Skip to main content
เจนจิรา สุ
ฉันเป็นคนหนึ่งที่ติดตามชมละครเรื่องเมียหลวง ที่ถ่ายทอดทุกวันจันทร์-อังคารทางช่องเจ็ด เป็นละครไม่กี่เรื่องที่ฉันชอบดู ด้วยพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน รับสัญญาณโทรทัศน์ได้เพียงไม่กี่ช่อง  และอีกเหตุผลหนึ่งคือละครดีๆ มีไม่กี่เรื่อง  แม้หลายคนจะเหมารวมละครทีวีของไทยว่าเป็นละครน้ำเน่าเสียส่วนใหญ่ แต่ฉันก็เชื่อว่าละครที่สร้างมาจาก นวนิยาย ก็น่าจะมีเนื้อหาสาระบางอย่างสอนใจคนดูได้บ้าง ไม่ใช่จะดูแต่เพียงฉากตบกันของบรรดาเมียน้อยของคุณอนิรุจเท่านั้น
ชิ สุวิชาน
 หลังเสร็จงานศพ ความรู้สึกจำใจจากบ้านมาเยือนอีกครั้ง  แต่การกลับบ้านครั้งนี้แม้จะเห็นการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างโดยเฉพาะในวิถีประเพณี ที่มีคนตายในชุมชน  ได้เห็นสภาพของป่าช้าที่ถูกผ่าตัดตอนแล้วพยายามเปลี่ยนอวัยวะชิ้นส่วนใหม่จากภายนอกเข้ามาแทนที่ 
เจนจิรา สุ
เรานั่งพูดคุยบนชานหน้าบ้านอย่างออกรส ส่วนใหญ่ก็จะถามไถ่ทุกข์สุขกันและกัน เลยไปถึงญาติคนอื่นๆ ที่ไม่ได้เห็นหน้ากันนาน พี่เขยขึ้นเรือนมาสมทบเมื่อสิ้นเสียงออดของโรงเรียนได้พักใหญ่ “ไปเป็นการ์ดยามมา เขาให้เดือนละสี่ร้อย” พี่สาวแจง เป็นรายได้เดียวที่เหลืออยู่ของครอบครัว
ชิ สุวิชาน
 โลงศพถูกหย่อนลงในหลุม  ลูกชายที่เป็นศาสนาจารย์และเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งศิษยาภิบาลได้จับดินก้อนหนึ่งกำไว้ในมือ  แล้วชูดินต่อหน้าผู้ร่วมงาน"ชีวิตเราถูกสร้างมาจากดิน แล้วพระเจ้าได้เป่าลมหายใจ คือชีวิตสู่เรา การรักษาร่างกายไม่สำคัญเท่ากับการรักษาชีวิต ชีวิตที่แม้ไม่มีร่างกายก็มีชีวิตอยู่ได้ เพราะเมื่อร่างกายเราถูกสร้างมาจากดิน ถูกใช้งานมาระยะหนึ่งก็ต้องเสื่อมและต้องกลับคืนสู่ดิน แต่ชีวิตไม่ได้ถูกสร้างมาจากดิน ชีวิตถูกสร้างมาจากลมหายใจที่มาจากพระเป็นเจ้า ถ้าเรารักษาชีวิตไว้ในขณะที่อยู่บนโลกให้เป็นไปตามพระวจนะของพระเป็นเจ้า ชีวิตเราก็จะคืนสู่พระหัตถ์ของพระเป็นเจ้าขณะที่ดำเนินชีวิตอยู่บนโลกหากไม่ประพฤติตนตามหลักคำสอนที่ดีงาม  น่าเป็นห่วงว่าชีวิตเราจะเสื่อมและหมดสภาพและตายไปพร้อมกับร่างกายในที่สุด   ขอให้ดินเป็นส่วนหนึ่งของดิน"  
เจนจิรา สุ
 "ไตรบานา" แม่เฒ่ากล่าวขอบคุณเป็นภาษากระยัน เมื่อเราบอกลาเป็นภาษาเดียวกัน ยังมีครอบครัวพี่สาวของสามีที่อยู่ถัดไปอีกสามป็อก เราตั้งใจว่าจะเยี่ยมก่อนที่จะไม่ได้พบหน้ากันอีก เพราะทางยูเอ็นฯ ได้แจ้งว่า ครอบครัวของเธอจะได้ไปประเทศที่สามในอีกไม่ช้า เราเดินเท้าไปตามทางเดินอันแสนพลุกพล่าน ราวกับว่าผู้คนเร่งรีบเดินทางสู่งานเลี้ยงสังสรรค์ที่ไหนสักแห่ง ความแออัดของผู้คนซึ่งมีอยู่ราวๆ สองหมื่นคน ทำให้บนทางเท้าและที่สาธารณะต่างๆ ดูครึกครื้น กลบบังความทุกข์ของคนพลัดบ้าน
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนหลวงพ่อสมาน วัดชนะสงคราม ที่เคยเลี้ยงดูส่งเสีย ข้าวแกงก้นบาตรราดรดหัวผมมาจนเรียนจบปริญญาตรีเมื่อสิบกว่าปีก่อน ท่านชอบเปรียบเปรยลูกศิษย์ลูกหาและใครต่อใครที่ลืมคุณคนด้วยสำนวนมอญที่ไม่พ้นไปจากเรื่องการกินการอยู่ เป็นต้นว่า "ใหญ่เหมือนช้าง ยาวเหมือนงู" (แก่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน)"กินผลฟันต้น เก็บร่มหักก้าน" (กินบนเรือนขี้บนหลังคา)"ข้าวแดงแกงร้อน" (สำนึก)"เสียข้าวสุก" (เนรคุณ)แต่ที่ผมเสียวแปลบไปถึงขั้วหัวใจทุกครั้งเมื่อถูกท่านเหน็บเอาว่า"ข้าวสุกไม่มียาง" (ก็เนรคุณอีก)
ชิ สุวิชาน
จบพิธีทางคริสต์ศาสนา แขกเหรื่อที่มาต่างทยอยเดินลงบันใด และยืนกองรวมกันที่ลานหน้าบ้านผู้ตาย รถกระบะสองคันซึ่งเป็นของลูกชายศาสนาจารย์ที่จากไปได้แล่นมาแหวกกลุ่มคนที่ยืนอยู่ลานหน้าบ้าน และจอดท่ามกลางวงห้อมล้อมของฝูงชน  "กางเขนนี้คนเอาไม่อยู่ โคตรหนักเลย" เสียงของหนึ่งในชายฉกรรจ์ พูดขึ้นหลังจากนำไม้กางเขนซีเมนต์ขนาดประมาณ 2 เมตรครึ่ง หน้ากว้างประมาณ 6 นิ้วได้ขึ้นไว้บนรถกระบะ ครั้งหนึ่งพระเยซูได้แบกไม้กางเขนของตนเองไปยังภูเขาที่พระองค์จะถูกตรึง ระหว่างทางได้อ่อนระโหยโรยแรง มีชายผู้หนึ่งที่สงสารจึงอาสาช่วยแบก แต่มาครั้งนี้คนเอาไม่อยู่ ผมเพียงแต่นึกในใจว่ากางเขนซีเมนต์นี้ อาจหนักกว่ากางเขนไม้ที่พระเยซูเคยแบกเสียอีกก็ได้  โลงศพบนบ้านถูกยกลงมาที่ลานหน้าบ้านแล้วค่อยวางลงบนกระบะหลังรถอย่างละเมียดละไม ฝาโลงถูกเปิดเพื่อให้คนได้มองหน้าจดจารึกไว้ในความทรงจำเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนตะปูจะทำหน้าที่ปิดภาพร่างไร้วิญญาณนั้นจากสายตาคนตลอดไป ขบวนศพค่อยๆ เคลื่อนออกจากลานบ้านโดยมีรถเป็นแรงงานในการนำศพฝูงชนตามรถยนต์ไปด้วยสีสันเสื้อผ้าประจำเผ่า แดง ดำ ขาว สลับกันไป บ้างหยิบข้าวของเครื่องใช้ของผู้ตายไป บ้างถือพวงหรีดสิ่งสื่อไว้อาลัยรูปแบบใหม่ไป บ้างยกจอบไปด้วย รถเคลื่อนช้าๆ คนเดินช้าๆ ไม่นานก็ถึงป่าช้า สภาพป่าช้า ป่าความเชื่อ ป่าต้องห้ามวันนี้ แห่งนี้บัดนี้สภาพของพื้นดูโล่งเรียบ มีต้นสนสูงอายุใหญ่ๆ ยืนเรียงรายคอยอารักษ์พื้นที่แห่งนี้อย่างประปราย ต้นไม้หนุ่มหายไป ต้นไม้ทารกถูกตัดตอนจนไม่กล้าโผล่ยอดออกมาสูดคารบอนไดออกไซด์และคลายออกซิเจนออกมา เผ่าพันธุ์ต้นไม้เล็กๆ ที่เป็นต้นไม้ดั้งเดิมแต่เป็นพันธุ์ไม้กลุ่มน้อยที่อยู่สลับกับต้นสนถูกกำจัดออกไปอย่างไม่เห็นคุณค่า วิญญาณ เสียงวิญญาณร่ำร้องเต็มสองข้างหูของผม ผมถามคนที่อยู่ข้างๆ ผมว่าได้ยินไหม "อย่าถามให้ขนลุกเลยนะ" เขาตอบผม โดยผมไม่แน่ใจว่าเขาได้ยินเสียงเหมือนผมหรือไม่ "เห็นศพที่ตายแล้ว ยังไม่มีคนฝังไหม" ผมถามเขาต่อ"ไหน ไม่เห็นมีเลย" เขาพยายามกวาดสายชำเลืองมองดูรอบตัวทั้ง 360 องศา"นั่นไง! เต็มเลย เขาตายไปโดยที่ไม่มีใครฝัง" เขาเพียงแต่หันมองหน้าผมแล้วทำหน้าขำ สายตาเขามองผมอย่างผมเป็นคนเพี้ยน
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน"มอญร้องไห้" ร้องทำไม ร้องเพราะไม่มีแผ่นดินจะอยู่ หรือญาติเสีย...?ถูก...ญาติเสีย แต่ต้องระดับคนมีหลานเหลนแล้ว และเป็นที่เคารพรักของผู้คนเท่านั้น หากญาติที่เสียชีวิตอายุยังน้อย แม้จะเสียใจก็ร้องไห้กันไปตามมีตามเกิด ไม่มีการทำพิธีกรรมให้เป็นพิเศษแต่อย่างใดมอญร้องไห้ เป็นมีพิธีกรรมของคนมอญ ซึ่งถือปฏิบัติสืบต่อกันมาในงานศพ เป็นการแสดงความอาลัยรักของลูกหลาน ที่สำคัญเป็นการยกย่องและรำลึกถึงคุณงามความดีของผู้ตายที่เคยทำไว้เมื่อครั้งยังมีชีวิต โดยมากแล้วผู้ร้องจะเป็นหญิงสูงอายุและเป็นเครือญาติกับผู้ตาย เนื้อหาที่ร้องพรรณนาออกมานั้นจะได้ออกมาจากใจ เพราะเคยสัมผัสคลุกคลีมาก่อนเมื่อตอนยังมีลมหายใจ โดยผู้ร้องจะร้องเป็นภาษามอญ และต้องใช้ปฏิภาณกวี คิดคำรำพันคล้องจองให้สัมผัสลงตามทำนองดั้งเดิม เนื้อหาที่ร้องนั้นจึงไม่ตายตัว ขึ้นอยู่กับว่าผู้ตายเป็นใคร เคยประกอบคุณงามความดีอะไรเอาไว้บ้าง รูปแบบมอญร้องไห้ของแท้นั้นเรียบง่าย แต่กินใจ ได้เนื้อความเฉพาะผู้ตายเป็นรายๆ ไป ต่างจากมอญร้องไห้ของกรมศิลป์ที่ประยุกต์เสียใหม่ รูปแบบหรูหราอลังการ สะเทือนอารมณ์รุนแรง (ออกแนวผู้ดีเสียของรักอยู่สักหน่อย) ทว่าติดกับดัก "มาตรฐาน" จะฟังกี่งานๆ เนื้อหาก็เหมือนกันเป๊ะ
ชิ สุวิชาน
"ที่จะร้องให้ฟังต่อไปนี้เป็น ธา ปลือ ร้องเพื่อให้คนเป็นรู้ว่าคนตายได้ตายเพื่อไปที่อื่นแล้ว ร้องเพื่อให้คนตายรู้ว่าตัวว่าได้ตายและต้องไปอยู่อีกที่แล้ว ในวันที่ไม่มีคนตายห้ามพูดห้ามร้องเด็ดขาด ไม่ว่าในบ้าน ใต้ถุนบ้านหรือที่ใดก็ตาม ในวันที่มีคนตายนั้นต้องร้อง" พือพูดก่อนร้อง พือหยิบไมโครโฟน หันมาทางผม ผมจึงเริ่มบรรเลงเตหน่า
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน สำนวนไทยที่กล่าวถึงการแย่งศพมอญ นั่นคือ “แย่งกันเป็นศพมอญ” หากพิจารณาความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ที่มีความหมายว่า ยื้อแย่งกัน ซึ่งใช้ในเชิงเปรียบเทียบ๑ แต่ในความเป็นจริงแล้ว สำนวนนี้มีที่มาจากประเพณีมอญแต่โบราณ และคำว่า “แย่ง” นั้นก็เป็นแต่อุบาย ที่หมายให้ผู้คนทั้งหลายหลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน วัฒนธรรมประเพณีมอญหลายประการที่คนไทยยอมรับมาอย่างหน้าชื่นตาบาน เช่น ประเพณีสงกรานต์ ตักบาตรน้ำผึ้ง ล้างเท้าพระ ดนตรีปี่พาทย์นาฏศิลป์ เหล่านี้เป็นหัวใจของไทยที่รับมาจากมอญ และทำการปรับเปลี่ยนให้เป็นของตนอย่างกลมกลืน แนบเนียนเสียจนคนมอญรุ่นใหม่ที่ไม่ได้ศึกษาลึกซึ้งอาจหลงลืมไปแล้ว วัฒนธรรมประเพณีมอญล้วนมีที่มาที่ไปด้วยกันทั้งสิ้น เพียงแต่คนเก่าเมื่อก่อนไม่ได้บอกเล่าหรืออธิบายกันตรงๆ เป็นแต่ทำกุศโลบายให้ลูกหลานปฏิบัติตาม เมื่อเวลาผ่านไปหลายร้อยปี อนุชนรุ่นหลังจึงไม่เข้าใจในวัฒนธรรมประเพณีของตนถ่องแท้ รู้แต่เพียงว่าเคยเห็นปู่ย่าตายายปฏิบัติสืบต่อกันมาก็ปฏิบัติสืบต่อกันไป หรือไม่ก็เห็นเป็นขบขัน เลิกล้มกันไป โดยไม่รู้ที่มา รวมทั้งมองไม่เห็นปริศนาธรรมที่ปู่ย่าตายายได้บรรจงแฝงแง่คิดเอาไว้ในพิธีกรรมเหล่านั้น หนึ่งในพิธีกรรมที่เข้าใจยากเหล่านั้น ได้แก่ พิธีแย่งศพ
ชิ สุวิชาน
ข่าวเรื่องการละสังขารของศาสนาจารย์ผู้ก่อตั้งคริสตจักรมูเจะคีในวัย 96 ปีได้ถูกกระจายออกไป ไม่เพียงแค่ในพื้นที่มูเจะคีเท่านั้น เชียงราย กาญจนบุรี ซึ่งเป็นที่เกิดและที่เติบโตของพื้นที่อื่นที่เขาเคยเผยแพร่และเทศนาเรื่องราวของพระคริสต์ทั้งในพื้นที่เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก ข่าวการจากไปของเขาไม่เลยผ่านไปได้ งานศพถูกจัดการอย่างดีตามรูปแบบของคริสเตียน ข่าวไปถึงที่ไหนผู้คนจากที่นั่นก็มา คนในพื้นที่กับคนนอกพื้นที่ดูแล้วปริมาณไม่ต่างกันเท่าเลย เหมือนมีการจัดงานมหกรรมบางเกิดขึ้นในชุมชน ลูกหลานที่ไปทำงานจากที่ต่างๆ ของเขาก็มากันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา โดยที่งานศพถูกเก็บไปสามคืน
องค์ บรรจุน
“...ต้องการแม่ครัว (หรือพ่อครัวก็ได้) ๑ ตำแหน่งค่ะ ทำงานที่ระยองนี่ล่ะ...”“ชาวพม่าเอาไหมครับ ถ้าเอามีเยอะเลย ข้างบ้านเขาทำธุรกิจแรงงานพม่าอยู่น่ะ...”“พม่าทำกับข้าวอร่อยหรือเปล่าคะ”“…มีข่าวบ่อยๆ ว่า แรงงานต่างด้าว ไม่ใช่ต่างดาว ฆ่านายจ้าง ระวังไว้นะ”“พม่าเอาแบบนุ่งกางเกงนะ ห้ามนุ่งโสร่ง เดี๋ยวจะเพิ่มเส้นให้มามากเกินไป...ง่ะ...๕๕๕++”ฯลฯข้อความโต้ตอบในกระดานสนทนาเว็บไซต์หางานแห่งหนึ่ง ที่ผู้เขียนเข้าไปพบโดยบังเอิญ เมื่อปลายปีที่แล้ว ข้อความโต้ตอบข้างต้นสะท้อนแง่คิดของคนไทยกลุ่มหนึ่งได้อย่างแปรปรวนชวนสงสัย น่าแปลกที่คนไทยเรามีสายตาที่มองคนพม่าในแบบที่ทั้งหวาดกลัว ไม่ไว้วางใจ เป็นตัวตลก และที่สำคัญคือ เป็นวัตถุแรงงานไม่มีชีวิต ดังในประโยคที่ว่า “ข้างบ้านเขาทำธุรกิจแรงงานพม่าอยู่น่ะ” ไม่แน่ใจว่าความคิดที่แปรปรวนของคนไทยนั้นมันเริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อไหร่ ตั้งแต่คนไทยมีบทเรียนวิชาประวัติศาสตร์แบบหลวงวิจิตรวาทการหรือไม่ เพราะในแบบเรียนสมัยนั้นเขียนให้คนไทยเป็นพระเอกถูกพม่าเผาเมือง “พม่าทุกคน” จึงเป็นผู้ร้ายในสายตาคนไทยตลอดกาล ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับลาวและเขมรนั้น ยังคงรักกันดีบ้านพี่เมืองน้อง แต่ไทยขอเป็นพี่ เราทำเป็นลืมว่าได้เคยไปเผาบ้านเผาเมืองลาวและเขมรไว้ด้วยเช่นกัน คนไทยเลือกที่จะจดจำเพียงว่า ไทยสูญเสียลาวและเขมรให้ฝรั่งเศส จริงหรือที่ว่าเราสูญเสีย แท้จริงแล้ว “เราไม่ได้มาต่างหาก”