เตหน่ากูโบกบิน In USA: Lone Star State




การเดินทางยังดำเนินต่อ บทเพลงในรถยังเป็นเพื่อน มีทั้งเพลงที่ดัง มีทั้งเพลงไม่ดัง บางเพลงเคยได้ฟังมาบ้าง บางเพลงไม่เคยรู้จัก

เพลงที่ดังกว่า ไม่ได้ดีกว่าเสมอไป คนที่ดังกว่าไม่ได้เก่งกว่าเสมอไป” ทอด์ดสรุปให้ฟัง
แต่อย่างผมไม่ดัง และไม่เก่งด้วย” ผมสรุปของผมในใจ
\<\/--break--\>

เนื่องจากระยะทางยาวไกล มีการผลัดกันขับรถ วันนี้ถึงคิวผมขับรถ เป็นครั้งแรกที่ขับรถพวงมาลัยอยู่ทางซ้ายแต่ขับแลนขวา ขับไปเรื่อยๆจนผมเห็น ธง โบกปลิวโดยที่ไม่ใช่ ธง ของสหรัฐอเมริกา ธงถูกติดตามที่ต่าง มีสามแถบ สามสี ขาว แดง น้ำเงิน และ หนึ่งดาว

นี่เป็น ธงอะไรคับ?” ผมถามคนในประเทศอเมริกา
อ้อ นี่เราถึงเท็กซัส แล้ว Lone star state” เจ้าถิ่นบอกผม

คนเท็กซัสมีเรื่องราวการต่อสู้ที่น่าสนใจ พวกเขาต้องการเป็นอิสระ ไม่ต้องการเป็นสหรัฐอเมริกา ธงที่เป็นสัญลักษณ์ของ เท็กซัส จึงมีเพียงดาวเดียว นั่นเป็นที่มาของการขนานนามรัฐว่า “รัฐดาวเดี่ยว”

ในปี 1519-1685 อาณานิคมสเปน ได้มาปกครองเท็กซัส ปี 1685-1690 แยกตัวออกมาเป็นสาธารณรัฐเท็กซัส ปี 1690-1821 ตกอยู่ภายใต้การปกครองของสเปนอีกครั้ง ปี 1821-1836 ถูกปกครองโดยเม็กซิโก ปี 1836-1845 แยกตัวมาเป็นสาธารณรัฐอีกครั้ง ปี 1845-1861 รวมตัวกับสหรัฐอเมริกา ปี 1861-1865 แยกตัวออกมาเป็นรัฐอิสระปกครองตนเอง ต่อมาอเมริกาได้ทำทุกวิถีทาง จนสามารถผนวกเอาเท็กซัสกลับมาเป็นส่วนหนึ่งสหรัฐอเมริกาได้อีกครั้งตั้งแต่ ปี 1865 จนถึงปัจจุบัน

แต่คนเท๊กซัสก็ยังคงอยากที่จะเป็นเท๊กซัสมากกว่าเป็นอเมริกา ความภูมิใจของคนเท็กซัสในการต่อสู้เพื่อปกป้องมาตรภูมิครั้งสำคัญ การต่อสู้กับเม็กซิโก ที่ Alamo ที่คนเท็กซัสได้พลีชีพมากมายในการต่อสู้ครั้งนั้น จนได้มีการสร้างอนุสรณ์สถานเพื่อรำลึกถึงบรรพบุรุษผู้เสียสละเพื่อแผ่นดินเกิด ของที่ระลึกเมืองนี้ที่มีมากที่สุดคือสินค้าที่มี ธงเท็กซัส ดาวเดี่ยวและข้อความ “REMEMBER THE ALAMO”

ในใจผมนึกถึง ค่ายมาเนอปลอ ค่ายก่อมูหร่า ของคนกะเหรี่ยง ริมฝั่งแม่น้ำเมยในรัฐกะเหรี่ยง น่าเสียดายที่มิอาจรักษาค่ายทั้งสองแห่งที่ว่านั้นได้ เวลาพูดถึงประวัติศาสตร์การต่อสู้ของคนกะเหรี่ยงในประเทศพม่าช่วงหลังๆ มีแต่คำว่าน่าเสียดาย เพราะมันมีแต่สิ่งที่น่าเสียดาย เสียดายโอกาส เสียดายพื้นที่ เสียดายคน

ถึงโบสถ์เก่าที่ถูก เทคโอเวอร์ มาทำเป็น Casbeer’s Nightclub ในเมือง San Antonio เวลาประมาณ 2 ทุ่มเศษ ต้องเล่นคอนเสริตโดยที่ยังไม่มีใครทานข้าวมื้อเย็นเลย ผู้ชมผู้ฟังเป็นคนไทยประมาณ ร้อยกว่าคน การแสดงดำเนินไปอย่างเต็มที่เต็มรูปแบบ 3 ชั่วโมงจบลง ทั้งนักดนตรี นักร้อง นักเต้น ต่างเก็บของเครื่องไม้เครื่องมือเสื้อผ้า เครื่องเสียงขึ้นรถ อากาศร้อน ความหิวรบกวน ความเพลียมาเยือน ความง่วงทักทาย ความหงุดหงิดเข้ามา

บรรยากาศการเก็บของเริ่มเปลี่ยนจากวันแรกๆ เสียงบ่นเริ่มมา คนยกของเริ่มปวดเอว
โอย ต้องเล่นดนตรีด้วย ต้องยกของด้วย ต้องขับรถด้วย อะไรกันเนี้ย!” มือกีตาร์จากฝรั่งเศสเริ่มเปิดหัว
เป็นนักร้องนี้มันสบายนะ ไม่ต้องยกของไม่มีเครื่องดนตรี ร้องเพลงเสร็จ ถ่ายรูปกับคนดู เดี๋ยวผมจะเป็นนักร้องบ้าง (หัวเราะ)” เขาบ่นทีเล่นเล่นทีจริงต่อ
เอ้า! พูดอย่างแสดงว่า คุณกำลังบอกว่าฉันกินแรงคุณเหรอ? ฉันเป็นผู้หญิงคุณจะให้ฉันยกของเหมือนผู้ชายเหรอ” นักร้องหญิงทัก เขาไม่ตอบเธอ แต่เขายกขวดเบียร์กระดกใส่ปากแทน
โอย หิวข้าว” เขาเปลี่ยนเรื่อง ทุกคนจึงบ่นหิวข้าวตามๆกันไปขณะที่เกือบเที่ยงคืนแล้ว
ผมอยากพาไปที่ที่หนึ่งก่อน อยากให้ทุกคนไป มันเหมือนคนบางระจัน ที่เมืองไทย คนAlamo ต่อสู้เหมือนคนบางระจัน” มีทั้งคนเห็นด้วยกับคนไม่เห็นด้วย บางคนอยากให้ไปหาที่นอนก่อน บางคนอยากให้ไปหาที่กินก่อน แต่พี่ทอด์ดก็ไปที่พิพิธภัณฑ์ Alamo ก่อน โดยหวังที่จะให้ทางคณะได้ซึ้งกับวีรกรรมการต่อสู้เพื่อปกป้องแผ่นดินถิ่นเกิด แต่เนื่องจากยามวิกาลเราไม่สามารถเข้าไปข้างในได้ ทำได้เพียงโพสท่าถ่ายรูปหน้าประตูพิพิธภัณฑ์ กว่าจะออกมาก็ราว เที่ยงคืนครึ่ง เราจึงไปหาที่นอน

เนื่องจากไม่ได้มีการจองที่นอนไว้ล่วงหน้า ห้องบางห้องไม่ได้มีการเตรียมไว้รอ จึงต้องรอจนกว่าห้องจะครบ เมื่อห้องครบการจัดสรรคนนอนไม่ลงตัวอีก บางคนไม่ชอบนอนกับคนสูบบุหรี่ บางคนไม่ชอบนอนกับคนนอนกรน บางคนไม่ชอบนอนกับฝรั่งด้วยเหตุผลที่คุยกันไม่รู้เรื่อง กว่าจะจัดห้องลงตัว เปลี่ยนกันไป เปลี่ยนกันมาตั้งหลายรอบ

เดี่ยวผมจะไปล่าอาหารมาทุกคนรออยู่ที่นี่” พี่ทอด์ดพูดเสร็จออกจากที่พัก กว่าจะกลับมาอีกทีประมาณชั่วโมงหนึ่ง
ผมล่ามาได้แค่นี้ ร้านแถวๆนี้ปิดหมดเลย อยากให้ทุกคนกินอันนี้ไปก่อน พรุ่งนี้เช้าค่อยฟัดหนักๆ” พี่ทอด์ดพูดพร้อมยื่นอาหารสำเร็จรูป อาทิ มาม่า ขนมปัง มาให้คณะทานก่อนนอน แต่บางคนง่วงมากกว่าหิวเลยไม่สนอาหารแล้ว

รุ่งเช้า ผมเดินไปที่พิพิธภัณฑ์ Alamo อีกรอบ ข้างในมีนิทรรศการเรื่องราวการต่อสู้ มีเครื่องมือเครื่องใช้ของวีชน มีของที่ระลึก แต่ห้ามถ่ายรูป
ถ่ายข้างในไม่ได้ก็ถ่ายข้างนอก" ผมออกไปถ่ายรูปข้างนอก
มันมีหลักการอยู่ว่า อย่าเพิ่งถาม ทำไปก่อนถ้าเขามาว่า แล้วหยุด การถ่ายรูปก็เหมือนกัน ถ่ายก่อนแล้วค่อยว่ากัน” พี่ทอด์ดบอกผม ก่อนออกจากรั้วพิพิธภัณฑ์

 

 

 บนถนนระหว่างเดินทางไป Texas

 


ธงดาวเดี่ยว ของ
Texas

 


ร้านขายของที่ระลึกใน
Texas

 


พ่อค้า ชาวแม็กซิโก

 

 


ค่ายบางระจัน แห่ง
Texas

 

 


 

 

 

ความเห็น

Submitted by ตังน้อย on

น่ากลัวจัง แบบนี้ต้องเรียกว่า no plan concert
ชิขับรถในเมกาด้วย เก่งจัง

แต่แหม "ถ่ายก่อนแล้วค่อยว่ากัน" นี่ยังไงก็ไม่รู้นะ ถ้ารู้ว่าเขาห้ามถ่ายแล้วถ่ายก่อนก็ไม่ไหวเหมือนกันนะ ท็อดเป็นฝรั่งที่"ทำได้ตามใจเป็นไทยแท้" ไปแล้วหรือเปล่า

Submitted by เกอะปอต่าซู on

หวัดดีครับพี่ชิ
น่าอิจฉาพี่ชิจังได้ไปเที่ยวหลายที่ ถือว่าได้ประสบการณ์การเยอะนะครับ
ติดตามบทความพี่ตลอด ดีครับที่พี่เอามาเล่าสู่การฟัง แล้วเสียงตอบรับ
จากการเล่นดนตรีเป็นงัยบ้างครับ วัฒนธรรมการรับฟังเหมือนกับบ้านเราป่าว
ที่เชียงใหม่ตอนนี้อากาศหนาวแล้ว ดูแลสุขภาพด้วยนะครับ
ต่าบลึ

Submitted by 777 on

อ่านแล้วหิวหนักตามไปด้วย ชิ อยากฟังความหิวมากกว่านั้น
เล่าเรื่องหิวต่อสิชิ อยากฟัง

Submitted by วุฒิ on

..ผมห่างหายไปนาน ไม่ใช่ห่างเหิน..นะชิ
ที่ผ่านมาใช้เวลากลางทุ่ง มุ่งหวังให้ได้ผลผลิต
เอาไว้เลี้ยงตัวเอง ถ้าเหลือเฝือก็ เจือจาน
**********************
คือว่าย่างเข้าหน้าหนาว ผมกำลังนวดข้าวในนาครับ
กลับเข้ามาเยี่ยม ชิ อีกครั้ง อ้าว...อาจารย์ชิ ไปอะเมริกา ซะแล้ว
ขอให้ โกกู๊ด คัมกู๊ด..(ไปดี มาดี ) นะครับ
วุฒิ

Submitted by ชิ on

โอะ มึ โช เปอ ทุกท่าน ครับ
ตังน้อยครับ ทริบเมกามีหลายอารมณ์ครับ ติดตามต่อครับ เป็นอีกประสบการณืหนึ่งที่ได้เรียนรู้อะไรพอสมควรครับ

เก่อ ปอ ต่า ซุ ครับ ดูแลสุขภาพด้วยเช่นกันนะครับ

ึึ777 ครับ อย่าพึ่งน้ำลายย้อยครับ ยังมีเรื่องน่าตื่นเต้นรออยู่

อ.วุฒิ ภาษาอังกฤษของท่านเฉียบขาดมากเลยครับ

ต่าบลื๊อครับ

5 ธ.ค.52 ที่หอประชุม มช.หลังจากเลิกงานแล้ว ตามไปแสดงความยินดีด้วยตนเองไม่ทัน บอกผ่านถึง อ.พนาด้วย ขอแสดงความยินดีที่ได้รับรางวัลพ่อดีเด่นของจังหวัดเชียงใหม่ ต่าบลึ.......

Submitted by ชิ on

โอะ มึ โช เปอ ลุงปั่น ครับ

ลุงปั่นสบายดีนะครับ ว่างๆ ขึ้นไปเยี่ยมมูเจะคี บ้างนะครับ
ต่าบลื๊อครับ

เตหน่ากูโบกบิน In USA: ประตูสู่ตะวันตก

การนอนและนอนอย่างเดียวในรถตู้ไม่ใช่เรื่องง่าย  บางทีปวดฉี่ บางครั้งปวดหลัง ทุกครั้งที่รถแวะจอดเติมน้ำมันหรือแวะทำอะไร ผมก็มักจะตื่นด้วยทุกครั้ง  จนได้รับการต่อว่าจากคนที่นั่งมาด้วยกันด้วยความเป็นห่วงว่าผมจะรับช่วงการขับรถต่อได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ

เตหน่ากูโบกบิน In USA: เสื้อปกาเกอะญอตัวแรก ณ USA

คืนนี้เป็นอีกคืนหนึ่งที่คนฟังเพลงเป็นคนไทย แต่ที่พิเศษกว่าที่อื่นเนื่องจากคนไทยเป็นคนจัดงานกันเอง เป็นการจัดงาน ”Thai Festival in Texas” ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีการจัดปีละครั้ง ทุกๆปีจะจัดในเดือนเมษายน แต่ปีนี้มาจัดกันในเดือนกันยายนเนื่องจากต้องการให้กิจการทัวร์ ของ Himmapan 2nd world เป็นจุดเด่นของงานในปีนี้ ภายในงานมีการขายอาหาร เสื้อผ้า ของไทย มีการจัดซุ้มนวดแผนไทยมาบริการ

เตหน่ากูโบกบิน In USA: โรงเรียนปกาเกอะญอ ณ ประเทศที่สาม

จาก Houston มุ่งสู่ Dallas ระหว่างทางผมได้มีโอกาสเป็นสารถีอีกครั้ง ระหว่างทางที่ขับรถอยู่ผมก็เหลียวซ้ายและขวาบ้าง ผมเห็นตัวที่อยู่ข้างทาง วัวก็ไม่ใช่ ควายก็ไม่เชิง

เมื่อเดินทางมาถึงDallas ที่ หมาย ซึ่งมีพี่น้องคนไทยรอรับ จัดแจงที่อยู่ที่กินเป็นอย่างดี
“ที่นี่ มีคนปกาเกอะญอไหมครับ?” เป็นคำถามแรกที่ผมถามที่ Dallas

เตหน่ากูโบกบิน In USA: ตำรวจไม่ได้รับเชิญ




วันนี้ผู้หญิงได้รับอนุญาตให้ไปเดินซื้อของที่ Outlet ส่วนผู้ชายหลังจากทานอาหารเช้า ต้องเดินทางไปติดตั้งเครื่องเสียงเพื่อเล่นในเย็นวันนี้

เตหน่ากูโบกบิน In USA: ท่องราตรี

หัวค่ำ พี่แพท นายกสมาคมไทย เท็กซัส พาไปกินข้าวที่ร้านอาหารจีน  ภายในร้านมีคนเอเชียจากหลายประเทศ ทั้ง สิงคโปร์ มาเลเซีย จีน ลาว เวียดนาม รวมทั้งพี่ไทย  แต่ส่วนใหญ่จะใช้ภาษาอังกฤษคุยกันยกเว้นคนเวียดนามที่ไม่ยอมพูดภาษาอังกฤษในร้านนอกจากพูดภาษาของตนเอง