Skip to main content

บุนทะนอง ซมไซผล

แปลโดย สุมาตร ภูลายยาว

 

 

 

.ผลน้ำเต้าบุ่ง และวรรณคดีพื้นเมือง


ถ้าจะให้พูดถึงความสัมพันธ์ไทย-ลาว ความเชื่อมโยงด้านวรรณคดีของชนชาติเผ่าพันธุ์ต่างๆ ในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำของ สิ่งแรกที่ข้าพเจ้าคิดถึงคือ น้ำเต้าบุ่ง


หนังสือ ‘นิทานขุนบรมราชาธิราช’ เป็นหนังสือประวัติศาสตร์ลาวฉบับดั้งเดิมฉบับที่ ๑ แต่งขึ้นเมื่อประมาณ พ..๒๐๒๖ (คศ.๑๔๘๓) ได้พูดถึงความเป็นมาของชนชาติไท-ลาว ‘ทุกชนชาติชนเผ่าล้วนแต่กำเนิดมาจากลูกน้ำเต้าบุ่งผลเดียวกัน’


เผ่าพันธุ์ไท-ลาวมีความผูกพันกันมาทางสายเลือด ภูมิลำเนา ถิ่นกำเนิด ที่ฝังสายรกอันเดียวกัน มีภาษาพูด มีความเชื่อ มีจารีตประเพณี วัฒนธรรมอันเดียวกัน ที่นอกเหนือไปกว่านั้นคือมีวรรณคดีพื้นเมืองอันเดียวกัน


วรรณคดีพื้นเมืองคือภาคส่วนหนึ่งในการประดิษฐ์คิดแต่งศิลปะของประชาชนผู้ใช้แรงงาน และก็เป็นภาคส่วนหนึ่งของคติสังคม


วรรณคดีพื้นเมืองกำเนิดเกิดขึ้นในขบวนวิวัฒนแห่งการต่อสู้ต้านภัยธรรมชาติ และการต่อสู้ทางสังคมของผู้คน พร้อมกันนั้นก็มีคูณประโยชน์ในการรับใช้ ผลักดันขบวนการต่อสู้เหล่านั้น วรรณคดีพื้นเมืองมีเป้าหมายชัดเจนในการต่อต้านภัยธรรมชาติ ต่อสู้ทางสังคม และการดำรงชีวิตของคนเราอย่างมีชีวิตชีวา และอุดมสมบูรณ์ที่สุด นอกจากนั้นยังแสดงให้เห็นถึงวิธีคิด จิตใจ และความมุ่งมั่นปารถนาอันมีประชาธิปไตยของประชาชนผู้ใช้แรงงาน และแสดงออกถึงการต่อสู้ ต่อต้านการกดขี่ขูดรีดของชนชั้นปกครองเป็นหลัก พูดในเรื่องตรงกันข้ามแล้ว วรรณคดีพื้นเมืองก็มีหลายส่วนที่ได้รับผลสะท้อนจากระบบวิธีคิดของชนชั้นปกครองเช่นกัน


วรรณคดีพื้นเมืองในห้วงยามที่ยังไม่มีตัวหนังสือเขียน ก็แสดงออกมาในรูปแบบของเรื่องเล่าพื้นเมือง การพรรณา เทพนิยาย เรื่องเล่าโบราณ นิทานอัศจรรย์ นิทานชวนหัว และนิทานสัตว์ วรรณคดีพื้นเมืองยังมีประเภทคำกลอน คำโฮม คำหวาย คำสุภาษิต คำผญา ขับ ลำ เซิ้ง นอกจากนั้นยังมีการแสดงพื้นเมือง ลำเรื่อง ละครสั้น ฯลฯ


การกินข้าวร่วมนา          กินปลาร่วมห้วย

กินกล้วยร่วมหวี            วิเศษสุดแสน

หากมีเสียงแคน            เสียงลำขับกล่อมจิตวิญญาณ

จะเป็นไทภาคอีสาน       หรือไทลาวทุกชนชาติชนเผ่า

โปรดอย่าลืมโอวาท       ของพ่อขุนบรมราชาธิราช ฯ


.พุทธศาสนากับวรรณคดีพื้นเมือง


ศิลาจารึกของวัดวิชุน แขวงหลวงพระบางยืนยันว่า ชนชาติลาวมีตัวหนังสือเขียนมาตั้งแต่ พ..๑๗๒๓ (คศ.๑๑๗๐)


เจ้าฟ้างุ่มมหาราชรวบรวมแผ่นดินลาวก่อตั้งเป็นอาณาจักรล้านช้างในปี คศ.๑๓๕๓ (..๑๙๐๖) และประกาศให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา


ขอบเขตอาณาจักรล้านช้าง ซึ่งหมายรวมเอาพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำของ อันประกอบไปด้วยผู้คนหลายชนชาติชนเผ่า หลายภาษาพูด หลากหลายวัฒนธรรม หลากหลายความเชื่อ เมื่อมีหนังสือผูกใบลาน มีศิลาจารึก มีตำนาน มีนิทาน กาพย์กลอน เป็นลายลักษณ์อักษรมีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับพระธรรมคำสอนพระพุทธเจ้าเป็นสิ่งอบรมบ่มเพาะความคิด ความเชื่อ สร้างสติของคนให้รักกัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน


หนังสือวรรณกรรมต่างๆ ที่ประดิษฐ์คิดแต่งในระยะต้นๆ ก็มีจำนวนมาก เช่น ตำนานขุนบรม ศรีโคตรบอง ท้าวจันทะพานิด ปู่เย้ ย่าเย้ นิทานกำพร้าผีน้อย กำพร้างัวทอง กรำพร้าเต็มด่อน ภูบาเจียง ภูมะโลง ภูท้าว ภูนาง นางเต่าดำ จำปาสี่ต้น นางสิบสอง นางผมหอม การะเกด ปลาบู่ทอง นางหล้านางหลุน วังกาผูก ห้วยตาเหงา ท้าวเต่า อ้ายหูดหิดแสนเป้า ท้าวภูไฮ กรำพร้าหมากเดื่อ กำพร้าหมากส้าน เซี่ยงเมี่ยง เซียงโพด ลุงดาว แตงอ่อน พระลักษ์พระราม ท้าวฮุ่งท้าวเจือง สังสินไซ ผาแดงนางไอ่ สามลืมสูน นางตันไต เสียวสวาท


วรรณกรรมซึ่งอิงหลักธรรมทางพุทธศาสนาเป็นสิ่งเริ่มสร้างสติให้กับสังคม เป็นสิ่งค้ำจุนทางใจ และย่อมสร้างคนให้อยู่ร่ววมกันได้อย่างสันติสุข ไม่เกรงกลัวและหวาดระแวง มีความเมตตากรุณา แต่ก็หลีกเร้นไม่พ้น ซึ่งในบางระยะประวัติศาสตร์อาจเกิดข้อโต้แย้งจนนำไปสู่การแตกแยกทางควมคิด มีสงคราม มีการแย่งชิงอำนาจอันจะนำไปสู่หนทางแห่งความหายนะ ก็เกิดความขัดข้องหมองใจ ความหลงผิด ความไม่เข้าใจกันและกัน วรรณกรรมที่เน้นให้คนในชาติรักชาติและนำไปสู่การต่อสู้กู้ชาติ สามลืมสูนเป็นแบบอย่างหนึ่งในวรรณกรรมหลายๆ เรื่อง


ใจม่อนฮ้าย               หมายมุ่งพระไพรมิตร

สิคอยปุนปรองฮัก       ฮ่วมเฮียงราวฐาน

สมภารเบื้อง              บารมีเฮียงฮอดกันแล้ว

สุดภาคลวงเลิศล้ำ       พิลาเกี้ยวกลอนลำได้เด

แม่นเก่าเกื้อ              เกิดฮ่วมแฮงฮักแล้วนั้น

ไผฮ่อนขัดเขินเซิง      สวาทดูดายได้

สมควรได้                 สิไลวางปะปล่อยเป็นหรือ

แม่นว่าสุดฟากฟ้า       ทยานเยื้อย่องถึง


.แม่น้ำของและวรรณกรรมร่วมสมัย


นักปราชญ์ อาจารย์ปัญญชาชนคนคิดค้นเขียนยุคนี้ควรบำเพ็ญตนเหมือน

แม่ของนั้น              ไหลล่องมองไกล

ผ่านภูผา                 ป่าดงดอกไม้

ทุ่งนากว้าง              เขียวงามน้ำซุ่ม

ปูปลาเลี้ยง              คนลุ่มน้ำอิ่มหนำสำราญ


อาจมีบางเวลาซึ่งการค้นคว้าศึกษาประวัติศาสตร์ การ ‘ค้นหาความเก่าแก่แล้วนำมาเล่าต่างกัน’ เหมือนที่สุภาษิตโบราณเคยสอนไว้ เรื่องราวที่ได้เกิดขึ้นได้ผ่านเลยไปเป็นอดีตซึ่งยากแก่การแก้ไข แต่พวกเราคนเจเนเรชั่นใหม่ก็สามารถช่วยกันสร้างสรรค์สังคมด้วยอาวุธชนิดใหม่คืออาวุธทางศิลปะวรรณคดี โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความสามัคคี เป็นพี่เป็นน้อง และรักกันดั่งคำสอนของคนโบราณที่พร่ำสอนลูกหลานว่า


ความปรองดองกลมเกรียวเป็นแถ่น

คึดให้แม่นหญ้าแฝกหญ้าคา

หามาพ่อฝันเกลียวเป็นเชือก

ผูกช้างเผือกซ้างใหญ่ไพศาล

ช่างใจหามหนีไปบ่อได้

เพิ่นเปรียบไว้คุณสามัคคี


คันแม่นมีความฮู้               เต็มพุงเพียงปากก็ดีถ่อน

สอนโตเองบ่ได้                ไผสิหย้องว่าดี

คันว่ามีความฮู้                  พาโลเฮ็ดบ่แม่น

ความฮู้ท่อแผ่นฟ้า             เป็นบ้าท่อแผ่นดิน

ให้เจ้าเอายาวไว้                คือสินไซฟันไฮ่

ปีกลายได้แต่ป้ำ               ปีหน้าจั่งคอยฮอน


ในฐานะนักเขียนร่วมสมัยคนหนึ่ง ข้าพเจ้าได้คิดได้เขียน ได้แสดงคามคิดความเห็น ในงานสัมมนาไทย-ลาว ข้าพเจ้าขอสรุปความคิดเห็นในวันนี้ด้วยบทกวีบทหนึ่งที่ชื่อว่า


สารตอบสาวไซยะภูมิ

สร้างผลงานวรรณกรรมนำราวเรื่อง

ปับประเทืองสืบทอดกอดประสาน

คนลาว-ไทมาฮ่วมกันสรรผลงาน

ไปเยือนบ้านเฮือนกันได้ สบายดี


               
หวังว่าวันหน้าจะมาใหม่

มาฮ่วมใจ ฮ่วมฮักหลอมศักดิ์ศรี

ฝากหัวใจฮักได้บ้างอย่างเสรี

เฮาพี่น้องจะฮักกันนิรันดร


คำกลอนจากใจเจ้า            ข้อยยังจื่อจดจำ

ซาบซึ้งในทรวงอก             ที่หักพังทลายม้าง

ประหวัดการคราวกี้             กัดกินใจบ่ไลห่าง

ซายจึ่งเจ็บปวดเนื้อ             บ่มีมื้อซ่วงเซา

หรือว่าคนฮักบ้าน               พงษ์พันธุ์เผ่ากินข้าวเหนียว

เกิดมาเพื่อฮับกัน               ทุกข์ทนจนไร้

ชีวิตคือความแค้น              เคืองใจไฟล้นจี่

ความฮักคือดั่งง้วน             ระแวงไว้สู่ยาน

ความเก่าควรที่มอด            ด้วยน้ำใหม่ใจสองเฮา

แผ่ใจปางคราวหลัง             ตาบจูนให้สูนเกลี้ยง

ไผหนอแกะแผ่เฮื้อ             สะกิดใจทุกเช้าค่ำ

อนุสาวรีย์ตระหง่านตั้ง         ยองใจซ้ำข้อยหมู่ลาว

สาวเอ้ยอ้ายนี้แนวนามเสือ    นาคาใหญ่งูจงอาง

แผ่เป็นในกลางใจ               ยากสิลืมเลือนล้าง

บางทีใจจริงเจ้า                  จูบแผ่ใจให้จักหน่อย บ่ซ่างแล้ว

หย้านแต่หลบต่าวปิ้น           ตั๋วต้มอย่างย่าโมของน้อง

สาวเอ้ยนางผู้ฮู้                   ครูคนเก่งไซยะภูมิ

คนหนึ่งที่ต้องการ                จะประสานฮอยร้าว

อยากลืมเลือนฮอยซ้ำ          แผ่ใจอันขมขื่นในใจอ้าย

เอาตี้! นงนาดน้อง วิไลน้อย   อ้ายเปิดใจให้แล้วเด้!

 

 

 

บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
    ...เสียงปืนดังลั่นเปรี้ยง-คล้ายเสียงชะนีหวน
สุมาตร ภูลายยาว
สายลมเริ่มพัดเปลี่ยนทิศจากเหนือลงใต้ ฤดูฝนใกล้พ้นผ่านแล้ว ฤดูหนาวกำลังเดินทางมาแทน ขณะอาทิตย์ใกล้ลับฟ้าถัดจากกระท่อมหลังสุดท้ายตรงหาดทรายไปไม่ไกล คนจำนวนมากกำลังวุ่นวายอยู่กับการเก็บเครื่องมือทำงาน หากนับตั้งแต่วันแรกถึงวันนี้ก็ล่วงเข้าไป ๔ วันแล้วที่ช่างในหมู่บ้านถูกไหว้วานให้มาช่วยกันทำเรือไฟ เพื่อให้ทันใช้ในวันออกพรรษา หลังจมอยู่กับงานมาทั้งวัน เมื่อโรงงานต่อเรือไฟปิดประตูลงในตอนเย็น โรงมหรสพริมฝั่งน้ำก็เข้ามาแทน
สุมาตร ภูลายยาว
แม่น้ำนิ่งงันลงชั่วการกระพริบตาของพญามังกร ชาวบ้านริมฝั่งน้ำไม่มีใครรู้ว่า พญามังกรกระพริบตากี่ครั้ง หรือด้วยอำนาจใดของพญามังกร แม่น้ำจึงหยุดไหล ทั้งที่แม่น้ำเคยไหลมาชั่วนาตาปี วันที่แม่น้ำหยุดไหล คนหาปลาร้องไห้ปานจะขาดใจ เพราะปลาจำนวนมากได้หนีหายไปจากแม่น้ำ
สุมาตร ภูลายยาว
แดดร้อนของเดือนมีนาคมแผดเผาหญ้าแห้งกรัง หน้าร้อนปีนี้ร้อนกว่าทุกปี เพราะฝนไม่ตก ยอดมะม่วงอ่อนจึงไม่ยอมแตกช่อ มะม่วงป่าเริ่มออกดอกรอฝนพรำ เพื่อให้ผลได้เติบโต ความร้อนมาพร้อมกับความแห้งแล้ง ในความแห้งแล้ง ดอกไม้ป่าหลากสีกำลังผลิบาน มีทั้งดอกสีส้ม แดง ม่วง ความแห้งแล้งดูมีชีวิตชีวาขึ้นมาบ้าง
สุมาตร ภูลายยาว
‘ย่างเข้าเดือนห้า น้ำท่าก็เริ่มขอดแล้ง’ คนแก่บางคนว่าอย่างนั้น (ถ้าผมจำไม่ผิด) คำพูดนี้ได้สะท้อนบางอย่างออกมาด้วย นั่นคือสิ่งที่ผู้คนในยุคสมัยก่อนเห็น พอถึงเดือนห้า น้ำที่เคยมีอยู่ก็แห้งขอดลงเป็นลำดับ ผู้คนในสมัยก่อนที่จะก้าวเข้าสู่สังคมเกษตรอุตสาหกรรมเช่นทุกวันนี้ทำอะไรบ้าง ในสังคมภาคกลางยุคที่ทำการเกษตรไม่ใช่อุตสาหกรรม หน้าแล้งไม่มีใครทำนา เพราะทุกคนต่างรู้ว่า หน้าแล้งแล้วนะ น้ำท่าจะมาจากไหน แต่พอยุคอุตสาหกรรมเกษตรเรืองอำนาจ หน้าแล้งผู้คนก็ยังคงทำนา เพื่อตอบสนองอุตสาหกรรมการเกษตรกันอยู่
สุมาตร ภูลายยาว
ผู้ดีตีนแดง-ขอ โทษ เท้าแดง ตะแคงเท้าเดิน เวลาเหยียบปุ่มปมของพรมผืนนุ่มนิ่มราวกับปุยเมฆ นั่นแหละเท้าของผู้ดี และโลกของผู้ดีมีแต่น้ำครำ –น้ำคำ แห่งการหลอกลวง ทั้งผู้ดีจริง และผู้ดีกลวง ขณะเดินย่ำไปบนเส้นทางสู่ร้านอาหารเลิศหรู เมนูไข่คาเวียกับบรั่นดีแก้วทรงสูงดัดจริตวางรอ ผู้ดีน้ำครำละเลียดเมรัยรสคมผ่านลำคอ และละเลียดไข่คาเวียที่มีอยู่นับจำนวนได้บนจานราคาแพงกว่าการขึ้นห้องกับปอง ของโฉน ไพรำ ผู้ดี น้ำครำมองออกไปนอกหน้าต่างสูงลิบของห้องอาหารโรงแรมเสียดฟ้า เบื้องล่างแม่น้ำไหลเอื่อยเหนื่อยปานจะขาดใจตาย ผู้ดีน้ำครำละเลียดไข่คาเวียราคาแพง เพื่อเลิศหรูมีหน้ามีตา…
สุมาตร ภูลายยาว
สายลมหนาวพัดมาพร้อมกับสายฝนที่โปรยสายลงมา ว่ากันว่านี่คือฝนหลงฤดู! กาแฟแก้วของวันเป็นคาปูชิโน่ร้อนสองแก้ว แต่ไม่ใช่ของผมเป็นของลูกค้าต่างชาติ รสชาติของกาแฟเป็นอย่างไรในเช้านี้ ผมไม่อาจรู้ เพราะไม่ได้ชิม หลังสตรีมนมสดจนร้อนได้ที่ กลิ่นกาแฟสดหอมกรุ่นโชยออกมา และพร้อมแล้วสำหรับการดื่ม-กิน
สุมาตร ภูลายยาว
เนิ่นนานหลายปีแล้วที่ผมพเนจรจากบ้านเกิด แต่หลายๆ ความรู้สึกเกี่ยวกับบ้าน ผมไม่มีทางลืมได้เด็ดขาด บางค่ำคืนที่มีโอกาสอยู่กับตัวเองเพียงลำพัง ด้วยความสงบเงียบ ภาพบ้านเกิดจะย้อนกลับมาสู่ความทรงจำ-ความทรงจำในวัยเยาว์เกี่ยวกับบ้านเกิด
สุมาตร ภูลายยาว
เวลาผ่านไปเร็ว ยามที่เราโตขึ้น เราเชื่อเช่นนั้น เพราะเราโหยหาเวลาของวัยเยาว์ เมื่อเราเติบโตขึ้นเป็นลำดับมีหลายความรู้สึกของวัยเยาว์ที่หล่นหายไปอย่างไม่อาจเรียกคืนกลับมา ราวกับสายน้ำที่ไหลไกลออกไปทุกทีๆ มิอาจหวนกลับมาเป็นสายน้ำได้เช่นเดิม แต่กลายเป็นสายฝนพรำลงมาแทน หากพูดถึงอดีตแล้ว บางด้านที่เลวร้าย เราอยากผ่านเลย แต่กลับจำได้ฝังใจ...
สุมาตร ภูลายยาว
บุนทะนอง ซมไซผล แปลโดย สุมาตร ภูลายยาว    ๑.ผลน้ำเต้าบุ่ง และวรรณคดีพื้นเมือง ถ้าจะให้พูดถึงความสัมพันธ์ไทย-ลาว ความเชื่อมโยงด้านวรรณคดีของชนชาติเผ่าพันธุ์ต่างๆ ในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำของ สิ่งแรกที่ข้าพเจ้าคิดถึงคือ น้ำเต้าบุ่ง
สุมาตร ภูลายยาว
ดอกเกดเป็นดอกไม้ชนิดหนึ่งที่ลำต้นมีลักษณะเหมือนต้นปาล์ม เวลาออกดอก ดอกจะส่งกลิ่นหอม คนเฒ่าคนแก่จะนิยมนำไปบูชาพระและนำมาทัดหู ผมไม่รู้เหมือนกันว่าดอกไม้ชนิดนี้จะมีอยู่ทั่วไปในประเทศไทยหรือมีเฉพาะที่ภาคอีสานและประเทศลาว
สุมาตร ภูลายยาว
จากใบไม้ใบสุดท้ายถึงซิ่นไหมผืนเก่าๆ: ๒ เรื่องสั้นซีไรต์บนแผ่นดินเบื้องซ้ายแม่น้ำของ (โขง) เมื่อพูดถึงวรรณกรรมบนแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงแล้ว หลายคนคงอดที่จะพูดถึงวรรณกรรมชิ้นคลาสสิกเช่น ‘สังสินไซ’ ไม่ได้ เพราะสังสินไซเป็นวรรณกรรมพื้นบ้านที่คนทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงรู้จักมากที่สุดชิ้นหนึ่ง นอกจากสังสินไซแล้ว ผลงานของนักเขียนลาวหลายคนในความรับรู้ของคนไทยคงหนีไม่พ้นผลงานเขียนของท่านมหาสีลา วีระวงค์ ผู้รจนางานมหากาพย์อันยิ่งใหญ่ในนาม ‘ท้าวฮุ่งและขุนเจือง’