Skip to main content
โพดา โข่นี
สหาย...ยินดีต้อนรับเข้าสู่หนึ่งในหลาย ๆ ส่วนในโลกของผม โลกเสมือนจริงที่ถูกถ่ายทอดออกมาในกรอบของรูปถ่าย กรอบสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ที่ถูกออกแบบตามจินตนาการ ความคิด หรือเบ้าหลอมหลาย ๆ เบ้าที่เกิดขึ้นในชีวิต เข้ามาหา เดินออกไปหา หรือแม้กระทั่งอยู่นิ่ง ๆ แต่เวลากลับหมุนมาให้เ
อะไรก็ได้
  วันนี้มีการชุมนุมต่อต้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าอีกแล้ว
tonsalween
บ้านริมแม่น้ำสาละวินที่มา: http://blogazine.prachatai.com/user/ginnagan/post/743แม่น้ำสาละวินมองจากแม่ดึ๊ที่มา: http://blogazine.prachatai.com/user/ginnagan/post/743วันสุดท้ายของเราที่มาฝึกเป็นนักข่าวพลเมือง เมื่อฉันกลับไป ฉันจะนำความรู้ไปปฏิบัติในพื้นที่ๆ ผมได้ทำงานอยู่ที่แม่น้ำสาละวิน ผมจะนำเรื่องเกี่ยวกับแม่น้ำสาละวินมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟัง ที่บ้านผมจะมีการสร้างเขื่อนในอนาคต คือเขื่อนฮัตจี  ถ้าเขื่อนเกิดขึ้นจริงจะกระทบกับพี่น้องชาตืพันธุ์ กว่า 25 หมู่บ้าน และตอนนี้จากการทำวิจัยที่หมู่บ้านฉันมีพันธุ์ปลากว่า 88 สายพันธุ์ ถ้ามีเขื่อนเกิดขึ้น ปลาเหล่านี้อาจจะไม่เห็นในแม่น้ำสาละวินอีก
ปรเมศวร์ กาแก้ว
เ ชิ ญ ช ว น กั น สั ก ห น่ อ ยด้วยหัวใจผมรักธรรมชาติ และแน่นอนผมรักบทเพลงของชีวิตรวมถึงบทกวีที่ไหวเต้นเป็นจังหวะมาจากส่วนลึกของจิตใจผู้เป็นกวีจริง ๆ แล้วผมอยากบอกเล่าเรื่องราวของคนกลุ่มหนึ่ง แถบบ้านผม"คนเขาปู่" (บ้านเขาปู่ อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง) ที่ตัวผมเองก็จำชื่อกลุ่มของพวกเขาได้ไม่แน่ชัดนัก (น่าจะชื่อเครือข่ายคนต้นน้ำ/หรืออะไรสักอย่างที่คล้ายชื่อนี้) เรามีโอกาสพบปะพูดคุยกัน 2-3 ครั้งก่อนหน้านี้และบ่อยขึ้น จนพบหัวใจบางอย่างในดวงตาพวกเขา จึงคิดเรื่องกิจกรรมบางอย่างร่วมกันเพื่อผืนป่าเล็ก ๆ เด็กๆ และบ้านเกิดที่เป็นชุมชนเชิงเทือกเขาบรรทัดอันทอดตัวยาวเป็นบ้านไพรให้มวลสัตว์ซึ่งในอดีตก็เคยเป็นบ้านไพรให้กับเหล่านักสู้ "ภูบรรทัด" มาก่อนในวงสนทนาทุกคนชอบเพลงเพื่อชีวิต ชอบวงดนตรีคาราวาน และศรัทธา "สุรชัย จันทิมาธร" รวมถึงวิถีของเขา และนั่นจึงเป็นเหตุให้เราทำกิจกรรมบางอย่างร่วมกัน 
สุมาตร ภูลายยาว
‘นายน้ำ’ เป็นคำเรียกคนขับเรือที่คนลาวใช้เรียกกัน กี่ชั่วอายุคนมาแล้วก่อนที่เราจะมีถนนใช้ แม่น้ำคือถนนชนิดหนึ่งในระหว่างทางที่เรือล่องขึ้น-ลงในแม่น้ำ ยากจะคาดเดาได้ว่า บรรพบุรุษของนายน้ำคนแรกเป็นใคร บนนาวาชีวิตที่ล่องไปบนสายน้ำกว้างใหญ่ และไหลเชี่ยว ชีวิตของพวกเขาล้วนฝากไว้กับบางสิ่งบางอยางที่บางคนเรียกมันว่าชะตากรรมบ่อยครั้งที่ล่องเรือไปบนสายน้ำ เราล้วนแต่ต้องค้อมคารวะหัวใจอันยิ่งใหญ่ของพวกเขา เมื่อเดินทางสู่ฝั่ง หากมองทะลุลงไปถึงก้นบึ้งของหัวใจ อะไรคือหมุดหมายที่ฉุดรั้งพวกเขาให้มุ่งหน้าสู่เส้นทางที่มองทางไม่เห็นทางเช่นนี้ในบรรดานายน้ำที่มีอยู่มากมาย พวกเขาไม่ได้คาดหวังว่าจะเป็นนายของน้ำ เพราะแม่น้ำในบางช่วงของบางวันมีสิ่งที่ไมคาดคิดเกิดขึ้นเสมอ แต่เพราะสิ่งที่เป็นอยู่บวกกับประสบการณ์ที่สั่งสมมาครั้งแล้วครั้งเล่า ทำให้พวกเขาได้รับการเรียกขานเช่นนั้น
สุมาตร ภูลายยาว
จากประวัติศาสาตร์ที่มีการบันทึกทั้งเป็นอักษร และไม่มีอักษร การสร้างเขื่อนเพื่อกักเก็บน้ำ และทำกิจกรรมอย่างอื่นมีมาหลายร้อยปีแล้ว หากนึกถึงเขื่อนหลายคนอาจนึกถึงสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ขวางกั้นลำน้ำ และเมื่อนึกถึงเขื่อน เรานึกถึงอะไรเกี่ยวกับเขื่อนบ้าง แน่ละบางคนอาจตอบว่าไฟฟ้า บางคนอาจตอบว่าสถานที่ท่องเที่ยวรวมไปถึงน้ำเพื่อการเกษตร แต่สิ่งหนึ่งที่เราลืมนึกถึงไปเมื่อพูดถึงเขื่อน คือเรื่องราวเล็กๆ ในบริเวณสร้างเขื่อน ทั้งเรื่องของป่าไม้ ที่ดิน สัตว์ป่า และรวมไปถึงเรื่องราวของผู้คนที่ต้องอพยพออกจากพื้นที่ก่อการสร้างเขื่อน “ทองปาน” นับเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างในหลายร้อยหลายพันตัวอย่างของผู้คนที่ต้องอพยพภายหลังการสร้างเขื่อน องอาจ โพนทอง ผู้ได้รับบทเป็นทองปานจากภาพยนต์สารคดี ๑๖ มม. เรื่อง ‘ทองปาน’ เมื่อ ๓๐ กว่าปีก่อน (จัดสร้างโดย lsan film : mike morrow กำกับการแสดงโดยไพจง ไหลสกุล สุรชัย จันทิมาธร ยุทธนา มุกดาสนิท รัศมี เผ่าเหลืองทอง) เขาได้พูดบอกนักศึกษาคนหนึ่งที่เดินทางไปจังหวัดเลย เพื่อชวนชาวบ้านมาร่วมงานสัมมนาเกี่ยวกับการสร้างเขื่อนผามองที่จะสร้างเพื่อกั้นแม่น้ำโขงไว้ว่า เขาอพยพมาจากพื้นที่สร้างเขื่อนลำปาวในจังหวัดกาฬสินธุ์ หากจับใจความคำพูดของทองปานในเรื่องการอพยพของเขา พอจะบอกเป็นนัยๆ ได้ว่า ในยุคสมัยก่อนเมื่อประเทศไทยเริ่มลงมือก่อสร้างเขื่อนเพื่อกักเก็บน้ำ และปั่นเป็นไฟฟ้า รวมทั้งในการชลประทาน ชาวบ้านผู้อยู่ในพื้นที่ของการก่อสร้างไม่ได้รับการเหลียวแลจากภาครัฐเลยแม้แต่น้อย
สุมาตร ภูลายยาว
เราต่างรู้ชัดแจ้งเห็นจริงว่า บนดาวเคราะห์ที่ชื่อว่าโลก อันมีสันฐานเป็นทรงกลมคล้ายผลส้มใบนี้มีน้ำมากกว่าพื้นดิน แต่สิ่งหนึ่งที่เราหลายคนอาจไม่รู้คือ เรื่องการแบ่งพรมแดนแผ่นดินโดยใช้แม่น้ำเป็นเส้นแบ่ง คนในยุคสมัยก่อนคิดได้ยังไงว่า แม่น้ำส่วนไหนเป็นของประเทศใด เพราะธรรมชาติแม่น้ำมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา    ในเอเชียของเรามีแม่น้ำหลายสายที่ถูกขีดแบ่งเป็นเส้นพรมแดน ไม่ว่าจะเป็นเส้นแบ่งหมู่บ้านกับหมู่บ้าน ตำบลกับตำบล จังหวัดกับจังหวัด และประเทศกับประเทศ และบ่อยครั้งที่การแบ่งแม่น้ำออกเป็นพรมแดน คนที่อยู่ริมน้ำไม่เคยได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง เพราะโดยมากการแบ่งแม่น้ำเป็นเส้นพรมแดนนั้น ล้วนแต่ผู้มีอำนาจไม่ว่าจะเป็นอำนาจทางการเมือง อำนาจทางการปกครองแบ่งให้แทบทั้งสิ้น มีบางคนเคยถามผมว่า ขณะมายืนอยู่ริมแม่น้ำรู้สึกยังไงที่ข้ามแม่น้ำไปไม่ได้?ผมไม่ตอบ เพียงแต่ชี้ชวนให้เขาดูนกที่กระพือปีกบินข้ามแม่น้ำไปยังอีกฝั่งบางครั้งมันก็เป็นสิ่งที่ตอบได้ยากเช่นกันว่า เราคิดเช่นไร แต่หากมองด้วยมุมที่หลากหลาย เราจะไม่เห็นความดีของการใช้แม่น้ำเป็นเส้นพรมแดนเลยหรือ แน่ละบางทีการใช้แม่น้ำเป็นเส้นแบ่งพรมแดน การไปมาหาสู่กันระหว่างผู้คนที่อยู่คนละฝั่งน้ำจะง่ายกว่าการที่เราต้องเดินข้ามแผ่นดินไปหากัน เพราะบนแผ่นดินกับดักสามารถวางได้ง่ายกว่า
สุมาตร ภูลายยาว
“มื้ออื่นไปแต่เช้าเด้อ เดี๋ยวพ่อสิไปเอิ้นดอก” ถ้อยคำสุดท้ายของชายวัย ๖๐ กว่าที่นั่งอยู่ในบ้านดังแว่วออกมา ขณะเรากำลังเดินจากกระท่อมของพ่อเฒ่ามา หลังพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปไม่นาน หมู่บ้านจมอยู่ในความมืด ถ้าเป็นเมื่อ ๑๐ กว่าปีก่อนในตอนเย็นเช่นนี้หมู่บ้านจะเงียบกว่าที่เป็นอยู่ เพราะคนในหมู่บ้านยังไม่ได้เดินทางกลับมาจากไร่
สุมาตร ภูลายยาว
หลังมุ่งแก้ปัญหาการขาดน้ำใช้ในฤดูแล้งมาตลอดระยะเวลา ๒ ปี ชาวบ้านหลวงบางส่วนจึงมุ่งหน้าเดินทางขึ้นสู่ภูเขา เพื่อไปสู่ขุนห้วย ผู้ชายบางคนถือมีด บางคนถือจอบ ผู้หญิงหาบเครื่องครัวทั้งพริก ถ้วย ชาม เดินตามทางเดินเล็กๆ มุ่งหน้าสู่จุดหมายเดียวกัน เสียงดังมาจากเบื้องหน้าให้เร่งฝีเท้าในการเดินทางขึ้นอีก เพราะเป้าหมายใกล้ถึงแล้วชาวบ้านเหล่านี้เดินทางเพื่อไปสู่เป้าหมายใดกัน เมื่อขบวนเดินทางพ้นจากที่ราบอันเป็นไร่ข้าวโพดไปแล้วก็มุ่งหน้าขึ้นสู่ขุนห้วยอันเป็นต้นกำเนิดของห้วยหลวง ที่ขุนห้วยมีชาวบ้านบางส่วนเดินล่วงหน้าไปรออยู่ก่อนแล้ว เมื่อขบวนใหญ่เดินมาสมทบในภายหลัง พิธีการบูชาเทพแถนผีป่าผีน้ำก็เริ่มขึ้น ในพิธีมีพระสงฆ์จากวัดประจำหมู่บ้านได้เดินทางมาร่วมกับชาวบ้านด้วย เพื่อความเป็นศิริมงคลให้กับชาวบ้าน ถัดจากตรงที่ชาวบ้านกลุ่มใหญ่นั่งอยู่มีต้นไม้ขนาดใหญ่ ตรงใต้ร่มไม้นั้นชายชราคนหนึ่งกำลังจุดเทียนบูชาเทพแถนอารักษ์เทวดา แสงเทียมวอมแวมไหวตามแรงลมร้อนหลังพิธีกรรมทุกอย่างเสร็จสิ้น เสียงหินหล่นลงกระทบกับน้ำดังก้องขึ้น น้ำที่มีอยู่ไม่มากในลำห้วยแตกกระจาย ต้นไม้ริมฝั่งถูกตัดถางลง เพื่อใช้เป็นคันแกนกลางรองรับหินจำนวนมากที่จะถูกทิ้งลงไปในน้ำ ไม่มีใครรู้แน่ชัดว่าการทิ้งหินลงแม่น้ำเพื่อสร้างฝายแบบชาวบ้านที่ไม่ต้องทำลายสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังใช้ได้จริงมีมาตั้งแต่เมื่อไหร่ และใครเริ่มทำเป็นคนแรก ถึงแม้ไม่รู้ แต่ชาวบ้านก็เรียกการทำฝายแบบนี้ว่า ‘การทำฝายหินทิ้ง-ฝายแม้ว’ ส่วนหนึ่งที่ชาวบ้านเรียกเช่นนี้คงเพราะสิ่งที่ชาวบ้านทำ และสิ่งที่ชาวบ้านเห็นนั่นเอง
ประสาท มีแต้ม
ในขณะที่คนทั่วโลกกำลังเดือดร้อนกับราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์  แต่ผลกำไรของบริษัทน้ำมันขนาดยักษ์ของโลกกลับเพิ่มสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา มันช่างฝืนความรู้สึกในใจของมนุษย์ธรรมดาๆ ที่คิดว่า “เออ! เมื่อสินค้าราคาสูงขึ้น เขาน่าจะลดกำไรลงมามั่ง เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคเดือดร้อนมากนัก”   แต่มันกลับเป็นตรงกันข้าม คือเพิ่มกำไรมากกว่าเดิม  โดยไม่สนใจใยดีกับเพื่อนร่วมโลกในขณะที่ผู้มีรายได้น้อยอย่างกรรมกรได้สะท้อนออกมาในวันแรงงานแห่งชาติว่า “ค่าครองชีพแพง แต่ค่าแรงเท่าเดิม”บทความนี้จะนำเสนอทั้งข้อมูลและความคิดเห็นใน 4 เรื่องต่อไปนี้ คือ (1) ผลประกอบการล่าสุดของบริษัทน้ำมันขนาดใหญ่ 6 อันดับแรกของโลก (2) เส้นทางการค้าน้ำมัน รวมทั้งพ่อค้าน้ำมันที่มีอำนาจทางการเมืองของโลก  ผมจะนำเสนอด้วยภาพที่เข้าใจง่ายและดูสบายๆ  (3) เปรียบเทียบระบบภาษีน้ำมันของประเทศต่างๆ ที่มีผลก่อให้เกิดปัญหาโลกร้อน และ (4) ความไม่รับผิดชอบสังคมของบริษัทยักษ์ทั้งหก  เริ่มกันเลยครับ
สุมาตร ภูลายยาว
ลำเซียงทาล่องไหลมาเนิ่นนาน.....ทานทน ฝน-ร้อน-หนาวปล่อยไอหมอกขาวลอยล่องสู่ท้องฟ้าเมฆมหึมาก่อฝน....เหนือโป่งขุนเพชรในหุบห้วยล้วนร่องธารที่ผ่านมาเวลานาฑีไม่มีใครรู้เพียงกระพริบไหวของสายตาแห่งหมู่เมฆลมโยกเยกฝนใหญ่โปรยปรายลำเซียงทามาจากหุบห้วยใหญ่ไหลล่องผ่านปี-เดือนไผ่ไหวเหนือสายน้ำลำเซียงทายามลมผ่านผิวปลิดปลิวเคว้งคว้างพลิ้วไหวอ่อนโยนลำเซียงทาโอบอุ้ม-อุ่นเอื้อโป่งขุนเพชร,เทพสถิตย์, ชัยภูมิ ,๒๕๔๗
สุมาตร ภูลายยาว
แม่น้ำเกิดมาจากสายฝน-สายฝนเกิดจากแม่น้ำ นานมาแล้วต้นกำเนิดของแม่น้ำ และสายฝนมาจากที่เดียวกัน ทุกสิ่งล้วนสัมพันธ์เชื่อมโยง เช่นเดียวกับแม่น้ำสายใหญ่ที่หล่อเลี้ยงผู้คนในแถบอีสานใต้ แม่น้ำสายนี้ชื่อว่า ‘แม่น้ำมูน’ มีต้นกำเนิดจากสายน้ำเล็กๆ บริเวณเขาแผงม้า จังหวัดนครราชสีมา หลังจากนั้นก็ไหลเรื่อยผ่านสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ ก่อนไหลลงบรรจบกับแม่น้ำโขงที่บริเวณแม่น้ำสองสีในอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ลำน้ำสายยาวได้หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนมาหลายชั่วอายุคน ตั้งแต่หลายปีตลอดการไหลของแม่น้ำมีเรื่องราวหลายเรื่องเกิดขึ้น แต่เรื่องราวที่ทำให้แม่น้ำสายนี้เป็นที่สนใจของผู้คนทั่วไปคงหนีไม่พ้นเรื่องของการสร้างเขื่อน