Skip to main content
สุมาตร ภูลายยาว
สำเนียงภาษาอีสานจากหนังเรื่อง ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ฉุดให้ผมคิดถึงเรื่องราวเกี่ยวกับหนังขึ้นมาอีกครั้ง ผมตั้งใจเอาไว้หลายครั้งแล้วว่า อยากจะเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับผู้คน ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ซ่อนอยู่ในเนื้อในหนังอันเป็นเรื่องราวที่ผู้กำกับหนังคนนั้นๆ ต้องการอยากให้เราเห็น ฉากทุกฉากที่ปรากฏอยู่ในหนังแทบทุกเรื่อง ล้วนไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่มันคือความจงใจที่ผู้กำกับต้องการอยากให้เราเห็นในสิ่งที่เขาเห็น เขาจึงได้ใส่มันเข้าไปในหนัง หลังจากดู ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ จบ ผมก็มานั่งนึกว่าตัวเองได้ดูหนังอะไรบ้างที่พูดถึงแม่น้ำโขง หรือมีชาวโขงเข้าไปโลดเล่นอยู่บนจอสีขาวในโรงหนัง หากเป็นหนังที่พูดถึงเรื่องราวแม่น้ำโขงโดยตรงนั้น เรื่องแรกคงหนีไม่พ้น ‘ทองปาน’ หนังกึ่งสารคดีที่ถูกจัดสร้างขึ้นมาเมื่อ ๓๐ กว่าปีก่อน
kanis
ชาวบ้านรอบโรงไฟฟ้า IRPC ระยอง เรียกร้องการปฏิรูป EIA ใหม่   เมื่อวันนี้ 2  กรกฎาคม  2551 เวลา 18.00 น. ณ. ศาลาฟุ้งขจร  หมู่ที่ 1   ตำบลตะพง  อำเภอเมืองระยอง  จังหวัดระยอง  นายสุทธิ  อัชฌาศัย  ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก  ได้จัดการประชุมหารือ ระหว่าง ตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยนายกองค์การบริหารส่วยตำบลตะพง และตัวแทนหน่วยราชการปลัดอำเภอเมืองระยอง กับชาวบ้านโดยรอบเขตประกอบการนิคมไออาร์พีซี  ประกอบด้วย ประชาชนในตำบลบ้านแลง  ตำบลนาตาขวัญ ตำบลเชิงเนิน ตำบลตะพง และ เขตเทศบาลนครระยอง จำนวน 300 คน เรื่องโครงการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานก๊าซ กำลังผลิต 220 เมกกะวัตต์  ที่ไออาร์พีซีกำลังมีการจ้างให้บริษัทที่ปรึกษาลงพื้นที่ทำประชาพิจารณ์ กับประชาชนในพื้นที่  และไออาร์พีซีเองก็ระดมจัดพาแกนนำชาวบ้านไปทัวร์โรงไฟฟ้าที่สระบุรี  ซึ่งการทำประชาพิจารณ์ และการพาคนไปทัวร์โรงไฟฟ้าได้ก่อให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัย  และความสับสนในการให้ข้อมูลที่เป็นจริง   ทั้งนี้นายสุทธิจึงได้นัดหมายชาวบ้าน และทางตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตัวแทนหน่วยราชการในอำเภอเมืองระยอง มาร่วมหารือหากลไกในการจะเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการจัดทำ EIA ใหม่  และทำความเข้าใจที่ถูกต้องต่อกระบวนการจัดทำประชาพิจารณ์  ประชาชนโดยรอบพื้นที่ตั้งโครงการโรงไฟฟ้าของบริษัทไออาร์พีซี  ไม่ได้ติดใจในโครงการโรงไฟฟ้าก๊าซ  แต่ติดใจ สงสัย และเคลือบแคลงต่อกระบวนการจัดทำ EIA กระบวนการจัดการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่  จึงได้เสนอขอให้มีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น  ที่เป็นเวทีใหญ่  โดยการเชิญผู้ได้รับผลกระทบ  ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มเข้าร่วม เช่น ประชาชนโดยรอบโครงการโรงไฟฟ้า  ตัวแทนจากกรมควบคุมมลพิษ ตัวแทนจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม ตัวแทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และนักวิชาการ  สื่อมวลชน เพื่อช่วยกันระดมความคิดและให้ข้อมูลที่รอบด้านต่อประชาชน และชุมชน  ซึ่งการจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ที่อยู่โดยรอบโครงการโรงไฟฟ้าของไออาร์พีซีที่ยังคงเสนอให้จัดเวทีรับฟังเป็นเวทีขนาดใหญ่  มีคนเข้าร่วมอย่างหลากหลายกลุ่มในครั้งนี้   ถือเป็นกระบวนการตามรัฐธรรมนูญ ปี 2550  มาตรา 67 อย่างแท้จริง  สมควรที่โครงการขนาดใหญ่ที่จะสร้างในพื้นที่ทุกพื้นที่ในประเทศไทยต้องจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนแบบเปิดกว้างนี้ให้เป็นแบบอย่าง  นายสุทธิ  อัชฌาศัย  กล่าวทิ้งท้าย
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำและปัญหา ขณะนี้ได้มีการเรียกร้องให้สังคมมาร่วมกันสร้าง “การเมืองใหม่” บทความนี้จะยังไม่เสนอกระบวนการที่จะนำไปสู่การเมืองใหม่ แต่จะมองว่าการเมืองใหม่ควรจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร พร้อมนำเสนอตัวอย่างที่เป็นจริงเพื่อให้เราได้เห็นทั้งแนวคิดและหน้าตาของการเมืองใหม่ชัดเจนขึ้น สังคมในการเมืองใหม่ควรจะเป็นสังคมที่ ผู้คนมีศักดิ์ศรี พึ่งตนเองได้ ทุกคนมีงานทำ มีความสุข การบริหารบ้านเมืองต้องโปร่งไส ตรวจสอบได้และ ปราศจากการคอร์รัปชัน ในที่นี้จะขอนำเสนอนโยบายและรูปธรรมด้านพลังงาน ทั้งนี้เพราะเรื่องพลังงานเป็นเรื่องใหญ่มาก กล่าวคือทุกๆ 100 บาทของรายได้ของคนไทย ต้องจ่ายไปกับค่าพลังงานถึง 18 บาท และค่าใช้จ่ายนี้กำลังเพิ่มสูงขึ้นทุกปี แสดงว่า ค่าอาหาร การศึกษา ฯลฯ ของเราลดลง
dinya
ใครกำลังรู้สึกเหมือนฉันไหมว่า ความรุนแรงและมหันตภัยไร้ระเบียบ กำลังรอถล่มเราอยู่? ไม่รู้จะพูดเกินเหตุไปไหมนะ ไม่ถึงกับหวาดผวา แต่ว่าหวั่นนิดๆ หลังจากเกิดพายุนาร์กิสถล่ม แผ่นดินไหวที่จีน น้ำท่วมต่อมา แผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่น แล้วตอนนี้ยังมีพายุที่ฟิลิปปินส์อีก เชื่อว่าตัวเลขผู้เสียชีวิต 87,000 คนและสูญหายอีก 5 ล้านคนจากแผ่นดินไหวที่จีน ยังเป็นเรื่องที่ช็อกเราอยู่ จนน่าตั้งคำถามว่า ก่อนเกิดเหตุแผ่นดินไหวนั้น มีอะไรเตือนล่วงหน้ากันบ้างไหม ? ว่ากันว่า ลางสังหรณ์ หรือ Omen ก่อนหน้าเหตุการณ์นั้น เป็นสิ่งที่ใครหลายๆ คนที่จีน ใช้เป็นข้อเสนอให้มีการหยุดงานเพื่อเตรียมรับมือกับธรณีพิบัติ แต่มันก็เป็นแค่ ลางสังหรณ์ ไม่มีอะไรยืนยัน คำขอนั้นก็เลยถูกปฏิเสธไปเสีย เลยจะมาชวนกันดูและสังเกตถึง 10 วันก่อนที่จีนจะพังพินาศกันดีกว่า ว่ามีอะไรกันบ้าง เผื่อจะนำมาเป็นแนวทางการสังเกตในบ้านเราบ้าง
suprrna
กลุ่มรักษ์อ่าวประจวบๆโดยมีโครงสร้างการบริหารการจัดการกลุ่มรักษ์อ่าวประจวบๆโดย  3  หมู่บ้านร่วมตัวกันต่อสู้เรื่องเรือลอบปูเป็นเรือต่างถิ่นที่มาอาศัยน่านน้ำเดียวกันโดยเข้ามาทำประมงในเขต3000เมตรชาวบ้านทั้ง 3 หมู่บ้านเลยร่วมตัวกันขึ้นโดยมีชุมชนบ้านตาม่องล่าย และหมู่ที่  2 บ้านอ่าวน้อย และ หม่ที่3  บ้านคั่นกระได  อยู่ในตำบล  อ่าวน้อย  อำเภอเมือง  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์    โดยมีประธาน  1  คน   รองประธาน  2  คน   เลขานุการ  3  คน   เหรัญญิก  3  คน   ประชาสัมพันธ์  3  คน   ที่ปรึกษา  1  คนคณะกรรมการ  18  คน  วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่ม1.   เพื่อป้องกันการถูกทำลายของธรรมชาติและสภาพแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่งอำเภอจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ที่เกิดจากธรรมชาติ  และเครื่องทำลายล้าง2.   เพื่อการป้องกันพื้นที่เขตอนุรักษ์พันธ์สัตว์น้ำ  ซึ่งจะเป็นผลให้ชาวบ้านที่ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน  สามารถประกอบอาชีพและสร้างรายได้อย่างยั่งยืน3.   เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรชาวบ้านและส่งเสริมการพึ่งพาตนเองของชาวบ้านในชุมชนระเบียบการเป็นสมาชิกกลุ่มรักษ์ประจวบๆ1.   สมาชิกกลุ่มต้องเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพสุจริตและถ้าประกอบอาชีพประมงไม่ใช้เครื่องทำลายล้าง2.   สมาชิกกลุ่มมีหน้าที่ดูแลปกป้องอนุรักษ์ทรพยากรทางทะเลและชายฝั่ง3.   คณะกรรมการต้องได้รับการเลือกตั้งจากสมาชิกกลุ่มและอยู่ในตำแหน่ง  2  ปี  และสามารถเป็นได้อีกได้รับการคัดเลือกจากสมาชิก4.   คณะกรรมการมีหน้าที่ในการเฝ้าระวังและแจ้งข่าวสมาชิกในกรณีการเข้ามาในเขตอนุรักษ์ของเรือประมงพาณิชย์เรือที่มีเครื่องมือทำลายล้าง5.   มีการประชุมสมาชิกเดือนละ  1  ครั้งเริ่มวันที่  2  กรกฎาคม  2551  เวลา  14.00 น.  ศาลาเอนกประสงค์ชุมชนบ้านตาม่องล่าย  และทุกวันพระแรม15ค่ำของทุกเดือน(วัน/เวลา/สถานที่เดียวกัน)
 หนังสือพิมพ์ประชาไทดอทคอมร่วมกับหนังสือพิมพ์ประชาธรรม มูลนิธิเพื่อการศึกษาของชุมชนและสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมสาสตร์จัดฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการ นักข่าวพลเมือง(ด้านพลังงาน)ณอุทยานการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พัทยา๒๓-๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๑
suchana
        ระยะเวลาช่วง 10 ปีที่ผ่านมาหลายคนคงเคยได้ยินชื่อของ "ลานหอยเสียบ" เภอจะนะ  จังหวัดสงขลา เพราะลานหอยเสียบคือที่ตั้งของศูนย์คัดค้านโครงการท่อส่งก๊าซและดรงแยกก๊าซธรรมชาติไทย-มาเลเซีย  ที่ทางกลุ่มคัดค้านปักหลักในการต่อสู้ และบริเวณดังกล่าวเดิมถูกกำหนดให้เป็นจุดขึ้นของแนวท่อส่งก๊าซจากทะเลอ่าวไทยขึ้นบนบก เมื่อทางกลุ่มได้ปักหลักต่อสุ้และตั้งเป็นศูนย์คัดค้านดังกล่าว ทางรัฐบาลสมัยพ.ต.ท.ทักษิณ  ชินวัตรจึงได้ประกาศเลื่อนจุดขึ้นของแนวท่อออกไป        "ลานหอยเสียบ" ตั้งอยู่ริมชายทะเลในพื้นที่ตำบลสะกอม  อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา  ระยะทางห่างจากอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ราว 40 กิโลเมตร   เหตุที่เรียกว่า "ลานหอยเสียบ"เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีหอยเสียบเป็นจำนวนมาก ในช่วงฤดูหาหอยเสียบบริเวณริมหาดดังกล่าวจะคึกคัดเเพราะชาวบ้านในชุมชนมาหาหอยเสียบจำนวนมาก  ชาวบ้านจึงเรียกติดปากกันมาว่าลานหอยเสียบ  ต่อมาได้พัฒนาเป็น "มหาวิทยาลัยชาวบ้านลานหอยเสียบ" เป็นสถานที่สร้างกระบวนการเรียนรู้เรื่องสิทธิชุมชน  กฎหมาย  และอบรมรูปแบบการพึ่งตนเองในรูปแบบต่างๆ
ปฏิรูปที่ดิน
การทำโฉนดชุมชนเป็นการจัดการที่ดินโดยการกำหนดของชุมชนที่มีการตกลงร่วมกัน