจัยในทีมทั้งหมด 6 คนในตอนแรก และ 9 คนในช่วงทำวิจัยใหญ่ [1] ผมก็ตื่นเต้นยินดีที่นานๆ จะมีนักวิชาการไทยอ่านงานนักวิชาการไทยด้วยกันเองอย่างเอาจริงเอาจังสักที 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะให้ผมเขียนเรื่องอุปสรรคขัดขวางโลกวิชาการไทยต่อการก้าวขึ้นสู่ความเป็นเลิศในระดับนานาชาติไปอีกเรื่อยๆ น่ะ ผมก็จะหาประเด็นมาเขียนไปได้อีกเรื่อยๆ นั่นแหละ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ถ้านับย้อนกลับไปถึงช่วงปีที่ผมเริ่มสนใจงานวิชาการจนเข้ามาทำงานเป็นอาจารย์ ก็อาจนับได้ไปถึง 25 ปีที่ผมเห็นความเปลี่ยนแปลงในโลกวิชาการไทย ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่สำคัญคือการบริหารงานในมหาวิทยาลัย แต่ขอยกเรื่องนั้นเอาไว้ก่อน เพราะหากค่อยๆ ดูเรื่องย่อยๆ ไปเรื่อยๆ แล้วก็น่าจะช่วยให้เห็นอะไรมากขึ้นว่า การบริหารงานวิชาการในขณะนี้วางอยู่บนระบบแบบไหน เป็นระบบที่เน้นสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการในเชิงปริมาณหรือคุณภาพกันแน่ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บอกอีกครั้งสำหรับใครที่เพิ่งอ่านตอนนี้ ผมเขียนเรื่องนี้ต่อเนื่องกันมาชิ้นนี้เป็นชิ้นที่ 5 แล้ว ถ้าจะไม่อ่านชิ้นอื่นๆ (ซึ่งก็อาจชวนงงได้) ก็ขอให้กลับไปอ่านชิ้นแรก ที่วางกรอบการเขียนครั้งนี้เอาไว้แล้ว อีกข้อหนึ่ง ผมยินดีหากใครจะเพิ่มเติมรายละเอียด มุมมอง หรือประสบการณ์ที่แตกต่างออกไป แต่ขอให้แสดงความเห็นแบบ "ช่วยกันคิด" หน่อยนะครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อันที่จริงวิทยานิพนธ์เป็นส่วนน้อยๆ ของโลกวิชาการอันกว้างใหญ่ และเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเป็นนักวิชาการ แต่วิทยานิพนธ์ก็เป็นผลงานที่อาจจะดีที่สุดของนักวิชาการส่วนใหญ่ แต่สังคมวิชาการไทยกลับให้คุณค่าด้อยที่สุด พูดอย่างนี้เหมือนขัดแย้งกันเอง ขอให้ผมค่อยๆ อธิบายก็แล้วกันครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ก่อนเริ่มพูดเรื่องนี้ ผมอยากชี้แจงสักหน่อยนะครับว่า ที่เขียนนี่ไม่ใช่จะมาบ่นเรื่อยเปื่อยเพื่อขอความเห็นใจจากสังคม แต่อยากประจานให้รู้ว่าระบบที่รองรับงานวิชาการไทยอยู่เป็นอย่างไร ส่วนจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร อย่าถามผมเลย เพราะผมไม่มีอำนาจ ไม่ต้องมาย้อนบอกผมด้วยว่า "คุณก็ก้มหน้าก้มตาทำงานไปให้ดีที่สุดก็แล้วกัน" เพราะถ้าไม่เห็นว่าสิ่งที่เล่าไปเป็นประเด็นก็อย่าสนใจเสียเลยดีกว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมขอเริ่มที่เรืองซึ่งถือได้ว่าเป็นยาขมที่สุดของแวดวงมหาวิทยาลัยไทยเลยก็แล้วกัน ที่จริงว่าจะเขียนเรื่องการผลิตความรู้ก่อน แต่หนีไม่พ้นเรื่องการสอน เพราะนี่เป็นอุปสรรคใหญ่ต่อการทำงานวิชาการในไทยมากถึงมากที่สุดเลยก็ว่าได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อผมมาสอนหนังสือถึงได้รู้ว่า วันครูน่ะ เขามีไว้ปลอบใจครู ก็เหมือนกับวันสตรี เอาไว้ปลอบใจสตรี วันเด็กเอาไว้หลอกเด็กว่าผู้ใหญ่ให้ความสำคัญ แต่ที่จริงก็เอาไว้ตีกินปลูกฝังอะไรที่ผู้ใหญ่อยากได้อยากเป็นให้เด็ก ส่วนวันแม่กับวันพ่อน่ะอย่าพูดถึงเลย เพราะหากจะช่วยเป็นวันปลอบใจแม่กับพ่อก็ยังจะดีเสียกว่าที่จะให้กลายเป็นวันฉวยโอกาสของรัฐไทยอย่างที่เป็นอยู่นี้