Skip to main content

ลำเซียงทา

ล่องไหลมาเนิ่นนาน.....
ทานทน ฝน-ร้อน-หนาว
ปล่อยไอหมอกขาวลอยล่องสู่ท้องฟ้า
เมฆมหึมาก่อฝน....เหนือโป่งขุนเพชร
ในหุบห้วยล้วนร่องธารที่ผ่านมา
เวลานาฑีไม่มีใครรู้
เพียงกระพริบไหวของสายตาแห่งหมู่เมฆ
ลมโยกเยกฝนใหญ่โปรยปราย
ลำเซียงทามาจากหุบห้วยใหญ่
ไหลล่องผ่านปี-เดือน
ไผ่ไหวเหนือสายน้ำลำเซียงทายามลมผ่านผิว
ปลิดปลิวเคว้งคว้างพลิ้วไหวอ่อนโยน
ลำเซียงทาโอบอุ้ม-อุ่นเอื้อ

โป่งขุนเพชร,เทพสถิตย์, ชัยภูมิ ,๒๕๔๗

 

หลังการเดินทางแรมคืนเราจึงมาถึงหมู่บ้าน ลมดึกของค่ำคืนวูบไหวผ่านใบหน้า สุนัขที่นองนิ่งอยู่ใต้พื้นบ้านส่งเสียงทักทาย เจ้าของบ้านหลายคนออกมานอกบ้านพร้อมส่งเสียงไล่มันให้เงียบเสียงลง หากเป็นหมู่บ้านทั่วไป ผู้บุกรุกในเวลาวิกาลเช่นนี้คงถูกแจ้งความดำเนินคดีตามกฏหมายไปแล้ว แต่ที่นี้ไม่ใช่หมู่บ้านอย่างหมู่บ้านทั่วไป ที่นี้คือทัพของนักรบสิ่งแวดล้อม นักรบผู้มีหน้าที่ปกป้องทัรพยากรด้วยอาวุธคือความคิด มันสมอง และสองมือเปล่า การต้อนรับผู้คนทั้งแปลกหน้าและคุ้นหน้าจึงไม่ใช่เรื่องราวอันแปลกประหลาดแต่ประการใดสำหรับคนในหมู่บ้าน

เมื่อเจ้าของบ้านหลังนั้นรู้ว่าผู้มาเยือนในเวลาวิกาลเป็นใคร และมีจุดมุ่งหมายใด ผู้มาเยือนก็ถูกเชื้อเชิญให้เดินตามทางไปยังเป้าหมาย หมู่บ้านจมอยู่ในความมืด การเดินไปตามทางเดิน เพื่อไปสู่เป้าหมายอาจดูเป็นเรื่องยาก เพราะหมู่บ้านไร้แสงไฟตามถนน แต่พอเป้าหมายอยู่ไม่ไกล ความยากในการเดินฝ่าความมืดจึงยุติลง

“หัวหน้า...หัวหน้า มีคนมาหา”
หลังได้ยินเสียงร้องเรียก เจ้าของบ้านก็เปิดไฟใต้ถุนบ้านและเดินตามบันไดลงมา
“ซำบายดีอยู่บ๋อ หัวหน้า”
“กะพออยู่ได้อยู่ คือพากันมาฮอดดึกแท้”
“โอย! ค้าแต่หลงทางนั่นแล้ว กว่าสิหาทางเข้าบ้านได้เกือบตาย”
“ผมว่าแล้ว มันต้องมีคนหลง ให้เขาไปปักธงเขียวไว้อยู่ ถ้ามาตามธงเขียวคือสิบ่หลงดอก”
“ธงมันผืนน้อยโพด กว่าสิเห็น เป็นหยังคือบ่เอาธงผืนใหญ่ๆ แด่”
“เอาผืนใหญ่บ่ได้ดอก เดียวเพิ่นสิฮู้ ความสิแตก มันสิบ่ม่วนทั้งผู้อยู่ ผู้มา”
“แล้วมีคนมาฮอดหลายคนอยู่บ่อ”
“บ่ นี่แหละซุดแรก”

หลังพูดคุยถามไถ่กันได้ไม่นานทั้งเจ้าของบ้าน และผู้มาเยือนก็แยกย้ายกันพักผ่อน หลังแสงแรกของวันพรุ่งนี้มาเยือน เรื่องราวต่างๆ ในหมู่บ้านก็จะถูกนำมาเล่าอีกครั้ง

หมู่บ้านแห่งนี้เป็นหมู่บ้านไม่ใหญ่มากซุกซ่อนอยู่ในซอกหลืบของป่าที่สำคัญหมู่บ้านได้กลายมาเป็นฐานบัญชาการรบกลับอำนาจรัฐอย่างปฏิเสธเสียไม่ได้ เพราะหมู่บ้านแห่งนี้ตั้งอยู่บริเวณจุดที่จะมีการสร้างเขื่อนโป่งขุนเพชรพอดี ถัดจากหมู่บ้านไปไม่ไกลมีแม่น้ำสายหนึ่งที่ชาวบ้านเรียกว่า ‘ลำเซียงทา’ แม่น้ำสายนี้แหละที่ชาวบ้านบอกว่า เขาจะมีการกั้นเขื่อน ชาวบ้านเล่าให้ฟังว่าเขื่อนที่จะสร้าง เขาจะเอาไว้เก็บน้ำเพื่อการเกษตร แต่ความจริงอีกด้านหนึ่ง หากว่าเมื่อมีการสร้างเขื่อนแห่งนี้ น้ำก็จะท่วมพื้นที่ทำกินของชาวบ้านซึ่งมีอยู่คนละไม่มาก แต่หลายร้อยคน

“บ่สู้กะบ่ได้ดอกหัวหน้า น้ำสิท่วมดั้งตี้ละ ท่าเพิ่นมาเฮ็ดเขื่อน”
“น้ำแม่บ่ใหญ่กะหยังสิมาเฮ็ดอยู่เหนาะ”
“ผมกะว่านั้นละ”


ดังที่เล่ามา เพราะแม่น้ำสายนี้ไม่ใหญ่มาก แต่มันมีความสำคัญกับชาวบ้านผู้ได้ใช้ประโยชน์มาชั่วนาตาปี หากว่ามีการทำเขื่อน (อันที่จริงกรมชลรับประทาน-กรมชลประทานบอกว่ามันเป็นแค่ฝายกักเก็บน้ำ) น้ำจากอ่างเก็บน้ำก็จะไหลท่วมพื้นที่ทำกิน หมู่บ้านก็จะถูกย้าย ชาวบ้านจึงเริ่มรวมตัวกันคัดค้าน และเริ่มเดินทางออกสู่ท้องถนน เพื่อร่วมขบวนการต่อสู้ในนามของสมัชชาคนจน

“หัวหน้านอนก่อนเด้อ มื้ออื่นจั่งเว้ากัน”
“ครับตามซำบายเลยหัวหน้า เดี๋ยวหมู่ผมกะสินอนคือกัน”


เจ้าของบ้านเดินจากไปแล้ว แสงตะเกียงถูกดับลง เสียงไก่ขันจากป่าแว่วมา ขณะล้มตัวลงนอน ผมหวนคิดถึงเรื่องราวบางเรื่องอันน่าฉงน แปลกแต่จริงประเทศเราถูกหลอกเสมอว่า เราสร้างเขื่อนเพื่อเอาน้ำมาเป็นไฟฟ้า แต่บางหมู่บ้านก็ไม่มีไฟฟ้าใช้ แล้วไฟฟ้าจากเขื่อนมันไปไหน นั่นสิไฟฟ้าจากเขื่อนมันไปไหน

สายลมดึกค่อนแจ้งพัดมาแผ่วเบา ทั้งที่ง่วงเต็มทน ผมกลับพบว่า ตัวเองข่มตาหลับลงยากเสียเต็มประดา

บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
    ...เสียงปืนดังลั่นเปรี้ยง-คล้ายเสียงชะนีหวน
สุมาตร ภูลายยาว
สายลมเริ่มพัดเปลี่ยนทิศจากเหนือลงใต้ ฤดูฝนใกล้พ้นผ่านแล้ว ฤดูหนาวกำลังเดินทางมาแทน ขณะอาทิตย์ใกล้ลับฟ้าถัดจากกระท่อมหลังสุดท้ายตรงหาดทรายไปไม่ไกล คนจำนวนมากกำลังวุ่นวายอยู่กับการเก็บเครื่องมือทำงาน หากนับตั้งแต่วันแรกถึงวันนี้ก็ล่วงเข้าไป ๔ วันแล้วที่ช่างในหมู่บ้านถูกไหว้วานให้มาช่วยกันทำเรือไฟ เพื่อให้ทันใช้ในวันออกพรรษา หลังจมอยู่กับงานมาทั้งวัน เมื่อโรงงานต่อเรือไฟปิดประตูลงในตอนเย็น โรงมหรสพริมฝั่งน้ำก็เข้ามาแทน
สุมาตร ภูลายยาว
แม่น้ำนิ่งงันลงชั่วการกระพริบตาของพญามังกร ชาวบ้านริมฝั่งน้ำไม่มีใครรู้ว่า พญามังกรกระพริบตากี่ครั้ง หรือด้วยอำนาจใดของพญามังกร แม่น้ำจึงหยุดไหล ทั้งที่แม่น้ำเคยไหลมาชั่วนาตาปี วันที่แม่น้ำหยุดไหล คนหาปลาร้องไห้ปานจะขาดใจ เพราะปลาจำนวนมากได้หนีหายไปจากแม่น้ำ
สุมาตร ภูลายยาว
แดดร้อนของเดือนมีนาคมแผดเผาหญ้าแห้งกรัง หน้าร้อนปีนี้ร้อนกว่าทุกปี เพราะฝนไม่ตก ยอดมะม่วงอ่อนจึงไม่ยอมแตกช่อ มะม่วงป่าเริ่มออกดอกรอฝนพรำ เพื่อให้ผลได้เติบโต ความร้อนมาพร้อมกับความแห้งแล้ง ในความแห้งแล้ง ดอกไม้ป่าหลากสีกำลังผลิบาน มีทั้งดอกสีส้ม แดง ม่วง ความแห้งแล้งดูมีชีวิตชีวาขึ้นมาบ้าง
สุมาตร ภูลายยาว
‘ย่างเข้าเดือนห้า น้ำท่าก็เริ่มขอดแล้ง’ คนแก่บางคนว่าอย่างนั้น (ถ้าผมจำไม่ผิด) คำพูดนี้ได้สะท้อนบางอย่างออกมาด้วย นั่นคือสิ่งที่ผู้คนในยุคสมัยก่อนเห็น พอถึงเดือนห้า น้ำที่เคยมีอยู่ก็แห้งขอดลงเป็นลำดับ ผู้คนในสมัยก่อนที่จะก้าวเข้าสู่สังคมเกษตรอุตสาหกรรมเช่นทุกวันนี้ทำอะไรบ้าง ในสังคมภาคกลางยุคที่ทำการเกษตรไม่ใช่อุตสาหกรรม หน้าแล้งไม่มีใครทำนา เพราะทุกคนต่างรู้ว่า หน้าแล้งแล้วนะ น้ำท่าจะมาจากไหน แต่พอยุคอุตสาหกรรมเกษตรเรืองอำนาจ หน้าแล้งผู้คนก็ยังคงทำนา เพื่อตอบสนองอุตสาหกรรมการเกษตรกันอยู่
สุมาตร ภูลายยาว
ผู้ดีตีนแดง-ขอ โทษ เท้าแดง ตะแคงเท้าเดิน เวลาเหยียบปุ่มปมของพรมผืนนุ่มนิ่มราวกับปุยเมฆ นั่นแหละเท้าของผู้ดี และโลกของผู้ดีมีแต่น้ำครำ –น้ำคำ แห่งการหลอกลวง ทั้งผู้ดีจริง และผู้ดีกลวง ขณะเดินย่ำไปบนเส้นทางสู่ร้านอาหารเลิศหรู เมนูไข่คาเวียกับบรั่นดีแก้วทรงสูงดัดจริตวางรอ ผู้ดีน้ำครำละเลียดเมรัยรสคมผ่านลำคอ และละเลียดไข่คาเวียที่มีอยู่นับจำนวนได้บนจานราคาแพงกว่าการขึ้นห้องกับปอง ของโฉน ไพรำ ผู้ดี น้ำครำมองออกไปนอกหน้าต่างสูงลิบของห้องอาหารโรงแรมเสียดฟ้า เบื้องล่างแม่น้ำไหลเอื่อยเหนื่อยปานจะขาดใจตาย ผู้ดีน้ำครำละเลียดไข่คาเวียราคาแพง เพื่อเลิศหรูมีหน้ามีตา…
สุมาตร ภูลายยาว
สายลมหนาวพัดมาพร้อมกับสายฝนที่โปรยสายลงมา ว่ากันว่านี่คือฝนหลงฤดู! กาแฟแก้วของวันเป็นคาปูชิโน่ร้อนสองแก้ว แต่ไม่ใช่ของผมเป็นของลูกค้าต่างชาติ รสชาติของกาแฟเป็นอย่างไรในเช้านี้ ผมไม่อาจรู้ เพราะไม่ได้ชิม หลังสตรีมนมสดจนร้อนได้ที่ กลิ่นกาแฟสดหอมกรุ่นโชยออกมา และพร้อมแล้วสำหรับการดื่ม-กิน
สุมาตร ภูลายยาว
เนิ่นนานหลายปีแล้วที่ผมพเนจรจากบ้านเกิด แต่หลายๆ ความรู้สึกเกี่ยวกับบ้าน ผมไม่มีทางลืมได้เด็ดขาด บางค่ำคืนที่มีโอกาสอยู่กับตัวเองเพียงลำพัง ด้วยความสงบเงียบ ภาพบ้านเกิดจะย้อนกลับมาสู่ความทรงจำ-ความทรงจำในวัยเยาว์เกี่ยวกับบ้านเกิด
สุมาตร ภูลายยาว
เวลาผ่านไปเร็ว ยามที่เราโตขึ้น เราเชื่อเช่นนั้น เพราะเราโหยหาเวลาของวัยเยาว์ เมื่อเราเติบโตขึ้นเป็นลำดับมีหลายความรู้สึกของวัยเยาว์ที่หล่นหายไปอย่างไม่อาจเรียกคืนกลับมา ราวกับสายน้ำที่ไหลไกลออกไปทุกทีๆ มิอาจหวนกลับมาเป็นสายน้ำได้เช่นเดิม แต่กลายเป็นสายฝนพรำลงมาแทน หากพูดถึงอดีตแล้ว บางด้านที่เลวร้าย เราอยากผ่านเลย แต่กลับจำได้ฝังใจ...
สุมาตร ภูลายยาว
บุนทะนอง ซมไซผล แปลโดย สุมาตร ภูลายยาว    ๑.ผลน้ำเต้าบุ่ง และวรรณคดีพื้นเมือง ถ้าจะให้พูดถึงความสัมพันธ์ไทย-ลาว ความเชื่อมโยงด้านวรรณคดีของชนชาติเผ่าพันธุ์ต่างๆ ในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำของ สิ่งแรกที่ข้าพเจ้าคิดถึงคือ น้ำเต้าบุ่ง
สุมาตร ภูลายยาว
ดอกเกดเป็นดอกไม้ชนิดหนึ่งที่ลำต้นมีลักษณะเหมือนต้นปาล์ม เวลาออกดอก ดอกจะส่งกลิ่นหอม คนเฒ่าคนแก่จะนิยมนำไปบูชาพระและนำมาทัดหู ผมไม่รู้เหมือนกันว่าดอกไม้ชนิดนี้จะมีอยู่ทั่วไปในประเทศไทยหรือมีเฉพาะที่ภาคอีสานและประเทศลาว
สุมาตร ภูลายยาว
จากใบไม้ใบสุดท้ายถึงซิ่นไหมผืนเก่าๆ: ๒ เรื่องสั้นซีไรต์บนแผ่นดินเบื้องซ้ายแม่น้ำของ (โขง) เมื่อพูดถึงวรรณกรรมบนแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงแล้ว หลายคนคงอดที่จะพูดถึงวรรณกรรมชิ้นคลาสสิกเช่น ‘สังสินไซ’ ไม่ได้ เพราะสังสินไซเป็นวรรณกรรมพื้นบ้านที่คนทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงรู้จักมากที่สุดชิ้นหนึ่ง นอกจากสังสินไซแล้ว ผลงานของนักเขียนลาวหลายคนในความรับรู้ของคนไทยคงหนีไม่พ้นผลงานเขียนของท่านมหาสีลา วีระวงค์ ผู้รจนางานมหากาพย์อันยิ่งใหญ่ในนาม ‘ท้าวฮุ่งและขุนเจือง’