Skip to main content
ยุกติ มุกดาวิจิตร
  บอกยากเหมือนกันว่าสุราทำหน้าที่อะไร แต่ผมเลือกจะเชื่อว่า มันถอดหน้ากากคน มันลดอัตตา มันทำให้คนหันหน้าเข้าหากัน แต่นี่คงต้องอยู่ในบริบทของการดื่ม ในสังคมที่มีระเบียบเข้มงวดในการด่ืมสุรา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เดิมทีนักมานุษยวิทยาไม่จำเป็นต้องเก็บข้อมูลเอง แต่อาศัยข้อมูลจากนักชาติพันธุ์นิพนธ์ ที่ส่งข้อมูลจากสังคมห่างไกลทุกมุมโลก มาให้นักมานุษยวิทยา ณ ศูนย์กลางอำนาจของโลกวิเคราะห์ สร้างทฤษฎี
นายกรุ้มกริ่ม
  อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นเมืองท่ามกลางหุบเขา มีเสน่ห์เล็กๆ ในแบบของตัวเอง แม่สอดไม่ใช่เมืองท่องเที่ยว แต่มีคนแวะเวียนมาเยอะเพราะแม่สอดเป็นประตูผ่านแดนไปยังเมืองเมียววดีของพม่า
นายหมูแดงอวกาศ
ความทรงจำบางๆ ที่เมืองเชียงตุง     ครั้งหนึ่งผมยังจำได้ผมได้ไปเที่ยวเมืองเชียงตุง  เมืองแห่งประวัติศาสตร์ที่สัมพันธ์กับคนเมือง ชาติพันธุ์ไทเขิน ไทยอง คนเมือง หรืออื่นๆ  แต่บอกได้คำเดียวเชียงตุงยังคงเป็นเมืองที่บริสุทธ์มาก ทั้งธรรมชาติวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของคนท้องที่ที่ยังเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
peerapong1983
ชื่อ นายพีระพงศ์ ช่วยศรี ชื่อเล่น นุ จร้า สถานภาพ โสดสนิท หุหุหุ!!! งานอดิเรก ยังไม่มีเลย อิอิ  
เจนจิรา สุ
บนถนนที่ทอดยาวสู่หุบเขาทางทิศตะวันตกของจังหวัดแม่ฮ่องสอน เส้นทางที่ห่างออกมาเพียงสามสิบกิโลเมตรเศษ ลัดเลาะไปตามภูเขาบนถนนสายรพช. ซึ่งค่อยๆ แปรสภาพเป็นดินและหินลูกรังก่อนจะถึงสุดสายปลายทาง อันเป็นสถานที่คล้ายด่านกักกันมนุษย์กลุ่มหนึ่งที่ไร้ประเทศและเสรีภาพ หมู่บ้านกลางป่าที่ปลูกเบียดเสียดเรียงรายทุกซอกหลีบของพื้นที่จัดสรร คนนับหมื่นอัดแน่นในที่อาศัยกว้างกว่าเท้าและหัวจะพาดวางเพียงไม่กี่วา ที่นี่คือศูนย์ผู้พักพิงบ้านในสอย
เจนจิรา สุ
 มีใครเคยใช้ชีวิตในบ้านนอกโดยเฉพาะทางภาคอีสาน เมื่อประมาณสัก 20 ปีก่อน อาจจะมีความทรงจำเกี่ยวกับวัดที่แตกต่างจากปัจจุบัน ฉันจำได้ว่าเมื่อครั้งยังเด็ก เราแทบจะก้มลงกราบที่เท้าพระ เมื่อท่านเดินผ่านด้วยความศรัทธาอย่างแท้จริง ซึ่งปัจจุบันเป็นไปได้ยาก ฉันเป็นชาวพุทธมาแต่อ้อนแต่ออก ด้วยหมู่บ้านที่มีวัดป่า พระเณรเพียงไม่กี่รูปหนึ่งในนั้นเป็นลูกพี่ลูกน้องฉันเอง เราจึงเที่ยวเล่นแวะเวียนมาที่วัดทุกครั้งที่มีโอกาส ฉันยังจำไม่ลืมที่พระหลวงพี่ จับเราพี่น้องนั่งเรียงแถวทำสมาธิ เทศน์สอนประวัติความเป็นมาของพุทธเจ้าให้ฟัง ความที่ท่านบวชตั้งแต่อายุยังน้อย ตอนนี้ท่านจึงกลายเป็นเจ้าอาวาสไปแล้ว
Hit & Run
< แสงธรรม > 20 มิถุนายน 2551ฉันได้รับการแจ้งข่าว ชาวบ้านในหมู่บ้านชายแดนไทย – พม่า ด้านที่ติดกับรัฐฉาน พบกลุ่มเด็กชายและหญิงจำนวน 5 คน วิ่งมาจากอีกฝั่งแล้วข้ามเข้ามาในเขตไทยดูเหมือนพวกเขาวิ่งหนีบางสิ่งบางอย่างชาวบ้านมาพบเด็กกลุ่มนี้เข้า พบว่าเป็นเด็กชาวว้า0 0 0
Music
  "ผมคงจัดเป็นพวกปีกซ้ายนั่นแหละ และพอเวลาผ่านไปผมก็รู้สึกแข็งแกร่งขึ้น ผมให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษย์มากกว่าอิฐบล็อกหรือกำแพงศักดิ์สิทธิ์ ผมเชื่อในการมีชีวิตอยู่ ผมคิดว่าแทนที่คำถามจะเป็น ‘พวกคุณเชื่อในพระเจ้าหรือเปล่า' มันควรจะเป็นว่า ‘พระเจ้าเชื่อในพวกเราหรือเปล่า' ต่างหาก ใครจะรู้ได้"- Aviv Geffen - Memento Mori"Officer, it's better to be a coward that is alivethan to be a dead heroYou fight with tanks and gunsI fight with pen and paperYou call me a draft dodgerMemento Mori..."- Memento Mori (2)จริงๆ แล้ว ไม่เพียง Aviv Geffen เท่านั้นที่เป็นที่รู้จักของชาวอิสราเอลโดยทั่วไป พ่อของเขาเอง Yehonatan Geffen (เป็นที่รู้จักในนาม Jonathan Geffen เสียมากกว่า) ก็มีชื่อเสียงอยู่เหมือนกันผู้คนรู้จักพ่อของ Aviv ในฐานะของ นักเขียน, กวี, นักหนังสือพิมพ์, นักแต่งเพลง และ ผู้แต่งบทละคร ซึ่งเขาได้แต่งเอาไว้ ทั้งเรื่องสำหรับเด็กและสำหรับผู้ใหญ่ประวัติของโจนาธานผู้เป็นพ่อก็มีอะไรเศร้าๆ ปนอยู่ หนึ่งในนั้นคือเรื่อ่งที่แม่ของ Jonathan (ย่าของ Aviv) เสียชีวิตเพราะกินยามากเกินขนาด ขณะที่เขามีตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่ทหาร ซึ่งเขาเชื่อว่าแม่เขาฆ่าตัวตาย หลังจากนั้นสองปี เขาก็เลิกเป็นทหารแล้วย้ายมาอยู่ที่เมือง Tel-Aviv เริ่มต้นเขียนบทกวี ก่อนที่ต่อมาโจนาธานจะหันมายึดอาชีพเป็นผู้สื่อข่าวให้กับหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ที่ชื่อ Maariv เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน เขามักจะโดนวิจารณ์ในเรื่องทัศนะซ้ายจัดของเขาอยู่เสมอ จนบางครั้งก็ถึงขั้นถูกข่มขู่เอาชีวิต ซึ่งนอกจากรุ่นพ่อเขาจะโดนแล้ว Aviv Geffen ผู้เป็นรุ่นลูกก็โดนอย่างเดียวกัน แต่พวกเขาทั้งสองต่างก็ไม่แคร์ในคำขู่ ยังคงยืนยันทำในสิ่งที่ตนเชื่อต่อไปAviv Geffen เคยพูดไว้ว่า "มีการขู่เอาชีวิตผมอยู่หลายครั้งมาก บางคนก็ขอให้เพลงของผมถูกแบนไปเสีย แต่ผมคิดว่าผมมีข้อความสำคัญมากๆ ที่จะส่งไปยังผู้คน"พ่อของ Aviv Geffen มีชีวิตอยู่ในยุคสมัยที่ความขัดแย้งเรื่องดินแดนทวีความรุนแรงและซับซ้อนขึ้น และคนรุ่นเดียวกันที่ดำรงชีวิตอยู่ร่วมยุคสมัย ต่างก็มีบาดแผลความทรงจำจากการประหัตประหารกัน เช่นเดียวกับที่รุ่นปู่ของเขาก็มีความทรงจำจากสงครามโลกก่อนหน้าที่จะมาร่วมกับโปรเจกท์วง Blackfield ตัว Aviv Geffen ได้เป็นปากกระบอกเสียงให้วัยรุ่นหนุ่มสาวระบายความคับข้องใจจากคนในยุคสมัยเดียวกันผ่านทางบทเพลง และบทเพลงหนึ่งในนั้นคือ Cloudy Now ซึ่งเพลงนี้ทำให้มีเสียงตอบรับจากวัยรุ่นอิสราเอลจำนวนมากหันกลับมาถามเขาว่า "คุณต้องการจะเปลี่ยนแปลงหรือเปล่า?"ผมรู้สึกเฉยๆ กับการประกาศจุดยืนที่จะอยู่กับฝ่ายซ้ายของเขา แต่กลับรู้สึกดีกว่าในแง่ของการที่เขาใช้ความป๊อบปูล่าให้เป็นประโยชน์ ใช้มันเป็นกระบอกเสียงให้กับอุดมการณ์ที่ตนมี เพราะผมเชื่อทั้งในแนวทาง "ศิลปะเพื่อศิลปะ" และ "ศิลปะเพื่อสังคม" ขณะที่ "ศิลปะเพื่อศิลปะ" ที่เน้นด้านรูปแบบและการแสดงออกทางความรู้สึก ไม่จำเป็นต้องเป็นที่นิยมก็ได้ จะสามารถตอบสนองคนจำนวนมากหรือน้อยเพียงใดก็ไม่มีปัญหา แต่โดนส่วนตัวคิดว่า "ศิลปะเพื่อสังคม" มันต้องมีรูปแบบที่เป็น Mass Appeal เพื่อที่จะสื่อสารกับคนในสังคมให้เข้าใจได้ และผมจะเกลียดมากถ้ามันเป็นศิลปะกึ่งขู่เข็ญแข็งกระด้างไร้ความเป็นมนุษย์พอมาถึงรุ่นลูก กระแสการเรียกร้องสันติภาพในหมู่หนุ่มสาว อาจจะทำให้ภาพเสมือนฝันร้ายแต่ครั้งก่อนพร่าเลือนไป แต่จะแน่ใจได้ล่ะหรือว่าฝันร้ายจบลงแล้วจริงๆ หรือเพียงแค่เปลี่ยนโฉมหน้า ให้คนในยุคปัจจุบันรับกับมันได้เพียงเท่านั้น เพราะไซออนนิสท์ ที่เต็มไปด้วยความเชื่อมั่นว่าตนถูก และแฝงฝังด้วยความคิดเชื้อชาตินิยมก็ยังคงมีอยู่ถ้ามองในอีกทาง จะไปโทษชาวอิสราเอลในรุ่นหลังๆ คงไม่ได้เหมือนกัน เพราะพวกเขาไม่ได้มีส่วนในประวัติศาสตร์ทำให้เกิดความวุ่นวายนี้ขึ้น แค่บังเอิญมีเชื้อชาตินี้มาตั้งแต่เกิดเท่านั้น นอกจากนี้ชาวอิสราเอลในระดับล่างยังเชื่อว่า บาดแผลของพวกเขาจากสงครามโลกครั้งที่สองมีมากพออยู่แล้ว แค่อยากมีแผ่นดินอยู่ไว้ทำมาหากินอย่างสงบสุขบ้าง และดูเหมือนแรงงานข้ามชาติที่อพยพเข้าไปอยู่ในสถานที่นั้นคงต้องการอย่างเดียวกันการที่ Geffen ไม่เห็นด้วยกับการที่ชาวอิสราเอลเข้ายึดครองปาเลสไตน์ ถึงควรถูกตั้งคำถามว่า จริงๆ แล้วชาวอิสราเอล รวมถึงแรงงานอพยพหลายคน ไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่าหรือเปล่าCloudy Now"In a violent place we call our countryIs a mixed up man and I guess that's meThe sun's in the sky but the storm never seems to end"-Cloudy Now -ในภาพยนตร์ฮอลลิวูดหลายเรื่อง มักจะพูดถึงชาวยิวที่ถูกกระทำจากสงครามโลกครั้งที่สอง และประเด็นที่ยกมาเล่นกันมากที่สุดคงหนีไม่พ้นการล่าล้างเผ่าพันธุ์จากเผด็จการเชื้อชาตินิยมนาซี ถ้าพูดในเชิงมนุษย์ธรรม มันเป็นเรื่องที่ชวนให้รู้สึกเห็นอกเห็นใจพวกเขาอยู่ไม่น้อย แต่ต้องไม่ลืมว่าการผลิตซ้ำความรู้สึกเห็นอกเห็นใจแบบนี้ออกมา มันจะกลายเป็นการให้ความชอบธรรมไซออนนิสท์ที่หลายคนก็มีแนวคิดแบบเชื้อชาตินิยมเช่นเดียวกันหรือไม่ และคงไม่ต้องนับว่าประวัติศาสตร์ที่ถูกเขียนโดยผู้ชนะสงครามนี้ ต้องอาศัยการตรึกตรองกันเสียหน่อยว่ามันจะไม่กลายเป็นโฆษณาชวนเชื้อของประเทศมหาอำนาจประเทศใดไปเสียและหากใครศึกษาประวัติศาสตร์มาบ้างคงพอจะทราบว่า แต่เดิมชาวยิวไม่ได้อยู่ในแผ่นดินผืนนี้อย่างหนาแน่น จะมีอยู่ก็เพียงเป็นชุมชนเล็กๆ ที่กระจัดกระจาย จนกระทั่งชาวยิวได้ถูกรวมเข้ามาในดินแดนครั้งหนึ่งเมื่อสมัยตุรกีเข้ามามีอำนาจก่อนที่ต่อมาประเทศในยุโรป (รวมที่ไม่ใช่ยุโรปอย่างรัสเซียไปอีกหนึ่งประเทศ) ได้พยายามเข้ามามีอำนาจในปาเลสไตน์ เพราะในสมัยก่อนบางประเทศในยุโรปต้องการดินแดนนี้เป็นเส้นทางลำเลียงสินค้าไปสู่ทวีปเอเชีย แต่พวกเขาก็ทำอะไรไม่ได้มาก ทำให้ประเทศเหล่านี้ (โดยเฉพาะอังกฤษ) หันมาผลักดันสนับสนุนการถือสิทธิครองดินแดนของชาวยิวในอิสราเอลแทน กลุ่มขบวนการไซออนนิสท์เอง ก็เกิดจากการหนุนหลังของประเทศอังกฤษด้วยเช่นกันแต่ผมก็ไม่อยากให้มองว่าใครเป็นฝ่ายดี ใครเป็นฝ่ายร้าย เพราะเกมการแย่งชิงที่ชนชั้นนำใช้พวกเราเป็นตัวเบี้ยตัวหมากมาต่อสู้กันเอง ได้ทำให้เราต้องมาละเลงเลือดและน้ำตา มากมายเกินอสงไขย ผ่านยุคสมัยมาถึงปัจจุบัน มันก็ได้กลั่นตัวขึ้นไปเป็นเมฆทึบหนา มันบดบังสายตาจนมองเห็นได้ยากว่าอะไรดี? อะไรร้าย? อะไรที่ควรปกป้อง? อะไรที่ควรทำลาย? อะไรคือฉัน? อะไรคือเธอ? อะไรคือพวกเรา? อะไรคือพวกมัน? อะไรคือความสงบสุข? อะไร...อะไรกันที่มันเดือดพล่านอยู่ในใจเรา!?ผมจึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไมหนุ่มสาวร่วมสมัยเดียวกัน ถึงนึกอะไรไม่ออก นอกจากการเฝ้าฝันถึงสันติภาพลมๆ แล้งๆ เพราะว่า เมฆหมอกทึบๆ มันทำให้อะไรๆ มืดดำเกินกว่าจะมองได้ชัดแจ้งว่าพวกเขาควรจะไปทางทิศไหน ตัวผมเองก็อยากให้ทุกคนตื่นขึ้นมา ลุกขึ้นมา มาช่วยกันมองหาทางภายใต้ท้องฟ้ามืดครื้มนี้แต่ถ้าหากคุณบอกว่านักสันติภาพทั้งหลายกำลังเพ้อฝันแล้วล่ะก็ ผมก็อยากจะบอกว่า พวกเราล้วนเพ้อฝันพอๆ กันหมดไม่ว่าจะเป็นผู้ที่กระทำการโดยไม่นึกถึงว่าใครเป็นศัตรูใครเป็นผู้บริสุทธิ์ ใช้ความเจ็บปวดของผู้คนเป็นเครื่องมือสร้างความชอบธรรมในการตอบโต้อีกฝ่าย รวมถึงคนที่คลั่งชาติแล้วเกลียดชังแบบเหมารวมอย่างไม่ลืมหูลืมตา ไม่เลือกที่จะแยกแยะ และคิดว่าว่าหากพวกนี้ถูกกำจัดไปให้หมด (โดยรัฐที่ไม่ค่อยน่าไว้วางใจ) ไปแล้วความสงบสุขจะบังเกิดได้มันจะเป็นอย่างนั้นจริงๆ น่ะหรือ จะบอกไว้ตรงนี้ก็ได้ว่า...พวกคุณก็เพ้อฝันสิ้นดี!