Skip to main content
จังหวะที่ผมลุกขึ้นและตามเจ้าของบ้านเพื่อไปกินข้าว สายตาผมแวบไปมองเห็นผู้เฒ่าคนหนึ่งเหมือนคุ้นเคยกันมานาน ทั้งที่ผมไม่เคยเห็นหน้ามาก่อน เขาก็จ้องหน้าผมเหมือนรู้จักมักคุ้นกับผมเป็นอย่างดี

 

"โพโดะ (หลาน) คืนนี้มีการขับธาไหม?" เขาถามผมเหมือนรู้ว่าใจผมต้องการอะไร แต่สีหน้าเขาเหมือนแสดงอาการไม่มั่นใจในบางอย่างออกมา

"โอ้โห ต้องมีซิ" ผมตอบโดยไม่ต้องเดาว่าเขาคือโมะโชะคนหนึ่งแน่นอน


ระหว่างที่นั่งทานข้าวที่ห้องโถง ผมแอบได้ยินบทสนทนาของคนที่อยู่ในบ้านโดยบังเอิญหรือโดยความตั้งใจก็มิทราบ

 

"ก็บอกกันแล้ว! ว่าไม่ให้ใครร้องบทธา หรือธาปลือใดๆทั้งนั้น" เสียงของผู้ชายในบ้าน

"ฉันก็ว่าอย่างนั้นแหละ เค้าเกือบจะร้องแล้ว ถ้าเกิดพี่สาวไม่เป็นลมเสียก่อนมันก็จะร้องจริงๆ" เสียงผู้หญิงสนทนาตอบ

"เมื่อกี้ มันจะร้องอีกครั้งพี่สาวก็เป็นลมอีก ฉันจึงต่อว่าเขาไปสองสามดอก แล้วมันก็หยุด" เสียงผู้หญิงอีกคน

 

ผมพยายามนั่งทานข้าวเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่ความรู้สึกในใจผมสับสนอย่างแรง ความตั้งใจ ความคาดหวังระหว่างที่เดินทางมาถูกทำลายลงอย่างสิ้นเชิง มีการจุดธูปไหว้ศพได้? แต่ร้องธาปลือไม่ได้? มันอะไรกันแน่? แต่สิ่งที่ผมรู้อย่างหนึ่งคือ สำหรับงานศพครั้งนี้ ธา ปลือยังเป็นเพลงต้องห้ามอย่างเคร่งครัด ช่างเป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่งานของขุนพลเพลงธาแท้ๆ แต่ไม่มีการร้องเพลงธา โดยเฉพาะ ธา ปลือ ซึ่งเป็นธาสำหรับคนตาย

 

รู้สึกรสชาติของอาหารเย็นมื้อนี้มันเปลี่ยนไปจากตอนเริ่มทานแรกกับตอนที่ได้ยินบทสนทนาภายในบ้าน อย่างไรก็ตาม หากทำแล้วเกิดความขัดแย้งก็ควรชะลอไว้ก่อน ค่อยๆสร้างความเข้าใจกันใหม่ สร้างพื้นที่กันใหม่

 

บ้านหลังที่ติดร้านขายของชำเป็นบ้านลูกสาวคนสุดท้องของพือพอเหล่ป่าที่กำลังได้เกือบครึ่งทางแล้ว มีการเขียนข้อความ "ดนตรีถึงพ่อ....พ้อเหล่ป่า" ตรงหน้าระเบียงทางเข้าบ้าน ความมืดคลุมยอดดอยจนทั่ว แต่ความเงียบไม่สามารถเอาชนะสิ่งที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านได้ ประมาณสองทุ่มครึ่ง ปรากฏร่างอาจารย์ลีซะและภรรยารวมทั้งพี่นนท์ อยู่ใต้ข้อความที่ระเบียงทางเข้าบ้านของลูกสาวคนสุดท้องของพือพอเหล่ป่า ดนตรีถึงพ่อ..พ้อเหล่ป่า จึงเริ่มขึ้น

 

เริ่มต้นด้วยเพลง "พ้อเหล่ป่า ผู้เฒ่าแห่งแม่แฮ เขียนชีวิตเขียนแผ่นดินด้วยเลือดเนื้อ พ้อเหล่ป่า ผู้เฒ่าแห่งแม่แฮ เขียนชีวิตเขียนแผ่นดินด้วยวิญญาณ" ต่อด้วยเพลงเราคือคนปกาเกอะญอ

 

"เพลงเราคือคนปกาเกอะญอ ผมได้แนวคิดมาจากหนังสือ "ปกาเกอะญอ ข้าคือคน" ของพ้อเหล่ป่า พ้อเหล่ป่าเป็นปกาเกอะญอในประเทศไทยรุ่นบุกเบิกที่เดินทางบอกเล่าเรื่องราวปกาเกอะญอ การเดินทางเข้าเมืองในยุคแรกๆนั้น บางครั้งเดินหลงทางในเมือง บางครั้งเดินชนกระจกในตึกใหญ่ แต่ก็ยังคงบอกเล่าตำนานด้วยชีวิต" อาจารย์ลีซะกล่าวหลังจากจบเพลง

 

"ผมเป็นคนจากดินแดนอื่น ครั้งแรกที่ผมมาเจอพ้อเหล่ป่า ผมได้ขอเป็นญาติ เพราะผมเห็นตัวหนังสือเดินได้จากแม่แฮคีและออกเดนทางไปทั่วประเทศ เด็กรุ่นใหม่ได้รับรู้ว่าพาตี่ทำอะไรบ้าง คนข้างนอกได้รู้จัก นักเขียน นักคิด นักอ่าน นักศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรี โท จนถึงดอกเตอร์ ได้รู้จักปัญญาคนคนปกาเกอะญอ" พี่นนท์กล่าวหลังจากร้องเพลง "สัตว์ป่า" จบ

 

บรรยากาศ หน้าระเบียงซึ่งเป็นถนนภายในหมู่บ้านถูกปิดชั่วคราว โดยแปลงเป็นที่นั่งสำหรับชมดนตรีถึงพ่อ..พ้อเหล่ป่า เด็กรุ่นใหม่นั่งนิ่งฟังเพลง ผู้เฒ่า ผู้แก่ พ่อบ้านแม่บ้านน้องจ้องไปบนเวทีเหมือนดูสิ่งมหัศจรรย์บางอย่าง ในขณะที่อาจารย์ลีซะและพี่นนท์ยังคงบรรเลงบทเพลงต่อ


บล็อกของ ชิ สุวิชาน

ชิ สุวิชาน
การนอนและนอนอย่างเดียวในรถตู้ไม่ใช่เรื่องง่าย  บางทีปวดฉี่ บางครั้งปวดหลัง ทุกครั้งที่รถแวะจอดเติมน้ำมันหรือแวะทำอะไร ผมก็มักจะตื่นด้วยทุกครั้ง  จนได้รับการต่อว่าจากคนที่นั่งมาด้วยกันด้วยความเป็นห่วงว่าผมจะรับช่วงการขับรถต่อได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ
ชิ สุวิชาน
คืนนี้เป็นอีกคืนหนึ่งที่คนฟังเพลงเป็นคนไทย แต่ที่พิเศษกว่าที่อื่นเนื่องจากคนไทยเป็นคนจัดงานกันเอง เป็นการจัดงาน ”Thai Festival in Texas” ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีการจัดปีละครั้ง ทุกๆปีจะจัดในเดือนเมษายน แต่ปีนี้มาจัดกันในเดือนกันยายนเนื่องจากต้องการให้กิจการทัวร์ ของ Himmapan 2nd world เป็นจุดเด่นของงานในปีนี้ ภายในงานมีการขายอาหาร เสื้อผ้า ของไทย มีการจัดซุ้มนวดแผนไทยมาบริการ
ชิ สุวิชาน
จาก Houston มุ่งสู่ Dallas ระหว่างทางผมได้มีโอกาสเป็นสารถีอีกครั้ง ระหว่างทางที่ขับรถอยู่ผมก็เหลียวซ้ายและขวาบ้าง ผมเห็นตัวที่อยู่ข้างทาง วัวก็ไม่ใช่ ควายก็ไม่เชิง เมื่อเดินทางมาถึงDallas ที่ หมาย ซึ่งมีพี่น้องคนไทยรอรับ จัดแจงที่อยู่ที่กินเป็นอย่างดี “ที่นี่ มีคนปกาเกอะญอไหมครับ?” เป็นคำถามแรกที่ผมถามที่ Dallas
ชิ สุวิชาน
วันนี้ผู้หญิงได้รับอนุญาตให้ไปเดินซื้อของที่ Outlet ส่วนผู้ชายหลังจากทานอาหารเช้า ต้องเดินทางไปติดตั้งเครื่องเสียงเพื่อเล่นในเย็นวันนี้
ชิ สุวิชาน
หัวค่ำ พี่แพท นายกสมาคมไทย เท็กซัส พาไปกินข้าวที่ร้านอาหารจีน  ภายในร้านมีคนเอเชียจากหลายประเทศ ทั้ง สิงคโปร์ มาเลเซีย จีน ลาว เวียดนาม รวมทั้งพี่ไทย  แต่ส่วนใหญ่จะใช้ภาษาอังกฤษคุยกันยกเว้นคนเวียดนามที่ไม่ยอมพูดภาษาอังกฤษในร้านนอกจากพูดภาษาของตนเอง 
ชิ สุวิชาน
การเริ่มต้นใหม่ หลังจากที่สังคยานาดำเนินขึ้น จุดหมายวันนี้อยู่ที่ร้าน Home plate grill เป็นร้าน sport club ของคนไทย ที่ตั้งอยู่ตรงข้ามสนามเบสบอลทีม Houston Astros ก่อนที่คอนเสิร์ตจะเริ่ม ทางคณะทีมงานได้ไปเชิญชวนแฟนๆเบสบอลมาฟังดนตรีก่อนเกมจะเริ่ม ทำให้ในร้านเริ่มมีคนทยอยเข้ามา บ้างมานั่งดื่มก่อนเข้าไปดูเกมในสนาม บ้างเข้ามาซื้อเพื่อไปดื่มในสนาม
ชิ สุวิชาน
ข้าวเย็นมื้อหนักจบลง ตัวแทนสมาคมไทย-เท็กซัส ได้พาคณะไปที่พักผู้หญิงพักที่บ้านคนไทย ผู้ชายพักที่วัดไทยที่อยู่ใกล้ๆ ชื่อ”วัดป่าศรีถาวร” ซึ่งมีที่พัก มีห้องน้ำที่อยู่ในขั้นสะดวก พระสงฆ์ที่จำวัดอยู่ที่นี่เป็นกันเองนอกจากบริการที่พักแล้ว ยังให้ข้าวปลาอาหารให้ทานอีกเล่นเอาทีมงานผู้ชายต่างซึ้งไปตามๆกัน
ชิ สุวิชาน
สายๆของวันที่ 20 กันยา เราเดินทางออกจาก Austin ต่อไปเมือง Houston มีกำหนดการเล่นบ่ายสามโมงถึงห้าโมงเย็น เมื่อเดินทางไปถึงสถานที่เล่น ตัวแทนจากสมาคมไทย-เท็กซัส ได้มาต้อนรับและพาไปดูเวทีซึ่งเป็นที่คล้ายตลาดสดหรือตลาดนัดที่เมืองไทย มีอาหาร เสื้อผ้า ของเล่น รูปร่างหน้าตาและสัดส่วนรูปร่างของคนแถวนี้ใกล้เคียงเมืองไทย เพียงแต่ไม่พูดภาษาไทย พูดภาษาสเปนมากกว่าภาษาอังกฤษ
ชิ สุวิชาน
ออกจากพิพิธภัณฑ์ Alamo เราออกเดินทางต่อไปยัง Austin ระหว่างทางแวะทานข้าวที่ร้านอาหารไทย ผมไม่ทิ้งโอกาสที่จะถามหาคนในเผ่าพันธุ์ของผม
ชิ สุวิชาน
การเดินทางยังดำเนินต่อ บทเพลงในรถยังเป็นเพื่อน มีทั้งเพลงที่ดัง มีทั้งเพลงไม่ดัง บางเพลงเคยได้ฟังมาบ้าง บางเพลงไม่เคยรู้จัก “เพลงที่ดังกว่า ไม่ได้ดีกว่าเสมอไป คนที่ดังกว่าไม่ได้เก่งกว่าเสมอไป” ทอด์ดสรุปให้ฟัง “แต่อย่างผมไม่ดัง และไม่เก่งด้วย” ผมสรุปของผมในใจ
ชิ สุวิชาน
มีเวลาพัก หลังจากเล่นที่ Thai Thani Resort  วันหนึ่งได้มีโอกาสไปพายเรือเล่นที่ทะเลสาบระยะทางประมาณชั่วโมงเศษจากสแครนตั้น  รุ่งเช้า ออกเดินทางจากสแครนตั้นมุ่งสู่ตอนใต้ของอเมริกา เป้าหมายอยู่ที่ Texas ระยะทางเกือบสองพันไมล์ ขบวนรถตู้สามคัน บรรทุกทีมงานยี่สิบกว่าชีวิตพร้อมอุปกรณ์เครื่องเสียง เครื่องดนตรี เดินทางเต็มที่วันแรกจนตีสอง ทุกคนยอมแพ้ทั้งคนขับและคนนั่ง ถ้าเครื่องดนตรีและเครื่องเสียงพูดได้ ก็คงขอพักเช่นกัน จึงค้างกันที่เมือง Bristol รัฐ Tennessee
ชิ สุวิชาน
หลังคอนเสริตจบลงที่นิวยอร์ก เราเดินทางกลับสแครนตันในคืนนั้นเลย กว่าจะได้นอนก็ปาเข้าไปตีสี่ ทำให้หลังจากถึงที่นอนไม่เกินห้านาที เสียงกรนจากรอบข้างเริ่มดังขึ้น เหมือนมีการเปิดคอนเสริตประสานเสียง มีทั้งเสียงเบส เทนเนอร์ อัลโต โซปราโน ครบครัน กว่าผมจะหลับได้เล่นเอาฟังจนอิ่ม