Skip to main content

ดอกเกดเป็นดอกไม้ชนิดหนึ่งที่ลำต้นมีลักษณะเหมือนต้นปาล์ม เวลาออกดอก ดอกจะส่งกลิ่นหอม คนเฒ่าคนแก่จะนิยมนำไปบูชาพระและนำมาทัดหู ผมไม่รู้เหมือนกันว่าดอกไม้ชนิดนี้จะมีอยู่ทั่วไปในประเทศไทยหรือมีเฉพาะที่ภาคอีสานและประเทศลาว


ในวัยเยาว์ของผม ผมรู้จักดอกเกดครั้งแรกเมื่อเดินไปตามริมหนองน้ำ ผมเห็นต้นของดอกเกดขึ้นอยู่ตามริมหนองน้ำมากมาย แล้วอยู่มาวันหนึ่งดอกเกดเหล่านั้นก็หายไปกับการพัฒนาขุดลอกริมหนองน้ำ ความทรงจำของผมที่มีอยู่กับดอกเกดก็หายไปตั้งแต่วันนั้น


แล้วดอกเกดก็มาปรากฏกายให้ผมเห็นอีกครั้ง ดอกเกดดอกนี้เป็นดอกไม้ที่หอมหวนไปด้วยกลิ่นน้ำหมึกและตัวหนังสือบนหน้ากระดาษ ดอกเกดดอกนี้เป็นนามปากกาของนักเขียนหญิงคนหนึ่งที่มีความสำคัญต่อวงการวรรณกรรมในประเทศลาวเป็นอย่างยิ่ง ดอกเกดดอกนี้เป็นร่างเงาของป้าดวงเดือน บุนยาวง บุตรสาวของมหาสีลา วีระวงค์ ผู้เขียนประวัติศาสตร์ลาวและหนังสืออื่นๆ อีกจำนวนมาก


ดอกเกดสำนักพิมพ์เริ่มก่อตั้งขึ้นมาเมื่อปีที่แล้ว โดยเป้าหมายหลักคือการพิมพ์งานเขียนของในเขียนในประเทศลาว ดอกเกดสำนักพิมพ์เป็นสำนักพิมพ์ที่เข้ามาทำธุรกิจการพิมพ์ของเอกชนอีกหนึ่งเจ้าที่กำลังมาแรงและเป็นที่น่าจับตามองอีกสำนักพิมพ์หนึ่ง


ดอกเกดสำนักพิมพ์มาเยือนเชียงของในปลายหนาวที่ผ่านมาโดยบรรณาธิการหลักของสำนักพิมพ์เดินทางมาถ่ายทำสารคดีเรื่องแม่น้ำของ ผมจึงมีโอกาสได้พบกับบรรณาธิการคนนั้น เธอเป็นลูกสาวคนเล็กของป้าดวงเดือน เธอมาพร้อมกับหนังสือ ๕ เล่มที่จัดพิมพ์โดยดอกเกดสำนักพิมพ์ คือ ที่รักเฮาฮักกันบ่ได้ เขียนโดยอุทิน บุนยาวง ฟ้าปี้น เขียนโดย ดวงจำปา เมื่อแม่เข้าคุก เขียนโดย ดวงเดือน บุนยาวง จดหมายนี้ของฟากถึงอ้าย เขียนโดย ดอกเกด


เธอผู้อยู่ในเงาร่างของบรรณาธิการสำนักพิมพ์กล่าวว่า ทางสำนักพิมพ์จะทยอยพิมพ์หนังสือออกมาเรื่อยๆ โดยมีเป้าหมายหลักให้หนังสือเข้าถึงคนลาวทุกคนและคนทั่วไปได้อ่านหนังสือเท่าๆ กัน เพราะที่ผ่านมาการพิมพ์หนังสือในประเทศลาวจะพิมพ์โดยโรงพิมพ์ของรัฐเท่านั้น ดอกเกดสำนักพิมพ์จึงถือว่าเป็นปรากฏการณ์ใหม่ในวงการสิ่งพิมพ์ในประเทศลาว


หลังจากผู้มาเยือนกลับไปแล้ว เมื่อต้นเดือนกันยายนก็มีหนังสือบัตรเล่าบุญส่งมา ข้อความในบัตรเล่าบุญใบนั้นบอกกล่าวถึงกำหนดการในการฉลองหอสมุดและทำบุญครบ ๑๐๐ ปีชาตกาลของมหาสีลา วีระวงค์ ซึ่งหอสมุดที่จะเปิดขึ้นนี้เกิดจากความร่วมมือกันของครอบครัววีระวงค์ หอสมุดนี้สร้างเสร็จแล้ว และจะทำการเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ ๒๕-๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๗ ที่จะถึงนี้


เมื่อหอสมุดเปิดอย่างเป็นทางการแล้วหนอนหนังสือคงเต็มสวนไผ่พันกอ


ก่อนที่ผู้มาเยือนจะเดินทางกลับ ผมได้มีโอกาสสอบถามถึงการขายหนังสือและการพิมพ์หนังสือของสำนักพิมพ์ ผู้มาเยือนบอกว่า กลับบ้านไปต้องไปทำการตลาดเรื่องหนังสือ การขายหนังสือในประเทศลาวไม่ใช่ว่าจะขายได้ง่ายๆ ผู้มาเยือนบอกว่า เธอต้องเอาหนังสือใส่รถแล้วก็วิ่งเข้าไปตามโรงเรียนเพื่อเปิดท้ายขายหนังสือตามโรงเรียน


เมื่อผู้มาเยือนพูดจบผมก็หวนคิดถึงสมัยที่ตัวเองเป็นเด็ก ผมเคยเห็นเขาเอาหนังสือใส่รถวิ่งเข้าไปในโรงเรียนเพื่อเอาไปขายให้เด็กๆ ได้อ่าน แต่ปัจจุบันในประเทศไทยผมเชื่อว่าเรื่องอย่างนี้แทบจะไม่มีแล้ว เพราะในประเทศไทยมีระบบสายส่งหนังสือเข้ามาจัดการแทน แต่ที่ประเทศลาวดอกเกดสำนักพิมพ์พึ่งเริ่มต้นในสิ่งที่ประเทศไทยทำมาแล้ว


หวังว่าหนังสือของดอกเกดคงขายได้พอสมควร และหวังว่าในหอสมุดมหาสีลา วีระวงค์ คงมีหนังสือรวมเรื่องสั้นของนักเขียนไทยสักคนที่คนลาวผู้ซึ่งอ่านภาษาไทยได้จะได้อ่าน

 

 

บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
    ...เสียงปืนดังลั่นเปรี้ยง-คล้ายเสียงชะนีหวน
สุมาตร ภูลายยาว
สายลมเริ่มพัดเปลี่ยนทิศจากเหนือลงใต้ ฤดูฝนใกล้พ้นผ่านแล้ว ฤดูหนาวกำลังเดินทางมาแทน ขณะอาทิตย์ใกล้ลับฟ้าถัดจากกระท่อมหลังสุดท้ายตรงหาดทรายไปไม่ไกล คนจำนวนมากกำลังวุ่นวายอยู่กับการเก็บเครื่องมือทำงาน หากนับตั้งแต่วันแรกถึงวันนี้ก็ล่วงเข้าไป ๔ วันแล้วที่ช่างในหมู่บ้านถูกไหว้วานให้มาช่วยกันทำเรือไฟ เพื่อให้ทันใช้ในวันออกพรรษา หลังจมอยู่กับงานมาทั้งวัน เมื่อโรงงานต่อเรือไฟปิดประตูลงในตอนเย็น โรงมหรสพริมฝั่งน้ำก็เข้ามาแทน
สุมาตร ภูลายยาว
แม่น้ำนิ่งงันลงชั่วการกระพริบตาของพญามังกร ชาวบ้านริมฝั่งน้ำไม่มีใครรู้ว่า พญามังกรกระพริบตากี่ครั้ง หรือด้วยอำนาจใดของพญามังกร แม่น้ำจึงหยุดไหล ทั้งที่แม่น้ำเคยไหลมาชั่วนาตาปี วันที่แม่น้ำหยุดไหล คนหาปลาร้องไห้ปานจะขาดใจ เพราะปลาจำนวนมากได้หนีหายไปจากแม่น้ำ
สุมาตร ภูลายยาว
แดดร้อนของเดือนมีนาคมแผดเผาหญ้าแห้งกรัง หน้าร้อนปีนี้ร้อนกว่าทุกปี เพราะฝนไม่ตก ยอดมะม่วงอ่อนจึงไม่ยอมแตกช่อ มะม่วงป่าเริ่มออกดอกรอฝนพรำ เพื่อให้ผลได้เติบโต ความร้อนมาพร้อมกับความแห้งแล้ง ในความแห้งแล้ง ดอกไม้ป่าหลากสีกำลังผลิบาน มีทั้งดอกสีส้ม แดง ม่วง ความแห้งแล้งดูมีชีวิตชีวาขึ้นมาบ้าง
สุมาตร ภูลายยาว
‘ย่างเข้าเดือนห้า น้ำท่าก็เริ่มขอดแล้ง’ คนแก่บางคนว่าอย่างนั้น (ถ้าผมจำไม่ผิด) คำพูดนี้ได้สะท้อนบางอย่างออกมาด้วย นั่นคือสิ่งที่ผู้คนในยุคสมัยก่อนเห็น พอถึงเดือนห้า น้ำที่เคยมีอยู่ก็แห้งขอดลงเป็นลำดับ ผู้คนในสมัยก่อนที่จะก้าวเข้าสู่สังคมเกษตรอุตสาหกรรมเช่นทุกวันนี้ทำอะไรบ้าง ในสังคมภาคกลางยุคที่ทำการเกษตรไม่ใช่อุตสาหกรรม หน้าแล้งไม่มีใครทำนา เพราะทุกคนต่างรู้ว่า หน้าแล้งแล้วนะ น้ำท่าจะมาจากไหน แต่พอยุคอุตสาหกรรมเกษตรเรืองอำนาจ หน้าแล้งผู้คนก็ยังคงทำนา เพื่อตอบสนองอุตสาหกรรมการเกษตรกันอยู่
สุมาตร ภูลายยาว
ผู้ดีตีนแดง-ขอ โทษ เท้าแดง ตะแคงเท้าเดิน เวลาเหยียบปุ่มปมของพรมผืนนุ่มนิ่มราวกับปุยเมฆ นั่นแหละเท้าของผู้ดี และโลกของผู้ดีมีแต่น้ำครำ –น้ำคำ แห่งการหลอกลวง ทั้งผู้ดีจริง และผู้ดีกลวง ขณะเดินย่ำไปบนเส้นทางสู่ร้านอาหารเลิศหรู เมนูไข่คาเวียกับบรั่นดีแก้วทรงสูงดัดจริตวางรอ ผู้ดีน้ำครำละเลียดเมรัยรสคมผ่านลำคอ และละเลียดไข่คาเวียที่มีอยู่นับจำนวนได้บนจานราคาแพงกว่าการขึ้นห้องกับปอง ของโฉน ไพรำ ผู้ดี น้ำครำมองออกไปนอกหน้าต่างสูงลิบของห้องอาหารโรงแรมเสียดฟ้า เบื้องล่างแม่น้ำไหลเอื่อยเหนื่อยปานจะขาดใจตาย ผู้ดีน้ำครำละเลียดไข่คาเวียราคาแพง เพื่อเลิศหรูมีหน้ามีตา…
สุมาตร ภูลายยาว
สายลมหนาวพัดมาพร้อมกับสายฝนที่โปรยสายลงมา ว่ากันว่านี่คือฝนหลงฤดู! กาแฟแก้วของวันเป็นคาปูชิโน่ร้อนสองแก้ว แต่ไม่ใช่ของผมเป็นของลูกค้าต่างชาติ รสชาติของกาแฟเป็นอย่างไรในเช้านี้ ผมไม่อาจรู้ เพราะไม่ได้ชิม หลังสตรีมนมสดจนร้อนได้ที่ กลิ่นกาแฟสดหอมกรุ่นโชยออกมา และพร้อมแล้วสำหรับการดื่ม-กิน
สุมาตร ภูลายยาว
เนิ่นนานหลายปีแล้วที่ผมพเนจรจากบ้านเกิด แต่หลายๆ ความรู้สึกเกี่ยวกับบ้าน ผมไม่มีทางลืมได้เด็ดขาด บางค่ำคืนที่มีโอกาสอยู่กับตัวเองเพียงลำพัง ด้วยความสงบเงียบ ภาพบ้านเกิดจะย้อนกลับมาสู่ความทรงจำ-ความทรงจำในวัยเยาว์เกี่ยวกับบ้านเกิด
สุมาตร ภูลายยาว
เวลาผ่านไปเร็ว ยามที่เราโตขึ้น เราเชื่อเช่นนั้น เพราะเราโหยหาเวลาของวัยเยาว์ เมื่อเราเติบโตขึ้นเป็นลำดับมีหลายความรู้สึกของวัยเยาว์ที่หล่นหายไปอย่างไม่อาจเรียกคืนกลับมา ราวกับสายน้ำที่ไหลไกลออกไปทุกทีๆ มิอาจหวนกลับมาเป็นสายน้ำได้เช่นเดิม แต่กลายเป็นสายฝนพรำลงมาแทน หากพูดถึงอดีตแล้ว บางด้านที่เลวร้าย เราอยากผ่านเลย แต่กลับจำได้ฝังใจ...
สุมาตร ภูลายยาว
บุนทะนอง ซมไซผล แปลโดย สุมาตร ภูลายยาว    ๑.ผลน้ำเต้าบุ่ง และวรรณคดีพื้นเมือง ถ้าจะให้พูดถึงความสัมพันธ์ไทย-ลาว ความเชื่อมโยงด้านวรรณคดีของชนชาติเผ่าพันธุ์ต่างๆ ในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำของ สิ่งแรกที่ข้าพเจ้าคิดถึงคือ น้ำเต้าบุ่ง
สุมาตร ภูลายยาว
ดอกเกดเป็นดอกไม้ชนิดหนึ่งที่ลำต้นมีลักษณะเหมือนต้นปาล์ม เวลาออกดอก ดอกจะส่งกลิ่นหอม คนเฒ่าคนแก่จะนิยมนำไปบูชาพระและนำมาทัดหู ผมไม่รู้เหมือนกันว่าดอกไม้ชนิดนี้จะมีอยู่ทั่วไปในประเทศไทยหรือมีเฉพาะที่ภาคอีสานและประเทศลาว
สุมาตร ภูลายยาว
จากใบไม้ใบสุดท้ายถึงซิ่นไหมผืนเก่าๆ: ๒ เรื่องสั้นซีไรต์บนแผ่นดินเบื้องซ้ายแม่น้ำของ (โขง) เมื่อพูดถึงวรรณกรรมบนแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงแล้ว หลายคนคงอดที่จะพูดถึงวรรณกรรมชิ้นคลาสสิกเช่น ‘สังสินไซ’ ไม่ได้ เพราะสังสินไซเป็นวรรณกรรมพื้นบ้านที่คนทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงรู้จักมากที่สุดชิ้นหนึ่ง นอกจากสังสินไซแล้ว ผลงานของนักเขียนลาวหลายคนในความรับรู้ของคนไทยคงหนีไม่พ้นผลงานเขียนของท่านมหาสีลา วีระวงค์ ผู้รจนางานมหากาพย์อันยิ่งใหญ่ในนาม ‘ท้าวฮุ่งและขุนเจือง’