Music
"1,000 people yellShouting my nameBut I wanna die in this momentI wanna die"- 1,000 People -Aviv Geffen เกิดและเติบโตในช่วงสงครามเลบานอนครั้งแรก ที่กองทัพอิสราเอลคิดจะเข้ายึดครองเลบานอนเพื่อยุติสงครามกลางเมือง แต่ความขัดแย้งนี้ดูจะห่างไกลจากตัวเขารวมถึงหนุ่มสาวคนอื่น ๆ ซึ่งต่างก็ดำเนินชีวิตคู่ขนานกับความขัดแย้งนี้จนแม้ปัจจุบันก็ยังไม่จบไม่สิ้น ข้อตกลงหยุดยิงไม่อาจทำให้ความตึงเครียดลดลงได้ ระเบิดนิรนามยังคงถูกยิงมาจากที่ไหนสักแห่งภาพที่ดูขัดแย้งกันอย่างชัดเจนในตัว Geffen คือ ขณะที่เขาแต่งเพลงและเผยความคิดเห็นในแบบอิสราเอลฝ่ายซ้าย แต่ขณะเดียวกันก็เป็นผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพทางดนตรี ทั้งยังได้รับความนิยม...โดยเฉพาะจากหมู่วัยรุ่นหนุ่มสาวมีบางครั้งที่ Geffen ต้องไปแสดงในเขตของชาวมุสลิม เขาบอกว่าแม้เขาจะไปในฐานะชาวอิสราเอล แต่ก็มีความเชื่อว่าจะได้รับการตอบรับที่ดีจากชาวมุสลิม แม้จะระแวงในความปลอดภัยอยู่บ้าง แต่เขาคิดว่าเขาแยกออกระหว่างคนที่มาฟังเพลง กับพวกบ้าเลือดที่จ้องแต่จะเอาชีวิตคนจากเท่าที่ได้อ่านเนื้อหาเพลงต่าง ๆ ของ Aviv Geffen ที่แปลเป็นภาษาอังกฤษ (ทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ) แล้ว พบว่าในแต่ละอัลบั้มเขาก็ไม่ได้มีแต่เรื่องของสังคมหรือการเมืองอย่างเดียว แต่มันมีเพลงรัก ๆ ใคร่ ๆ เรื่องความสัมพันธ์ ที่แฝงมุมมองแบบนักเสรีนิยมผู้เศร้าสร้อย ซึ่งน่าจะถูกใจวัยรุ่นยุคปัจจุบัน บ้างก็สะท้อนความแปลกแยก เบื่อหน่ายยุคสมัย ซึ่งมันคงตอบสนองความรู้สึกของหนุ่มสาวทั้งหลายได้เช่นเดียวกันถ้าให้พูดถึงรูปแบบทางดนตรี หลายเพลงของ Geffen แม้เขาจะร้องเป็นภาษาฮิบรู แต่สำเนียงดนตรีมันก็ชวนให้นึกถึงร็อคสีทึม ๆ ของ Roger Waters อย่างเสียมิได้ ยิ่งไม่ต้องบอกว่า เนื้อหาการเมืองจากผลงานยุคแรก ๆ ของ Aviv Geffen แม้จะสะท้อนภาพกว้าง ๆ ของความขัดแย้ง แต่ก็มีกลิ่นอายความโกรธขึง ประชดประชัน ของ Waters อยู่ไม่น้อยทีเดียวกระนั้นดนตรีของเขาก็ไม่ได้มีเพียงเงาทะมึน Roger Waters เท่านั้น บางเพลงก็เป็นเพลงป็อบหรือเพลงโฟล์คอารมณ์สบาย ๆ ขณะที่บางเพลงก็แฝงไปด้วยอิทธิพลของโปรเกรสซีฟร็อคสมัยใหม่ จนกระทั่งเมื่อความชื่นชอบส่วนตัวของ Geffen ที่มีต่อวง Porcupine Tree ทำให้เขาได้มารู้จักกับ Steve Wilson แล้วจึงได้ให้กำเนิดวงโปรเจกท์ที่ชื่อว่า Blackfield ขึ้นมาในที่สุดถึง Blackfield จะไม่ใช่วงที่วางแนวทางในเนื้อหาเอาไว้ชัดเจน แต่การฟอร์มวงนี้ก็ได้ช่วยให้เนื้อเพลงภาษาฮิบรูของเขาบางเพลงได้รับการแปลและดัดแปลงให้เป็นภาษาอังกฤษในนามของวง Blackfield เพลงหนึ่งของ Geffen ที่โด่งดังมากในประเทศคือ Achshav Meunan นั้นได้รับการแปล(ง) เป็นเพลง Cloudy Now ซึ่งมีซาวน์ที่เนียนขึ้นกว่าเดิม และเนื้อหาคงจะได้รับการเผยแพร่อย่าง กว้างขวางกว่าเก่า"ผมไม่ได้แยกดนตรีของผมออกจากข้อความที่ผมต้องการสื่อเลย สำหรับผมแล้วมันเป็นสิ่งเดียวกัน และข้อความของผมมันก็ง่าย ๆ คือ ทุกคนควรจะมีอิสระที่จะเลือกชีวิตตัวเอง นั่นล่ะ คือทุกอย่างที่ผมอยากบอก"There Are No Angels In Paradise"There are no angels in paradise,here there is only hell that allows only dreams thatthere are angels in paradiseBut there are no angelsAnd there is no paradise"- There are no angels in Paradise -จากที่ได้กล่าวไปในตอนที่แล้วว่า Aviv Geffen เป็นศิลปินผู้มีความเชื่อมโยงกับฝ่ายซ้ายของอิสราเอล คือขบวนการสันติภาพ (Peace Camp) ซึ่งขบวนการนี้ได้เคลื่อนไหวทั้งด้วยการผลักดันการเมืองและการเชื่อมต่อกับพลเรือนกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่งในนี้คือองค์กรเอกชนที่ชื่อ Peace Now ซึ่งมีส่วนสำคัญในการเซ็นสัญญาข้อตกลง Oslo แต่ชาวอิสราเอลบางส่วนก็ได้วิจารณ์ในความโปร่งใสขององค์กรนี้เหมือนกัน เพราะรู้มาว่าองค์กรนี้ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากสหภาพยุโรปขณะเดียวกันก็มีนักหนังสือพิมพ์คนหนึ่งที่ชื่อ Uri Avnery เกิดไม่พอใจในการทำงานของกลุ่ม Peace Now เลยได้ออกมาก่อตั้งกลุ่มของตัวเองที่ชื่อ Gush Shalom ซึ่งเป็นกลุ่มที่สุดแสนจัดจ้านและ Radical เอามาก ๆ แต่ถ้ามองในอีกมุมหนึ่งจัดจ้านก็ทำให้พวกเขาแข็งกร้าวดี โดยเฉพาะในเรื่องการทวงสิทธิ์ให้ชาวปาเลสไตน์การกลับเข้ามาอาศัยในฉนวนกาซ่าและเขตเวสแบงค์อีกครั้ง ทั้งยังบอกอีกว่า การเข้ามาถือครองของอิสราเอลถือเป็นอาชญากรรมทางสงคราม (War Crime) เลยทีเดียวกลุ่มที่เป็นที่รู้จักอีกกลุ่มหนึ่งคือ National Census (มีอีกชื่อคือ พีเพิ้ลส์วอยซ์) ซึ่ง Sari Nusseibeh ผู้แทนฯ จากปาเลสไตน์ และ Ami Ayalon จากพรรคแรงงานอิสราเอล ร่วมกันตั้งขึ้นมา National Census ได้ร่างข้อตกลงซึ่งตั้งใจจะทำให้ทั้งอิสราเอลและปาเลสไตน์ยอมรับได้โดยอาศัยตัวเนื้อหาที่มีลักษณะประนีประนอมกับทั้งสองฝ่าย ล่าสุดจากการล่ารายชื่อสนุบสนุนผ่านเว็บไซต์ มีตัวเลขผู้สนุบสนุนเป็นชาวอิสราเอลจำนวนกว่าสองแสนห้าหมื่นคน และชาวปาเลสไตน์อีกกว่าแสนหกหมื่นคนอย่างไรก็ดี นี่คือโลกที่ไม่มีใครเป็นเทวดาอันดีเลิศไร้ที่ติ ขบวนการเพื่อสันติภาพเหล่านี้ก็ได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์ในทางลบจากหลาย ๆ ฝ่าย เรื่องหลัก ๆ ที่ Peace Camp ถูกวิพากษ์วิจารณ์ก็ไม่ได้ต่างไปจากขบวนการเพื่อสันติภาพในบ้านเราเลย อย่างเช่นเรื่องแนวคิดการขาดความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ การให้อภัยต่อความรุนแรงจากผู้ก่อการร้ายปาเลสไตน์ แต่ไม่สนใจต่อสู้เพื่อสิทธิของคนอิสราเอลพวกซ้ายที่ออกไปในทางโปรปาเลสไตน์ วิจารณ์ข้อตกลงออสโลว่าเป็นแค่การหลอกชาวปาเลสไตน์และเป็นสัญญาลวงโลก ผู้ได้ประโยชน์คือกลุ่มทุนไซออนนิสท์เท่านั้น ขณะเดียวกันฝ่ายขวาเองก็เห็นว่าสนธิสัญญานี้เป็นเพียง "ม้าไม้โทรจัน" ในการช่วยลำเลียงกลุ่มก่อการร้ายให้เข้ามาปฏิบัติการได้ง่ายขึ้นเท่านั้นเองส่วนพวกฝ่ายซ้ายโปรอิสราเอลก็วิจารณ์ขบวนการณ์เพื่อสันติภาพไว้หลายประเด็น ตั้งแต่เรื่องของการพยายามสร้างภาพลบให้กับทหารรักษาความปลอดภัยมากเกินไป การทำให้ชาวยิวรู้สึกเกลียด (ความเป็นยิวใน) ตัวเอง มุ่งการเคลื่อนไหวทางการเมืองมากเกินไปทำให้ขาดฐานคิดทางสังคมและเศรษฐกิจ ไม่สามารถจูงใจฝ่ายที่สนับสนุนอิสราเอลได้เพราะขาดการใส่ใจในฝ่ายที่โปรอิสราเอลนักปฏิบัตินิยมทั้งหลายก็มองคล้าย ๆ กันในเรื่องของการไม่ใส่ใจพื้นฐานทางเศรษฐกิจและความมั่นคง (ของคนระดับล่างจริง ๆ คนละอย่างกับ "ความมั่นคง" ในรัฐธรรมนูญของประเทศเรา) การไร้ผลในทางปฏิบัติของข้อตกลงออสโล และคิดว่ามันอันตรายเกินไปหากขบวนการมัวแต่ไปเอาใจฝ่ายปาเลสไตน์ (ซึ่งผู้ที่ได้ประโยชน์คงไม่พ้นพวกชนชั้นนำ)คำวิพากษ์วิจารณ์นี้บางส่วนมันก็ชวนให้นึกย้อนกลับมามองขบวนการสันติภาพในบ้านเราอยู่เหมือนกัน โดยเฉพาะเรื่องในทางปฏิบัตินิยมและมุมมองเชิงเศรษฐศาสตร์ ที่ละเลยไปแต่ขณะที่บางคนอาจวิพากษ์วิจารณ์บางกลุ่มว่าไม่ออกมาพูดเพื่อผู้บริสุทธิ์ (บริสุทธิ์จริงหรือเปล่า?) ที่ถูกทำร้ายบ้าง ผมอยากขอแสดงความเห็นเสียหน่อยว่าเรื่องพวกนี้ถูกสื่อกระแสหลักเล่นข่าวกันเยอะ และเล่นไปในด้านเดียวจนเละเทะไปหมดแล้ว มันเปล่าประโยชน์ที่จะลงไปร่วมซ้ำเติมด้วยผมเองก็ยังเป็นปุถุชนที่ยังมีความหวาดระแวง ผมกริ่งเกรงเรื่องความไม่มั่นคงในชีวิตของคนที่บริสุทธิ์จริง แต่การจะเคลื่อนคล้อยไปกับ Majority ที่กุมวาทกรรมหลักของสังคมไว้อยู่แล้วนั้นมันฟังดูน่ากลัว และชวนให้หวาดระแวงไม่แพ้กัน
Music
"Love films are broadcast lateBut violence is allowed at any hourWhile on a kibbutz a girl was rapedIn the disco they set their spirits free"- Violence -เป็นเรื่องธรรมดาที่น้อยคนในบ้านเราจะรู้จักศิลปินหนุ่มจากอิสราเอลที่ชื่อ Aviv Geffen เพราะผมเองกว่าจะรู้จักเขาก็ต้องโยงอะไรหลายทอดอยู่เหมือนกันมันเริ่มจากการที่ผมชื่นชอบวงโปรเกรสซีฟร็อค ที่ชื่อ Porcupine Tree แล้วนักร้องนำและผู้กุมบังเหียนของวงนี้คือ Steve Wilson ในขณะที่ยังคงอยู่กับวงเดิม ก็ได้ออกไปมีโปรเจกท์ย่อยคือวง Blackfield ด้วย ซึ่งวงโปรเจกท์ของเขานี้ ก็ตั้งใจว่าจะเป็นวงป็อบร็อค ที่ทำร่วมกับนักดนตรีรุ่นน้องชาวอิสราเอลคนหนึ่ง และนักดนตรีรุ่นน้องที่ว่านี้ก็คือ Aviv Geffen นั่นเองก่อนที่จะมาร่วมทำวง Blackfield นาย Geffen คนนี้ได้เคยมีผลงานอยู่ในบ้านเกิดตัวเองอยู่แล้ว แต่ที่น่าสนใจกว่านั้นคือ ขณะที่เราไม่ค่อยรู้จักเขากันเท่าไหร่ แต่สำหรับที่อิสราเอลแล้วเขาถือเป็นไอดอลร็อคสตาร์ประจำใจคนทั่วประเทศเลยทีเดียววง Blackfield : Aviv Geffen (ซ้าย) , Steve Wilson (ขวา)ในทางดนตรีนั้น Aviv Geffen เป็นนักดนตรีป็อบร็อค ที่มีรูปลักษณ์แบบ Anti-Macho คือ ไม่เสริมคุณสมบัติตัวเองด้วยการอวดเบ่งความเป็นชาย จนบางครั้งอาจไพล่ให้นึกไปถึง David Bowie หรือ Lou Reed สไตล์เพลงของเขาได้รับอิทธิพลจาก U2 , Nirvana , Bob Dylan และนอกจากนั้นแล้วเจ้าตัวยังบอกเองว่าได้รับอิทธิพลอย่างมากจาก Roger Waters นักดนตรี/นักแต่งเพลงผู้มองโลกในแง่ร้ายและเคยเป็นมันสมองในยุคหนึ่งของ Pink Floydคงไม่เพียงดนตรีเท่านั้นหรอกที่เขาได้จาก Roger Waters มา แม้แต่การแต่งเนื้อเพลงรวมถึงแนวคิดซ้าย ๆ บางอย่างก็คงได้มาจาก Waters ด้วย (แต่ไม่น่าจะโหดเท่า Waters) เพราะ Aviv Geffen ไม่เพียงแต่เป็นขวัญใจคนหนุ่มสาวเท่านั้น เขายังเป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมืองฝ่ายซ้ายคนสำคัญคนหนึ่งอีกต่างหากGeffen ก็เช่นเดียวกับศิลปินผู้ติดความเป็นนักเคลื่อนไหวคนอื่น ๆ เขาคิดจะใช้เพลงของตัวเองเป็นเครื่องมือเปลี่ยนแปลงสังคม เพลงที่เขาเขียนนั้นเต็มไปด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับความรัก สันติภาพ ภาพสะท้อนของยุคสมัย ความเลวร้ายของการสู้รบ และ ...ความตายในฐานะที่อยู่ใกล้ชิดกับเหตุการณ์ เขาต้องกลายเป็นส่วนหนึ่งการต่อสู้เรียกร้องสันติภาพในเหตุความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์อย่างแน่แท้ ในตอนนั้นกลุ่มของอิสราเอลแบ่งเป้นสองค่ายอย่างชัดเจนคือกลุ่มฝ่ายขวาอย่าง ค่ายชาตินิยม (National Camp) กับกลุ่มอิสราเอลซ้ายอย่างค่ายสันตินิยม (Peace Camp) และ Aviv Geffen ก็ได้เลือกที่จะอยู่ข้างเดียวกับกลุ่มสันตินิยมในช่วงที่มีการรณรงค์เพื่อสันติภาพอย่างแรงกล้านั้น เขาก็ได้อยู่ในเหตุการณ์สำคัญเหตุการณ์หนึ่งในปี 1995 คือเหตุการณ์สังหารอดีตนายกรัฐมนตรีนาย ยิทซ์ซัค ราบิน (Yitzhak Rabin) ขณะปราศัย ณ จัตุรัสกลางเมือง Tel Avivในตอนนั้น Rabin เป็นนายกรัฐมนตรีของอิสราเอลที่มาจากการเลือกตั้ง และช่วงที่เขาเป็นรัฐมนตรีก็มีบทบาทสำคัญในการผลักดันนโยบายสันติภาพ เหตุการณ์ที่มีส่วนสำคัญมากที่สุดคือการทำสนธิสัญญาออสโล (Oslo Accord) ร่วมกับผู้นำปาเลสไตน์ ซึ่งสนธิสัญญานี้เป็นการมอบอำนาจการปกครองบางส่วนของดินแดนในฉนวนกาซ่าและเขตเวสต์แบงก์ ให้กับปาเลสไตน์ แลกกับการหยุดสร้างความรุนแรงฟังดูเหมือนเป็นเรื่องดี แต่สนธิสัญญานี้ก็ได้ทำให้ชาวอิสราเอลแบ่งออกเป็นสองพวกอย่างชัดเจน ทั้งพวกที่เห็นด้วยและชื่นชม พวกนี้จะมองว่าเป็นสนธิสัญญาที่ช่วยหลักดันให้เกิดสันติภาพ ขณะที่ชาวอิสราเอลอีกส่วนหนึ่งกลับมองว่า Rabin เป็นคนทรยศที่มอบดินแดนที่ควรจะเป็นของอิสราเอลให้คนอื่นไป นอกจากนี้ยังได้ออกมาบอกว่าสนธิสัญญาออสโล ไม่ได้ทำให้การก่อการร้ายลดลงเลย มีแต่จะยิ่งทำให้เพิ่มขึ้น แล้วก็ยังมีชาวยิวผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์เหล่านี้นอกจากนี้แม้ผู้นำองค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์ (ซึ่งองค์กรในตอนนั้นอ่อนกำลังลงมาก) จะยอมรับในข้อตกลงยับยั้งการต่อสู้ด้วยอาวุธและหันมาแก้ปัญหาด้วยสันติวิธี แต่เนื้อหาส่วนหนึ่งของข้อตกลงได้สนับสนุนสิทธิในการครองดินแดนของไซออนนิสท์ (กลุ่มสนับสนุนแนวคิดว่าดินแดนนี้เป็นของยิว) และเป็นการทำข้อตกลงโดยผู้นำที่ไม่ได้ถามชาวปาเลสไตน์ ทำให้กลุ่มชาวปาเลสไตน์ทั้งฝ่ายชาตินิยมและฝ่ายซ้ายไม่พอใจเช่นกันความไม่พอใจส่งผลบานปลายมาจนถึงในวันที่ 4 พฤศจิกายน 1995 ชาวยิวขวาจัดคนหนึ่งซึ่งไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรงกับสนธิสัญญานี้ ได้วางแผนที่จะสังหารนาย Rabin ขณะที่เขากำลังออกเดินสายสร้างการสนับสนุนสนธิสัญญาออสโลจากประชาชน (ทั้งๆ ที่มันได้ตกลงกันไปเรียบร้อยแล้ว) ซึ่งมือสังหารคนนี้คิดว่า มันจะทำให้ประเทศของเขารอดพ้นจากวิกฤตได้ในวันเดียวกันนั้นเอง Aviv Geffen ในฐานะนักดนตรีผู้สนับสนุนสันติภาพก็ได้ขึ้นเวทีต่อหน้าผู้คนกว่า 3 แสนคน ที่โห่ร้องปรบมือแสดงความยินดี เขาได้ร้องเพลงบัลลาดที่ชื่อ "Livkot Lecha" ซึ่งเป็นชื่อเพลงภาษาฮิบรู แปลเป็นภาษาอังกฤษคือ "Cry for You" (ฉันร้องไห้เพื่อคุณ) โดยเนื้อหาของเพลงเป็นเหมือนเพลงที่จะร้องให้กับผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว"Lanetzach achiezkor otcha tamidVenipagesh basof ata yode'a.veyesh li chaverimaval gam hem kavimEl mul orcha hameshage'a."- Livkot Lecha -"Forever my friendI'll see you in the endAnd we will always be the best of brothersThe friends I have are fineBut in the light you shineI only see the shadow of the others"- คำแปลจากเนื้อเพลง Livkot Lecha (Cry for You)แต่เหมือนชะตาเล่นตลก หลังจากที่จบการแสดงของเพลงนี้แล้ว Geffen ได้เข้าสวมกอดอำลานายกรัฐมนตรี บอกลากันด้วยคำว่า Shalom (ในภาษาฮิบรู คำนี้หมายความได้ทั้ง ‘สวัสดี' ‘ลาก่อน' หรือ ‘สันติ') แล้วหลังจากนั้นอีกไม่นานนัก ขณะที่ Rabin กำลังจะเดินไปขึ้นรถ เขาก็ได้ถูกมือสังหารเข้ามาเหนี่ยวไกใส่สามนัด พิษจากบาดแผลที่ถูกยิงทำให้ Rabin เสียชีวิตในเวลาต่อมา"ฉันได้กลิ่นของปืนพก" คือปากคำส่วนหนึ่งของ Geffen ตอนที่ให้สัมภาษณ์ลงนิตยสารเกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้นวันนั้นเป็นที่น่าตั้งคำถามว่า นอกจากกลิ่นของปืนพกแล้ว เขาได้กลิ่นของความไม่พอใจกับข้อตกลงนี้ด้วยหรือไม่ หลายต่อหลายครั้งที่คนเราลุกขึ้นมาสนับสนุนโดยที่ยังไม่เข้าใจความซับซ้อนของมันมากพอ เพียงแต่สนับสนุนเพราะมัน "เข้าทาง" สิ่งที่เราคิดฝันไว้เท่านั้นเอง หลังจากเหตุการณ์ ได้มีคนค้นพบกระดาษชีทเพลงเปิ้อนเลือดในกระเป๋า เนื้อเพลงในชีทเปื้อนเลือดนั้นคือเพลง Shar Lashalom (Song for Peace-บทเพลงเพื่อสันติภาพ) ซึ่งเป็นเพลงยอดนิยม และเป็นเหมือนเพลงประจำของกลุ่มซ้ายสันติในอิสราเอล โดย Rabin ได้ขึ้นร้องเพลงนี้ร่วมกับ Miri Aloni บนเวที ก่อนที่จะถูกสังหารมันฟังดูตลกร้ายตรงที่มีคนคิดว่าเพลง "Cry for You" ที่ Geffen ร้องในวันนั้นกลายเป็นเหมือนลางบอกเหตุสำหรับเหตุการณ์สังหารนาย Rabin อยู่กลาย ๆ แล้วเหตุการณ์นี้ยังทำให้ในเวลาต่อมาเพลง "Cry for You" กลายเป็นเพลงแห่งยุคสมัยสำหรับนักโปรโมทสันติภาพในอิสราเอลเลยทีเดียวเหตุการณ์ในครั้งนั้นอาจจะเป็นเรื่องน่าตกใจสำหรับหลายๆ คน แต่ก็น่าเห็นใจมือสังหารผู้นั้นอยู่เหมือนกัน เพราะแทนที่เขาจะได้ในสิ่งที่หวัง แต่กลับกลายเป็นทำให้ชื่อของ Rabin ถูกนำไปใช้ในการต่อสู้เชิงสัญลักษณ์ของฝ่ายซ้ายไปเสีย (ยังไม่นับว่ามีคนโยงเรื่องนี้กับทฤษฎีสมคบคิด ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่ามาจากทั้งฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวา)ผมเองก็ไม่อาจทราบได้ว่าศิลปินผู้เลือกข้างอย่างชัดเจนเช่น Aviv Geffen จะเข้าใจความซับซ้อนของเหตุการณ์นี้ขนาดไหน แต่สิ่งที่พอจะรู้คือมันได้ทำให้ความคิดและจิตใจของเขาเปลี่ยนไป จากเดิมที่เขาเคยมีด้านที่จัดจ้าน เคยเขียนเพลงประท้วงแบบถอนรากถอนโคน (Radical) ก็เริ่มสุขุมเยือกเย็นและอ่อนโยนขึ้น เพลงของเขามีเนื้อหาการเมืองน้อยหรือเบาลง ขณะเดียวกันก็มีความลึกซึ้งกว่าเดิมเขาได้บอกกับนิตยสารที่ให้สัมภาษณ์ว่า "ในอิสราเอลมันมีความกดดันมากพออยู่แล้ว มันไร้ประโยชน์ที่จะโยนน้ำมันลงไปในกองไฟ"ความรู้สึกสะเทือนใจ เป็นสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ แต่ขณะเดียวกันมันก็ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือได้ ไม่ว่าจะโดยฝ่ายใดก็ตาม แต่ผมลองคิดในด้านดีของมันว่า หากความสะเทือนใจในระดับปัจเจก มันได้รับการกลั่นกรองผิดถูกในสำนึกของแต่ละคน มันอาจจะทำให้คนๆ นั้นเติบโต และเรียนรู้จากสิ่งที่ผิดพลาด หรือไม่งั้นก็เป็นสิ่งที่ช่วยกระแทกปลุกให้ตื่นจากความฝันได้แล้ว Geffen เอง จะเติบโตจากสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ได้ขนาดไหนกัน...ไว้คราวหน้า จะมาพูดถึงชีวิตและดนตรีของ Aviv Geffen รวมถึง Peace Camp ที่เขาสังกัดอยู่ด้วยพอเขียนมาถึงตรงนี้ อารมณ์ของผมมันก็ไม่ค่อย Love and Peace เท่าไหร่แล้ว
แม่ญิงโย-นก
ข้าพเจ้านำผู้อ่านออกเดินทางจากสถานีขนส่งอาเขตเมื่อหลายเดือนก่อน หากไปไม่ถึงสถานีขนส่งจังหวัดเชียงรายสักที เพราะมัวแต่ไปหลงทางย้อนอยู่ในประวัติศาสตร์ ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ที่ อ.อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว กับ อ.เดวิด เค วัยอาจ ร่วมกันถอดความจากภาษาล้านนาบ่าเก่ามาเป็นคำเมือง ผู้ที่ยังสนใจอาจติดตามได้ในบล็อคใหม่ ซึ่งข้าพเจ้าจักได้นำข้อเขียนของท่านอาจารย์ทั้งสองมาถ่ายทอดต่อไปเร็วๆนี้*********************************เมื่อรถเลี้ยวเข้าจอดที่บริเวณสถานีขนส่งเชียงราย ใกล้กับตลาดกลางคืน หรือไนท์บาซาร์ เป็นอันว่าการเดินทางไกลเกือบสี่ชั่วโมงของข้าพเจ้าได้สิ้นสุดลง ที่กำลังจะเริ่มคือการเดินทางเข้าไปเก็บข้อมูลภาคสนามในพื้นที่ดอยสูงอ.แม่ฟ้าหลวง บริเวณชายแดนไทย-พม่า ที่ข้าพเจ้าจะต้องไปใช้ชีวิตอยู่ในอีกห้าหกเดือนข้างหน้าก้าวขาลงจากรถ ปราดไปที่เก็บของใต้ท้องรถ ยกเป้ใบใหญ่ขึ้นสะพายหลัง ย้ายเป้ใบเล็กที่บรรจุกล้องถ่ายรูปและคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คมาไว้ด้านหน้า มือที่พอจะว่างคว้าเอาขันโตกหวายใบน้อยมาถือไว้หันมาด้านหลัง เจอคนขับรถสองแถวเล็กยืนยิ้มเผล่ “โอฮาโย่ แว อา ยู โกอิ้ง” ฮั่นแน่ ส่งภาษาต่างประเทศมาทักทาย เห็นทีจะเป็นเพราะเป้หลังใบใหญ่ของข้าพเจ้าชวนให้เข้าใจผิด มิอาจทึกทักได้เลยว่าหน้าตาของข้าพเจ้าให้ จนใจว่า ข้าพเจ้าเองหาใช่คนญี่ปุ่นมาจากไหน จะสวมรอยเป็นชาวต่างประเทศก็กระไรอยู่ “บ่อใจ้ญี่ปุ่นเจ้า คนเมืองเฮาตวยกั๋นนี่แหละ” ข้าพเจ้าส่งเสียงในฟิล์มตอบกลับไป“โหะ ก่อนึกว่าญี่ปุ่น เห็นหิ้วเป้ใบใหญ่แต้ใหญ่ว่า ละขันโตกนี่ลอหิ้วมายะหยัง หยังมาของหลายแต้ว่า จะไปไหนเนี่ย ไปสองแถวก่อ” คนขับวัยกลางคนรัวคำถามใส่ข้าพเจ้าเป็นชุด ไม่แน่ใจนักว่าอยากได้คำตอบไหนก่อน“บ่อไปเตื้อเจ้า พอดีนัดคนมาฮับแล้วเจ้า” ข้าพเจ้าตอบปฎิเสธไป บอกว่ามีคนมารับแล้ว เป็นหนุ่มรุ่นน้องชาวลีซู ที่ทำงานองค์กรเอกชนช่วยเหลือประชาชนบนพื้นที่สูงเรื่องสถานะบุคคล ที่นัดหมายกันว่าจะมาเจอกันที่สถานีขนส่งนี้“อั้นกา มะ อ้ายจะจ้วยแบกกระเป๋าไปหื้อ" คนขับรถใจดีเอื้อมมือมาช่วยปลดเป้ใบใหญ่จากหลังข้าพเจ้า เอาไปถือไว้เหมือนเป็นวัตถุไร้น้ำหนัก ข้าพเจ้าโชคดีนักมาถึงวันแรกก็เจอคนใจดีนั่งรออยู่ไม่ถึงสิบนาที หนุ่มลีซูคนที่ว่าเดินยิ้มร่าเข้ามาช่วยยกของไปเก็บไว้ในรถกระบะขับเคลื่อนสี่ล้อ พาหนะคู่ใจที่พาเขาและทีมงานอีกสามคน อันประกอบด้วยอีกหนึ่งหนุ่มลีซู หนึ่งหนุ่มอ่าข่า และหนึ่งสาวอ่าข่า (ไม่ได้มารับที่สถานี ประชุมอยู่ที่สำนักงานย่านริมกก ซึ่งข้าพเจ้ากำลังจะเดินทางไปร่วมประชุมด้วย)“สวัสดีครับปี้ครับ พอดีอ้ายเปิ้นหื้อผมมาฮับครับ กำเดียวเฮาแวะไปตี้สำนักงานก่อนน่อ มีประชุมตี้หั้นครับ” หนุ่มน้อยเสื้อขาว กางเกงชาวเล ผ้าขาวม้าคาดเอว ยกมือไหว้ทักทายและแจ้งข่าว เขาพูดคำเมืองชัดเจน ทำเอาข้าพเจ้าแปลกใจไม่น้อย พี่น้องชนเผ่าหลายคนที่ข้าพเจ้ารู้จัก ถนัดมากกว่าในการใช้ภาษาไทยแบบกรุงเทพ ในการสื่อสารกับคนนอกเผ่า แม้แต่ในหมู่บ้านอ่าข่าที่ข้าพเจ้าเข้าไปอาศัยอยู่ในเวลาต่อมานั้น เวลามีเจ้าหน้าที่อำเภอเข้ามาเยี่ยมเยียน หรือนัดประชุม ชาวบ้านที่พอจะพูดและฟังภาษาไทยได้ ยังต้องขอร้องให้พูดเป็นภาษาไทยกรุงเทพ เพื่อที่เขาจะได้ถ่ายทอดเป็นภาษาอ่าข่าให้ชาวบ้านส่วนใหญ่เข้าใจ“เฮียนเกษตร อู้กำเมืองบ่อได้ มีปั๋นหาครับปี้ ต๋อนผมเข้าไปเฮียนใหม๋ๆ รุ่นปี้คนเมืองบอกว่าคนตี้มาทีลุนหื้อไปรายงานตั๋ว ผมก่อบ่อฮู้ว่า ทีลุน (ภายหลัง) มันแป๋ว่าอะหยัง ผมก่อเลยบ่อไป เลยโดนลงโทษ หลาบเลย จ๋ำกำนี้ได้เต้าบ่าเดี่ยว” หนุ่มน้อยเล่าขำๆ กับประสบการณ์ความไม่รู้เรื่องภาษาอันรุ่นพี่อ้างเอาเป็นเหตุหาเรื่องลงโทษรุ่นน้อง ที่แย่กว่านั้น เป็นเรื่องการล้อเลียนความเป็นชนเผ่า ที่ทำให้บางคนถึงกับไม่ยอมพูดภาษาประจำเผ่าของตนที่โรงเรียน ไม่ก็รู้สึกอายในความเป็นชนเผ่าของตนเอง เพราะรู้สึกว่าแปลกแยกแตกต่างกับเพื่อนคนอื่น ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน มีความพยายามที่จะส่งเสริมให้เกิดการยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรมในโรงเรียนบางโรงเรียนในภาคเหนือ แต่โดยทั่วไปแล้ว การล้อเลียน และแบ่งแยก “คนเมือง” “คนดอย” ยังเป็นเรื่องที่ก่อความขมขื่นใจแก่เด็กๆลูกหลานชนเผ่าชาติพันธุ์หลายๆกลุ่ม ความพยายามของรัฐไทย ในการที่จะเชิดชูชาติพันธุ์ “ไทยบริสุทธ์” ซึ่งไม่อาจจะมีได้ และไม่มีวันจะมีได้ ให้โดดเด่น มีอภิสิทธิเหนือกว่าชาติพันธุ์อื่นๆนั้น ครอบคลุมไปถึงการอ้างความเหนือกว่าในเรื่องภาษา วัฒนธรรม ประเพณี ความเป็นอยู่ ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ และอื่นๆ เผยแพร่และตอกย้ำผ่านทางระบบการศึกษาแห่งชาติ โรงเรียน ครู และแบบเรียนทางประวัติศาสตร์ และสื่อมวลชนแห่งชาติภายใต้อุดมการณ์เช่นนี้ การพูดภาษาถิ่น หรือภาษาประจำเผ่า หรือภาษาอื่นใดที่ไม่ใช่ภาษา “ไทย” และที่ได้รับการหมิ่นหยามว่ามีสถานะด้อยกว่า จึงเป็นเรื่องน่าอาย พึงระงับยับยั้ง ป้องกัน และลงโทษหากฝ่าฝืน กล่าวในทางกลับกัน การพูดภาษาต่างประเทศ ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นภาษาของวัฒนธรรมที่ทัดเทียมหรือสูงกว่าของไทย กลับไม่เป็นเรื่องพึงละอาย ซ้ำยังต้องส่งเสริมกันทุกวิถีทาง เราจึงอาจเห็นโรงเรียนสองภาษาอังกฤษ-ไทย ญี่ปุ่น-ไทย จีน-ไทย มีอยู่ทั่วไป ในขณะที่ต้องต่อสู้กันแทบเป็นแทบตาย เพื่อจะให้มีโรงเรียนที่สอนภาษาของชนเผ่าชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงควบคู่กันไปกับภาษาไทย ซึ่งก็ยังมีจำนวนน้อย และยังมีข้อถกเถียงกันอยู่อีกมากว่ามุ่งส่งเสริมความหลากหลายของภาษาจริงหรือไม่ที่ร้ายไปกว่านั้น เมื่อมีการนำภาษาและภาพลักษณ์ของชนเผ่าชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงไปผูกติดอยู่กับประเด็นเรื่องความมั่นคง ยาเสพติด และสิ่งแวดล้อม นับตั้งแต่ยุคหวาดกลัวภัยคอมมิวนิสต์เป็นต้นมา ทำให้เกิดการสร้างภาพของความเป็นอื่น ของศัตรู ของคนที่ไม่น่าไว้ใจ การเรียนรู้ภาษาของชนเผ่าชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงจำกัดอยู่เพียงเพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์เรื่องการข่าวและความมั่นคง มีเพียงเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่กี่หน่วยงาน ที่มองเห็นว่าการเรียนรู้ภาษาชนเผ่าชาติพันธุ์เป็นเรื่องจำเป็น (เพื่อการข่าวและความมั่นคง) ในหมู่บ้านอ่าข่าที่ข้าพเจ้าอาศัยอยู่นั้น ชาวบ้านบอกว่ามีเพียงตำรวจตระเวนชายแดน และเจ้าหน้าที่กรมประชาสงเคราะห์บางคนเท่านั้นที่พูดภาษาของพวกเขาได้ และชาวบ้าน (ส่วนใหญ่ผู้ชาย) บางคนที่พูดไทยได้ ก็จากการพูดคุยแลกเปลี่ยนกับเจ้าหน้าที่เหล่านี้นี่เองจึงไม่น่าแปลกใจที่งานศึกษาหลายๆชิ้น จะพบว่า โครงการของรัฐโดยการสนับสนุนของกรมประชาสงเคราะห์ที่ส่งพระสงฆ์ขึ้นไปตามแดนดอยต่างๆ หรือที่รู้จักกันในชื่อโครงการพระธรรมจาริก ซึ่งเป็นหนึ่งในความพยายามหลายๆอย่างของรัฐไทยในอันที่จะเปลี่ยนให้ ”ชาวเขา” กลายเป็น “พลเมืองไทยชั้นหนึ่งที่ช่วยเหลือตัวเองได้” ตามคำประกาศในมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 ก.ค 2519 นั้น ไม่ประสบความสำเร็จดังที่ตั้งใจไว้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะขาดความรู้ความเข้าใจในวิถีชีวิตวัฒนธรรมของพี่น้องชนเผ่าชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง และความที่พระธรรมจาริกเองไม่สามารถติดต่อสื่อสารกับชาวบ้านชนเผ่ากล่าวโดยที่สุดแล้ว ทัศนคติของเจ้าหน้าที่รัฐที่มีต่อภาษาถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาของชนเผ่าชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง มักเป็นไปในทางลบ หมิ่นหยามว่าด้อยกว่าภาษาไทย และเห็นว่าเป็นปัญหาต่อ”ความมั่นคง” ข้ออ้างอันสุดแสนอมตะ แต่มีปัญหาเรื่องความชอบธรรม เห็นได้จากข่าวเมื่อเร็วๆนี้ ที่ทางกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) อ้างคำสั่งเรื่องความมั่นคง ห้ามวิทยุชุมชนในอำเภอฮอดออกอากาศเป็นภาษากะเหรี่ยง และให้ถ่ายทอดเป็นภาษาไทยกลางกับภาษาคำเมืองเท่านั้น ทั้งๆที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ในพื้นที่เป็นชาวกะเหรี่ยงโผล่ง ซึ่งบรรพบุรษของพวกเขาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ในบริเวณนั้นก่อนการเกิดขึ้นของกอ.รมน. และเจ้าหน้าที่หลายคนด้วยซ้ำไปด้วยทัศนคติและความเข้าใจเช่นนี้ ทำให้มิอาจเข้าใจเป็นอื่นใดได้เลยว่า นโยบายแห่งชาติต่อชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ นั้น แท้จริงแล้ว มุ่งกดบีบกลืนกลายวัฒนธรรม หาใช่เพื่อผสมผสานกลมกลืนดังที่อ้างไม่