Skip to main content
ชิ สุวิชาน
จังหวะที่ผมลุกขึ้นและตามเจ้าของบ้านเพื่อไปกินข้าว สายตาผมแวบไปมองเห็นผู้เฒ่าคนหนึ่งเหมือนคุ้นเคยกันมานาน ทั้งที่ผมไม่เคยเห็นหน้ามาก่อน เขาก็จ้องหน้าผมเหมือนรู้จักมักคุ้นกับผมเป็นอย่างดี  "โพโดะ (หลาน) คืนนี้มีการขับธาไหม?" เขาถามผมเหมือนรู้ว่าใจผมต้องการอะไร แต่สีหน้าเขาเหมือนแสดงอาการไม่มั่นใจในบางอย่างออกมา"โอ้โห ต้องมีซิ" ผมตอบโดยไม่ต้องเดาว่าเขาคือโมะโชะคนหนึ่งแน่นอน
องค์ บรรจุน
  องค์ บรรจุน คนทั่วไปสับสนเกี่ยวกับลักษณะสายพันธุ์และชื่อเรียกของ "กระเจี๊ยบ" ว่าเป็นอย่างไรและเรียกว่าอะไรกันแน่ จะมีสักกี่คนที่รู้ถึงที่มาและคุณค่ามากมายมหาศาลของกระเจี๊ยบบ้านมอญในชนบทหลายแห่งเคยมีต้นกระเจี๊ยบริมรั้ว ริมคลองหนองบึง สำรับกับข้าวเคยมีแกงกระเจี๊ยบไม่ขาด แต่ทุกวันนี้ "กระเจี๊ยบ" เริ่มเลือนหายไปจากชีวิต ชนิดที่ไม่มีใครอาลัยอาวรณ์นัก แม้แต่จะนึกถึงความหลังที่แกงกระเจี๊ยบเคยอยู่คู่ครัวมาแต่อ้อนแต่ออก
บก.สาละวินโพสต์
 อ่านเรื่องสายลับพม่ากันมาสองตอนแล้ว คนที่เคยเดินทางไปเที่ยวพม่าตามสถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังต่าง ๆ อย่างเจดีย์ชเวดากอง หรือพระธาตุอินทร์แขวนอาจบอกว่า ไม่เห็นเคยเจอสายลับติดตามเลย  ผู้เขียนอาจเป็นพวก "คิดไปเอง" หรือเปล่า  อันที่จริง ถ้าผู้เขียนไม่ได้เดินทางไปพม่าในฐานะ "นักข่าว" ที่ต้องการเก็บข้อมูลปัญหาในพม่าออกเผยแพร่  ผู้เขียนก็คงจะเดินทางอย่างไร้กังวล ไม่ต้องเป็นโรคหวาดระแวงอย่างที่เห็น เพราะตามสถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังจะไม่มีสายลับมาติดตามหรือถ้ามีสายลับอยู่ก็ไม่จำเป็นต้องกลัวเพราะตราบใดที่ยังไม่มี "พฤติกรรมนอกกรอบ" นักท่องเที่ยว  พวกสายลับก็จะไม่สนใจเฝ้าติดตามแต่ถ้าคุณมีนิสัยชอบซักถามข้อมูลและถ่ายภาพที่ "ไม่พึงประสงค์" ในสายตาของรัฐบาลพม่า เช่น ถ่ายภาพที่ทำการพรรคเอ็นแอลดีของนางอองซาน ซูจี หรือพูดคุยกับขอทานข้างถนน  ชาวบ้านในสลัม เป็นต้น  พฤติกรรมแบบนี้จะเป็นที่จับตามองของบรรดาสายลับพม่าซึ่งมักแฝงตัวรวมกับคนทั่วไป โดยเฉพาะร้านน้ำชา ซึ่งมีอยู่ทั่วทุกมุมเมือง อาทิ ร้านน้ำชาฝั่งตรงข้ามที่ทำการพรรคเอ็นแอลดี  ว่ากันว่า บรรดาสายลับพม่าจะต้องนั่งประจำการอยู่ที่นี่เพื่อเก็บข้อมูลคนเข้า-ออก  หากมีนักท่องเที่ยวคนไหนยกกล้องขึ้นมาถ่ายรูปที่ทำการพรรคแห่งนี้ละก็  บรรดาสายลับก็จะปฏิบัติงานทันที ผู้เขียนเคยเข้าพักที่โรงแรม Yusana ห่างจากที่ทำการพรรคเอ็นแอลดีแบบเดินถึงภายในห้านาที  เวลาเดินผ่านหน้าที่ทำการพรรคฯ ขนาดไม่ได้ยกกล้องขึ้นมาถ่ายรูป เพียงแค่ยืนมองป้ายด้านหน้าเฉย ๆ  สายตาหลายคู่จากร้านน้ำชาฝั่งตรงข้ามยังเปล่งรัศมีข้ามมาถึงจนทำให้ต้องรีบเดินจ้ำอ้าวผ่านไปเร็ว ๆ  ถ้าขืนยกกล้องขึ้นมา งานนี้สวรรค์คงไม่เมตตาแน่ ๆ เพราะหาเรื่องใส่ตัวเอง  ผู้เขียนได้แต่แกล้งทำทีซ่อนกล้องไว้ในกระเป๋าสะพายให้เลนส์โผล่ขึ้นมาเล็กน้อย เวลาเดินผ่านเป้าหมายก็กดชัตเตอร์มั่วๆ ไปโดยไม่ยกกล้องขึ้นมา  ผลปรากฎว่า มองไม่เห็นอะไรเลยเพราะรีบเดินจ้ำอ้าวเร็วเกินไป!เพื่อนช่างภาพชาวญี่ปุ่นคนหนึ่งเล่าให้ฟังว่า เขาถูกสันติบาลพม่าติดตามหลายครั้งในระยะกระชั้นชิดและรู้แน่ชัดว่าถูกติดตาม  เขาจึงแกล้งไปสถานที่ทั่ว ๆ ไป เช่น ร้านน้ำชา พอเห็นสันติบาลมานั่งโต๊ะติดกันบ่อย ๆ ในที่สุด เขาก็หันไปยิ้มให้แล้วชักชวนให้มานั่งด้วยกันเสียเลยดีไหม  เขาบอกกับสันติบาลคนนั้นว่า "ผมเข้าใจดีว่า คุณกำลังทำตามหน้าที่ อยากตามก็ตามเถอะ"  อีกเหตุการณ์หนึ่ง เพื่อนชาวฟิลิปปินส์คนหนึ่งเล่าว่า เธอนัดคุยกับชาวพม่าท้องถิ่นเรื่องการพานักข่าวมาอบรมนอกประเทศพม่าที่ภัตตาคารแห่งหนึ่ง  เวลาคุยกัน  เด็กเสิร์ฟน้ำชามักจะมายืนใกล้ ๆ แล้วคอยบริการเติมน้ำชาให้กับเธอบ่อย ๆ เหมือนต้องการแอบฟังเรื่องราวที่คุยกัน ถึงขนาดที่ว่า เธอเพิ่งจิบน้ำพร่องไปนิดเดียว เด็กหนุ่มก็รีบเข้ามาเติมชาให้เต็มแก้วทันที  ฟังแล้ว.. บางคนอาจท้วงว่าเพื่อนคนนี้ขี้ระแวงมากไปหรือเปล่า เพราะนี่อาจเป็นบริการสุดประทับใจที่ทางภัตตาคารมอบให้ลูกค้าทุกคนก็เป็นได้ !ันอกจากร้านน้ำชาแล้ว  ร้านอินเทอร์เน็ตจัดเป็นอีกสถานที่หนึ่งที่สายลับพม่ามักวนเวียนอยู่แถวนั้น  เพราะถือเป็นเครื่องมือสื่อสารสู่โลกภายนอก  เมื่อสมัยที่ผู้เขียนเดินทางเข้าพม่าแปดปีก่อน ยุคนั้นรัฐบาลพม่ายังไม่อนุญาตให้ใช้ฟรีอีเมลใด ๆ ทั้งสิ้น  หากต้องการส่งอีเมลจะต้องใช้อีเมลของร้านอินเตอร์เน็ตที่ขึ้นทะเบียนเปิดขอใช้อีเมลกับทางการเท่านั้น  ดังนั้น เวลาส่งเมลมาหาเพื่อนหรือญาติที่เมืองไทย ชื่อที่ปรากฎบนอีเมลของผู้ส่งจะเป็นชื่อของร้านอินเทอร์เน็ตนั้น ๆ  ผู้เขียนจำได้ว่า ตอนนั้นส่งเมลมาหาเพื่อนและต้องใส่ข้อความในชื่อเรื่องว่า "ถึง (ชื่อเพื่อน) นี่ฉันเอง (ชื่อตัวเอง)" เพราะกลัวเพื่อนคิดว่าเป็นเมลขยะแล้วลบทิ้ง แล้วค่าส่งอีเมลไม่ได้นับเป็นชั่วโมง  แต่คิดตามความยาวหน้ากระดาษ คือ "เขียนน้อยจ่ายน้อย เขียนมากจ่ายมาก"  แล้วเวลาจะส่งต้องเรียกพนักงานร้านมาส่งให้เพื่อทำการจัดเก็บข้อความของผู้ใช้บริการส่งให้หน่วยข่าวกรอง  ดังนั้น  ใครหาญกล้าเขียนข้อความล่อแหลมวิจารณ์รัฐบาลก็คงจะได้เข้าไปนอนในคุกแน่ ๆ เพราะหลักฐานมีให้เห็นอยู่โต้ง ๆ ล่าสุดที่ผู้เขียนเดินทางไปพม่าปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา  อินเทอร์เน็ตเข้าถึงเมืองใหญ่หลายเมืองแล้ว  โดยรัฐบาลพม่าอนุญาตให้ใช้ฟรีอีเมลของ gmail ได้  ส่วน hotmail และ yahoo ยังคงถูกบล็อคไว้  รวมทั้งเว็บไซต็ข่าวต่างประเทศหลายสำนักข่าวก็ถูกบล็อคเช่นกัน  แต่ถึงแม้ประชาชนจะมีฟรีอีเมลใช้ นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า เสรีภาพในการส่งข้อมูลข่าวสารจะมากขึ้นตามไปด้วย  เพราะร้านอินเทอร์เน็ตที่ไปใช้ต้องขึ้นทะเบียนกับรัฐบาลและคนที่ไปใช้บริการก็ไม่มีความเป็นส่วนตัวในการพิมพ์ข้อความสักเท่าใดนัก เนื่องจากมีเจ้าหน้าที่ร้านเดินไปเดินมาตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้ ถ้าใครส่งอีเมลที่มีข้อความ "ต้องห้าม" หรือ "น่าสงสัย" ก็อาจนำมาภัยมาสู่ตัวได้ง่าย เหมือนกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเจ้าหน้าที่คนหนึ่งของสาละวินโพสต์ซึ่งถูกจับได้หลังเก็บข้อมูลและถ่ายภาพผู้ประสบภัยนาร์กิสเมื่อปีที่ผ่านมา เรื่องราวจะเป็นอย่างไร โปรดติดตามอ่าน "สายลับพม่า (ตอนจบ)" ในครั้งต่อไปนะคะ
เจนจิรา สุ
นักท่องเที่ยวต่างชาติยอมจ่ายค่าตั๋วอย่างต่ำหนึ่งร้อยถึงสองร้อยห้าสิบบาทเป็นค่าเข้าชม วิถีชีวิตที่จำลองขึ้นของชาวกระยันที่ถูกเรียกขานเสียใหม่เพื่อดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวว่า "กะเหรี่ยงคอยาว" และนับเป็นความสำเร็จของกลุ่มนายทุนและการโปรโมทการท่องเที่ยวของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่ทำให้คนทั่วประเทศหลั่งไหลเข้ามาชมกระเหรี่ยงคอยาว จนเป็นที่รับรู้กันว่าหากจะมาดูชนเผ่าที่มหัศจรรย์ที่สุดต้องมาที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนแห่งนี้
ชิ สุวิชาน
ทุกครั้งที่เดินทางผ่านหมู่บ้านแม่แฮใต้ ตำบลปางหินฝน อำเภอแม่แจ่ม ไม่มีครั้งไหนที่เลยผ่านร้านขายของชำเล็กๆริมทาง ที่มีผู้เฒ่าปากแดงด้วยน้ำหมากนั่งเฝ้าอยู่ มีของที่จำเป็นพื้นฐานสำหรับชีวิตคนภูขายซึ่งมักเป็นอาหารแห้ง ขนมขบเคี้ยวและยารักษาโรคเบื้องต้น  แต่ร้านขายของชำเล็กๆ ถึงเล็กมากแห่งนี้มีมากกว่านั้น มีเรื่องเล่าให้หัวเราะ ให้อมยิ้ม ให้ขบคิด และมีบทธาให้เก็บเกี่ยวมากมาย
บก.สาละวินโพสต์
หลังจากผู้เขียนถูกสายลับพม่าติดตามครั้งแรกทำให้ผู้เขียนเริ่มระวังตัวมากขึ้นในการเดินทางไปพม่าครั้งต่อมา  ประสบการณ์ทำงานประเด็นพม่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมาทำให้ผู้เขียนเริ่มเข้าใจวิธีการทำงานของสายลับพม่ามากขึ้น  ถ้าจะลองแบ่งประเภทสายลับพม่าจากประสบการณ์ที่เคยพบก็พอจะแบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ ๆ  (เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน กรุณาอย่านำไปใช้อ้างอิงทางวิชาการ) คือ สายลับแบบทำงานเต็มเวลา (full- time) กับสายลับแบบชั่วครั้งชั่วคราว (Part-time)สายลับประเภทแรกอาจเรียกอีกอย่างหนึ่งตามภาษาบ้านเราว่า "สันติบาล"    สายลับประเภทนี้จะแต่งกายแบบชาวบ้านทั่วไปเพื่อไม่ให้เป็นที่จับตามอง   สิ่งที่สังเกตได้ว่าพวกเขากำลังปฏิบัติหน้าที่อยู่ก็คือ "พฤติกรรมแปลก ๆ" เช่น การเดินตามผู้เขียนในรัศมีที่มองเห็นหรือสัมผัสได้ว่ามีใครบางคน (บางทีก็หลายคน) ติดตามอยู่  การยืนจับกลุ่มกันจ้องมองมาทางผู้เขียนในทิศทางเดียวกันหมด  หรือการนั่งจับกลุ่มกันเงียบ ๆ ในรัศมีใกล้ชิดกับผู้เขียนเพื่อแอบฟังบทสนทนาระหว่างผู้เขียนและเพื่อนร่วมเดินทาง  เช่น เมื่อครั้งเดินทางไปเมืองเมาะละแหม่ง (เมาะลำไย) ทางภาคใต้ของพม่า ผู้เขียนและเพื่อนร่วมทางรวมห้าคนถูกสันติบาลพม่าสามคนตามมาที่โรงแรมสิ่งที่สังเกตได้คือ ชายทั้งสามคนแต่งกายด้วยชุดโสร่ง ไม่มีกระเป๋าเดินทางเหมือนแขกทั่วไป และคอยจ้องมองมาทางพวกเราตลอดเวลา  ถ้าพวกเราไปนั่งกินข้าวเช้าในห้องอาหารของโรงแรม  พวกเขาก็จะมานั่งโต๊ะติดกันแบบเงียบสนิท ไม่มีใครพูดอะไรเลย เหมือนกำลังตั้งใจฟังสิ่งที่พวกเราคุยกัน  พวกเราจึงสันนิษฐานว่าชายกลุ่มนี้น่าจะเป็นสันติบาลที่คอยติดตามนักท่องเที่ยวที่ไม่ได้มากับกรุ๊ปทัวร์ โดยทางโรงแรมคงทำหน้าที่ "ส่งข่าว" ให้เหมือนที่เคยเจอเมื่อครั้งไปรัฐฉานครั้งแรก   และเพื่อความปลอดภัย พวกเราจึงใช้ "รหัสลับ" ที่ตกลงกันไว้ก่อนหน้านี้ในการพูดคุยกันเวลาอยู่ต่อหน้าสันติบาลพม่า  เช่น ใช้คำว่า "สัปปะรด" เวลาต้องการพูดถึง "สันติบาล" หรือใช้คำว่า "พ่อหลวง" แทน "รัฐบาลทหารพม่า"  เป็นต้น  อ่านมาถึงตอนนี้ หลายคนอาจเกิดคำถามว่า ทำไมต้องใช้รหัสลับในการพูดคุย เพราะสันติบาลพม่าจะเข้าใจภาษาไทยได้อย่างไร  คำตอบก็คือ สันติบาลจะต้องเรียนภาษาท้องถิ่นในพื้นที่ที่ปฏิบัติงานอยู่ เช่น เมืองที่อยู่ใกล้ชายแดนไทยก็มักจะมีสันติบาลพม่าที่ฟังภาษาไทยออก  หรือเมืองที่มีประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ อาศัยอยู่ สันติบาลที่อยู่ประจำพื้นที่นั้นก็จะต้องเรียนรู้ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ โดยจะได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้นหากสามารถฟังภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ได้ หรือบางครั้งสันติบาลก็อาจเป็นคนจากกลุ่มชาติพันธุ์นั้น ๆ เองก็มี  เมื่อครั้งที่ผู้เขียนเดินทางไปรัฐฉานครั้งแรก  ผู้เขียนเคยคุยกับครูสอนภาษาไทยใหญ่ท่านหนึ่งซึ่งถูกบังคับให้เป็นครูสอนภาษาไทยใหญ่ให้กับทหารพม่าที่มาประจำเมืองนั้น เนื่องจากเวลาที่คนไทยใหญ่มีประชุมทางวัฒนธรรมเกินกว่า 5 คนจะต้องยื่นขออนุญาตทางการพม่าก่อนและจะมีสันติบาลเข้าร่วมประชุมด้วยทุกครั้ง จากประสบการณ์ของผู้เขียน  หากสันติบาลเป็นชาวพม่าแท้ที่ไม่ใช่กลุ่มชาติพันธุ์ท้องถิ่น  คนที่ถูกติดตามจะสังเกตได้ง่ายเพราะมีความแตกต่างกันทางสีผิวและสำเนียงพูด แต่ในกรณีที่สันติบาลเป็นกลุ่มชาติพันธุ์นั้น ๆ เลย  อันนี้น่ากลัว...เพราะหลายคนอาจเผลอไว้ใจ  ไม่ทันระวังคำพูด และอาจถูกจับได้ง่ายกว่าผู้เขียนเคยรู้สึกเสียวสันหลังวาบหลังจากที่พูดคุยกับคุณลุงชาวไทยใหญ่ท่านหนึ่งและเผลอไปซักถามเกี่ยวกับเสรีภาพของชาวไทยใหญ่ภายใต้รัฐบาลเผด็จการ  ชาวไทยใหญ่ท่านนั้นหันมาทำหน้าขรึมและพูดว่า "คุณรู้ไหมว่าถ้าอยู่ในพม่า อย่าถามคำถามประเภทนี้กับใคร ไม่ว่าคุณจะสนิทกับคนนั้นหรือไม่ เพราะคุณจะไม่มีวันรู้ว่า คนนั้นเป็นสายลับให้รัฐบาลพม่าหรือเปล่า  และคุณรู้ไหมว่า ถ้าผมเกิดเป็นสายลับให้รัฐบาลพม่าขึ้นมา  คุณจะเป็นอย่างไร...."ฟังจบ ผู้เขียนรู้สึกใจเต้นตึกตักพาลจะเป็นลม เพราะหากชายตรงหน้าเป็นสายลับพม่าเข้าจริง ๆ   คงถูกส่งเข้าซังเตพม่าแน่ ๆ  ผู้เขียนยกมือไหว้ขอบคุณที่ได้รับคำตักเตือนและขอบคุณสวรรค์ที่ยังเมตตาให้คุณลุงไทยใหญ่ท่านนี้ไม่ใช่สายลับของทางการพม่า เฮ้อ...หวิดเข้าคุกพม่าอีกแล้วสิเรา        
เจนจิรา สุ
สาละวิน, ลูกรัก ลูกลืมตาดูโลกในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ปี พ.ศ.2550 ในตอนค่ำเวลา 19.21 น. ตรงกับวันขึ้น 12 ค่ำเดือน 4 ปีกุน แม่ให้ชื่อลูกไว้ตั้งแต่ยังไม่เกิดว่า "สาละวิน" ชึ่งหมายถึงชื่อของแม่น้ำพรมแดนกั้นระหว่างไทยกับพม่า สาละวินของแม่ถือกำเนิดมาจากแม่ซึ่งเป็นคนไทยและพ่อที่อพยพมาจากพม่า ชื่อของลูกที่เปรียบเทียบได้กับแม่น้ำพรมแดนเชื่อมสายสัมพันธ์ให้เราสองคนอยู่เคียงข้างกันตลอดไปดังเช่นไทยและพม่า
บก.สาละวินโพสต์
ในแวดวงคนทำงานประเด็นพม่าต่างคุ้นหูกับเรื่องราวของ "สายลับพม่า" กันเป็นอย่างดี เพราะรัฐบาลทหารพม่าให้ความสำคัญกับหน่วยข่าวกรองมากและหน่วยข่าวกรองพม่าก็มีอำนาจมากจนเทียบเท่ากับอีกสามเหล่าทัพ (ทัพบก ทัพเรือ และทัพอากาศ) เลยทีเดียว สายลับพม่าไม่ได้ทำงานในเขตประเทศพม่าเพียงอย่างเดียว แต่ยังส่ง "สาย" ข้ามฝั่งมาทำงานในประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะในพื้นที่ชายแดนติดกับประเทศพม่า หน้าที่ของสายลับพม่า คือ การเก็บข้อมูลความเคลื่อนไหวของบุคคลที่ต้องสงสัยว่าจะเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐบาลทหาร
บก.สาละวินโพสต์
    วันที่ 3 พฤษภาคมนี้เป็นวันครบรอบหนึ่งปีหลังไซโคลนนาร์กีสถล่มภาคอิรวดีของพม่า  หนึ่งปีที่ล่วงผ่านมีปรากฏการณ์ที่น่าสนใจเกิดขึ้น  ซึ่งทำให้เราได้รู้จักและเข้าใจเพื่อนบ้านติดพรมแดนตะวันตกของเรามากขึ้น
เจนจิรา สุ
มะโนตัดสินใจอยู่นานกว่าสองวันหลังจากที่หญิงกระยันร่างกายผอมบางอายุ 52 ปี สะดุดล้มในห้องน้ำจนทำให้ให้เกิดอาการบวมที่ท้องด้านขวา เมื่อทนการรบเร้าจากคนรอบข้างไม่ไหวให้ไปหาหมอ เธอจึงเปิดหีบใบใหญ่ที่ใส่ข้าวของเงินทองที่มีอยู่รวมไปถึงเอกสารประจำตัวต่างๆ เพื่อค้นใบเล็กๆ สีเขียว มันเป็นบัตรเข้ารับการบริการที่โรงพยาบาลประจำจังหวัด แต่จนแล้วจนรอดก็หาไม่พบ
ชิ สุวิชาน
ผมฝ่าชุมชนมูเจะคีหลายชุมชน ซึ่งล้วนแล้วแต่ปรากฏร่องรอยเล็บตีนเล็บมือรวมทั้งเริ่มเห็นมูลอันเป็นของเสียแห่งระบบทุนนิยมที่ถ่ายทิ้งเอาไว้ในชุมชนปกาเกอะญอที่มีอายุหลายร้อยปีแห่งนี้ และมีแนวโน้มที่ทรัพยากรธรรมชาติ ผู้คนและวัฒนธรรมจะถูกกลืนกินเป็นอาหารอันโอชะมากขึ้นเรื่อยๆ  เมื่อได้มีโอกาสกลับมา พอมาถึงหมู่บ้านแรกของชุมชนปกาเกอะญอในบริเวณมูเจะคี ทันทีที่ได้สัมผัสมันเหมือนได้กลับคืนสู่รัง ได้เติมเต็มสิ่งที่ขาดหายไปตอนอยู่ในเมือง เมื่อผ่านชุมชนแต่ละหมู่บ้านจะพยายามมองรถทุกคันที่ผ่าน มองคนทุกคนที่เจอว่าเป็นเพื่อนเราหรือเปล่า? ลุง ป้า น้า อา หรือเปล่า? ญาติพี่น้องหรือเปล่า? หรือคนบ้านใกล้เรือนเคียงหรือเปล่า? เป็นคนรู้จักหรือเปล่า? หากใช่เมื่อไหร่ การทักทายจะเกิดขึ้นทันทีแม้เพียงประโยคสั้นๆ หนึ่งหรือสองประโยคก็เพียงพอต่อความรู้สึกแล้ว
เจนจิรา สุ
จังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นอีกจังหวัดหนึ่งในประเทศไทยที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาตินึกถึงเมื่อเดินทางมาเยือนภาคเหนือของไทยแม้หนทางที่มุ่งสู่จังหวัดแม่ฮ่องสอนจากจังหวัดเชียงใหม่   จะคดโค้งลาดชันน่าหวาดเสียวจนขึ้นชื่อว่า   หากใครเดินทางมาถึงแม่ฮ่องสอนจะเป็นดั่งผู้พิชิตจำนวนโค้งมากที่สุดถึง 1,864 โค้งเลยทีเดียว