Skip to main content

แม่น้ำนิ่งงันลงชั่วการกระพริบตาของพญามังกร ชาวบ้านริมฝั่งน้ำไม่มีใครรู้ว่า พญามังกรกระพริบตากี่ครั้ง หรือด้วยอำนาจใดของพญามังกร แม่น้ำจึงหยุดไหล ทั้งที่แม่น้ำเคยไหลมาชั่วนาตาปี วันที่แม่น้ำหยุดไหล คนหาปลาร้องไห้ปานจะขาดใจ เพราะปลาจำนวนมากได้หนีหายไปจากแม่น้ำ


การเล่าเรื่องของแม่น้ำยามนี้จึงเป็นการเล่าถึงอดีตอันแสนหวาน...


นานนับ ๑๐ กว่าปีที่ผู้คนริมฝั่งน้ำได้รู้ว่า แม่น้ำหยุดไหลเพราะเหตุผลใด ข่าวการเสกหินปูนก้อนแรกลงสู่แม่น้ำจนกลายเป็นเขื่อนใหญ่กั้นแม่น้ำของพญามังกร เป็นเหตุผลที่ทำให้แม่น้ำหยุดไหลลง คนหาปลาว่าอย่างนั้น


เพราะเหตุผลใดพญามังกรผู้อาศัยอยู่เหนือแม่น้ำใหญ่จึงได้ทำเช่นนั้น ไม่มีใครให้เหตุผลได้อย่างแท้จริง ทุกคนรู้เพียงข่าวที่แว่วมากับสายลม และสายฝนว่า พญามังกรต้องการกลืนกินไฟเป็นภักษาหารจึงตัดสินใจเสกหินปูนก้อนแล้วก้อนเล่าปิดกั้นแม่น้ำ และทันทีที่การเสกหินปิดกั้นแม่น้ำของพญามังกรเสร็จสิ้นลง ไฟก้อนแรกก็ถูกพญามังกรกลืนกินอย่างหิวกระหาย


ร่างกายของพญามังกรเริ่มอ้วนพลีขึ้นเป็นลำดับ เพราะการกลืนกินไฟจากการเสกหินปูนทิ้งลงปิดกั้นแม่น้ำ ร่างกายที่ผอมเพรียวของพญามังกรเริ่มอ้วนถ้วนสมบูรณ์ขึ้นเป็นลำดับ เกล็ดของพญามังกรเริ่มมันวาวยามต้องแสงแดด
มันวาวจนดูน่ากลัว


นานนับ ๑๐ กว่าปี ไฟที่พญามังกรกลืนกินจากแม่น้ำเริ่มน้อยลง เพราะการกินอย่างไม่ลืมหูลืมตา เมื่อไฟน้อยลง พญามังกรเริ่มผอมโซลงอีกครั้ง การเลื้อยเพื่ออวดท่วงท่าอันงดงามเริ่มเชื่องช้าลง ในที่สุดพญามังกรก็เริ่มเลื้อยคดเคี้ยวลงมาตามแม่น้ำ เพื่อแสวงหาแหล่งอาหารแห่งใหม่ เมื่อมาถึงหุบเขาแห่งหนึ่งที่ขนาบอยู่สองข้างแม่น้ำ สัมผัสบางอย่างของพญามังกรได้รับรู้ถึงไฟที่คุกรุ่นอยู่ในแม่น้ำอีกครั้ง แล้วพญามังกรก็ตัดสินใจเสกภูเขาทั้งลูกให้กลายเป็นก้อนหินชิ้นเล็กชิ้นน้อย ก่อนจะให้ส่วนลำตัวไปจนถึงปลายหางตวัดเอาก้อนหินลงสู่แม่น้ำ เพื่อปิดกั้นแม่น้ำดั่งที่เคยทำมา จากก้อนหินก้อนแล้วก้อนเล่าที่พญามังกรทิ้งลงแม่น้ำก็กลายเป็นกองหินกองใหญ่ปิดขวางทางน้ำอีกครั้ง


ในวันที่แม่น้ำถูกปิดกั้น พญามังกรไม่ได้ยินเสียงร้องไห้ และการบอกลาของแม่น้ำ แต่พญามังกรสนใจแต่ไฟอันเป็นอาหารอันโอชะของตัวเอง และพญามังกรก็เริ่มใช้ปากอันมหึมาดูดกลืนไฟให้หายเข้าไปในปากดั่งเช่นที่เคยทำมา...


นานนับปีที่พญามังกรกลืนกินไฟวันแล้ววันเล่า ไฟที่เคยมีอยู่จำนวนมากก็น้อยลง แม่น้ำที่เคยให้ไฟไม่สามารถให้ไฟได้อีกต่อไป พญามังกรเริ่มหงุดหงิด และงุ่นง่านสะบัดหางฟาดไปทั่วแม่น้ำจนแม่น้ำขุ่นข้น ในวันที่แม่น้ำขุ่นข้น พญามังกรไม่เคยรู้เลยว่า ความตายได้เดินทางมาถึงแม่น้ำแล้ว



แม่น้ำหายใจรวยริน เพราะไม่อาจไหลได้อย่างที่เคยเป็นมา การระเหยหายของแม่น้ำมีมากขึ้น ฤดูน้ำหลาก น้ำไม่หลากแต่กลับลดลง แม่น้ำร้องไห้เงียบงันในสายฝน บางทีนี่อาจเป็นวันสุดท้าย แม่น้ำว่าอย่างนั้นก่อนจะค่อยๆ ไหลอย่างเชื่องช้าไปสู่การหยุดนิ่ง


พญามังกรไม่เคยรับรู้หรือบางทีอาจไม่อยากรับรู้ถึงความเหนื่อยล้า และลมหายใจรวยรินของแม่น้ำ พญามังกรยังคงกลืนกินไฟจากแม่น้ำ เพื่อขยายร่างกายของตัวเองให้อวบอ้วน...


เมื่อไฟน้อยลง พญามังกรก็เลื้อยไปหาไฟจากแหล่งใหม่บนแม่น้ำซ้ำแล้วซ้ำเล่า ขณะการขยับเคลื่อนไหวของพญามังกร แม่น้ำหายใจรวยริน และสิ้นใจตายก่อนวัยอันควร

 

 

 

บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
    ...เสียงปืนดังลั่นเปรี้ยง-คล้ายเสียงชะนีหวน
สุมาตร ภูลายยาว
สายลมเริ่มพัดเปลี่ยนทิศจากเหนือลงใต้ ฤดูฝนใกล้พ้นผ่านแล้ว ฤดูหนาวกำลังเดินทางมาแทน ขณะอาทิตย์ใกล้ลับฟ้าถัดจากกระท่อมหลังสุดท้ายตรงหาดทรายไปไม่ไกล คนจำนวนมากกำลังวุ่นวายอยู่กับการเก็บเครื่องมือทำงาน หากนับตั้งแต่วันแรกถึงวันนี้ก็ล่วงเข้าไป ๔ วันแล้วที่ช่างในหมู่บ้านถูกไหว้วานให้มาช่วยกันทำเรือไฟ เพื่อให้ทันใช้ในวันออกพรรษา หลังจมอยู่กับงานมาทั้งวัน เมื่อโรงงานต่อเรือไฟปิดประตูลงในตอนเย็น โรงมหรสพริมฝั่งน้ำก็เข้ามาแทน
สุมาตร ภูลายยาว
แม่น้ำนิ่งงันลงชั่วการกระพริบตาของพญามังกร ชาวบ้านริมฝั่งน้ำไม่มีใครรู้ว่า พญามังกรกระพริบตากี่ครั้ง หรือด้วยอำนาจใดของพญามังกร แม่น้ำจึงหยุดไหล ทั้งที่แม่น้ำเคยไหลมาชั่วนาตาปี วันที่แม่น้ำหยุดไหล คนหาปลาร้องไห้ปานจะขาดใจ เพราะปลาจำนวนมากได้หนีหายไปจากแม่น้ำ
สุมาตร ภูลายยาว
แดดร้อนของเดือนมีนาคมแผดเผาหญ้าแห้งกรัง หน้าร้อนปีนี้ร้อนกว่าทุกปี เพราะฝนไม่ตก ยอดมะม่วงอ่อนจึงไม่ยอมแตกช่อ มะม่วงป่าเริ่มออกดอกรอฝนพรำ เพื่อให้ผลได้เติบโต ความร้อนมาพร้อมกับความแห้งแล้ง ในความแห้งแล้ง ดอกไม้ป่าหลากสีกำลังผลิบาน มีทั้งดอกสีส้ม แดง ม่วง ความแห้งแล้งดูมีชีวิตชีวาขึ้นมาบ้าง
สุมาตร ภูลายยาว
‘ย่างเข้าเดือนห้า น้ำท่าก็เริ่มขอดแล้ง’ คนแก่บางคนว่าอย่างนั้น (ถ้าผมจำไม่ผิด) คำพูดนี้ได้สะท้อนบางอย่างออกมาด้วย นั่นคือสิ่งที่ผู้คนในยุคสมัยก่อนเห็น พอถึงเดือนห้า น้ำที่เคยมีอยู่ก็แห้งขอดลงเป็นลำดับ ผู้คนในสมัยก่อนที่จะก้าวเข้าสู่สังคมเกษตรอุตสาหกรรมเช่นทุกวันนี้ทำอะไรบ้าง ในสังคมภาคกลางยุคที่ทำการเกษตรไม่ใช่อุตสาหกรรม หน้าแล้งไม่มีใครทำนา เพราะทุกคนต่างรู้ว่า หน้าแล้งแล้วนะ น้ำท่าจะมาจากไหน แต่พอยุคอุตสาหกรรมเกษตรเรืองอำนาจ หน้าแล้งผู้คนก็ยังคงทำนา เพื่อตอบสนองอุตสาหกรรมการเกษตรกันอยู่
สุมาตร ภูลายยาว
ผู้ดีตีนแดง-ขอ โทษ เท้าแดง ตะแคงเท้าเดิน เวลาเหยียบปุ่มปมของพรมผืนนุ่มนิ่มราวกับปุยเมฆ นั่นแหละเท้าของผู้ดี และโลกของผู้ดีมีแต่น้ำครำ –น้ำคำ แห่งการหลอกลวง ทั้งผู้ดีจริง และผู้ดีกลวง ขณะเดินย่ำไปบนเส้นทางสู่ร้านอาหารเลิศหรู เมนูไข่คาเวียกับบรั่นดีแก้วทรงสูงดัดจริตวางรอ ผู้ดีน้ำครำละเลียดเมรัยรสคมผ่านลำคอ และละเลียดไข่คาเวียที่มีอยู่นับจำนวนได้บนจานราคาแพงกว่าการขึ้นห้องกับปอง ของโฉน ไพรำ ผู้ดี น้ำครำมองออกไปนอกหน้าต่างสูงลิบของห้องอาหารโรงแรมเสียดฟ้า เบื้องล่างแม่น้ำไหลเอื่อยเหนื่อยปานจะขาดใจตาย ผู้ดีน้ำครำละเลียดไข่คาเวียราคาแพง เพื่อเลิศหรูมีหน้ามีตา…
สุมาตร ภูลายยาว
สายลมหนาวพัดมาพร้อมกับสายฝนที่โปรยสายลงมา ว่ากันว่านี่คือฝนหลงฤดู! กาแฟแก้วของวันเป็นคาปูชิโน่ร้อนสองแก้ว แต่ไม่ใช่ของผมเป็นของลูกค้าต่างชาติ รสชาติของกาแฟเป็นอย่างไรในเช้านี้ ผมไม่อาจรู้ เพราะไม่ได้ชิม หลังสตรีมนมสดจนร้อนได้ที่ กลิ่นกาแฟสดหอมกรุ่นโชยออกมา และพร้อมแล้วสำหรับการดื่ม-กิน
สุมาตร ภูลายยาว
เนิ่นนานหลายปีแล้วที่ผมพเนจรจากบ้านเกิด แต่หลายๆ ความรู้สึกเกี่ยวกับบ้าน ผมไม่มีทางลืมได้เด็ดขาด บางค่ำคืนที่มีโอกาสอยู่กับตัวเองเพียงลำพัง ด้วยความสงบเงียบ ภาพบ้านเกิดจะย้อนกลับมาสู่ความทรงจำ-ความทรงจำในวัยเยาว์เกี่ยวกับบ้านเกิด
สุมาตร ภูลายยาว
เวลาผ่านไปเร็ว ยามที่เราโตขึ้น เราเชื่อเช่นนั้น เพราะเราโหยหาเวลาของวัยเยาว์ เมื่อเราเติบโตขึ้นเป็นลำดับมีหลายความรู้สึกของวัยเยาว์ที่หล่นหายไปอย่างไม่อาจเรียกคืนกลับมา ราวกับสายน้ำที่ไหลไกลออกไปทุกทีๆ มิอาจหวนกลับมาเป็นสายน้ำได้เช่นเดิม แต่กลายเป็นสายฝนพรำลงมาแทน หากพูดถึงอดีตแล้ว บางด้านที่เลวร้าย เราอยากผ่านเลย แต่กลับจำได้ฝังใจ...
สุมาตร ภูลายยาว
บุนทะนอง ซมไซผล แปลโดย สุมาตร ภูลายยาว    ๑.ผลน้ำเต้าบุ่ง และวรรณคดีพื้นเมือง ถ้าจะให้พูดถึงความสัมพันธ์ไทย-ลาว ความเชื่อมโยงด้านวรรณคดีของชนชาติเผ่าพันธุ์ต่างๆ ในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำของ สิ่งแรกที่ข้าพเจ้าคิดถึงคือ น้ำเต้าบุ่ง
สุมาตร ภูลายยาว
ดอกเกดเป็นดอกไม้ชนิดหนึ่งที่ลำต้นมีลักษณะเหมือนต้นปาล์ม เวลาออกดอก ดอกจะส่งกลิ่นหอม คนเฒ่าคนแก่จะนิยมนำไปบูชาพระและนำมาทัดหู ผมไม่รู้เหมือนกันว่าดอกไม้ชนิดนี้จะมีอยู่ทั่วไปในประเทศไทยหรือมีเฉพาะที่ภาคอีสานและประเทศลาว
สุมาตร ภูลายยาว
จากใบไม้ใบสุดท้ายถึงซิ่นไหมผืนเก่าๆ: ๒ เรื่องสั้นซีไรต์บนแผ่นดินเบื้องซ้ายแม่น้ำของ (โขง) เมื่อพูดถึงวรรณกรรมบนแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงแล้ว หลายคนคงอดที่จะพูดถึงวรรณกรรมชิ้นคลาสสิกเช่น ‘สังสินไซ’ ไม่ได้ เพราะสังสินไซเป็นวรรณกรรมพื้นบ้านที่คนทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงรู้จักมากที่สุดชิ้นหนึ่ง นอกจากสังสินไซแล้ว ผลงานของนักเขียนลาวหลายคนในความรับรู้ของคนไทยคงหนีไม่พ้นผลงานเขียนของท่านมหาสีลา วีระวงค์ ผู้รจนางานมหากาพย์อันยิ่งใหญ่ในนาม ‘ท้าวฮุ่งและขุนเจือง’