Skip to main content
ระบบนิเวศลุ่มน้ำสาละวิน


ระบบนิเวศลุ่มน้ำสาละวิน ถือว่า มีความสำคัญต่อภูมิภาคนี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากแม่น้ำสาละวินเป็นแม่น้ำนานาชาติสายสุดท้ายในภูมิภาคนี้ที่ยังไม่ได้ถูกล่ามโซ่ด้วยเขื่อน นักนิเวศวิทยาได้จัดให้แม่น้ำสาละวินเป็นศูนย์กลางของการกระจายพันธุ์ไม้สักของโลก


พื้นที่ลุ่มน้ำสาละวิน เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง มีระบบนิเวศสลับซับซ้อนเนื่องจากเป็นพื้นที่ต่อเนื่องระหว่างเขตชีวภูมิศาสตร์ย่อยอินโดจีนกับพื้นที่ต่อเนื่องจากชีวภูมิศาสตร์สิโนหิมาลายันหรือเขตชีวภูมิศาสตร์ย่อยอินเดีย


แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายว่า เกือบครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา การศึกษาระบบนิเวศวิทยาของแม่น้ำสาละวิน มีอยู่น้อยมาก เนื่องจากในพื้นที่มีการสู้รบระหว่างชนกลุ่มน้อยกับรัฐบาลทหารพม่ามาตลอด ด้วยข้อมูลเรื่องราวๆ ต่างที่เกี่ยวข้องกับแม่น้ำสาละวินมีอยู่จำนวนน้อย ชาวปกากะญอแห่งลุ่มน้ำสาละวิน จึงได้ร่วมกันศึกษาข้อมูลของพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวินขึ้นมา เพื่อนำเสนอข้อเท็จจริงบางประการที่สังคมยังไม่รู้เกี่ยวกับแม่น้ำสายนี้ โดยการศึกษาครั้งนี้ใช้ชื่อว่า 'งานวิจัยปกากะญอ ‘วิถีแม่น้ำ วิถีป่า ของ ปกากะญอสาละวิน' ซึ่งจัดทำโดยนักวิจัยจาก ๕๐ หย่อมบ้านริมฝั่งน้ำสาละวิน ในเขตอำเภอแม่เสรียง และอำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน


งานวิจัย ได้จำแนกระบบนิเวศอันหลากหลายของแม่น้ำสาละวิน ออกเป็น ๑๘ ระบบคือ เกหรือเก้-แก่ง, กุยหรือกุ้ย หรือทีเกว่อ-วังน้ำ, ทีลอจอ-น้ำตกที่ตกลงมาเป็นหยดๆ ,นออูหรู่-น้ำซับ,ทีหนึ-น้ำมุด,แมหมื่อโข่-หาดหินกรวด,แมวาโข่-หาดทราย,โหน่-หนองน้ำ,ทีสะเหน่อ-แอ่งน้ำเว้าเข้าไปในฝั่งที่มีขนาดเล็ก,ทีวอ-แอ่งน้ำเว้าเข้าไปในริมฝั่งขนาดใหญ่,เลอกะปา-แนวหินริมฝั่ง,ทีลอซู-น้ำตก,โค-บริเวณที่มีน้ำตื้นแต่มีกระแสน้ำไหลแรง,ทีโยนขุ่ยอะแล-บริเวณร่องน้ำเก่า,ทีกะติ-บริเวณที่มีร่องน้ำแคบ,เว่ยจี-บริเวณที่มีน้ำวนขนาดใหญ่,ที้นีทิ-ริมตลิ่ง,ทีถะหรือที้ท่า-ปากห้วย


นอกจากระบบนิเวศ ทั้ง ๑๘ ระบบที่กล่าวมาแล้ว บนพรมแดนไทย-พม่า ตั้งแต่ผาตั้งลงมาจนถึงบ้านสบเมย ยังมีระบบนิเวศที่สำคัญตามจุดต่างๆ ถึง ๒๓ จุด เช่น เลกวอท่า,เว่ยจี,ดากวิน,แก่งแม่คาเก,ซุแมท่า เป็นต้น


พ่อหลวงธวัชชัย อมรใฝ่ชนแดน กล่าวถึงการศึกษาวิจัยครั้งนี้ว่า

พวกเราอยากให้คนนอกรู้ว่า ที่แม่น้ำสาละวิน มันไม่ได้มีแต่แม่น้ำอย่างเดียว มันยังมีคนอยู่ตามริมน้ำ อาศัยแม่น้ำหาปลา อาศัยริมฝั่งปลูกผัก แต่ก่อนนี่คนภาย นอกจะรู้ว่าปกากะญอทำอย่างเดียว ก็คือปลูกข้าวไร่ แต่พอมาที่สาละวินนี่ปกากะญอหาปลาด้วย'


ในช่วงหน้าแล้งยามน้ำลด ริมฝั่งแม่น้ำทั้งสองฝั่งจะเต็มไปด้วยพืชริมน้ำที่เกิดขึ้นตามหาดทรายซึ่งเป็นหนึ่งในระบบนิเวศแม่น้ำที่จะพบเห็นได้ในช่วงน้ำลดเท่านั้น หาดทรายที่ยาวโผล่พ้นน้ำขึ้นมา ชาวบ้านก็จะลงไปจับจองเพื่อปลูกผัก ปลูกถั่วเอาไว้กินไว้ขาย


นอกจาก ชาวบ้านจะปลูกผักตามหาดทรายที่โผล่พ้นน้ำในหน้าแล้งแล้ว บางคนก็หาปลาในแม่น้ำไปขายเพื่อเป็นรายได้เลี้ยงครอบครัวอีกทางหนึ่ง


จากประสบการณ์ของชาวบ้านเช่น พะมูลอย ดีสมประสงค์ คนหาปลาบ้านสบเมย บอกเล่าถึงความสมบูรณ์ของระบบนิเวศแม่น้ำสาละวินที่ส่งผลให้แม่น้ำสาละวิน มีปลาจำนวนมากอาศัยอยู่ตามระบบนิเวศต่างๆ ของแม่น้ำ


ปลาในน้ำสาละวินมีเยอะ ถ้าเราไปวางจา-ตาข่ายตามแก่งหินได้ปลาทุกวัน เรามีปลากินไม่ต้องไปซื้อ เราก็ประหยัดเงินไปได้ ทุกอย่างเราหาเอาจากน้ำ เงินเราอยู่ในน้ำ'


กล่าวตามความจริง ระบบนิเวศของแม่น้ำสาละวิน จึงไม่ใช่สิ่งที่ส่งผลให้แม่น้ำสาละวิน อุดมสมบูรณ์เท่านั้น แต่ระบบนิเวศของแม่น้ำสาละวิน ยังเป็นพื้นที่หาอยู่หากินอันส่งผลถึงความอุดมสมบูรณ์ต่อชีวิตของคนในชุมชนสองฝั่งน้ำด้วยเช่นกัน


ความอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำไม่ได้มีเฉพาะบริเวณพรมแดนไทย-พม่าเท่านั้น ในบริเวณปากแม่น้ำยังมีพื้นที่ป่าที่ยังเหลืออยู่อีกมาก ประชาชนในเมือง ชาวไร่ชาวนา และชาวประมงกว่าครึ่งล้านที่อาศัยอยู่บริเวณปากแม่น้ำสาละวินเมือง มะละแหม่ง ประเทศพม่า ได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำในด้านต่างๆ ทั้งหาปลา อาศัยน้ำในการปลูกข้าว เป็นต้น


จากรายงาน "แขวนบนเส้นด้าย" (In the Balance) ซึ่งเป็นรายงานที่จัดทำโดยองค์กรเยาวชนก้าวหน้าชาวมอญ (Mon Youth Progressive Organization: MYPO) ได้เผยให้เห็นชีวิตของประชาชนที่พึ่งพาริมฝั่งน้ำ ลำน้ำสาขา และเกาะแก่งต่างๆ บริเวณปากน้ำสาละวิน อันเป็นจุดที่น้ำจืดจากแม่น้ำไหลไปบรรจบกับน้ำเค็มจากทะเลอันดามัน ชีวิตของผู้คนที่นี้จึงผูกพันลึกซึ้งกับกระแสการไหลของน้ำตามฤดูกาล และการขึ้น-ลงของน้ำในแต่ละวัน


ระบบนิเวศบริเวณปากแม่น้ำสาละวินนั้น จัดได้ว่าเป็นระบบ ‘นิเวศสองน้ำ' คือ มีทั้งน้ำเค็ม และน้ำจืด พื้นที่ที่มีระบบนิเวศสองน้ำนั้นมีความอ่อนไหวเป็นอย่างยิ่ง เพราะเมื่อใดที่เกิดการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ถ้าน้ำจืดมามากน้ำทะเลที่หนุนขึ้นมาก็จะน้อย ส่งผลให้สัตว์หรือพืชบางชนิดที่เกิดตามป่าชายเลนลดน้อยลง หรือถ้าหากว่าน้ำเค็มหนุนขึ้นมาเยอะก็จะส่งผลให้พืชและสัตว์ที่ต้องพึ่งพาน้ำจืดลดน้อยลงเช่นกัน


ระบบนิเวศแบบสองน้ำนี้ น้ำทั้งสองชนิดย่อมมีความสำคัญเท่าๆ กัน หากน้ำจืดน้อยไม่พอต่อการไล่น้ำทะเลช่วงที่น้ำทะเลหนุนก็จะส่งผลต่อระบบนิเวศบริเวณปากแม่น้ำเช่นกัน


ดังที่กล่าวมาแล้ว แม่น้ำสาละวิน ถือว่าเป็นแม่น้ำที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงสายหนึ่งในภูมิภาคนี้ และรัฐบาลไทยก็เล็งเห็นความสำคัญในข้อนี้ รัฐบาลจึงได้ออกประกาศให้แม่น้ำสาละวิน เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ (Wetland) ที่มีความสำคัญระดับนานาชาติเมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๔๓

บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
    ...เสียงปืนดังลั่นเปรี้ยง-คล้ายเสียงชะนีหวน
สุมาตร ภูลายยาว
สายลมเริ่มพัดเปลี่ยนทิศจากเหนือลงใต้ ฤดูฝนใกล้พ้นผ่านแล้ว ฤดูหนาวกำลังเดินทางมาแทน ขณะอาทิตย์ใกล้ลับฟ้าถัดจากกระท่อมหลังสุดท้ายตรงหาดทรายไปไม่ไกล คนจำนวนมากกำลังวุ่นวายอยู่กับการเก็บเครื่องมือทำงาน หากนับตั้งแต่วันแรกถึงวันนี้ก็ล่วงเข้าไป ๔ วันแล้วที่ช่างในหมู่บ้านถูกไหว้วานให้มาช่วยกันทำเรือไฟ เพื่อให้ทันใช้ในวันออกพรรษา หลังจมอยู่กับงานมาทั้งวัน เมื่อโรงงานต่อเรือไฟปิดประตูลงในตอนเย็น โรงมหรสพริมฝั่งน้ำก็เข้ามาแทน
สุมาตร ภูลายยาว
แม่น้ำนิ่งงันลงชั่วการกระพริบตาของพญามังกร ชาวบ้านริมฝั่งน้ำไม่มีใครรู้ว่า พญามังกรกระพริบตากี่ครั้ง หรือด้วยอำนาจใดของพญามังกร แม่น้ำจึงหยุดไหล ทั้งที่แม่น้ำเคยไหลมาชั่วนาตาปี วันที่แม่น้ำหยุดไหล คนหาปลาร้องไห้ปานจะขาดใจ เพราะปลาจำนวนมากได้หนีหายไปจากแม่น้ำ
สุมาตร ภูลายยาว
แดดร้อนของเดือนมีนาคมแผดเผาหญ้าแห้งกรัง หน้าร้อนปีนี้ร้อนกว่าทุกปี เพราะฝนไม่ตก ยอดมะม่วงอ่อนจึงไม่ยอมแตกช่อ มะม่วงป่าเริ่มออกดอกรอฝนพรำ เพื่อให้ผลได้เติบโต ความร้อนมาพร้อมกับความแห้งแล้ง ในความแห้งแล้ง ดอกไม้ป่าหลากสีกำลังผลิบาน มีทั้งดอกสีส้ม แดง ม่วง ความแห้งแล้งดูมีชีวิตชีวาขึ้นมาบ้าง
สุมาตร ภูลายยาว
‘ย่างเข้าเดือนห้า น้ำท่าก็เริ่มขอดแล้ง’ คนแก่บางคนว่าอย่างนั้น (ถ้าผมจำไม่ผิด) คำพูดนี้ได้สะท้อนบางอย่างออกมาด้วย นั่นคือสิ่งที่ผู้คนในยุคสมัยก่อนเห็น พอถึงเดือนห้า น้ำที่เคยมีอยู่ก็แห้งขอดลงเป็นลำดับ ผู้คนในสมัยก่อนที่จะก้าวเข้าสู่สังคมเกษตรอุตสาหกรรมเช่นทุกวันนี้ทำอะไรบ้าง ในสังคมภาคกลางยุคที่ทำการเกษตรไม่ใช่อุตสาหกรรม หน้าแล้งไม่มีใครทำนา เพราะทุกคนต่างรู้ว่า หน้าแล้งแล้วนะ น้ำท่าจะมาจากไหน แต่พอยุคอุตสาหกรรมเกษตรเรืองอำนาจ หน้าแล้งผู้คนก็ยังคงทำนา เพื่อตอบสนองอุตสาหกรรมการเกษตรกันอยู่
สุมาตร ภูลายยาว
ผู้ดีตีนแดง-ขอ โทษ เท้าแดง ตะแคงเท้าเดิน เวลาเหยียบปุ่มปมของพรมผืนนุ่มนิ่มราวกับปุยเมฆ นั่นแหละเท้าของผู้ดี และโลกของผู้ดีมีแต่น้ำครำ –น้ำคำ แห่งการหลอกลวง ทั้งผู้ดีจริง และผู้ดีกลวง ขณะเดินย่ำไปบนเส้นทางสู่ร้านอาหารเลิศหรู เมนูไข่คาเวียกับบรั่นดีแก้วทรงสูงดัดจริตวางรอ ผู้ดีน้ำครำละเลียดเมรัยรสคมผ่านลำคอ และละเลียดไข่คาเวียที่มีอยู่นับจำนวนได้บนจานราคาแพงกว่าการขึ้นห้องกับปอง ของโฉน ไพรำ ผู้ดี น้ำครำมองออกไปนอกหน้าต่างสูงลิบของห้องอาหารโรงแรมเสียดฟ้า เบื้องล่างแม่น้ำไหลเอื่อยเหนื่อยปานจะขาดใจตาย ผู้ดีน้ำครำละเลียดไข่คาเวียราคาแพง เพื่อเลิศหรูมีหน้ามีตา…
สุมาตร ภูลายยาว
สายลมหนาวพัดมาพร้อมกับสายฝนที่โปรยสายลงมา ว่ากันว่านี่คือฝนหลงฤดู! กาแฟแก้วของวันเป็นคาปูชิโน่ร้อนสองแก้ว แต่ไม่ใช่ของผมเป็นของลูกค้าต่างชาติ รสชาติของกาแฟเป็นอย่างไรในเช้านี้ ผมไม่อาจรู้ เพราะไม่ได้ชิม หลังสตรีมนมสดจนร้อนได้ที่ กลิ่นกาแฟสดหอมกรุ่นโชยออกมา และพร้อมแล้วสำหรับการดื่ม-กิน
สุมาตร ภูลายยาว
เนิ่นนานหลายปีแล้วที่ผมพเนจรจากบ้านเกิด แต่หลายๆ ความรู้สึกเกี่ยวกับบ้าน ผมไม่มีทางลืมได้เด็ดขาด บางค่ำคืนที่มีโอกาสอยู่กับตัวเองเพียงลำพัง ด้วยความสงบเงียบ ภาพบ้านเกิดจะย้อนกลับมาสู่ความทรงจำ-ความทรงจำในวัยเยาว์เกี่ยวกับบ้านเกิด
สุมาตร ภูลายยาว
เวลาผ่านไปเร็ว ยามที่เราโตขึ้น เราเชื่อเช่นนั้น เพราะเราโหยหาเวลาของวัยเยาว์ เมื่อเราเติบโตขึ้นเป็นลำดับมีหลายความรู้สึกของวัยเยาว์ที่หล่นหายไปอย่างไม่อาจเรียกคืนกลับมา ราวกับสายน้ำที่ไหลไกลออกไปทุกทีๆ มิอาจหวนกลับมาเป็นสายน้ำได้เช่นเดิม แต่กลายเป็นสายฝนพรำลงมาแทน หากพูดถึงอดีตแล้ว บางด้านที่เลวร้าย เราอยากผ่านเลย แต่กลับจำได้ฝังใจ...
สุมาตร ภูลายยาว
บุนทะนอง ซมไซผล แปลโดย สุมาตร ภูลายยาว    ๑.ผลน้ำเต้าบุ่ง และวรรณคดีพื้นเมือง ถ้าจะให้พูดถึงความสัมพันธ์ไทย-ลาว ความเชื่อมโยงด้านวรรณคดีของชนชาติเผ่าพันธุ์ต่างๆ ในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำของ สิ่งแรกที่ข้าพเจ้าคิดถึงคือ น้ำเต้าบุ่ง
สุมาตร ภูลายยาว
ดอกเกดเป็นดอกไม้ชนิดหนึ่งที่ลำต้นมีลักษณะเหมือนต้นปาล์ม เวลาออกดอก ดอกจะส่งกลิ่นหอม คนเฒ่าคนแก่จะนิยมนำไปบูชาพระและนำมาทัดหู ผมไม่รู้เหมือนกันว่าดอกไม้ชนิดนี้จะมีอยู่ทั่วไปในประเทศไทยหรือมีเฉพาะที่ภาคอีสานและประเทศลาว
สุมาตร ภูลายยาว
จากใบไม้ใบสุดท้ายถึงซิ่นไหมผืนเก่าๆ: ๒ เรื่องสั้นซีไรต์บนแผ่นดินเบื้องซ้ายแม่น้ำของ (โขง) เมื่อพูดถึงวรรณกรรมบนแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงแล้ว หลายคนคงอดที่จะพูดถึงวรรณกรรมชิ้นคลาสสิกเช่น ‘สังสินไซ’ ไม่ได้ เพราะสังสินไซเป็นวรรณกรรมพื้นบ้านที่คนทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงรู้จักมากที่สุดชิ้นหนึ่ง นอกจากสังสินไซแล้ว ผลงานของนักเขียนลาวหลายคนในความรับรู้ของคนไทยคงหนีไม่พ้นผลงานเขียนของท่านมหาสีลา วีระวงค์ ผู้รจนางานมหากาพย์อันยิ่งใหญ่ในนาม ‘ท้าวฮุ่งและขุนเจือง’