Skip to main content
จากพื้นที่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำที่แม่น้ำโขงไหลผ่าน ผู้คนสองฝั่งได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำที่มีความยาว ๔,๙๐๔ กิโลเมตรสายนี้ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้าน ลักษณะการใช้ประโยชน์ก็แตกต่างกันออกไปตามแต่สภาพของพื้นที่ ในช่วงที่ไหลผ่านประเทศไทยตั้งแต่จังหวัดเชียงรายจนถึงจังหวัดอุบลราชธานี ก็มีผู้คนไม่จำนวนไม่น้อยได้ใช้ประโยชน์ในด้านแตกต่างกันออกไป ผู้ใหญ่ใช้หาปลา และใช้พื้นที่ตามหาดทรายที่โผล่พ้นน้ำ และริมฝั่งทำการเกษตร เด็กๆ ใช้เป็นห้องเรียนสำหรับฝึกหาปลา และว่ายน้ำ

ในจำนวนของเด็กๆ ที่ได้พึ่งพาแม่น้ำโขงก็มีเด็กๆ จากโรงเรียนบ้านคกเว้า ตำบลหาดคำภีร์ จังหวัดเลยรวมอยู่ด้วย

ราวบ่ายของวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๒ เด็กจำนวนกว่า ๓๕ คนบางคนมีแห บางคนมีข้องได้พากันเดินทางออกจากโรงเรียนมุ่งหน้าสู่แม่น้ำโขงที่อยู่ไม่ไกลจากโรงเรียน โดยมีเป้าหมายอยู่ที่บุ่ง ซึ่งอยู่ไม่ไกล
บุ่ง' เป็นชื่อเรียกลักษณะของระบบนิเวศในแม่น้ำโขง โดยจะใช้เรียกพื้นที่ที่เป็นหนองน้ำหลังจากน้ำในแม่น้ำโขงลดระดับลงในหน้าแล้ง พบได้ในแม่น้ำโขง และแม่น้ำสาขา เช่น แม่น้ำมูล ระบบนิเวศแบบบุ่งในแม่น้ำจะพบที่ภาคอีสานตอนบน บุ่งจะเกิดเฉพาะในหน้าแล้ง แต่พอถึงหน้าฝนบุ่งก็จะหายไป บุ่งบางแห่งจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปตามแต่ลักษณะของพื้นที่ เช่น ที่บ้านปากเนียมมีบุ่งปลาค้าวชื่อ ในบุ่งจะมีปลาอา และสัตว์น้ำอาศัยอยู่รวมทั้งแมงหยุ่มหวะ หรือแมงกะพรุนอาศัยอยู่ด้วย

เสียงเด็กร้องเรียกกัน และเสียงแห่งความสนุกสนานที่ได้ลงเล่นน้ำดังอยู่ไม่ขาดระยะ แดดร้อนเริ่มแผ่วเบาลง บางคนที่ดำผุดดำว่ายอยู่ก็ว่ายน้ำไปรวมกับเพื่อนๆ ที่ชวนกันไปเล่นน้ำในบุ่งที่ลึกกว่า แต่เด็กไม่ได้รับอนุญาตให้ลงไปเล่นน้ำในแม่น้ำโขง  

ในวัยเยาว์ของลูกชายลูกสาวแห่งแม่น้ำ การได้เรียนรู้แม่น้ำแห่งบ้านเกิดจึงสำคัญ การได้เรียนรู้เรื่องราวของแม่น้ำสายใดในโลกใบนี้


หากเชื่อมั่นว่าวัยเด็กคือ วัยแห่งการเรียนรู้ ซึ่งสามารถเรียนรู้ได้จากหลายๆ สิ่งที่อยู่รายรอบตัวเอง ทั้งในห้องเรียน และนอกห้องเรียน กิจกรรมในวันนี้ก็เป็นหนึ่งในการเรียนรู้ของเด็กๆ จากโรงเรียนบ้านคกเว้าด้วย และห้องเรียนของเด็กๆ ในวันนี้คือห้องเรียนที่มีความยาวกว่า ๔,๙๐๙ กิโลเมตร

ปลาตัวเล็กตัวน้อยที่จับได้จากฝีมือของเด็กๆ ถูกเก็บใส่ไว้ในถัง เพื่อจะได้นำไปดองเก็บไว้สำหรับศึกษาเรียนรู้ในเรื่องของพันธุ์ปลาแม่น้ำโขงต่อไป

เคยมีคนพูดทีเล่นทีจริงว่า เด็กๆ ริมแม่น้ำโขงหลักสูตรการเรียนรู้สำหรับพวกเขา ถ้าพูดเรื่องแม่น้ำต้องให้พวกเขาเรียนเรื่องแม่น้ำโขง เพราะเด็กๆ เหล่านี้อยู่ใกล้แม่น้ำโขงกว่าแม่น้ำเจ้าพระยา

ขณะตะวันคล้อยต่ำลง เด็กหลายคนเริ่มเหนื่อยล้าจากการหาปลา และเล่นน้ำ เวลาขึ้นจากน้ำก็มาถึง ห้องเรียนของโรงเรียนแม่น้ำได้หมดชั่วโมงเรียนลงแล้ว แต่เชื่อมั่นเหลือเกินว่า หากมีการทดสอบวัดความรู้เรื่องแม่น้ำโขงด้วยการหาปลา เด็กๆ เหล่านี้ย่อมสอบผ่านไปได้ด้วยดี โดยมีจำนวนปลาจากในถังเป็นบททดสอบความรู้ความสามารถนั่นเอง

บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
    ...เสียงปืนดังลั่นเปรี้ยง-คล้ายเสียงชะนีหวน
สุมาตร ภูลายยาว
สายลมเริ่มพัดเปลี่ยนทิศจากเหนือลงใต้ ฤดูฝนใกล้พ้นผ่านแล้ว ฤดูหนาวกำลังเดินทางมาแทน ขณะอาทิตย์ใกล้ลับฟ้าถัดจากกระท่อมหลังสุดท้ายตรงหาดทรายไปไม่ไกล คนจำนวนมากกำลังวุ่นวายอยู่กับการเก็บเครื่องมือทำงาน หากนับตั้งแต่วันแรกถึงวันนี้ก็ล่วงเข้าไป ๔ วันแล้วที่ช่างในหมู่บ้านถูกไหว้วานให้มาช่วยกันทำเรือไฟ เพื่อให้ทันใช้ในวันออกพรรษา หลังจมอยู่กับงานมาทั้งวัน เมื่อโรงงานต่อเรือไฟปิดประตูลงในตอนเย็น โรงมหรสพริมฝั่งน้ำก็เข้ามาแทน
สุมาตร ภูลายยาว
แม่น้ำนิ่งงันลงชั่วการกระพริบตาของพญามังกร ชาวบ้านริมฝั่งน้ำไม่มีใครรู้ว่า พญามังกรกระพริบตากี่ครั้ง หรือด้วยอำนาจใดของพญามังกร แม่น้ำจึงหยุดไหล ทั้งที่แม่น้ำเคยไหลมาชั่วนาตาปี วันที่แม่น้ำหยุดไหล คนหาปลาร้องไห้ปานจะขาดใจ เพราะปลาจำนวนมากได้หนีหายไปจากแม่น้ำ
สุมาตร ภูลายยาว
แดดร้อนของเดือนมีนาคมแผดเผาหญ้าแห้งกรัง หน้าร้อนปีนี้ร้อนกว่าทุกปี เพราะฝนไม่ตก ยอดมะม่วงอ่อนจึงไม่ยอมแตกช่อ มะม่วงป่าเริ่มออกดอกรอฝนพรำ เพื่อให้ผลได้เติบโต ความร้อนมาพร้อมกับความแห้งแล้ง ในความแห้งแล้ง ดอกไม้ป่าหลากสีกำลังผลิบาน มีทั้งดอกสีส้ม แดง ม่วง ความแห้งแล้งดูมีชีวิตชีวาขึ้นมาบ้าง
สุมาตร ภูลายยาว
‘ย่างเข้าเดือนห้า น้ำท่าก็เริ่มขอดแล้ง’ คนแก่บางคนว่าอย่างนั้น (ถ้าผมจำไม่ผิด) คำพูดนี้ได้สะท้อนบางอย่างออกมาด้วย นั่นคือสิ่งที่ผู้คนในยุคสมัยก่อนเห็น พอถึงเดือนห้า น้ำที่เคยมีอยู่ก็แห้งขอดลงเป็นลำดับ ผู้คนในสมัยก่อนที่จะก้าวเข้าสู่สังคมเกษตรอุตสาหกรรมเช่นทุกวันนี้ทำอะไรบ้าง ในสังคมภาคกลางยุคที่ทำการเกษตรไม่ใช่อุตสาหกรรม หน้าแล้งไม่มีใครทำนา เพราะทุกคนต่างรู้ว่า หน้าแล้งแล้วนะ น้ำท่าจะมาจากไหน แต่พอยุคอุตสาหกรรมเกษตรเรืองอำนาจ หน้าแล้งผู้คนก็ยังคงทำนา เพื่อตอบสนองอุตสาหกรรมการเกษตรกันอยู่
สุมาตร ภูลายยาว
ผู้ดีตีนแดง-ขอ โทษ เท้าแดง ตะแคงเท้าเดิน เวลาเหยียบปุ่มปมของพรมผืนนุ่มนิ่มราวกับปุยเมฆ นั่นแหละเท้าของผู้ดี และโลกของผู้ดีมีแต่น้ำครำ –น้ำคำ แห่งการหลอกลวง ทั้งผู้ดีจริง และผู้ดีกลวง ขณะเดินย่ำไปบนเส้นทางสู่ร้านอาหารเลิศหรู เมนูไข่คาเวียกับบรั่นดีแก้วทรงสูงดัดจริตวางรอ ผู้ดีน้ำครำละเลียดเมรัยรสคมผ่านลำคอ และละเลียดไข่คาเวียที่มีอยู่นับจำนวนได้บนจานราคาแพงกว่าการขึ้นห้องกับปอง ของโฉน ไพรำ ผู้ดี น้ำครำมองออกไปนอกหน้าต่างสูงลิบของห้องอาหารโรงแรมเสียดฟ้า เบื้องล่างแม่น้ำไหลเอื่อยเหนื่อยปานจะขาดใจตาย ผู้ดีน้ำครำละเลียดไข่คาเวียราคาแพง เพื่อเลิศหรูมีหน้ามีตา…
สุมาตร ภูลายยาว
สายลมหนาวพัดมาพร้อมกับสายฝนที่โปรยสายลงมา ว่ากันว่านี่คือฝนหลงฤดู! กาแฟแก้วของวันเป็นคาปูชิโน่ร้อนสองแก้ว แต่ไม่ใช่ของผมเป็นของลูกค้าต่างชาติ รสชาติของกาแฟเป็นอย่างไรในเช้านี้ ผมไม่อาจรู้ เพราะไม่ได้ชิม หลังสตรีมนมสดจนร้อนได้ที่ กลิ่นกาแฟสดหอมกรุ่นโชยออกมา และพร้อมแล้วสำหรับการดื่ม-กิน
สุมาตร ภูลายยาว
เนิ่นนานหลายปีแล้วที่ผมพเนจรจากบ้านเกิด แต่หลายๆ ความรู้สึกเกี่ยวกับบ้าน ผมไม่มีทางลืมได้เด็ดขาด บางค่ำคืนที่มีโอกาสอยู่กับตัวเองเพียงลำพัง ด้วยความสงบเงียบ ภาพบ้านเกิดจะย้อนกลับมาสู่ความทรงจำ-ความทรงจำในวัยเยาว์เกี่ยวกับบ้านเกิด
สุมาตร ภูลายยาว
เวลาผ่านไปเร็ว ยามที่เราโตขึ้น เราเชื่อเช่นนั้น เพราะเราโหยหาเวลาของวัยเยาว์ เมื่อเราเติบโตขึ้นเป็นลำดับมีหลายความรู้สึกของวัยเยาว์ที่หล่นหายไปอย่างไม่อาจเรียกคืนกลับมา ราวกับสายน้ำที่ไหลไกลออกไปทุกทีๆ มิอาจหวนกลับมาเป็นสายน้ำได้เช่นเดิม แต่กลายเป็นสายฝนพรำลงมาแทน หากพูดถึงอดีตแล้ว บางด้านที่เลวร้าย เราอยากผ่านเลย แต่กลับจำได้ฝังใจ...
สุมาตร ภูลายยาว
บุนทะนอง ซมไซผล แปลโดย สุมาตร ภูลายยาว    ๑.ผลน้ำเต้าบุ่ง และวรรณคดีพื้นเมือง ถ้าจะให้พูดถึงความสัมพันธ์ไทย-ลาว ความเชื่อมโยงด้านวรรณคดีของชนชาติเผ่าพันธุ์ต่างๆ ในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำของ สิ่งแรกที่ข้าพเจ้าคิดถึงคือ น้ำเต้าบุ่ง
สุมาตร ภูลายยาว
ดอกเกดเป็นดอกไม้ชนิดหนึ่งที่ลำต้นมีลักษณะเหมือนต้นปาล์ม เวลาออกดอก ดอกจะส่งกลิ่นหอม คนเฒ่าคนแก่จะนิยมนำไปบูชาพระและนำมาทัดหู ผมไม่รู้เหมือนกันว่าดอกไม้ชนิดนี้จะมีอยู่ทั่วไปในประเทศไทยหรือมีเฉพาะที่ภาคอีสานและประเทศลาว
สุมาตร ภูลายยาว
จากใบไม้ใบสุดท้ายถึงซิ่นไหมผืนเก่าๆ: ๒ เรื่องสั้นซีไรต์บนแผ่นดินเบื้องซ้ายแม่น้ำของ (โขง) เมื่อพูดถึงวรรณกรรมบนแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงแล้ว หลายคนคงอดที่จะพูดถึงวรรณกรรมชิ้นคลาสสิกเช่น ‘สังสินไซ’ ไม่ได้ เพราะสังสินไซเป็นวรรณกรรมพื้นบ้านที่คนทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงรู้จักมากที่สุดชิ้นหนึ่ง นอกจากสังสินไซแล้ว ผลงานของนักเขียนลาวหลายคนในความรับรู้ของคนไทยคงหนีไม่พ้นผลงานเขียนของท่านมหาสีลา วีระวงค์ ผู้รจนางานมหากาพย์อันยิ่งใหญ่ในนาม ‘ท้าวฮุ่งและขุนเจือง’