เตหน่ากูโบกบิน In USA: บรรเลงบนกระบะรถ 10 ล้อ

หลังคอนเสริตจบลงที่นิวยอร์ก เราเดินทางกลับสแครนตันในคืนนั้นเลย กว่าจะได้นอนก็ปาเข้าไปตีสี่ ทำให้หลังจากถึงที่นอนไม่เกินห้านาที เสียงกรนจากรอบข้างเริ่มดังขึ้น เหมือนมีการเปิดคอนเสริตประสานเสียง มีทั้งเสียงเบส เทนเนอร์ อัลโต โซปราโน ครบครัน กว่าผมจะหลับได้เล่นเอาฟังจนอิ่ม

ตื่นมาอีกทีได้เวลาอาหารเที่ยง ตอนบ่ายล้อเริ่มหมุนสู่เมือง Ithaca จุดหมายอยู่ที่ Ithaca state theater เป็นการประเดิมเล่นในโรงละครแห่งแรกในอเมริกา เวลาเปิดประตูทุ่มหนึ่ง ผู้ชมเริ่มเข้ามาทั้งคนไทยและฝรั่งสัดส่วนไม่แตกต่างกัน มีผมดำ ผมขาว ผมบรอนซ์ สลับกันไป

 

วันนี้ได้มีโอกาสปล่อยเพลง “แบแล” ร่วมกับวง นอกจากเล่นเพลง “ทีเบ ก่อเบ” ที่ร่วมกับพี่ทอด์ดและเพลงอื่นๆที่แจมกับคนอื่น บรรยากาศสนุกสนานดีทั้งคนฟังและคนเล่น

 

รู้สึกอย่างไรกับการได้มาเล่นคอนเสริตที่อเมริกา?” พี่ทอด์ด ถามผมบนเวที

ดีใจครับ ในฐานะคนชนเผ่าคนหนึ่งที่ได้มีพื้นที่ในการบอกเล่าเรื่องราว วัฒนธรรมของเผ่าพันธุ์สู่ดินแดนอื่น แต่สิ่งที่ผมตั้งใจคือ อยากมาพบมาเจอกับพี่น้องปกาเกอะญอที่มาอยู่ในอเมริกาครับ” ผมตอบเขา

 

หลังจบคอนเสริตมีคณะคนไทยพาเราไปทานอาหารรอบดึก เจอคนลาว และคนเขมรในร้าน มีคนแนะนำว่า เขาถูกส่งมาให้มาอยู่ประเทศที่สาม เนื่องจากประเทศมีสงครามภายในประเทศ มันไม่ต่างจากคนปกาเกอะญอในรัฐกะเหรี่ยงเลย

 

รู้จักคนปกาเกอะญอที่มาประเทศที่สามเหมือนคุณไหม?” ผมถามเขาทั้งสอง

ปกาเกอะญอ ไม่มีนะ” เขาตอบแบบงง ในชื่อของเผ่าผม เหมือนเขาไม่เคยได้ยิน เคยรู้จัก

คาเรน คาเรน คุณรู้จักไหม?” ผมเซ้าซี้เขาต่อ

คาเรนที่มาจากประเทศพม่าเหรอ? เค้าไม่ได้มาจากประเทศไทยนะ” เขาบอกผม

นั่นแหละ เค้ามาจากเรฟฟูจี” ผมบอกเขา

ใช่ เค้ามาจากเรฟฟูจี เราเล่นตะกร้อด้วยกันทุกเย็น ถ้าผมรู้ผมชวนเขามาได้ ผมก็มาจากเรฟฟูจีที่ชายแดนไทยเขมร สมัยเขมรแดงปกครองประเทศ” เขาบอกผมด้วยรอยยิ้ม แต่นั่นหมายถึงผมคลาดจากการได้เจอคนปกาเกอะญอในเมือง Ithaca

 

ออกจาก เมือง Ithaca กลับไปนอนที่สแครนตัน เพราะตอนบ่ายในวันรุ่งขึ้นต้องเล่นที่เมืองสแครนตัน เวลา 11 โมงเช้าเราถึงเวที เป็นงานออกบูธประจำปีของโบสถ์คาทอลิก มีการขายอาหาร หนังสือ ซีดีเพลง เราเริ่มตั้งเครื่องเสียง เวทีไม่ธรรมดา เป็นรถสิบล้อเปิดฝาข้างแล้วดัดแปลงเป็นเวทีแสดงดนตรี แต่เนื่องจากเครื่องดนตรีของเรามีมากกว่าที่ เวทีกระบะสิบล้อจะรองรับได้

 

โกละ คู่หูของเตหน่ากู ถูกตั้งไว้ข้างหน้ากระบะรถสิบล้อ เพราะมันต้องการพื้นที่ส่วนตัวพอสมควร ในขณะที่เตหน่ากูอยู่บนเวทีกระบะรถสิบ หลังลองเครื่องดนตรีและเครื่องเสียงเสร็จ ออกไปเดินเที่ยวชมบูธต่างๆ พร้อมมองหาอาหารเที่ยงภายในตัว

 

บ่ายโมง แม้อากาศจะร้อนแต่ศรัทธาของบาทหลวงและโบสถ์ก็หลั่งไหลกันมาไม่น้อย เตหน่ากูได้ทำหน้าที่ของมันอย่างเต็มที่อย่างที่เคยทำมา เช่นเดียวกับโกละ สังเกตได้จากหลังจบคอนเสริตมีคนเข้ามาทักทายทำความรู้จักกับโกละไม่น้อยทีเดียว ดูเหมือนจะมากกว่าเตหน่ากูด้วยซ้ำในรอบนี้

 

หลังจากนั้นเดินทางต่อเพื่อไปเล่นที่ Thai Thani Resort บรรยากาศเป็นแบบครอบครัวหลายครอบครัว ตั้งแต่ ยาย พ่อ แม่ ลูก ปู่ หลาน จึงมีการเริ่มต้นด้วยดนตรีและบทเพลงเบาๆ เตหน่ากูได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ก่อนสามเพลงเช่นเคย หลังจากนั้นวงเต็มจึงเริ่มบรรเลงต่อ จนกระทั่งคอนเสริตได้จบลง กลายเป็นบรรยากาศการทักทายพูดคุยระหว่างคนเล่นดนตรีกับผู้ชม

 

Joe ผู้ชายร่างบึก อาชีพเป็นผู้ออกแบบการวางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในบริษัทขนาดใหญ่ เดินเข้ามาหาผม ก่อนถอนหายใจยาว

ผมขอสารภาพว่า ผมไม่ได้ตั้งใจมาเพื่อมาดูคุณ ไม่ได้มาเพื่อมาฟังดนตรีของคุณเลย แต่คุณทำให้น้ำตาผมไหลเมือฟังเสียงเพลง เสียงร้องและเสียงเครื่องดนตรีคุณ” เขาพูดกับผมด้วยดวงตาที่แดงนิดๆ แต่ผมไม่แน่ใจว่าตาเขาแดงจากการร้องไห้เนื่องจากซึ้งที่ฟังเพลงหรือตาเขาแดงเพราะฤทธิ์เบียร์กันแน่

 

ไม่ใช่ของผมครับ ทั้งหมดเป็นผลผลิตที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษของเผ่าพันธุ์ผมครับ” ผมบอกเขา

รักษาเผ่าพันธุ์และวัฒนธรรมของคุณไว้ มันสวยงามและมีคุณค่าเกินกว่าจะยอมให้มือใครมาทำลาย” เขาพูดพร้อมกับตบไหล่ผมและบีบแบบเขย่านิดๆ

ผมพยายามอยู่ครับ แต่ผมทำคนเดียวไม่ได้ครับ มีปัจจัย มีเงื่อนไขอีกแยะครับ ที่ต้องมาเกี่ยวข้อง คนในชนเผ่าผมเองจำนวนไม่น้อยที่พยายามทำมัน” ผมบอกเขา

ใช่...ไม่ง่ายหรอก แต่คุณต้องทำ ผมเชื่อว่าโลกกำลังจะหันมาและจะเฝ้าดูเผ่าพันธุ์ของคุณ” เขาบอกด้วยรอยยิ้ม

โลกจะหันมาดูหรือไม่ ผมไม่แน่ใจ แต่วันนี้อย่างน้อยคุณหันมามอง ผมก็รู้สึกดีแล้วครับ” ผมส่งคำพูดและรอยยิ้มตอบเขา

 


บรรเลงบนเวทีกระบะรถ
10 ล้อ

 


โกละร่วมบรรเลง

 

 

 


เตหน่ากู กำลังทำหน้าที่
Thai Thani Resort

 

 

 


ลีลาของโหวต จากแม่น้ำโขง

 

 


Joe (
คนขวาสุด) ผู้ออกแบบการวางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในบริษัทขนาดใหญ่

 

 

เตหน่ากูโบกบิน In USA: ประตูสู่ตะวันตก

การนอนและนอนอย่างเดียวในรถตู้ไม่ใช่เรื่องง่าย  บางทีปวดฉี่ บางครั้งปวดหลัง ทุกครั้งที่รถแวะจอดเติมน้ำมันหรือแวะทำอะไร ผมก็มักจะตื่นด้วยทุกครั้ง  จนได้รับการต่อว่าจากคนที่นั่งมาด้วยกันด้วยความเป็นห่วงว่าผมจะรับช่วงการขับรถต่อได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ

เตหน่ากูโบกบิน In USA: เสื้อปกาเกอะญอตัวแรก ณ USA

คืนนี้เป็นอีกคืนหนึ่งที่คนฟังเพลงเป็นคนไทย แต่ที่พิเศษกว่าที่อื่นเนื่องจากคนไทยเป็นคนจัดงานกันเอง เป็นการจัดงาน ”Thai Festival in Texas” ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีการจัดปีละครั้ง ทุกๆปีจะจัดในเดือนเมษายน แต่ปีนี้มาจัดกันในเดือนกันยายนเนื่องจากต้องการให้กิจการทัวร์ ของ Himmapan 2nd world เป็นจุดเด่นของงานในปีนี้ ภายในงานมีการขายอาหาร เสื้อผ้า ของไทย มีการจัดซุ้มนวดแผนไทยมาบริการ

เตหน่ากูโบกบิน In USA: โรงเรียนปกาเกอะญอ ณ ประเทศที่สาม

จาก Houston มุ่งสู่ Dallas ระหว่างทางผมได้มีโอกาสเป็นสารถีอีกครั้ง ระหว่างทางที่ขับรถอยู่ผมก็เหลียวซ้ายและขวาบ้าง ผมเห็นตัวที่อยู่ข้างทาง วัวก็ไม่ใช่ ควายก็ไม่เชิง

เมื่อเดินทางมาถึงDallas ที่ หมาย ซึ่งมีพี่น้องคนไทยรอรับ จัดแจงที่อยู่ที่กินเป็นอย่างดี
“ที่นี่ มีคนปกาเกอะญอไหมครับ?” เป็นคำถามแรกที่ผมถามที่ Dallas

เตหน่ากูโบกบิน In USA: ตำรวจไม่ได้รับเชิญ




วันนี้ผู้หญิงได้รับอนุญาตให้ไปเดินซื้อของที่ Outlet ส่วนผู้ชายหลังจากทานอาหารเช้า ต้องเดินทางไปติดตั้งเครื่องเสียงเพื่อเล่นในเย็นวันนี้

เตหน่ากูโบกบิน In USA: ท่องราตรี

หัวค่ำ พี่แพท นายกสมาคมไทย เท็กซัส พาไปกินข้าวที่ร้านอาหารจีน  ภายในร้านมีคนเอเชียจากหลายประเทศ ทั้ง สิงคโปร์ มาเลเซีย จีน ลาว เวียดนาม รวมทั้งพี่ไทย  แต่ส่วนใหญ่จะใช้ภาษาอังกฤษคุยกันยกเว้นคนเวียดนามที่ไม่ยอมพูดภาษาอังกฤษในร้านนอกจากพูดภาษาของตนเอง