Skip to main content
 

"Love films are broadcast late
But violence is allowed at any hour
While on a kibbutz a girl was raped
In the disco they set their spirits free"

- Violence -

เป็นเรื่องธรรมดาที่น้อยคนในบ้านเราจะรู้จักศิลปินหนุ่มจากอิสราเอลที่ชื่อ Aviv Geffen เพราะผมเองกว่าจะรู้จักเขาก็ต้องโยงอะไรหลายทอดอยู่เหมือนกัน

มันเริ่มจากการที่ผมชื่นชอบวงโปรเกรสซีฟร็อค ที่ชื่อ Porcupine Tree แล้วนักร้องนำและผู้กุมบังเหียนของวงนี้คือ Steve Wilson ในขณะที่ยังคงอยู่กับวงเดิม ก็ได้ออกไปมีโปรเจกท์ย่อยคือวง Blackfield ด้วย ซึ่งวงโปรเจกท์ของเขานี้ ก็ตั้งใจว่าจะเป็นวงป็อบร็อค ที่ทำร่วมกับนักดนตรีรุ่นน้องชาวอิสราเอลคนหนึ่ง และนักดนตรีรุ่นน้องที่ว่านี้ก็คือ Aviv Geffen นั่นเอง

ก่อนที่จะมาร่วมทำวง Blackfield นาย Geffen คนนี้ได้เคยมีผลงานอยู่ในบ้านเกิดตัวเองอยู่แล้ว แต่ที่น่าสนใจกว่านั้นคือ ขณะที่เราไม่ค่อยรู้จักเขากันเท่าไหร่ แต่สำหรับที่อิสราเอลแล้วเขาถือเป็นไอดอลร็อคสตาร์ประจำใจคนทั่วประเทศเลยทีเดียว

วง Blackfield : Aviv Geffen (ซ้าย) , Steve Wilson (ขวา)

ในทางดนตรีนั้น Aviv Geffen เป็นนักดนตรีป็อบร็อค ที่มีรูปลักษณ์แบบ Anti-Macho คือ ไม่เสริมคุณสมบัติตัวเองด้วยการอวดเบ่งความเป็นชาย จนบางครั้งอาจไพล่ให้นึกไปถึง David Bowie หรือ Lou Reed สไตล์เพลงของเขาได้รับอิทธิพลจาก U2 , Nirvana , Bob Dylan และนอกจากนั้นแล้วเจ้าตัวยังบอกเองว่าได้รับอิทธิพลอย่างมากจาก Roger Waters นักดนตรี/นักแต่งเพลงผู้มองโลกในแง่ร้ายและเคยเป็นมันสมองในยุคหนึ่งของ Pink Floyd

คงไม่เพียงดนตรีเท่านั้นหรอกที่เขาได้จาก Roger Waters มา แม้แต่การแต่งเนื้อเพลงรวมถึงแนวคิดซ้าย ๆ บางอย่างก็คงได้มาจาก Waters ด้วย (แต่ไม่น่าจะโหดเท่า Waters) เพราะ Aviv Geffen ไม่เพียงแต่เป็นขวัญใจคนหนุ่มสาวเท่านั้น เขายังเป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมืองฝ่ายซ้ายคนสำคัญคนหนึ่งอีกต่างหาก

Geffen ก็เช่นเดียวกับศิลปินผู้ติดความเป็นนักเคลื่อนไหวคนอื่น ๆ เขาคิดจะใช้เพลงของตัวเองเป็นเครื่องมือเปลี่ยนแปลงสังคม เพลงที่เขาเขียนนั้นเต็มไปด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับความรัก สันติภาพ ภาพสะท้อนของยุคสมัย ความเลวร้ายของการสู้รบ และ ...ความตาย

ในฐานะที่อยู่ใกล้ชิดกับเหตุการณ์ เขาต้องกลายเป็นส่วนหนึ่งการต่อสู้เรียกร้องสันติภาพในเหตุความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์อย่างแน่แท้ ในตอนนั้นกลุ่มของอิสราเอลแบ่งเป้นสองค่ายอย่างชัดเจนคือกลุ่มฝ่ายขวาอย่าง ค่ายชาตินิยม (National Camp) กับกลุ่มอิสราเอลซ้ายอย่างค่ายสันตินิยม (Peace Camp) และ Aviv Geffen ก็ได้เลือกที่จะอยู่ข้างเดียวกับกลุ่มสันตินิยม

ในช่วงที่มีการรณรงค์เพื่อสันติภาพอย่างแรงกล้านั้น เขาก็ได้อยู่ในเหตุการณ์สำคัญเหตุการณ์หนึ่งในปี 1995 คือเหตุการณ์สังหารอดีตนายกรัฐมนตรีนาย ยิทซ์ซัค ราบิน (Yitzhak Rabin) ขณะปราศัย ณ จัตุรัสกลางเมือง Tel Aviv

ในตอนนั้น Rabin เป็นนายกรัฐมนตรีของอิสราเอลที่มาจากการเลือกตั้ง และช่วงที่เขาเป็นรัฐมนตรีก็มีบทบาทสำคัญในการผลักดันนโยบายสันติภาพ เหตุการณ์ที่มีส่วนสำคัญมากที่สุดคือการทำสนธิสัญญาออสโล (Oslo Accord) ร่วมกับผู้นำปาเลสไตน์ ซึ่งสนธิสัญญานี้เป็นการมอบอำนาจการปกครองบางส่วนของดินแดนในฉนวนกาซ่าและเขตเวสต์แบงก์ ให้กับปาเลสไตน์ แลกกับการหยุดสร้างความรุนแรง

ฟังดูเหมือนเป็นเรื่องดี แต่สนธิสัญญานี้ก็ได้ทำให้ชาวอิสราเอลแบ่งออกเป็นสองพวกอย่างชัดเจน ทั้งพวกที่เห็นด้วยและชื่นชม พวกนี้จะมองว่าเป็นสนธิสัญญาที่ช่วยหลักดันให้เกิดสันติภาพ ขณะที่ชาวอิสราเอลอีกส่วนหนึ่งกลับมองว่า Rabin เป็นคนทรยศที่มอบดินแดนที่ควรจะเป็นของอิสราเอลให้คนอื่นไป นอกจากนี้ยังได้ออกมาบอกว่าสนธิสัญญาออสโล ไม่ได้ทำให้การก่อการร้ายลดลงเลย มีแต่จะยิ่งทำให้เพิ่มขึ้น แล้วก็ยังมีชาวยิวผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์เหล่านี้

นอกจากนี้แม้ผู้นำองค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์ (ซึ่งองค์กรในตอนนั้นอ่อนกำลังลงมาก) จะยอมรับในข้อตกลงยับยั้งการต่อสู้ด้วยอาวุธและหันมาแก้ปัญหาด้วยสันติวิธี แต่เนื้อหาส่วนหนึ่งของข้อตกลงได้สนับสนุนสิทธิในการครองดินแดนของไซออนนิสท์ (กลุ่มสนับสนุนแนวคิดว่าดินแดนนี้เป็นของยิว) และเป็นการทำข้อตกลงโดยผู้นำที่ไม่ได้ถามชาวปาเลสไตน์ ทำให้กลุ่มชาวปาเลสไตน์ทั้งฝ่ายชาตินิยมและฝ่ายซ้ายไม่พอใจเช่นกัน

ความไม่พอใจส่งผลบานปลายมาจนถึงในวันที่ 4 พฤศจิกายน 1995 ชาวยิวขวาจัดคนหนึ่งซึ่งไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรงกับสนธิสัญญานี้ ได้วางแผนที่จะสังหารนาย Rabin ขณะที่เขากำลังออกเดินสายสร้างการสนับสนุนสนธิสัญญาออสโลจากประชาชน (ทั้งๆ ที่มันได้ตกลงกันไปเรียบร้อยแล้ว) ซึ่งมือสังหารคนนี้คิดว่า มันจะทำให้ประเทศของเขารอดพ้นจากวิกฤตได้

ในวันเดียวกันนั้นเอง Aviv Geffen ในฐานะนักดนตรีผู้สนับสนุนสันติภาพก็ได้ขึ้นเวทีต่อหน้าผู้คนกว่า 3 แสนคน ที่โห่ร้องปรบมือแสดงความยินดี เขาได้ร้องเพลงบัลลาดที่ชื่อ "Livkot Lecha" ซึ่งเป็นชื่อเพลงภาษาฮิบรู แปลเป็นภาษาอังกฤษคือ "Cry for You" (ฉันร้องไห้เพื่อคุณ) โดยเนื้อหาของเพลงเป็นเหมือนเพลงที่จะร้องให้กับผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว

"Lanetzach achi
ezkor otcha tamid
Venipagesh basof ata yode'a.
veyesh li chaverim
aval gam hem kavim
El mul orcha hameshage'a."

- Livkot Lecha -

"Forever my friend
I'll see you in the end
And we will always be the best of brothers
The friends I have are fine
But in the light you shine
I only see the shadow of the others"

- คำแปลจากเนื้อเพลง Livkot Lecha (Cry for You)

แต่เหมือนชะตาเล่นตลก หลังจากที่จบการแสดงของเพลงนี้แล้ว Geffen ได้เข้าสวมกอดอำลานายกรัฐมนตรี บอกลากันด้วยคำว่า Shalom (ในภาษาฮิบรู คำนี้หมายความได้ทั้ง สวัสดี' ‘ลาก่อน' หรือ สันติ') แล้วหลังจากนั้นอีกไม่นานนัก ขณะที่ Rabin กำลังจะเดินไปขึ้นรถ เขาก็ได้ถูกมือสังหารเข้ามาเหนี่ยวไกใส่สามนัด พิษจากบาดแผลที่ถูกยิงทำให้ Rabin เสียชีวิตในเวลาต่อมา

"ฉันได้กลิ่นของปืนพก" คือปากคำส่วนหนึ่งของ Geffen ตอนที่ให้สัมภาษณ์ลงนิตยสารเกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้นวันนั้น

เป็นที่น่าตั้งคำถามว่า นอกจากกลิ่นของปืนพกแล้ว เขาได้กลิ่นของความไม่พอใจกับข้อตกลงนี้ด้วยหรือไม่ หลายต่อหลายครั้งที่คนเราลุกขึ้นมาสนับสนุนโดยที่ยังไม่เข้าใจความซับซ้อนของมันมากพอ เพียงแต่สนับสนุนเพราะมัน "เข้าทาง" สิ่งที่เราคิดฝันไว้เท่านั้นเอง 

หลังจากเหตุการณ์ ได้มีคนค้นพบกระดาษชีทเพลงเปิ้อนเลือดในกระเป๋า เนื้อเพลงในชีทเปื้อนเลือดนั้นคือเพลง Shar Lashalom (Song for Peace-บทเพลงเพื่อสันติภาพ) ซึ่งเป็นเพลงยอดนิยม และเป็นเหมือนเพลงประจำของกลุ่มซ้ายสันติในอิสราเอล โดย Rabin ได้ขึ้นร้องเพลงนี้ร่วมกับ Miri Aloni บนเวที ก่อนที่จะถูกสังหาร

มันฟังดูตลกร้ายตรงที่มีคนคิดว่าเพลง "Cry for You" ที่ Geffen ร้องในวันนั้นกลายเป็นเหมือนลางบอกเหตุสำหรับเหตุการณ์สังหารนาย Rabin อยู่กลาย ๆ แล้วเหตุการณ์นี้ยังทำให้ในเวลาต่อมาเพลง "Cry for You" กลายเป็นเพลงแห่งยุคสมัยสำหรับนักโปรโมทสันติภาพในอิสราเอลเลยทีเดียว

เหตุการณ์ในครั้งนั้นอาจจะเป็นเรื่องน่าตกใจสำหรับหลายๆ คน แต่ก็น่าเห็นใจมือสังหารผู้นั้นอยู่เหมือนกัน เพราะแทนที่เขาจะได้ในสิ่งที่หวัง แต่กลับกลายเป็นทำให้ชื่อของ Rabin ถูกนำไปใช้ในการต่อสู้เชิงสัญลักษณ์ของฝ่ายซ้ายไปเสีย (ยังไม่นับว่ามีคนโยงเรื่องนี้กับทฤษฎีสมคบคิด ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่ามาจากทั้งฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวา)

ผมเองก็ไม่อาจทราบได้ว่าศิลปินผู้เลือกข้างอย่างชัดเจนเช่น Aviv Geffen จะเข้าใจความซับซ้อนของเหตุการณ์นี้ขนาดไหน แต่สิ่งที่พอจะรู้คือมันได้ทำให้ความคิดและจิตใจของเขาเปลี่ยนไป จากเดิมที่เขาเคยมีด้านที่จัดจ้าน เคยเขียนเพลงประท้วงแบบถอนรากถอนโคน (Radical) ก็เริ่มสุขุมเยือกเย็นและอ่อนโยนขึ้น เพลงของเขามีเนื้อหาการเมืองน้อยหรือเบาลง ขณะเดียวกันก็มีความลึกซึ้งกว่าเดิม

เขาได้บอกกับนิตยสารที่ให้สัมภาษณ์ว่า "ในอิสราเอลมันมีความกดดันมากพออยู่แล้ว มันไร้ประโยชน์ที่จะโยนน้ำมันลงไปในกองไฟ"

ความรู้สึกสะเทือนใจ เป็นสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ แต่ขณะเดียวกันมันก็ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือได้ ไม่ว่าจะโดยฝ่ายใดก็ตาม แต่ผมลองคิดในด้านดีของมันว่า หากความสะเทือนใจในระดับปัจเจก มันได้รับการกลั่นกรองผิดถูกในสำนึกของแต่ละคน มันอาจจะทำให้คนๆ นั้นเติบโต และเรียนรู้จากสิ่งที่ผิดพลาด หรือไม่งั้นก็เป็นสิ่งที่ช่วยกระแทกปลุกให้ตื่นจากความฝันได้

แล้ว Geffen เอง จะเติบโตจากสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ได้ขนาดไหนกัน

...ไว้คราวหน้า จะมาพูดถึงชีวิตและดนตรีของ Aviv Geffen รวมถึง Peace Camp ที่เขาสังกัดอยู่ด้วย

พอเขียนมาถึงตรงนี้ อารมณ์ของผมมันก็ไม่ค่อย Love and Peace เท่าไหร่แล้ว

 

 

บล็อกของ Music

Music
ภฤศ ปฐมทัศน์ ผมได้ยินข่าวเรื่อง "จังหวะแผ่นดิน World Musiq & World Bar B Q" วันเดียวก่อนวันงานนั่นเอง ได้ยินคุณทอดด์ ทองดี พูดผ่านวิทยุว่าจะมีศิลปินจากหลายประเทศทั่วโลกมาเข้าร่วม และมีการแสดงร่วมกันของเพื่อแสดงให้เห็นว่าดนตรีมันไร้พรมแดน ผมเองเข้าใจความรู้สึกของคนที่พูดอะไรที่เป็นอุดมคติครับ และรู้สึกที่สิ่งที่คุณทอดด์แกพูดแกไม่ได้ตอแหล (แบบพวกอ้างศีลธรรม) ผมรู้สึกได้จากน้ำเสียงและการไหว้วอนขอให้ภาครัฐและกระทรวงวัฒนธรรมหันมาสนใจ ทำให้รู้สึกว่าแกมีความตั้งใจตรงนี้จริง ๆ แต่ว่าอุดมคติที่สวยงามบางทีมันเป็นแค่สิ่งที่ฉาบเคลือบอะไรที่ยังแหว่งโหว่อยู่ภายใน…
Music
    ขึ้นหัวไว้ไม่ได้หมายความว่าตัวผมเองกำลังหลบหน้าหลบตาไปอยู่ที่อยุธยาแต่อย่างใด ช่วงที่หายไปเพราะจำต้องไปปฏิบัติภารกิจทั้งส่วนตัวและไม่ส่วนตัว พอได้จังหวะแล้วจึงเข้ามาเขียนงานที่ห่างหายไปนานอีกครั้ง หลายคนคงนึกได้แล้วว่าหมายถึงผลงานใหม่ของมาโนช พุฒตาล ซึ่งผมได้ซีดีผลงานล่าสุดของเขา ทั้งสองชิ้นมาพร้อมกันมาได้สักระยะหนึ่งแล้ว แต่เพิ่งมีโอกาสได้ฟังเมื่อไม่นานมานี้เอง สิ่งที่ผมหวังจากชื่อมาโนช พุฒตาลคือตัวงานดนตรีหลังจากที่เขาห่างหายจากการออกอัลบั้มเพลงไปพักนึง ("ชีวิตที่เจ็บปวดของคนป่วย" เหมือนออกมาให้หวังอะไรบางอย่างเล่น ๆ แล้วก็หายไป)…
Music
ช่วงที่ผ่านมาผมขอลาพักจากการเขียนคอลัมน์ไปชั่วคราว ไม่ได้ลากิจ และยังไม่ได้ลาออกจากการเขียนคอลัมน์แน่นอน เพียงแต่หลบจากความเหนื่อยล้าจากหลายสิ่งหลายอย่างเพื่อไปเติมพลังให้ตัวเองเท่านั้นในช่วงที่พักจากการเขียนคอลัมน์ไป ก็คิดว่าจะลองหลบมุมสงบ ๆ อยู่ ปิดหูปิดตาตัวเองจากสิ่งรอบข้างดูสักพัก … แต่แล้วก็ไม่สำเร็จ ในช่วงปลายเดือนที่ผ่านมามีข่าวบางอย่างที่ทำให้ผมต้องรู้สึกถึงความย่ำแย่ น่าเบื่อหน่ายไม่รู้จบของประเทศที่ผมอยู่อีกครั้งจริง ๆ แล้วมันเป็นเรื่องของผู้ชายคนหนึ่ง (ซึ่งสื่อบางแห่งดูจะพยายามแปลงให้เขากลายเป็นเพศอื่นอยู่เสมอ…ซึ่งผมว่าเขาคงไม่เดือดร้อนอะไร) เขาไม่ได้เป็นคนดีอะไรนักหนา…
Music
  นิยายวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องเล่าอิงจินตนาการพร้อมกับความเป็นไปได้ทางวิทยาศาสตร์ นักทฤษฎีแบ่งนิยายวิทยาศาสตร์ออกไว้เป็นสามยุคใหญ่ ๆ คือ ‘ยุคคลาสสิก' ที่มักพูดถึงอนาคตภายใต้อวกาศกว้างใหญ่ไพศาล มองอนาคตอย่างก้าวหน้าและอิงข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ จนกระทั่งความเจ็บปวดหลังยุคอุตสาหกรรมที่ยังมีการกดขี่กันของมนุษย์ทำให้ ‘ยุคที่สอง' ของนิยายวิทยาศาสตร์เริ่มมีท่าทีวิพากษ์สังคมเข้ามาปะปน บางเรื่องก็มีประเด็นทางสังคม อย่างการเหยียดเพศ เหยียดเชื้อชาติ บ้างก็มีจินตนาการของรัฐบาลเผด็จการเบ็ดเสร็จที่อาศัยเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ มาจนถึง ‘คลื่นลูกที่สาม' ก็มองโลกในแง่ร้ายอย่างสุดกู่ จินตนาการก้าวหน้า ล้ำสมัย…
Music
 "The disgraced values of the company manAre why you fight and sacrificeDon't bend or break for their one-way rulesOr run from battles you know you'll lose""คุณค่าของคนทำงานที่ถูกลดทอนคือเหตุผลที่คุณเสียสละ ต่อสู้ และวิงวอนคุณไม่อาจฝ่าฝืนกฏเหล็กของพวกเขาได้หรือแม้จะทั่งจะหนีจากการดิ้นรนที่คุณรู้ว่าจะแพ้โดยไม่อาจทำอะไร"- Tomorrow's IndustryDropkick Murphys เป็นวงพังค์ร็อคที่มาจากการรวมตัวของชาวไอริชที่อพยพมาอาศัยในเมืองบอสตัน ประเทศสหรัฐฯ มีผลงานที่พอให้คนต่างแดนได้รู้จักบ้างคือเพลงประกอบภาพยนตร์ The Departed ที่ชื่อ "I'm Shipping Up to Boston"…
Music
การยึดติดในสถาบันหรือรางวัลว่าเป็นตัววัดความเก่งกาจของศิลปินดูเป็นเรื่องหน้าขำอย่างหนึ่งในโลกที่กำลังเผชิญหน้ากับความหลากหลาย คิด ๆ ดูว่าแนวดนตรีในโลกนี้ถ้านับรวม Sub-Genre ทั้งหลายเข้าไปด้วยแล้วก็มีมากจนนับแทบไม่ไหว แต่รางวัลจากสถาบันทั้งหลายมันแบ่งง่าย ๆ แค่ ป็อบ ร็อค อาร์แอนด์บี ซึ่งไม่อาจตอบรับกับความหลากหลายได้ และพาลจะทำให้เป็นการขีดเส้นขั้น ผูกขาดรูปแบบบางอย่างไว้ก็ได้ว่า "เสียงดี" ต้องเป็นเสียงแบบนี้ การเรียบเรียงที่ดีต้องเป็นแบบนี้ ๆ ฯลฯ ผมถึงคิดว่า เราควรจะไม่ไปยึดติดอะไรมากกับรางวัลที่มาจากการตัดสินของคนไม่กี่คนบนหิ้งเรื่องศิลปะที่มาจากการผูกขาดรสนิยมมันชวนให้รู้สึกย่ำแย่ฉันใด…
Music
อะไรๆ ในโลกนี้มันน่าสนใจไปหมดแหละครับ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่มีแต่ผู้คนหันไปมอง หันไปพูดถึง เก็บมาเล่ากันทั่วบ้านทั่วเมือง ช่วยผลิตซ้ำ และแม้กระทั่งสร้างคู่ตรงข้ามให้กับคนที่ไม่รู้ และ/หรือ ไม่อยากรู้ ขณะเดียวกันสิ่งที่ผมคิดว่ามันน่าสนใจมาก ๆ โคตร ๆ อีกอย่างหนึ่งก็คือสิ่งที่อยู่ในซอกหลืบไม่ค่อยมีคนสนใจ มันดูเหมือนการได้ค้นพบอะไรบางอย่างที่อาจจะทำให้เราอัศจรรย์ใจหรือทำให้ผิดหวังก็ได้ เพียงแต่ในทุกวันนี้ไอ้สิ่งที่อยู่ในซอกหลืบจริงๆ มันหายากขึ้นทุกที ในวงการเพลงอินดี้อะไรทั้งหลายก็มีชื่อวงทั้งต่างประเทศและในประเทศผุดผาดขึ้นมาให้จำกันไม่ทัน และพอลองเจียดเวลา (อันน้อยนิด) จากการทำมาหากินมาลองฟัง…
Music
รูป Ad จาก http://www.electthedead.co.uk/วง System of a Down เป็นวงดนตรีอเมริกันที่สมาชิกทั้ง 4 คนล้วนเป็นชาวอาร์เมเนียน ดนตรีของพวกเขา บางคนก็เรียกว่าเป็นอัลเตอร์เนทีฟ บ้างก็ว่าเป็นนูเมทัล บ้างก็พยายามจำกัดความง่ายๆ ว่าเป็นฮาร์ดร็อค แต่ถ้าให้เรียกแบบกินความหมายครอบคลุมที่สุดล่ะก็ คงต้องบอกว่าพวกเขาเป็นวงร็อคที่แพรวพราว สอดผสานดนตรีในพรมแดนอื่นๆ เข้ากับซาวน์พื้นฐานแบบยุค 90's และขณะเดียวกันก็มีพลังขับเคลื่อนแบบพังค์นอกจากจะเป็นที่รู้จักกันในฐานะของวงร็อคหลากกลิ่นแล้ว แฟนเพลงหลายคนยังชอบเนื้อหาวิจารณ์สังคมและการเมืองของพวกเขาที่เข้าใจทำให้ถูกจริตคนบางกลุ่มได้ บวกกับดนตรีหนักๆ จากหลายๆ เพลงแล้ว…
Music
  ช่วงที่ผ่านมามีข่าวคราวเกี่ยวกับคอนเสิร์ตแนวอนุรักษ์ธรรมชาติอะไรพวกนี้ออกมาหลากหลายมากมายอยู่เหมือนกัน โดยเฉพาะคอนเสิร์ตต้านโลกร้อนที่เข้าใจเกาะกระแสเรื่องที่คนทั่วโลกสนใจ (แต่ไม่รู้ว่าเข้าใจลึกไปในระดับไหน) มาสร้างเวทีคอนเสิร์ตให้สนุกสุดเหวี่ยง เวลามีคนมาถามความเห็นผมเรื่องนี้ ผมมักจะหัวเราะ หะ ๆ แล้วตอบว่ารู้สึกเฉย ๆ ถ้ามันจะดีมันก็ดีในแง่ที่มีคอนเสิร์ตมาให้สนุกกัน ส่วนศิลปินก็ได้หน้าได้ตากันไป เพราะโดยส่วนตัวผมไม่คิดว่าศิลปินจะรู้ลึกรู้จริงรู้จังอะไรกันเรื่องนี้มากมาย ไม่ต้องกระไรมาก ผมจะยกตัวอย่างจากประสบการณ์ตรงเรื่องหนึ่ง คือเมื่อหลายปีก่อน…
Music
  "ผมคงจัดเป็นพวกปีกซ้ายนั่นแหละ และพอเวลาผ่านไปผมก็รู้สึกแข็งแกร่งขึ้น ผมให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษย์มากกว่าอิฐบล็อกหรือกำแพงศักดิ์สิทธิ์ ผมเชื่อในการมีชีวิตอยู่ ผมคิดว่าแทนที่คำถามจะเป็น ‘พวกคุณเชื่อในพระเจ้าหรือเปล่า' มันควรจะเป็นว่า ‘พระเจ้าเชื่อในพวกเราหรือเปล่า' ต่างหาก ใครจะรู้ได้"- Aviv Geffen - Memento Mori"Officer, it's better to be a coward that is alivethan to be a dead heroYou fight with tanks and gunsI fight with pen and paperYou call me a draft dodgerMemento Mori..."- Memento Mori (2)จริงๆ แล้ว ไม่เพียง Aviv Geffen เท่านั้นที่เป็นที่รู้จักของชาวอิสราเอลโดยทั่วไป…
Music
  "1,000 people yellShouting my nameBut I wanna die in this momentI wanna die"- 1,000 People -Aviv Geffen เกิดและเติบโตในช่วงสงครามเลบานอนครั้งแรก ที่กองทัพอิสราเอลคิดจะเข้ายึดครองเลบานอนเพื่อยุติสงครามกลางเมือง แต่ความขัดแย้งนี้ดูจะห่างไกลจากตัวเขารวมถึงหนุ่มสาวคนอื่น ๆ ซึ่งต่างก็ดำเนินชีวิตคู่ขนานกับความขัดแย้งนี้จนแม้ปัจจุบันก็ยังไม่จบไม่สิ้น ข้อตกลงหยุดยิงไม่อาจทำให้ความตึงเครียดลดลงได้ ระเบิดนิรนามยังคงถูกยิงมาจากที่ไหนสักแห่งภาพที่ดูขัดแย้งกันอย่างชัดเจนในตัว Geffen คือ ขณะที่เขาแต่งเพลงและเผยความคิดเห็นในแบบอิสราเอลฝ่ายซ้าย แต่ขณะเดียวกันก็เป็นผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพทางดนตรี…
Music
  "Love films are broadcast lateBut violence is allowed at any hourWhile on a kibbutz a girl was rapedIn the disco they set their spirits free"- Violence -เป็นเรื่องธรรมดาที่น้อยคนในบ้านเราจะรู้จักศิลปินหนุ่มจากอิสราเอลที่ชื่อ Aviv Geffen เพราะผมเองกว่าจะรู้จักเขาก็ต้องโยงอะไรหลายทอดอยู่เหมือนกันมันเริ่มจากการที่ผมชื่นชอบวงโปรเกรสซีฟร็อค ที่ชื่อ Porcupine Tree แล้วนักร้องนำและผู้กุมบังเหียนของวงนี้คือ Steve Wilson ในขณะที่ยังคงอยู่กับวงเดิม ก็ได้ออกไปมีโปรเจกท์ย่อยคือวง Blackfield ด้วย ซึ่งวงโปรเจกท์ของเขานี้ ก็ตั้งใจว่าจะเป็นวงป็อบร็อค ที่ทำร่วมกับนักดนตรีรุ่นน้องชาวอิสราเอลคนหนึ่ง…