Skip to main content

บุนทะนอง ซมไซผล

แปลโดย สุมาตร ภูลายยาว

 

 

 

.ผลน้ำเต้าบุ่ง และวรรณคดีพื้นเมือง


ถ้าจะให้พูดถึงความสัมพันธ์ไทย-ลาว ความเชื่อมโยงด้านวรรณคดีของชนชาติเผ่าพันธุ์ต่างๆ ในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำของ สิ่งแรกที่ข้าพเจ้าคิดถึงคือ น้ำเต้าบุ่ง


หนังสือ ‘นิทานขุนบรมราชาธิราช’ เป็นหนังสือประวัติศาสตร์ลาวฉบับดั้งเดิมฉบับที่ ๑ แต่งขึ้นเมื่อประมาณ พ..๒๐๒๖ (คศ.๑๔๘๓) ได้พูดถึงความเป็นมาของชนชาติไท-ลาว ‘ทุกชนชาติชนเผ่าล้วนแต่กำเนิดมาจากลูกน้ำเต้าบุ่งผลเดียวกัน’


เผ่าพันธุ์ไท-ลาวมีความผูกพันกันมาทางสายเลือด ภูมิลำเนา ถิ่นกำเนิด ที่ฝังสายรกอันเดียวกัน มีภาษาพูด มีความเชื่อ มีจารีตประเพณี วัฒนธรรมอันเดียวกัน ที่นอกเหนือไปกว่านั้นคือมีวรรณคดีพื้นเมืองอันเดียวกัน


วรรณคดีพื้นเมืองคือภาคส่วนหนึ่งในการประดิษฐ์คิดแต่งศิลปะของประชาชนผู้ใช้แรงงาน และก็เป็นภาคส่วนหนึ่งของคติสังคม


วรรณคดีพื้นเมืองกำเนิดเกิดขึ้นในขบวนวิวัฒนแห่งการต่อสู้ต้านภัยธรรมชาติ และการต่อสู้ทางสังคมของผู้คน พร้อมกันนั้นก็มีคูณประโยชน์ในการรับใช้ ผลักดันขบวนการต่อสู้เหล่านั้น วรรณคดีพื้นเมืองมีเป้าหมายชัดเจนในการต่อต้านภัยธรรมชาติ ต่อสู้ทางสังคม และการดำรงชีวิตของคนเราอย่างมีชีวิตชีวา และอุดมสมบูรณ์ที่สุด นอกจากนั้นยังแสดงให้เห็นถึงวิธีคิด จิตใจ และความมุ่งมั่นปารถนาอันมีประชาธิปไตยของประชาชนผู้ใช้แรงงาน และแสดงออกถึงการต่อสู้ ต่อต้านการกดขี่ขูดรีดของชนชั้นปกครองเป็นหลัก พูดในเรื่องตรงกันข้ามแล้ว วรรณคดีพื้นเมืองก็มีหลายส่วนที่ได้รับผลสะท้อนจากระบบวิธีคิดของชนชั้นปกครองเช่นกัน


วรรณคดีพื้นเมืองในห้วงยามที่ยังไม่มีตัวหนังสือเขียน ก็แสดงออกมาในรูปแบบของเรื่องเล่าพื้นเมือง การพรรณา เทพนิยาย เรื่องเล่าโบราณ นิทานอัศจรรย์ นิทานชวนหัว และนิทานสัตว์ วรรณคดีพื้นเมืองยังมีประเภทคำกลอน คำโฮม คำหวาย คำสุภาษิต คำผญา ขับ ลำ เซิ้ง นอกจากนั้นยังมีการแสดงพื้นเมือง ลำเรื่อง ละครสั้น ฯลฯ


การกินข้าวร่วมนา          กินปลาร่วมห้วย

กินกล้วยร่วมหวี            วิเศษสุดแสน

หากมีเสียงแคน            เสียงลำขับกล่อมจิตวิญญาณ

จะเป็นไทภาคอีสาน       หรือไทลาวทุกชนชาติชนเผ่า

โปรดอย่าลืมโอวาท       ของพ่อขุนบรมราชาธิราช ฯ


.พุทธศาสนากับวรรณคดีพื้นเมือง


ศิลาจารึกของวัดวิชุน แขวงหลวงพระบางยืนยันว่า ชนชาติลาวมีตัวหนังสือเขียนมาตั้งแต่ พ..๑๗๒๓ (คศ.๑๑๗๐)


เจ้าฟ้างุ่มมหาราชรวบรวมแผ่นดินลาวก่อตั้งเป็นอาณาจักรล้านช้างในปี คศ.๑๓๕๓ (..๑๙๐๖) และประกาศให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา


ขอบเขตอาณาจักรล้านช้าง ซึ่งหมายรวมเอาพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำของ อันประกอบไปด้วยผู้คนหลายชนชาติชนเผ่า หลายภาษาพูด หลากหลายวัฒนธรรม หลากหลายความเชื่อ เมื่อมีหนังสือผูกใบลาน มีศิลาจารึก มีตำนาน มีนิทาน กาพย์กลอน เป็นลายลักษณ์อักษรมีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับพระธรรมคำสอนพระพุทธเจ้าเป็นสิ่งอบรมบ่มเพาะความคิด ความเชื่อ สร้างสติของคนให้รักกัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน


หนังสือวรรณกรรมต่างๆ ที่ประดิษฐ์คิดแต่งในระยะต้นๆ ก็มีจำนวนมาก เช่น ตำนานขุนบรม ศรีโคตรบอง ท้าวจันทะพานิด ปู่เย้ ย่าเย้ นิทานกำพร้าผีน้อย กำพร้างัวทอง กรำพร้าเต็มด่อน ภูบาเจียง ภูมะโลง ภูท้าว ภูนาง นางเต่าดำ จำปาสี่ต้น นางสิบสอง นางผมหอม การะเกด ปลาบู่ทอง นางหล้านางหลุน วังกาผูก ห้วยตาเหงา ท้าวเต่า อ้ายหูดหิดแสนเป้า ท้าวภูไฮ กรำพร้าหมากเดื่อ กำพร้าหมากส้าน เซี่ยงเมี่ยง เซียงโพด ลุงดาว แตงอ่อน พระลักษ์พระราม ท้าวฮุ่งท้าวเจือง สังสินไซ ผาแดงนางไอ่ สามลืมสูน นางตันไต เสียวสวาท


วรรณกรรมซึ่งอิงหลักธรรมทางพุทธศาสนาเป็นสิ่งเริ่มสร้างสติให้กับสังคม เป็นสิ่งค้ำจุนทางใจ และย่อมสร้างคนให้อยู่ร่ววมกันได้อย่างสันติสุข ไม่เกรงกลัวและหวาดระแวง มีความเมตตากรุณา แต่ก็หลีกเร้นไม่พ้น ซึ่งในบางระยะประวัติศาสตร์อาจเกิดข้อโต้แย้งจนนำไปสู่การแตกแยกทางควมคิด มีสงคราม มีการแย่งชิงอำนาจอันจะนำไปสู่หนทางแห่งความหายนะ ก็เกิดความขัดข้องหมองใจ ความหลงผิด ความไม่เข้าใจกันและกัน วรรณกรรมที่เน้นให้คนในชาติรักชาติและนำไปสู่การต่อสู้กู้ชาติ สามลืมสูนเป็นแบบอย่างหนึ่งในวรรณกรรมหลายๆ เรื่อง


ใจม่อนฮ้าย               หมายมุ่งพระไพรมิตร

สิคอยปุนปรองฮัก       ฮ่วมเฮียงราวฐาน

สมภารเบื้อง              บารมีเฮียงฮอดกันแล้ว

สุดภาคลวงเลิศล้ำ       พิลาเกี้ยวกลอนลำได้เด

แม่นเก่าเกื้อ              เกิดฮ่วมแฮงฮักแล้วนั้น

ไผฮ่อนขัดเขินเซิง      สวาทดูดายได้

สมควรได้                 สิไลวางปะปล่อยเป็นหรือ

แม่นว่าสุดฟากฟ้า       ทยานเยื้อย่องถึง


.แม่น้ำของและวรรณกรรมร่วมสมัย


นักปราชญ์ อาจารย์ปัญญชาชนคนคิดค้นเขียนยุคนี้ควรบำเพ็ญตนเหมือน

แม่ของนั้น              ไหลล่องมองไกล

ผ่านภูผา                 ป่าดงดอกไม้

ทุ่งนากว้าง              เขียวงามน้ำซุ่ม

ปูปลาเลี้ยง              คนลุ่มน้ำอิ่มหนำสำราญ


อาจมีบางเวลาซึ่งการค้นคว้าศึกษาประวัติศาสตร์ การ ‘ค้นหาความเก่าแก่แล้วนำมาเล่าต่างกัน’ เหมือนที่สุภาษิตโบราณเคยสอนไว้ เรื่องราวที่ได้เกิดขึ้นได้ผ่านเลยไปเป็นอดีตซึ่งยากแก่การแก้ไข แต่พวกเราคนเจเนเรชั่นใหม่ก็สามารถช่วยกันสร้างสรรค์สังคมด้วยอาวุธชนิดใหม่คืออาวุธทางศิลปะวรรณคดี โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความสามัคคี เป็นพี่เป็นน้อง และรักกันดั่งคำสอนของคนโบราณที่พร่ำสอนลูกหลานว่า


ความปรองดองกลมเกรียวเป็นแถ่น

คึดให้แม่นหญ้าแฝกหญ้าคา

หามาพ่อฝันเกลียวเป็นเชือก

ผูกช้างเผือกซ้างใหญ่ไพศาล

ช่างใจหามหนีไปบ่อได้

เพิ่นเปรียบไว้คุณสามัคคี


คันแม่นมีความฮู้               เต็มพุงเพียงปากก็ดีถ่อน

สอนโตเองบ่ได้                ไผสิหย้องว่าดี

คันว่ามีความฮู้                  พาโลเฮ็ดบ่แม่น

ความฮู้ท่อแผ่นฟ้า             เป็นบ้าท่อแผ่นดิน

ให้เจ้าเอายาวไว้                คือสินไซฟันไฮ่

ปีกลายได้แต่ป้ำ               ปีหน้าจั่งคอยฮอน


ในฐานะนักเขียนร่วมสมัยคนหนึ่ง ข้าพเจ้าได้คิดได้เขียน ได้แสดงคามคิดความเห็น ในงานสัมมนาไทย-ลาว ข้าพเจ้าขอสรุปความคิดเห็นในวันนี้ด้วยบทกวีบทหนึ่งที่ชื่อว่า


สารตอบสาวไซยะภูมิ

สร้างผลงานวรรณกรรมนำราวเรื่อง

ปับประเทืองสืบทอดกอดประสาน

คนลาว-ไทมาฮ่วมกันสรรผลงาน

ไปเยือนบ้านเฮือนกันได้ สบายดี


               
หวังว่าวันหน้าจะมาใหม่

มาฮ่วมใจ ฮ่วมฮักหลอมศักดิ์ศรี

ฝากหัวใจฮักได้บ้างอย่างเสรี

เฮาพี่น้องจะฮักกันนิรันดร


คำกลอนจากใจเจ้า            ข้อยยังจื่อจดจำ

ซาบซึ้งในทรวงอก             ที่หักพังทลายม้าง

ประหวัดการคราวกี้             กัดกินใจบ่ไลห่าง

ซายจึ่งเจ็บปวดเนื้อ             บ่มีมื้อซ่วงเซา

หรือว่าคนฮักบ้าน               พงษ์พันธุ์เผ่ากินข้าวเหนียว

เกิดมาเพื่อฮับกัน               ทุกข์ทนจนไร้

ชีวิตคือความแค้น              เคืองใจไฟล้นจี่

ความฮักคือดั่งง้วน             ระแวงไว้สู่ยาน

ความเก่าควรที่มอด            ด้วยน้ำใหม่ใจสองเฮา

แผ่ใจปางคราวหลัง             ตาบจูนให้สูนเกลี้ยง

ไผหนอแกะแผ่เฮื้อ             สะกิดใจทุกเช้าค่ำ

อนุสาวรีย์ตระหง่านตั้ง         ยองใจซ้ำข้อยหมู่ลาว

สาวเอ้ยอ้ายนี้แนวนามเสือ    นาคาใหญ่งูจงอาง

แผ่เป็นในกลางใจ               ยากสิลืมเลือนล้าง

บางทีใจจริงเจ้า                  จูบแผ่ใจให้จักหน่อย บ่ซ่างแล้ว

หย้านแต่หลบต่าวปิ้น           ตั๋วต้มอย่างย่าโมของน้อง

สาวเอ้ยนางผู้ฮู้                   ครูคนเก่งไซยะภูมิ

คนหนึ่งที่ต้องการ                จะประสานฮอยร้าว

อยากลืมเลือนฮอยซ้ำ          แผ่ใจอันขมขื่นในใจอ้าย

เอาตี้! นงนาดน้อง วิไลน้อย   อ้ายเปิดใจให้แล้วเด้!

 

 

 

บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
วารสารวรรณศิลป์บนแผ่นดินลาว ลมหนาวและความร้อนแล้งโชยผ่านยอดขุนเขาด้านทิศตะวันตกแห่งเมืองหลวงของราชอาณาจักรล้านนามาแผ่วๆ แล้วฤดูกาลแห่งความเหน็บหนาวก็เดินทางมาอีกครั้งพร้อมกับลมสายลมนั้น
สุมาตร ภูลายยาว
สี่พันดอน: บ้านของคนและปลา เมื่อเอ่ยถึงสี่พันดอนเชื่อว่าหลายคนที่เคยไปเยือนคงจินตนาการถึงได้ แต่สำหรับคนที่ไม่เคยไปเยือนคงงุนงงไม่น้อยว่าหมายถึงอะไร คำว่า ‘สี่พันดอน’ เป็นชื่อเรียกเกาะ ดอนต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแม่น้ำโขงในเขตเมืองโขง แขวงจำปาสัก ภาคใต้ของประเทศลาว ดินแดนแห่งนี้ได้ถูกเรียกขานว่า สี่พันดอน เพราะเต็มไปด้วยเกาะน้อยใหญ่ที่มีจำนวนมากมายเรียงรายอยู่ในแม่น้ำโขงที่มีความกว้างกว่า ๑๔ กิโลเมตร เกาะต่างๆ เริ่มขึ้นที่เมืองโขงและยาวลงไปจนถึงชายแดนลาว-กัมพูชาที่บ้านเวินคามกับเมืองสตรึงเตร็ง ในจำนวนเกาะที่มีอยู่มากมาย เกาะใหญ่ที่สุดชื่อ ‘ดอนโขง’ คำว่า ‘ดอน’…
สุมาตร ภูลายยาว
เจ้าม้าศึกสีเทา ๒,๒๐๐ ซีซี ทะยานไปตามทางลูกรังสีแดงเบื้องหลังฝุ่นคลุ้งตลบ หากมีรถวิ่งตามมาคงบอกได้คำเดียวว่า ‘ขอโทษ’ ก่อนจะถึงทางแยกเสียงโทรศัพท์ของผู้ไปถึงก่อนก็บอกให้ตรงมาตามทางอย่าได้เลี้ยวซ้ายเป็นอันขาด เพราะนั่นหมายถึงการหลงทางจะเกิดขึ้น
สุมาตร ภูลายยาว
การเดินทางเที่ยวนี้มีผู้หญิงนำ เช้านี้เป็นอีกวันที่ตื่นเช้ากว่าวันอื่น แต่หากว่าเมื่อเทียบกับชาวบ้านทั่วไปแล้ว ถือว่ายังสาย โดยเฉพาะกับพ่อค้าแม่ค้าการตื่นนอนตอน ๖ โมงเช้านั้นถือว่าสายมากแล้ว เช้านี้กว่าจะเปิดเปลือกตาตื่นช่างหนักหนาสาหัส ราวกับว่าเปือกตาทั้งสองข้างถูกปิดทับไว้ด้วยเทปกาวชั้นดี หลังล้างหน้าแปรงฟันเสร็จ สมองยังคงงุนงง อาจเป็นเพราะช่วงนี้พักผ่อนไม่ค่อยพอ รวมทั้งมีเรื่องหลายเรื่องให้ได้คิด แต่เพราะงานที่ทำจึงต้องบังคับตัวเองให้ลุกจากที่นอน
สุมาตร ภูลายยาว
จะแกคนเลี้ยงวัวผู้ไม่เคยขุ่นมัวในหัวใจ ผมจำได้ว่าพบชายคนนี้ครั้งแรกเมื่อเข้าไปบ้านสองพี่น้อง เขาดูแปลกกว่าคนอื่นในหมู่บ้าน เพราะเขาเป็นผู้ชายคนเดียวในหมู่บ้านที่ไว้ผมยาว เค้าโครงใบหน้าของเขาราวกับถอดแบบออกมาจากหัวหน้าชนเผ่าของอินเดียนแดง
สุมาตร ภูลายยาว
การงานของชีวิตที่ตกค้าง ฝนเทลงมาอีกวันแล้ว...เสียงสังกะสีดังราวกับมีก้อนหินนับล้านร่วงลงมาใส่ เย็นวันนี้มีเรื่องราวให้ขบคิดมากมาย กลับมาจากการประชุมที่เคร่งเครียด อันนับว่าเป็นการงานส่วนหนึ่งของชีวิต เล่นเอาเหนื่อยสายตัวแทบขาด แล้วยังมีงานอะไรที่ยังไม่ได้ทำอีกไหมนี่
สุมาตร ภูลายยาว
บันทึกในค่ำคืนที่เปลี่ยนผ่านกับนิทรรศการที่ไม่ได้จัด สายฝนของเดือนกันยายนโปรยสายลงมาทั้งวัน เราออกเดินทางจากเชียงของมาแต่ตอนเช้าด้วยรถคันเล็ก บนกระบะทางตอนท้ายบรรทุกเอกสารต่างๆ รวมทั้งนิทรรศการมาเต็ม รถต้องจดหลายครั้ง เพื่อห่มผ้ายางกันฝนให้ของบนกระบะรถ เราผ่านมากว่าครึ่งทาง ฝนยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดตก ซ้ำร้ายยังตกลงมาหนักกว่าเดิม รถวิ่งทำความเร็วได้ไม่มากนัก ทั้งที่ความเป็นจริงแม้ฝนจะไม่ตก มันก็ไม่เคยวิ่งได้เร็วกว่าที่วิ่งอยู่เท่าใดนัก
สุมาตร ภูลายยาว
เมฆสีดำเหนือฟ้าด้านตะวันออกส่งสายฝนลงมาตั้งแต่เช้าจนล่วงบ่าย แม่น้ำเป็นสีชานมเย็น เศษขยะ ขอนไม้ ท่อนไม้ และต้นไม้ลอยมากับสายน้ำ และไหลไปตามแรงเฉื่อยของกระแสน้ำ
สุมาตร ภูลายยาว
เช้านี้เหมือนกับทุกเช้าในช่วงนี้พ่อท่อน ยาแก้วเดินทอดน่องในสวนบนดอนทรายริมฝั่งแม่น้ำโขงเพื่อดูแปลงมะเขือราว ๔ ไร่ ในใจพ่อท่อนเองไม่อยากเก็บมะเขือในตอนนี้แม้ว่าจะถึงช่วงเวลาในการเก็บแล้ว สาเหตุที่ทำให้พ่อท่อนไม่อยากเก็บมะเขือในตอนนี้ เพราะราคามะเขือต่ำกว่าปีที่ผ่านมา ปีนี้มะเขือหนึ่งหมื่น (๑๒ กิโลกรัม) ขายส่งจากสวนได้เงิน ๑๒ บาท
สุมาตร ภูลายยาว

รถตู้วิ่งไปบนถนนลาดยางมะตอยที่บางช่วงเป็นหลุมเป็นบ่อ ถนนสายนี้เป็นเส้นทางจากจังหวัดกระแจะไปอำเภอสามบอ เพราะถนนไม่ค่อยดีนัก ระยะทาง ๓๕ กิโลเมตรต้องใช้เวลาเกือบ ๑ ชั่วโมงจึงถึงจุดหมาย เมื่อรถตู้ทั้ง ๓ คันจอดสงบนิ่งลงตรงประตูหน้าวัด ผู้โดยสารในรถตู้ก็พากันทยอยลงจากรถ เบื้องล่างของถนนเป็นแม่น้ำสายใหญ่ คนท้องถิ่นเรียกแม่น้ำสายนี้ว่า ‘โตนเลของ-แม่น้ำของ-โขง’ แม้ยังไม่สายมากนัก แต่แสงแดดก็ส่องประกายร้อนแรงเหนือสายน้ำ ฟ้ากว้างเปล่าแปนเป็นสีฟ้าไกลสุดสายตาหยั่งถึง บนสายน้ำเรือหลายลำจอดลอยลำอยู่ ใกล้กับเรือตรงโคนต้นจามจุรีมีเด็ก ๓-๔ คนนั่งอยู่ ถัดจากโคนต้นจามจุรีไปมีเรือลำหนึ่งลอยลำอยู่…
สุมาตร ภูลายยาว
จากพื้นที่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำที่แม่น้ำโขงไหลผ่าน ผู้คนสองฝั่งได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำที่มีความยาว ๔,๙๐๔ กิโลเมตรสายนี้ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้าน ลักษณะการใช้ประโยชน์ก็แตกต่างกันออกไปตามแต่สภาพของพื้นที่ ในช่วงที่ไหลผ่านประเทศไทยตั้งแต่จังหวัดเชียงรายจนถึงจังหวัดอุบลราชธานี ก็มีผู้คนไม่จำนวนไม่น้อยได้ใช้ประโยชน์ในด้านแตกต่างกันออกไป ผู้ใหญ่ใช้หาปลา และใช้พื้นที่ตามหาดทรายที่โผล่พ้นน้ำ และริมฝั่งทำการเกษตร เด็กๆ ใช้เป็นห้องเรียนสำหรับฝึกหาปลา และว่ายน้ำ
สุมาตร ภูลายยาว
  ผาชันเป็นหมู่บ้านอีกแห่งหนึ่งที่อยู่ริมแม่น้ำโขงอยู่ในเขตอำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี หมู่บ้านแห่งนี้มีเรื่องราวน่าสนใจหลายอย่าง เริ่มแรกเดิมทีก่อนเดินทางไปถึง ผมจินตนาการถึงหมู่บ้านแห่งนี้ในรูปแบบต่างๆ และพอเดินทางไปถึงบ้านผาชันเป็นครั้งแรก ซึ่งอยู่ในหน้าฝน ผมก็พบว่า ในฤดูฝนหมู่บ้านแห่งนี้กลายเป็นเกาะขนาดย่อมๆ ชาวบ้านบอกว่า "ในฤดูฝน น้ำจากห้วยจะไหลจนท่วมสะพาน และถนนที่เข้าสู่หมู่บ้าน การเดินทางเข้าหมู่บ้านต้องใช้เรือข้ามลำห้วยแล้วไปต่อรถ" ร่องรอยของคำพูดปรากฏให้เห็นเมื่อผมเดินทางเข้าสู่หมู่บ้าน รถข้ามสะพานที่น้ำในลำห้วยเริ่มปริ่มอยู่ใต้สะพาน…