จาก Houston มุ่งสู่ Dallas ระหว่างทางผมได้มีโอกาสเป็นสารถีอีกครั้ง ระหว่างทางที่ขับรถอยู่ผมก็เหลียวซ้ายและขวาบ้าง ผมเห็นตัวที่อยู่ข้างทาง วัวก็ไม่ใช่ ควายก็ไม่เชิง
เมื่อเดินทางมาถึงDallas ที่ หมาย ซึ่งมีพี่น้องคนไทยรอรับ จัดแจงที่อยู่ที่กินเป็นอย่างดี
“ที่นี่ มีคนปกาเกอะญอไหมครับ?” เป็นคำถามแรกที่ผมถามที่ Dallas
“มีแต่ คนคาเรน ที่มาจากเรฟฟูจี ถ้าอยากไปดูเดี๋ยวพี่จะติดต่อพี่จิต เค้าเป็นครูในโรงเรียนที่นั่น” ผมมองหน้าภรรยาและยิ้มด้วยความหวังว่า จะได้พบเจอพี่น้องปกาเกอะญอที่มาอยู่ประเทศที่สาม พี่จิตเป็นศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะศึกษาศาสตร์ คณะเดียวกับผม นั่นเป็นจุดเชื่อมความสัมพันธ์ที่ดีและเร็วขึ้น พี่จิตเป็นครูคนไทยและครูเอเชียคนเดียวในโรงเรียนของเด็ก ที่ไปอยู่ประเทศที่สามแห่งนั้น “ตอนแรกพี่ได้ยินว่ามีเด็กมาจากพี่นึกว่าเขาจะพูดไทย ได้ พอพี่เข้าไปคุยปรากฏว่าเขาพูดไทยไม่ได้ มีปัญหาเรื่องการสื่อสารมาก ตอนนี้ที่โรงเรียนกำลังต้องทำหลักสูตรใหม่สำหรับเด็กที่พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ เลยอยู่ ลองเข้าไปดูเผื่อมีไอเดียในการแนะนำเราบ้าง”พี่ จิตบอกผม ผมตกใจนิดหน่อยเมื่อไปถึงห้องประชุมของโรงเรียน นักเรียนประมาณ 300 คนมารออยู่พร้อมกับครูอีกจำนวนหนึ่ง ผมเพียงแค่อยากมาพบเจอกับเด็กปกาเกอะญอ นี่เล่นเอาทุกสัญชาติมาให้หมด แต่เมื่อมาถึงขั้นนี้ผมก็ต้องเดินหน้าต่อ เด็ก 300 คน นั่งคละกันไปสีผิวเหลืองกับผิวดำ จนดูลำบากว่าเด็กไหนปกาเกอะญอ เด็กไหนชาติพันธุ์อื่น ส่วนเด็กที่มาจากกาฬทวีปนั้นค่อนข้างมีเอกลักษณ์โดดเด่น หลังจากที่ทักทายกับคุณครูเรียบร้อยแล้ว ผม จึงถูกโยนบทบาทหน้าชั้นเรียนให้ดำเนินการต่อ ยังดี ที่มีพี่ทอด์ด มาร่วมขบวนทำให้การสื่อสารง่ายขึ้น ผมแนะนำที่มาของตนเองให้นักเรียนรู้จักเพื่อปูทางสู่ความรู้สึก เท่าเทียมในความเป็นมนุษย์หัวอกเดียวกัน “ใครเป็นชนเผ่าปกาเกอะญอ ช่วยยกมือหน่อยครับ” ผมต้องการรู้จักเด็กปกาเกอะญอมากขึ้น นั่นยิ่งทำให้ผมงงมากขึ้นเพราะทุกคนยกมือกันหมด สรุปแล้วทุกคนเป็นเด็กปกาเกอะญอหมด ทั้งผิวเหลือง ผิวดำ มันจึงนำไปสู่ความเข้าใจในการเรียกชื่อชนเผ่า ของบรรพบุรุษปคนปกาเกอะญอ ว่า ปกาเกอะญอ เราคือคนหรือมนุษย์ เด็กทุกคนที่ยกมือ เขารู้ตัวเองดีว่า เขาเป็นคนปกาเกอะญอ เขาคือคนหรือมนุษย์ เหมือนกัน ทุกคนจึงเป็นปกาเกอะญอ เด็กเข้าใจความเป็นมนุษย์มากกว่าผู้ใหญ่หลายๆคนอีก ผมบรรเลงเพลงนกให้เด็กร้องตาม เด็กร้องคล่อง จนคุณครูแปลกใจว่า ภาษาที่ใช้เหมือนเป็นภาษาสากลที่เด็กทุกสัญชาติที่อยู่ในนี้คุ้นเคยเป็น อย่างดี นั่นยิ่งตอกย้ำผมอีก ภาษาปกาเกอะญอเป็นภาษาคนหรือมนุษย์ ย่อมเป็นภาษาสากลอยู่แล้ว มีเด็กนักเรียนอาสาสมัครมาขอสัมผัสเตหน่ากู นั่น เป็นอีกเป้าหมายหนึ่งของการเดินทางมาที่นี่ แต่ที่ แปลกใจคือเด็กที่ขึ้นมาเป็นเด็กจากกาฬทวีปทั้งหญิงและชาย แต่ก็ยังดีที่เด็กปกาเกอะญอไม่ถือความอายเป็นใหญ่จนทิ้งโอกาสในการมาสัมผัส เตหน่ากู ที่มาข้ามน้ำ ข้ามฟ้า ข้ามทะเล มาเยี่ยมหาถึงที่ ผมถือโอกาสรอส่งเด็กปกาเกอะญอ ขึ้นรถพร้อมกับเชิญชวนให้ไปดูคอนเสิร์ตกลางคืน ช่วง ที่รอส่งเด็กอยู่นั้นผมประทับใจน้องปกาเกอะญออยู่คนหนึ่ง ใน ขณะที่คนอื่นสะพายกระเป๋านักเรียนที่เป็นเป้กันหมด แต่ น้องยังใช้ย่ามแบบปกาเกอะญอ บรรทุกหนังสือเรียนของตนเองอย่างไม่ขวยเขิน ก่อนขึ้นรถน้องๆปกาเกอะญอมาขอถ่ายรูปกับผมอีกครั้ง ผม สังเกตเห็นน้องคนหนึ่งหน้าตาดูเคร่งเครียดไม่ค่อยยิ้ม ผม จึงเข้าไปทักทาย
“ผมเพิ่งมาได้ 3 อาทิตย์เองคับ พ่อผมไม่ไหนมาไหนยังไม่ถูกเลย ผมอยากไปดูคอนเสิร์ต ผมจำได้ผมเคยเจอพี่ไปเล่นที่ศูนย์อพยพแม่หละ ถ้าผมไปเล่าให้พ่อแม่ฟังเขาต้องอยากมาแน่ๆเลย แต่มาไม่ได้” เขาร่ายยาวให้ผมฟัง “ผมมาอยู่ได้เดือนกว่าคับ พูด ฟังภาษาอังกฤษไม่รู้เรื่องเลย ผมไม่ค่อยอยากมาโรงเรียนเลย บางทีมันกลัวครูจะเข้ามาพูดด้วย” อีกคนพูดเสร็จหัวเราะ “ผมพูดได้แค่ 2 คำ yes, no” เด็กคนหนึ่งพูดออกมา
“ผมพูดได้มากกว่าเขาคำหนึ่งคือ ok” อีกคนหนึ่งพูดพร้อมกับหัวเราะ
“ขอบคุณมากสำหรับวันนี้ ไม่ได้เห็นเด็กได้หัวเราะเต็มเสียงแบบนี้มาก่อน วันนี้ประทับใจมาก ผมมีไอเดียอยากให้มีการแลกเปลี่ยนครูที่อยู่ในศูนย์และครูที่โรงเรียนของเรา เพื่อเราจะสามารถปรับหลักสูตรที่เหมาะสมกับเด็กได้” ครูใหญ่ของโรงเรียนมาคุยกับผม หลังจากที่แลกเปลี่ยนที่อยู่ที่ติดต่อกันแล้ว ผมจึงเดินออกจากโรงเรียนนั้นไปอย่างรู้สึกอิ่มในความรู้สึก
คุยกับเด็กปกาเกอะญอ
ทุกคนยกมือแสดงว่าเป็นคนปกาเกอะญอหมด
น้องอยากมาใกล้ชิด เตหน่ากู
น้องอยากสัมผัส