Skip to main content

พ่อตู้เริญได้เล่านิทานเรื่องนี้ให้ผมฟังขณะเรานั่งหย่อนอารมณ์ในบ้านของแก เพื่อรอฝนหายจากฟ้า เดือนตุลาคมแล้ว ฝนยังมิจากจางเลย ลมหนาวมิมีทีท่าว่าจะพัดมา สายฝนเทลงมาจั่กๆ พ่อตู้เริญต้องเล่านิทานเรื่องนี้ด้วยเสียงดัง เพื่อจะให้ผมได้ยินถนัด ผมกดเครื่องบันทึกเสียงเพื่อบันทึกเสียงการเล่านิทานของพ่อตู้เอาไว้ เพราะคิดว่าจะเก็บเอามาเล่าต่อให้คนอื่นได้ฟังด้วย


พ่อตู้เริญเล่าว่า...

นานมาแล้ว ยุคสมัยก่อนการเกิดขึ้นของพุทธศาสนา องค์อินทร์ผู้เป็นนายของทุกสิ่ง และทรงสร้างทุกสิ่งในจักรวาลได้นั่งตรวจยามสามตา เพื่อตรวจดูทุกสรรพสัตว์ใตอานัติของตนเอง แล้วในญาณนั้นก็ปรากฏการเกิดขึ้นของพระพุทธศาสนา เมื่อได้รับรู้เรื่องราวทั้งหมด องค์อินทร์จึงมีบัญชาไปยังสรรพสัตว์ในอานัติของตนเองให้มาร่วมประชุมกันโดยพร้อมเพรียง


เมื่อสรรพสัตว์ได้รับคำสั่งดังนั้นต่างก็แต่งดาข้าวของเครื่องใช้ เพื่อเดินทางไปหาองค์อินทร์ แต่การเดินทางของสรรพสัตว์อันประกอบไปด้วยสัตว์นานาชนิดใช้เวลาในการเดินทางต่างกัน เมื่อทราบเหตุการดังนั้นองค์อินทร์ก็เนรมิตให้สัตว์จำนวนมากเหล่านั้นเดินทางมาถึงภายในวันเดียวคล้อยหลังเมื่อเหล่าสรรพสัตว์ในอานัติเดินทางมาพร้อมเพรียงกันแล้ว องค์อินทร์ก็ออกนั่งยังห้องโถง และกล่าวด้วยเสียงอันดังว่า

พวกสัตว์ทั้งหลาย! ข้าเรียกพวกเจ้ามาวันนี้เพื่อจะบอกกล่าวบางเรื่องราว และขอความเห็นจากพวกเจ้า”

องค์อินทร์ว่ามาเลยไม่ต้องเกรงใจพวกข้า” เจ้านกขุนทองเอ่ยขึ้น


พวกเจ้าตั้งใจฟังให้ดี พอดีข้าตรวจยามสามตาดูจึงได้เห็นว่า จากนี้ไปไม่นานโลกจะได้มีศาสนาพุทธกำเนิดขึ้นมา ข้าจึงอยากให้พวกเจ้าช่วยกันสืบต่อพระศาสนาให้มีอายุยืนยาว และข้าอยากให้พวกเจ้าช่วยกันคิดว่าจะทำอย่างไร”

ไม่ยากหรอกองค์อินทร์ เราก็ช่วยกันเป็นอาหารให้กับผู้ทรงศีลผู้เป็นตัวแทนของศาสนา เพื่อท่านจะได้เผยแพร่คำสอน และศาสนาจะได้มีอายุยืนยาว” เจ้าช้างพูดขึ้น

ข้าเห็นด้วยกับเจ้าช้าง แล้วใครจะอาสาละ”

ข้านี่แหละขันอาสา เพราะข้าตัวใหญ่คงเลี้ยงผู้ทรงศีลได้หลายคน และหลายวัน” เจ้าช้างพูดขึ้นมาก่อนสัตว์อื่นๆ

ไม่ได้หรอก เจ้าตัวใหญ่การฆ่าเจ้าจะเป็นปาบมาก เจ้าไปทำอย่างอื่นดีกว่า”


สรรพสัตว์นานาชนิดต่างแย่งกันอาสา เพื่อสืบต่อพระศาสนา แต่องค์อินทร์ก็ยังไม่พอใจที่จะให้ใครเป็นผู้สืบต่อพระศาสนา ขณะองค์อินทร์กำลังงวยงงสงสัยและคิดไม่ตก เจ้าปลาก็ได้จังหวะพูดขึ้นมาว่า

องค์อินทร์ท่านลืมข้าไปแล้วหรือ ข้านี่ออกลูกแต่ละทีเป็นจำนวนมาก ลูกของลูกข้าอีกละ ข้านี้แหละจะอาสาสืบต่อพระศาสนาเอง”

ใช่! เจ้าปลามันมีเหตุผล ตั้งแต่นี้ต่อไปข้าขอบัญชาให้เจ้าเป็นสัตว์ผู้จะมาช่วยสืบต่อพระศาสนา และเจ้าจงปฏิบัติหน้าที่นี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป”


หลังจากรับคำขององค์อินทร์แล้ว ปลาก็เดินทางกลับสู่แม่น้ำ และไปเล่าเรื่องราวต่างๆ ให้กับฝูงปลานานาชนิดฟัง


เมื่อเล่ามาถึงตรงนี้พ่อตู้เริญก็หยุดดื่มน้ำ และบอกกับผมว่านิทานจบแล้ว ผมงุนงนอยู่ครู่หนึ่งกับตอนจบของนิทาน เมื่อเห็นอาการของผม พ่อตู้เริญก็บอกว่า หลานลองเอาไปคิดดูนะว่าคำสอนในพระพุทธศาสนามีหลายช่วงที่พูดถึงปลา และในทางความเชื่อของผู้คนริมฝั่งน้ำก็มีปลาบางชนิดที่คนจับได้ต้องนำไปทำบุญ คนสมัยก่อนจะมีงานบุญก็หาปลานี้แหละมาเตรียมเอาไว้ทำอาหารไปทำบุญ


หลังกลับมาจากอำเภอปากชม ผมก็ลองนำเอานิทานของพ่อตู้เริญมาขยายความต่อด้วยการไปตามหาหนังสือที่พูดถึงเรื่องราวของปลากับพระพุทธศาสนา และไปตามวัดที่มีรูปภาพ แล้วผมก็ได้พบว่า นิทานที่พ่อตู้เริญเล่านั้นมีเค้าโครงความจริงอยู่ไม่ใช่น้อย รวมทั้งภาพเขียนตามวิหาร ศาลาโรงทานของบางวัดมีรูปปลาเกี่ยวเนื่องอยู่ในนั้นด้วย...





ภาพวาดแสดงวิถีชีวิตของคนในชุมชนลุ่มน้ำมูนที่แสดงให้เห็นถึงปลากับการสืบต่อพระพุทธศาสนา โดยในภาพชาวบ้านได้จัดงานบุญที่ริมฝังแม่น้ำมูนโดยการเอามามาทำอาหารเลี้ยงพระ


ที่มาภาพ; ศูนย์ภูมิปัญญาไทบ้าน บ้านน้ำส้าง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี

วาดโดย: ครึ้ม


บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
    ...เสียงปืนดังลั่นเปรี้ยง-คล้ายเสียงชะนีหวน
สุมาตร ภูลายยาว
สายลมเริ่มพัดเปลี่ยนทิศจากเหนือลงใต้ ฤดูฝนใกล้พ้นผ่านแล้ว ฤดูหนาวกำลังเดินทางมาแทน ขณะอาทิตย์ใกล้ลับฟ้าถัดจากกระท่อมหลังสุดท้ายตรงหาดทรายไปไม่ไกล คนจำนวนมากกำลังวุ่นวายอยู่กับการเก็บเครื่องมือทำงาน หากนับตั้งแต่วันแรกถึงวันนี้ก็ล่วงเข้าไป ๔ วันแล้วที่ช่างในหมู่บ้านถูกไหว้วานให้มาช่วยกันทำเรือไฟ เพื่อให้ทันใช้ในวันออกพรรษา หลังจมอยู่กับงานมาทั้งวัน เมื่อโรงงานต่อเรือไฟปิดประตูลงในตอนเย็น โรงมหรสพริมฝั่งน้ำก็เข้ามาแทน
สุมาตร ภูลายยาว
แม่น้ำนิ่งงันลงชั่วการกระพริบตาของพญามังกร ชาวบ้านริมฝั่งน้ำไม่มีใครรู้ว่า พญามังกรกระพริบตากี่ครั้ง หรือด้วยอำนาจใดของพญามังกร แม่น้ำจึงหยุดไหล ทั้งที่แม่น้ำเคยไหลมาชั่วนาตาปี วันที่แม่น้ำหยุดไหล คนหาปลาร้องไห้ปานจะขาดใจ เพราะปลาจำนวนมากได้หนีหายไปจากแม่น้ำ
สุมาตร ภูลายยาว
แดดร้อนของเดือนมีนาคมแผดเผาหญ้าแห้งกรัง หน้าร้อนปีนี้ร้อนกว่าทุกปี เพราะฝนไม่ตก ยอดมะม่วงอ่อนจึงไม่ยอมแตกช่อ มะม่วงป่าเริ่มออกดอกรอฝนพรำ เพื่อให้ผลได้เติบโต ความร้อนมาพร้อมกับความแห้งแล้ง ในความแห้งแล้ง ดอกไม้ป่าหลากสีกำลังผลิบาน มีทั้งดอกสีส้ม แดง ม่วง ความแห้งแล้งดูมีชีวิตชีวาขึ้นมาบ้าง
สุมาตร ภูลายยาว
‘ย่างเข้าเดือนห้า น้ำท่าก็เริ่มขอดแล้ง’ คนแก่บางคนว่าอย่างนั้น (ถ้าผมจำไม่ผิด) คำพูดนี้ได้สะท้อนบางอย่างออกมาด้วย นั่นคือสิ่งที่ผู้คนในยุคสมัยก่อนเห็น พอถึงเดือนห้า น้ำที่เคยมีอยู่ก็แห้งขอดลงเป็นลำดับ ผู้คนในสมัยก่อนที่จะก้าวเข้าสู่สังคมเกษตรอุตสาหกรรมเช่นทุกวันนี้ทำอะไรบ้าง ในสังคมภาคกลางยุคที่ทำการเกษตรไม่ใช่อุตสาหกรรม หน้าแล้งไม่มีใครทำนา เพราะทุกคนต่างรู้ว่า หน้าแล้งแล้วนะ น้ำท่าจะมาจากไหน แต่พอยุคอุตสาหกรรมเกษตรเรืองอำนาจ หน้าแล้งผู้คนก็ยังคงทำนา เพื่อตอบสนองอุตสาหกรรมการเกษตรกันอยู่
สุมาตร ภูลายยาว
ผู้ดีตีนแดง-ขอ โทษ เท้าแดง ตะแคงเท้าเดิน เวลาเหยียบปุ่มปมของพรมผืนนุ่มนิ่มราวกับปุยเมฆ นั่นแหละเท้าของผู้ดี และโลกของผู้ดีมีแต่น้ำครำ –น้ำคำ แห่งการหลอกลวง ทั้งผู้ดีจริง และผู้ดีกลวง ขณะเดินย่ำไปบนเส้นทางสู่ร้านอาหารเลิศหรู เมนูไข่คาเวียกับบรั่นดีแก้วทรงสูงดัดจริตวางรอ ผู้ดีน้ำครำละเลียดเมรัยรสคมผ่านลำคอ และละเลียดไข่คาเวียที่มีอยู่นับจำนวนได้บนจานราคาแพงกว่าการขึ้นห้องกับปอง ของโฉน ไพรำ ผู้ดี น้ำครำมองออกไปนอกหน้าต่างสูงลิบของห้องอาหารโรงแรมเสียดฟ้า เบื้องล่างแม่น้ำไหลเอื่อยเหนื่อยปานจะขาดใจตาย ผู้ดีน้ำครำละเลียดไข่คาเวียราคาแพง เพื่อเลิศหรูมีหน้ามีตา…
สุมาตร ภูลายยาว
สายลมหนาวพัดมาพร้อมกับสายฝนที่โปรยสายลงมา ว่ากันว่านี่คือฝนหลงฤดู! กาแฟแก้วของวันเป็นคาปูชิโน่ร้อนสองแก้ว แต่ไม่ใช่ของผมเป็นของลูกค้าต่างชาติ รสชาติของกาแฟเป็นอย่างไรในเช้านี้ ผมไม่อาจรู้ เพราะไม่ได้ชิม หลังสตรีมนมสดจนร้อนได้ที่ กลิ่นกาแฟสดหอมกรุ่นโชยออกมา และพร้อมแล้วสำหรับการดื่ม-กิน
สุมาตร ภูลายยาว
เนิ่นนานหลายปีแล้วที่ผมพเนจรจากบ้านเกิด แต่หลายๆ ความรู้สึกเกี่ยวกับบ้าน ผมไม่มีทางลืมได้เด็ดขาด บางค่ำคืนที่มีโอกาสอยู่กับตัวเองเพียงลำพัง ด้วยความสงบเงียบ ภาพบ้านเกิดจะย้อนกลับมาสู่ความทรงจำ-ความทรงจำในวัยเยาว์เกี่ยวกับบ้านเกิด
สุมาตร ภูลายยาว
เวลาผ่านไปเร็ว ยามที่เราโตขึ้น เราเชื่อเช่นนั้น เพราะเราโหยหาเวลาของวัยเยาว์ เมื่อเราเติบโตขึ้นเป็นลำดับมีหลายความรู้สึกของวัยเยาว์ที่หล่นหายไปอย่างไม่อาจเรียกคืนกลับมา ราวกับสายน้ำที่ไหลไกลออกไปทุกทีๆ มิอาจหวนกลับมาเป็นสายน้ำได้เช่นเดิม แต่กลายเป็นสายฝนพรำลงมาแทน หากพูดถึงอดีตแล้ว บางด้านที่เลวร้าย เราอยากผ่านเลย แต่กลับจำได้ฝังใจ...
สุมาตร ภูลายยาว
บุนทะนอง ซมไซผล แปลโดย สุมาตร ภูลายยาว    ๑.ผลน้ำเต้าบุ่ง และวรรณคดีพื้นเมือง ถ้าจะให้พูดถึงความสัมพันธ์ไทย-ลาว ความเชื่อมโยงด้านวรรณคดีของชนชาติเผ่าพันธุ์ต่างๆ ในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำของ สิ่งแรกที่ข้าพเจ้าคิดถึงคือ น้ำเต้าบุ่ง
สุมาตร ภูลายยาว
ดอกเกดเป็นดอกไม้ชนิดหนึ่งที่ลำต้นมีลักษณะเหมือนต้นปาล์ม เวลาออกดอก ดอกจะส่งกลิ่นหอม คนเฒ่าคนแก่จะนิยมนำไปบูชาพระและนำมาทัดหู ผมไม่รู้เหมือนกันว่าดอกไม้ชนิดนี้จะมีอยู่ทั่วไปในประเทศไทยหรือมีเฉพาะที่ภาคอีสานและประเทศลาว
สุมาตร ภูลายยาว
จากใบไม้ใบสุดท้ายถึงซิ่นไหมผืนเก่าๆ: ๒ เรื่องสั้นซีไรต์บนแผ่นดินเบื้องซ้ายแม่น้ำของ (โขง) เมื่อพูดถึงวรรณกรรมบนแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงแล้ว หลายคนคงอดที่จะพูดถึงวรรณกรรมชิ้นคลาสสิกเช่น ‘สังสินไซ’ ไม่ได้ เพราะสังสินไซเป็นวรรณกรรมพื้นบ้านที่คนทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงรู้จักมากที่สุดชิ้นหนึ่ง นอกจากสังสินไซแล้ว ผลงานของนักเขียนลาวหลายคนในความรับรู้ของคนไทยคงหนีไม่พ้นผลงานเขียนของท่านมหาสีลา วีระวงค์ ผู้รจนางานมหากาพย์อันยิ่งใหญ่ในนาม ‘ท้าวฮุ่งและขุนเจือง’