Skip to main content

บุนทะนอง ซมไซผล

แปลโดย สุมาตร ภูลายยาว

 

 

 

.ผลน้ำเต้าบุ่ง และวรรณคดีพื้นเมือง


ถ้าจะให้พูดถึงความสัมพันธ์ไทย-ลาว ความเชื่อมโยงด้านวรรณคดีของชนชาติเผ่าพันธุ์ต่างๆ ในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำของ สิ่งแรกที่ข้าพเจ้าคิดถึงคือ น้ำเต้าบุ่ง


หนังสือ ‘นิทานขุนบรมราชาธิราช’ เป็นหนังสือประวัติศาสตร์ลาวฉบับดั้งเดิมฉบับที่ ๑ แต่งขึ้นเมื่อประมาณ พ..๒๐๒๖ (คศ.๑๔๘๓) ได้พูดถึงความเป็นมาของชนชาติไท-ลาว ‘ทุกชนชาติชนเผ่าล้วนแต่กำเนิดมาจากลูกน้ำเต้าบุ่งผลเดียวกัน’


เผ่าพันธุ์ไท-ลาวมีความผูกพันกันมาทางสายเลือด ภูมิลำเนา ถิ่นกำเนิด ที่ฝังสายรกอันเดียวกัน มีภาษาพูด มีความเชื่อ มีจารีตประเพณี วัฒนธรรมอันเดียวกัน ที่นอกเหนือไปกว่านั้นคือมีวรรณคดีพื้นเมืองอันเดียวกัน


วรรณคดีพื้นเมืองคือภาคส่วนหนึ่งในการประดิษฐ์คิดแต่งศิลปะของประชาชนผู้ใช้แรงงาน และก็เป็นภาคส่วนหนึ่งของคติสังคม


วรรณคดีพื้นเมืองกำเนิดเกิดขึ้นในขบวนวิวัฒนแห่งการต่อสู้ต้านภัยธรรมชาติ และการต่อสู้ทางสังคมของผู้คน พร้อมกันนั้นก็มีคูณประโยชน์ในการรับใช้ ผลักดันขบวนการต่อสู้เหล่านั้น วรรณคดีพื้นเมืองมีเป้าหมายชัดเจนในการต่อต้านภัยธรรมชาติ ต่อสู้ทางสังคม และการดำรงชีวิตของคนเราอย่างมีชีวิตชีวา และอุดมสมบูรณ์ที่สุด นอกจากนั้นยังแสดงให้เห็นถึงวิธีคิด จิตใจ และความมุ่งมั่นปารถนาอันมีประชาธิปไตยของประชาชนผู้ใช้แรงงาน และแสดงออกถึงการต่อสู้ ต่อต้านการกดขี่ขูดรีดของชนชั้นปกครองเป็นหลัก พูดในเรื่องตรงกันข้ามแล้ว วรรณคดีพื้นเมืองก็มีหลายส่วนที่ได้รับผลสะท้อนจากระบบวิธีคิดของชนชั้นปกครองเช่นกัน


วรรณคดีพื้นเมืองในห้วงยามที่ยังไม่มีตัวหนังสือเขียน ก็แสดงออกมาในรูปแบบของเรื่องเล่าพื้นเมือง การพรรณา เทพนิยาย เรื่องเล่าโบราณ นิทานอัศจรรย์ นิทานชวนหัว และนิทานสัตว์ วรรณคดีพื้นเมืองยังมีประเภทคำกลอน คำโฮม คำหวาย คำสุภาษิต คำผญา ขับ ลำ เซิ้ง นอกจากนั้นยังมีการแสดงพื้นเมือง ลำเรื่อง ละครสั้น ฯลฯ


การกินข้าวร่วมนา          กินปลาร่วมห้วย

กินกล้วยร่วมหวี            วิเศษสุดแสน

หากมีเสียงแคน            เสียงลำขับกล่อมจิตวิญญาณ

จะเป็นไทภาคอีสาน       หรือไทลาวทุกชนชาติชนเผ่า

โปรดอย่าลืมโอวาท       ของพ่อขุนบรมราชาธิราช ฯ


.พุทธศาสนากับวรรณคดีพื้นเมือง


ศิลาจารึกของวัดวิชุน แขวงหลวงพระบางยืนยันว่า ชนชาติลาวมีตัวหนังสือเขียนมาตั้งแต่ พ..๑๗๒๓ (คศ.๑๑๗๐)


เจ้าฟ้างุ่มมหาราชรวบรวมแผ่นดินลาวก่อตั้งเป็นอาณาจักรล้านช้างในปี คศ.๑๓๕๓ (..๑๙๐๖) และประกาศให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา


ขอบเขตอาณาจักรล้านช้าง ซึ่งหมายรวมเอาพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำของ อันประกอบไปด้วยผู้คนหลายชนชาติชนเผ่า หลายภาษาพูด หลากหลายวัฒนธรรม หลากหลายความเชื่อ เมื่อมีหนังสือผูกใบลาน มีศิลาจารึก มีตำนาน มีนิทาน กาพย์กลอน เป็นลายลักษณ์อักษรมีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับพระธรรมคำสอนพระพุทธเจ้าเป็นสิ่งอบรมบ่มเพาะความคิด ความเชื่อ สร้างสติของคนให้รักกัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน


หนังสือวรรณกรรมต่างๆ ที่ประดิษฐ์คิดแต่งในระยะต้นๆ ก็มีจำนวนมาก เช่น ตำนานขุนบรม ศรีโคตรบอง ท้าวจันทะพานิด ปู่เย้ ย่าเย้ นิทานกำพร้าผีน้อย กำพร้างัวทอง กรำพร้าเต็มด่อน ภูบาเจียง ภูมะโลง ภูท้าว ภูนาง นางเต่าดำ จำปาสี่ต้น นางสิบสอง นางผมหอม การะเกด ปลาบู่ทอง นางหล้านางหลุน วังกาผูก ห้วยตาเหงา ท้าวเต่า อ้ายหูดหิดแสนเป้า ท้าวภูไฮ กรำพร้าหมากเดื่อ กำพร้าหมากส้าน เซี่ยงเมี่ยง เซียงโพด ลุงดาว แตงอ่อน พระลักษ์พระราม ท้าวฮุ่งท้าวเจือง สังสินไซ ผาแดงนางไอ่ สามลืมสูน นางตันไต เสียวสวาท


วรรณกรรมซึ่งอิงหลักธรรมทางพุทธศาสนาเป็นสิ่งเริ่มสร้างสติให้กับสังคม เป็นสิ่งค้ำจุนทางใจ และย่อมสร้างคนให้อยู่ร่ววมกันได้อย่างสันติสุข ไม่เกรงกลัวและหวาดระแวง มีความเมตตากรุณา แต่ก็หลีกเร้นไม่พ้น ซึ่งในบางระยะประวัติศาสตร์อาจเกิดข้อโต้แย้งจนนำไปสู่การแตกแยกทางควมคิด มีสงคราม มีการแย่งชิงอำนาจอันจะนำไปสู่หนทางแห่งความหายนะ ก็เกิดความขัดข้องหมองใจ ความหลงผิด ความไม่เข้าใจกันและกัน วรรณกรรมที่เน้นให้คนในชาติรักชาติและนำไปสู่การต่อสู้กู้ชาติ สามลืมสูนเป็นแบบอย่างหนึ่งในวรรณกรรมหลายๆ เรื่อง


ใจม่อนฮ้าย               หมายมุ่งพระไพรมิตร

สิคอยปุนปรองฮัก       ฮ่วมเฮียงราวฐาน

สมภารเบื้อง              บารมีเฮียงฮอดกันแล้ว

สุดภาคลวงเลิศล้ำ       พิลาเกี้ยวกลอนลำได้เด

แม่นเก่าเกื้อ              เกิดฮ่วมแฮงฮักแล้วนั้น

ไผฮ่อนขัดเขินเซิง      สวาทดูดายได้

สมควรได้                 สิไลวางปะปล่อยเป็นหรือ

แม่นว่าสุดฟากฟ้า       ทยานเยื้อย่องถึง


.แม่น้ำของและวรรณกรรมร่วมสมัย


นักปราชญ์ อาจารย์ปัญญชาชนคนคิดค้นเขียนยุคนี้ควรบำเพ็ญตนเหมือน

แม่ของนั้น              ไหลล่องมองไกล

ผ่านภูผา                 ป่าดงดอกไม้

ทุ่งนากว้าง              เขียวงามน้ำซุ่ม

ปูปลาเลี้ยง              คนลุ่มน้ำอิ่มหนำสำราญ


อาจมีบางเวลาซึ่งการค้นคว้าศึกษาประวัติศาสตร์ การ ‘ค้นหาความเก่าแก่แล้วนำมาเล่าต่างกัน’ เหมือนที่สุภาษิตโบราณเคยสอนไว้ เรื่องราวที่ได้เกิดขึ้นได้ผ่านเลยไปเป็นอดีตซึ่งยากแก่การแก้ไข แต่พวกเราคนเจเนเรชั่นใหม่ก็สามารถช่วยกันสร้างสรรค์สังคมด้วยอาวุธชนิดใหม่คืออาวุธทางศิลปะวรรณคดี โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความสามัคคี เป็นพี่เป็นน้อง และรักกันดั่งคำสอนของคนโบราณที่พร่ำสอนลูกหลานว่า


ความปรองดองกลมเกรียวเป็นแถ่น

คึดให้แม่นหญ้าแฝกหญ้าคา

หามาพ่อฝันเกลียวเป็นเชือก

ผูกช้างเผือกซ้างใหญ่ไพศาล

ช่างใจหามหนีไปบ่อได้

เพิ่นเปรียบไว้คุณสามัคคี


คันแม่นมีความฮู้               เต็มพุงเพียงปากก็ดีถ่อน

สอนโตเองบ่ได้                ไผสิหย้องว่าดี

คันว่ามีความฮู้                  พาโลเฮ็ดบ่แม่น

ความฮู้ท่อแผ่นฟ้า             เป็นบ้าท่อแผ่นดิน

ให้เจ้าเอายาวไว้                คือสินไซฟันไฮ่

ปีกลายได้แต่ป้ำ               ปีหน้าจั่งคอยฮอน


ในฐานะนักเขียนร่วมสมัยคนหนึ่ง ข้าพเจ้าได้คิดได้เขียน ได้แสดงคามคิดความเห็น ในงานสัมมนาไทย-ลาว ข้าพเจ้าขอสรุปความคิดเห็นในวันนี้ด้วยบทกวีบทหนึ่งที่ชื่อว่า


สารตอบสาวไซยะภูมิ

สร้างผลงานวรรณกรรมนำราวเรื่อง

ปับประเทืองสืบทอดกอดประสาน

คนลาว-ไทมาฮ่วมกันสรรผลงาน

ไปเยือนบ้านเฮือนกันได้ สบายดี


               
หวังว่าวันหน้าจะมาใหม่

มาฮ่วมใจ ฮ่วมฮักหลอมศักดิ์ศรี

ฝากหัวใจฮักได้บ้างอย่างเสรี

เฮาพี่น้องจะฮักกันนิรันดร


คำกลอนจากใจเจ้า            ข้อยยังจื่อจดจำ

ซาบซึ้งในทรวงอก             ที่หักพังทลายม้าง

ประหวัดการคราวกี้             กัดกินใจบ่ไลห่าง

ซายจึ่งเจ็บปวดเนื้อ             บ่มีมื้อซ่วงเซา

หรือว่าคนฮักบ้าน               พงษ์พันธุ์เผ่ากินข้าวเหนียว

เกิดมาเพื่อฮับกัน               ทุกข์ทนจนไร้

ชีวิตคือความแค้น              เคืองใจไฟล้นจี่

ความฮักคือดั่งง้วน             ระแวงไว้สู่ยาน

ความเก่าควรที่มอด            ด้วยน้ำใหม่ใจสองเฮา

แผ่ใจปางคราวหลัง             ตาบจูนให้สูนเกลี้ยง

ไผหนอแกะแผ่เฮื้อ             สะกิดใจทุกเช้าค่ำ

อนุสาวรีย์ตระหง่านตั้ง         ยองใจซ้ำข้อยหมู่ลาว

สาวเอ้ยอ้ายนี้แนวนามเสือ    นาคาใหญ่งูจงอาง

แผ่เป็นในกลางใจ               ยากสิลืมเลือนล้าง

บางทีใจจริงเจ้า                  จูบแผ่ใจให้จักหน่อย บ่ซ่างแล้ว

หย้านแต่หลบต่าวปิ้น           ตั๋วต้มอย่างย่าโมของน้อง

สาวเอ้ยนางผู้ฮู้                   ครูคนเก่งไซยะภูมิ

คนหนึ่งที่ต้องการ                จะประสานฮอยร้าว

อยากลืมเลือนฮอยซ้ำ          แผ่ใจอันขมขื่นในใจอ้าย

เอาตี้! นงนาดน้อง วิไลน้อย   อ้ายเปิดใจให้แล้วเด้!

 

 

 

บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
หากท่วงทำนองของสายน้ำในฤดูฝนคือท่วงทำนองของเพลงร๊อคที่โหมกระหน่ำดุเดือดด้วยเสียงกระเดื่องกลองสลับกับเสียงเบสหนักๆ ปนกับเสียงร้องอันแหลมคม และสูงปรี้ดของนักร้อง สำหรับท่วงทำนองของสายน้ำในหน้าแล้งที่อยู่ในฤดูหนาว ท่วงทำนองของสายน้ำอันปกคลุมไปด้วยหมอกหนาวคงเป็นเสียงเพลงบูลล์หม่นเศร้า และในช่วงหน้าแล้ง ท่วงทำนองของสายน้ำคงเป็นท่วงทำนองของเพลงแคนอันเศร้าสร้อยอ้อยอิ่ง ชวนให้คิดถึงบรรยากาศของท้องทุ่ง และดินแตกระแหงของผืนดินอีสาน ฤดูแต่ละฤดูที่ผ่านไป หากแม่น้ำพูดได้ น้ำคงอยากบอกอะไรกับมนุษย์ผู้ได้ชื่อว่าใช้ประโยชน์จากแม่น้ำมากที่สุด อย่างน้อยคนที่ผิดหวังพลาดหวัง…
สุมาตร ภูลายยาว
ในชีวิตผมถือว่า สองปีที่ผ่านมา ผมโชคดีไม่น้อยที่มีโอกาสได้ไปยังสถานที่ที่ตัวเองไม่คาดคิดว่าจะได้ไป สถานที่ที่ว่านั่นคือ ‘สันเขื่อน’ และจุดสำรวจที่จะมีการสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงในตอนล่าง ไล่ตั้งแต่ปากแบ่ง หลวงพระบาง ไซยะบุรี ปากลาย ปากชม และบ้านกุ่ม จำนวนพื้นที่ที่กล่าวมาทั้งหมดแถบทุกพื้นที่ได้มีการสำรวจศึกษาความเป็นไปได้ของพื้นที่ในการก่อสร้างเขื่อนหมดแล้วการไปในแต่ละครั้ง บางทีก็ต้องทำตัวให้กลมกลืนกับพื้นที่โดยการปลอมตัวเป็นนักท่องเที่ยวผู้อยากรู้อยากเห็น และที่สำคัญต้องตีสนิทกับคนท้องถิ่น เพื่อจะได้เดินทางไปสู่เป้าหมายง่ายขึ้น ในจำนวนพื้นที่ที่กล่าวมาทั้งหมด หากไม่นับรวมปากชมแล้ว…
สุมาตร ภูลายยาว
-ห้องพัก ๒๐๑, เฮือนพักเพียงจัน,หลวงพระบาง- สายฝนที่โปรยสายลงมาอย่างหนักตั้งแต่ตอนกลางคืนหายไปเมื่อตอนเช้าตรู่ ฟ้ากลับมาเป็นสีฟ้าใสอีกครั้ง หลังจากผู้คนของเมืองตื่นจากหลับใหลในอ้อมกอดของบ้านพักอบอุ่น ความเคลื่อนไหวจึงปรากฏ ถนนแต่ละสายผู้คนเริ่มพลุกพล่านโดยเฉพาะส่วนที่เป็นตลาด หลายครั้งที่มาถึงเมืองนี้ในการดำรงอยู่ของเมืองยังคงมีเรื่องราวให้น่าค้นหาในมุมมองอันหลากหลายมากขึ้น การมาถึงเมืองนี้ในแต่ละช่วงเวลาที่แตกต่างกันย่อมมีเรื่องเล่าแตกต่างกันออกไปด้วย การมาหลวงพระบางในครั้งนี้ก็เช่นกัน เรามาถึงในตอนเกือบ ๓ ทุ่ม สายฝนยังตกลงมา…
สุมาตร ภูลายยาว
ลมหนาวพัดข้ามยอดเขามา ตอซังข้าวลู่ลงแนบพื้นดิน น้ำในแม่น้ำหมันแห้งขอดลงตามฤดูกาล ถัดจากแม่น้ำขึ้นไปเป็นภูเขา แม่น้ำหมันมีต้นกำเนิดจากภูโลมโลอันเป็นเทือกเขาของเทืือกเขาเพชรบูรณ์ สายน้ำเล็กๆ ที่เป็นเส้นเลือดใหญ่ของคนอำเภอด่านซ้ายไหลเอื่อยช้าคล้ายคนเพิ่งหายจากการป่วยไข้ แม่น้ำหมันช่วงที่ไหลผ่านอำเภอด่านซ้ายไปจนถึงบ้านปากหมัน ตรงที่แม่น้ำหมันเดินทางไปบรรจบกับแม่น้ำเหืองมีความยาวทั้งสิ้น ๖๖ กิโลเมตร ตลอดริมสองฝั่งแม่น้ำจะมีต้นไผ่จำนวนมากขึ้นอยู่เป็นระยะ ต้นไผ่-แม่น้ำหมัน-คนริมฝั่งน้ำมีความสำคัญต่อกันจนแยกขาดจากกันไม่ได้
สุมาตร ภูลายยาว
หลังได้รับมอบหมายให้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการตัดสินภาพวาดของเด็กๆ ที่ประกอบไปด้วยเด็กจากช่วงชั้นต่างๆ ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ของโรงเรียนบ้านคกเว้า ตำบลหาดคำภีร์ อำเภอปากชม จังหวัดเลย ข้าพเจ้าเองแบ่งรับแบ่งสู้ในตอนแรก เพราะโดยส่วนตัวแล้วการเป็นกรรมการประเภทนี้มีเงื่อนไขหลายอย่าง สำคัญกรรมการควรมีความรู้ทางศิลปะมาบ้าง เพื่อให้ผลการตัดสินออกมาดูน่าเชื่อถือ แต่สวนทางกันอย่างสิ้นเชิง ข้าพเจ้าไม่มีความรู้ทางศิลปะเอาเสียเลย อย่างมากก็พอรู้ว่ารูปไหนสวยไม่สวย ซ้ำร้ายเรื่องของทฤษฏีสีแล้ว ข้าพเจ้าไม่รู้เอาเสียเลย แม้จะเคยลองวาดรูปอยู่บ้าง แต่ก็งูๆ ปลาๆ…
สุมาตร ภูลายยาว
โศกนาฏกรรมสองฝั่งน้ำ มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับสายน้ำเรื่องหนึ่งที่ผู้เฒ่าปกากะญอ มักเล่าให้ลูกหลานฟังอยู่เสมอ เรื่องเล่าเรื่องนี้มีอยู่ว่า ‘นานมาแล้วมีเจ้าเมืององค์หนึ่งจะตึกแค-กั้นน้ำ เพื่อจับปลาในแม่น้ำสาละวิน ให้ลูกที่อยากกิน ปลาตัวนี้ใหญ่มาก ส่วนหัวของปลาอยู่โจโหละกุย-วังน้ำใหญ่อยู่ในเขตสาละวินตอนกลาง ลำตัวของปลายาวลงไปตามลำน้ำ ส่วนหางอยู่ที่แจแปนทีลอซู แต่ก็มีเรื่องที่ทำให้ชาวบ้านชาวเมืองตกอกตกใจ เพราะหากว่าเลือดหรือน้ำมันจากปลาตัวนี้ไหลลงพื้นดินเมื่อใด แผ่นดินก็จะลุกเป็นไฟ เมื่อชาวบ้านทราบข่าวก็เกิดความกังวลว่า เมื่อน้ำท่วมบ้านแล้วไม่รู้ว่าจะหนีไปอยู่ที่ไหน…
สุมาตร ภูลายยาว
การพัฒนาบนคราบน้ำตาคนชายขอบ ในอดีตอันยาวไกลของแม่น้ำสายนี้เคยไหลอย่างอิสระมาตลอด แต่แม่น้ำนานาชาติสายสำคัญแห่งนี้อาจมิได้ไหลอย่างอิสระต่อไปอีกแล้ว เพราะปัจจุบันแม่น้ำสายนี้ได้ถูกผลักดันให้เข้าไปอยู่ในแผนพัฒนาต่างๆ แผนพัฒนาที่สำคัญ คือแผนพัฒนาพลังงานไฟฟ้า โดยเฉพาะกับประเทศไทย แม่น้ำสาละวินกลายเป็นแม่น้ำยุทธศาสตร์สำคัญสายหนึ่งที่น้ำในแม่น้ำจะถูกนำมาแปรเป็นกระแสไฟฟ้า ภายใต้วาทะกรรมของนักพัฒนาที่ว่า ‘พื้นที่ชายขอบของประเทศมีคนอยู่น้อย และผู้ที่ได้รับผลกระทบย่อมมีส่วนน้อยเช่นกัน’
สุมาตร ภูลายยาว
ผู้คนแห่งสาละวิน  สาละวิน ถือเป็นสายน้ำแห่งกลุ่มชาติพันธุ์อย่างแท้จริง เพราะสองฟากฝั่งลุ่มน้ำสาละวิน ตั้งแต่เทือกเขาหิมาลัยลงมาจนถึงอ่าวเมาะตะมะ ในเขตหุบเขาอันไกลโพ้นในประเทศจีนก็มีกลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่ไม่น้อยกว่า ๑๔ กลุ่ม โดยส่วนใหญ่เป็นชาวนู ลีซู และตู๋หลง เมื่อล่องตามน้ำลงมาจนถึงพรมแดนพม่า-จีน พม่า-ไทยก็มีกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อาศัยอยู่มากมายไม่ต่ำกว่า ๑๖ กลุ่ม เช่น นู ลีซู ไทยใหญ่ กะยา กะยัน กะเหรี่ยง และมอญ กลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้ล้วนมีภาษา ตัวอักษร วรรณคดี ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีของตนเอง ในบรรดากลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอยู่หลากหลายบนลุ่มน้ำแห่งนี้ กลุ่มยินตาเล…
สุมาตร ภูลายยาว
สาละวินบนนิยามของความหลากหลาย สาละวิน บนเส้นทางงานวิจัยชาวบ้าน งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวิน ตลอดแนวพรมแดนไทย-พม่า โดยได้มีการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในประเด็นพันธุ์ปลา เครื่องมือหาปลาพื้นบ้าน การทำเกษตร พรรณพืชในป่า และสังคมวัฒนธรรมของชาวปกาะกญอ เพื่อนำมาอธิบายความสลับซับซ้อนของระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพในลุ่มน้ำสาละวิน และวิถีชีวิต เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรมของชุมชนที่ตั้งอยู่บนฐานของระบบนิเวศดังกล่าว ตลอดจนพิธีกรรม และความเชื่อของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ผลการศึกษาพบว่า แม่น้ำสาละวิน ตลอดพรมแดนไทย-พม่า มีระบบนิเวศที่สลับซับซ้อน อาทิ แก่ง วังน้ำ หาดทราย…
สุมาตร ภูลายยาว
ระบบนิเวศลุ่มน้ำสาละวิน ระบบนิเวศลุ่มน้ำสาละวิน ถือว่า มีความสำคัญต่อภูมิภาคนี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากแม่น้ำสาละวินเป็นแม่น้ำนานาชาติสายสุดท้ายในภูมิภาคนี้ที่ยังไม่ได้ถูกล่ามโซ่ด้วยเขื่อน นักนิเวศวิทยาได้จัดให้แม่น้ำสาละวินเป็นศูนย์กลางของการกระจายพันธุ์ไม้สักของโลก พื้นที่ลุ่มน้ำสาละวิน เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง มีระบบนิเวศสลับซับซ้อนเนื่องจากเป็นพื้นที่ต่อเนื่องระหว่างเขตชีวภูมิศาสตร์ย่อยอินโดจีนกับพื้นที่ต่อเนื่องจากชีวภูมิศาสตร์สิโนหิมาลายันหรือเขตชีวภูมิศาสตร์ย่อยอินเดีย แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายว่า เกือบครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา การศึกษาระบบนิเวศวิทยาของแม่น้ำสาละวิน มีอยู่น้อยมาก…
สุมาตร ภูลายยาว
หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ สหราชอาณาจักรได้คืนอิสรภาพให้กับพม่า ภายหลังพม่าได้รับอิสรภาพ ในปี ๒๔๙๐ นายพลอู่อองซาน ผู้นำพม่าในขณะนั้นก็ถูกสังหารเสียชีวิต การล้มเหลวลงอย่างสิ้นเชิงของสัญญาปางโหลง จึงเกิดขึ้น เมื่อคำมั่นในสัญญาปางโหลงไม่เป็นผล ชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ จึงได้จับอาวุธลุกขึ้นสู้กับรัฐบาลทหารพม่า เพื่อแยกตัวเป็นรัฐอิสระและปกครองตนเอง ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสาละวิน จึงเกิดกองกำลังปลดปล่อยขึ้นหลายกลุ่ม เขตรอยต่อพรมแดนไทย-พม่าริมฝั่งแม่น้ำสาละวิน ด้านตะวันตก เป็นดินแดนที่กล่าวได้ว่า กฎหมายอาจไม่มีความสำคัญ ทุกชีวิตที่ยังมีลมหายใจ จึงอยู่ภายใต้กฎของปืน และความเหลื่อมล้ำในการดำเนินชีวิต…
สุมาตร ภูลายยาว
พ่อตู้เริญได้เล่านิทานเรื่องนี้ให้ผมฟังขณะเรานั่งหย่อนอารมณ์ในบ้านของแก เพื่อรอฝนหายจากฟ้า เดือนตุลาคมแล้ว ฝนยังมิจากจางเลย ลมหนาวมิมีทีท่าว่าจะพัดมา สายฝนเทลงมาจั่กๆ พ่อตู้เริญต้องเล่านิทานเรื่องนี้ด้วยเสียงดัง เพื่อจะให้ผมได้ยินถนัด ผมกดเครื่องบันทึกเสียงเพื่อบันทึกเสียงการเล่านิทานของพ่อตู้เอาไว้ เพราะคิดว่าจะเก็บเอามาเล่าต่อให้คนอื่นได้ฟังด้วย พ่อตู้เริญเล่าว่า... นานมาแล้ว ยุคสมัยก่อนการเกิดขึ้นของพุทธศาสนา องค์อินทร์ผู้เป็นนายของทุกสิ่ง และทรงสร้างทุกสิ่งในจักรวาลได้นั่งตรวจยามสามตา เพื่อตรวจดูทุกสรรพสัตว์ใตอานัติของตนเอง แล้วในญาณนั้นก็ปรากฏการเกิดขึ้นของพระพุทธศาสนา…