Skip to main content

“มื้ออื่นไปแต่เช้าเด้อ เดี๋ยวพ่อสิไปเอิ้นดอก”
ถ้อยคำสุดท้ายของชายวัย ๖๐ กว่าที่นั่งอยู่ในบ้านดังแว่วออกมา ขณะเรากำลังเดินจากกระท่อมของพ่อเฒ่ามา หลังพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปไม่นาน หมู่บ้านจมอยู่ในความมืด ถ้าเป็นเมื่อ ๑๐ กว่าปีก่อนในตอนเย็นเช่นนี้หมู่บ้านจะเงียบกว่าที่เป็นอยู่ เพราะคนในหมู่บ้านยังไม่ได้เดินทางกลับมาจากไร่

20080519 1

หลังเดินจากบ้านพ่อเฒ่ามา เราหยุดแวะทักทายชาวบ้านที่กำลังเดินสวนทางมา สำเนียงของคนไทเลยแปร่งหู บางครั้งต้องหยุดคิด เพื่อตอบคำถาม เมื่อกลับมาถึงบ้านพัก กับข้าวจากในครัวถูกยกออกมา บนจานมีห่อหมกปลา และน้ำพริก และนี่แหละคือต้นธารที่จะพาเราออกเดินทางไปกับพ่อเฒ่าในตอนเช้าพรุ่งนี้

ขณะอาทิตย์ยามเช้ายังไม่ออกมาเตร็ดเตร่ริมขอบฟ้าตะวันออก เราก็เดินมาถึงบ้านของพ่อเฒ่า ซึ่งแต่งตัวรออยู่แล้ว หลังพูดคุยกันได้ไม่นาน แกก็ออกเดินนำหน้ามุ่งสู่ปลายทาง

พ่อเฒ่าคนนี้ชื่อ ‘พ่อตู้เริญ’  

‘ตู้’ ในความหมายของคนไทเลยคือ คำนำหน้าของคนที่มีอายุทั้งที่เป็นพ่อใหญ่ พ่อลุง พ่อตู้เริญนอกจากจะมีอาชีพเป็นคนหาปลาแล้ว แกยังเป็นมัคทายกวัดของหมู่บ้านอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย

การเดินทางบนเส้นทางสองเส้นของพ่อตู้เริญช่างแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ในวันที่เดินทางไปวัด แกก็ยังเดินทางไปหาปลาเช่นกัน เมื่อถามถึงวิถีทางที่เป็นอยู่ พ่อตู้เริญก็จะอธิบายให้ฟังอย่างแยบยลว่า

“มันบ่แม่นเรื่องแปลกดอก เพราะในสมัยก่อนมันมีนิทานเว้าสืบต่อกันมาว่า ปลานี่มันเกิดมาเพื่อสืบพระศาสนา ตอนนั้นพระอินทร์ฮู้ว่าสิมีพระพุทธเจ้ามาบังเกิด เพื่อดำรงพระศาสนา พระอินทร์เลยเอิ้นหมู่สัตว์ต่างๆ ที่มีอยู่ทั้งหมดมาประชุมกัน เมื่อสัตว์ต่างๆ มาพร้อมแล้ว พระอินทร์กะถามว่า สัตว์ตัวไหนจะอาสาเพื่อสืบต่อพระศาสนา สัตว์หลายชนิดต่างขันอาสา แต่สุดท้าย พระอินทร์ก็เลือกเอาปลา เพราะปลานี่เกิดไข่ทีละหลาย และออกลูกออกหลานหลาย ฉะนั้นปลาจึงเหมาะสมกับการที่จะเป็นสัตว์สืบต่อพระศาสนา สังเกตเบิ่งงานบุญเด้อ อย่างงานบุญขึ้นบ้านใหม่นี่อาหารถวายพระกะสิมีปลา อย่างงานบุญเขาสากนี่ก็เอาปลาดุกมาฮ่วมกินฮ่วมทาน”

หลังพูดจบ พ่อตู้เริญก็หัวเราะเสียงดัง คงไม่ต้องอธิบายมากว่า ตู้เริญหัวเราะเพราะอะไร เราเองก็อดที่จะหัวเราะไม่ได้ พ่อตู้นี่ไม่ธรรมดา เราแอบบนึกในใจ แม้ว่าเส้นแบ่งระหว่างบุญและบาปจะเป็นเส้นแบ่งบางๆ แต่วิธีการอธิบายให้คนเข้าใจในวิถีทางที่พ่อตู้เริญเป็นอยู่ก็คงทำให้หลายคนหายสงสัยในความเป็นอยู่ของพ่อตู้ได้

“ถอดเกิบเด้อ มันสิได้ข้ามน้ำ เดี๋ยวมันสิย่างยาก”
พ่อตู้เริญบอก ขณะเราเดินตามหลังแกมาจนถึงจุดหมาย
“ข้ามน้ำนี่ไปก็ฮอดแล้ว บุ่งนี่พ่อใส่เหยาะกับกะโล้ไว้”
“แม่นหยังน้อพ่อตู้บุ่งกับกะโล้นี่”
“ไปฮอดก่อนกะสิเห็นดอก อย่าเพิ่งถาม”

‘กะโล้’ ที่พ่อตู้เริญพูดถึงเป็นเครื่องมือหาปลาชนิดหนึ่งมี ๒ แบบ ในแบบที่ ๑ มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมคล้ายกล่องไม้ขีดไฟ และแบบที่ ๒ มีลักษณะเป็นแนวยาวคล้ายไซ เวลาใช้คนหาปลาจะนำมาวางไว้ตรงที่เป็นดางสีเขียวที่วางกั้นน้ำไว้คล้ายการทำโพงพาง เครื่องมือหาปลาทั้งสองแบบนี้คนหาปลาจะนำมาใส่ไว้ตามบุ่ง ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงหน้าแล้งตามริมฝั่งแม่น้ำโขง บริเวณที่พ่อตู้เริญเอากะโล้ไปใส่ ชาวบ้านเรียกว่า ‘บุ่งข้าโม้’ นอกจากบริเวณนี้จะมีบุ่งข้าโม้แล้วยังมีอีกหลายบุ่ง เช่น บุ่งปลาตอง บุ่งไผ่ บุ่งปลาเคิง บุ่งปากทาง แต่ละบุ่งที่มีอยู่ในบริเวณบ้านปากเนียมนี้ ชาวบ้านจะลงมาวางเครื่องมือหาปลา เพื่อเอาปลาขนาดเล็ก เพราะน้ำในบุ่งไม่ลึกมาก จึงเหมาะสำหรับการวางกะโล้

20080519 2

20080519 3

พ่อตู้เริญเล่าให้ฟังเพิ่มอีกว่า ในแต่ละปี น้ำในบุ่งจะมากน้อยไม่เท่ากัน และในแต่ละวันปลาที่ได้จากบุ่งก็มากน้อยไม่เท่ากัน แต่ได้ปลาทุกวัน

‘บุ่ง’ ที่พ่อตู้เริญพูดถึงมีลักษณะเป็นหนองน้ำขนาดเล็กลึกประมาณ ๑-๒ เมตร เกิดขึ้นตามริมฝั่งแม่น้ำโขง ระบบนิเวศแบบบุ่งในแม่น้ำโขงสามารถพบได้ในแม่น้ำโขงช่วงที่ไหลผ่านภาคอีสาน โดยเฉพาะที่อำเภอปากชม และอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย

20080519 4

20080519 5

“นอกจากจะมาหาปลาในบุ่งแล้ว ดอนรอบบุ่งชาวบ้านยังลงมาแบ่งพื้นที่ปลูกผักเอาไว้ขายด้วย”
พ่อตู้เริญเล่าให้เราฟังขณะเดินนำหน้าลิ่วๆ กลับไปตามทางเดิม
“ยามอีกบ่อนหนึ่งกะแล้ว หิวข้าวกันหรือยัง”
“ยังบ่หิวครับ”

หลังรู้คำตอบ พ่อตู้เริญก็เดินดุ่มมุ่งหน้าลงไปสู่บุ่ง สายตาทั้งสองข้างจับจ้องอยู่ตรงกะโล้ที่เชื่อมต่อกับดางสีฟ้าเป็นแนวยาวเหยียด
“มื้อหนึ่งหาได้หลายบ่ พ่อตู้”
“กะพอได้กินได้ขาย มื้อใด๋ได้หลายขายกะมี แต่ถ้ามื้อได้น้อยกะเอาไปเฮ็ดปลาแดกไว้กิน”

กะโล้อันสุดท้ายของพ่อตู้เริญถูกยกลงไปวางไว้ที่เดิมอีกครั้งหลังเสร็จจากการเก็บกู้ แสงแดดของยามสายโผล่พ้นขอบฟ้ามาแล้ว ความร้อนเริ่มปรากฏ เรากำลังเดินตามหลังของพ่อตู้เริญคืนสู่บ้าน

 

บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
    ...เสียงปืนดังลั่นเปรี้ยง-คล้ายเสียงชะนีหวน
สุมาตร ภูลายยาว
สายลมเริ่มพัดเปลี่ยนทิศจากเหนือลงใต้ ฤดูฝนใกล้พ้นผ่านแล้ว ฤดูหนาวกำลังเดินทางมาแทน ขณะอาทิตย์ใกล้ลับฟ้าถัดจากกระท่อมหลังสุดท้ายตรงหาดทรายไปไม่ไกล คนจำนวนมากกำลังวุ่นวายอยู่กับการเก็บเครื่องมือทำงาน หากนับตั้งแต่วันแรกถึงวันนี้ก็ล่วงเข้าไป ๔ วันแล้วที่ช่างในหมู่บ้านถูกไหว้วานให้มาช่วยกันทำเรือไฟ เพื่อให้ทันใช้ในวันออกพรรษา หลังจมอยู่กับงานมาทั้งวัน เมื่อโรงงานต่อเรือไฟปิดประตูลงในตอนเย็น โรงมหรสพริมฝั่งน้ำก็เข้ามาแทน
สุมาตร ภูลายยาว
แม่น้ำนิ่งงันลงชั่วการกระพริบตาของพญามังกร ชาวบ้านริมฝั่งน้ำไม่มีใครรู้ว่า พญามังกรกระพริบตากี่ครั้ง หรือด้วยอำนาจใดของพญามังกร แม่น้ำจึงหยุดไหล ทั้งที่แม่น้ำเคยไหลมาชั่วนาตาปี วันที่แม่น้ำหยุดไหล คนหาปลาร้องไห้ปานจะขาดใจ เพราะปลาจำนวนมากได้หนีหายไปจากแม่น้ำ
สุมาตร ภูลายยาว
แดดร้อนของเดือนมีนาคมแผดเผาหญ้าแห้งกรัง หน้าร้อนปีนี้ร้อนกว่าทุกปี เพราะฝนไม่ตก ยอดมะม่วงอ่อนจึงไม่ยอมแตกช่อ มะม่วงป่าเริ่มออกดอกรอฝนพรำ เพื่อให้ผลได้เติบโต ความร้อนมาพร้อมกับความแห้งแล้ง ในความแห้งแล้ง ดอกไม้ป่าหลากสีกำลังผลิบาน มีทั้งดอกสีส้ม แดง ม่วง ความแห้งแล้งดูมีชีวิตชีวาขึ้นมาบ้าง
สุมาตร ภูลายยาว
‘ย่างเข้าเดือนห้า น้ำท่าก็เริ่มขอดแล้ง’ คนแก่บางคนว่าอย่างนั้น (ถ้าผมจำไม่ผิด) คำพูดนี้ได้สะท้อนบางอย่างออกมาด้วย นั่นคือสิ่งที่ผู้คนในยุคสมัยก่อนเห็น พอถึงเดือนห้า น้ำที่เคยมีอยู่ก็แห้งขอดลงเป็นลำดับ ผู้คนในสมัยก่อนที่จะก้าวเข้าสู่สังคมเกษตรอุตสาหกรรมเช่นทุกวันนี้ทำอะไรบ้าง ในสังคมภาคกลางยุคที่ทำการเกษตรไม่ใช่อุตสาหกรรม หน้าแล้งไม่มีใครทำนา เพราะทุกคนต่างรู้ว่า หน้าแล้งแล้วนะ น้ำท่าจะมาจากไหน แต่พอยุคอุตสาหกรรมเกษตรเรืองอำนาจ หน้าแล้งผู้คนก็ยังคงทำนา เพื่อตอบสนองอุตสาหกรรมการเกษตรกันอยู่
สุมาตร ภูลายยาว
ผู้ดีตีนแดง-ขอ โทษ เท้าแดง ตะแคงเท้าเดิน เวลาเหยียบปุ่มปมของพรมผืนนุ่มนิ่มราวกับปุยเมฆ นั่นแหละเท้าของผู้ดี และโลกของผู้ดีมีแต่น้ำครำ –น้ำคำ แห่งการหลอกลวง ทั้งผู้ดีจริง และผู้ดีกลวง ขณะเดินย่ำไปบนเส้นทางสู่ร้านอาหารเลิศหรู เมนูไข่คาเวียกับบรั่นดีแก้วทรงสูงดัดจริตวางรอ ผู้ดีน้ำครำละเลียดเมรัยรสคมผ่านลำคอ และละเลียดไข่คาเวียที่มีอยู่นับจำนวนได้บนจานราคาแพงกว่าการขึ้นห้องกับปอง ของโฉน ไพรำ ผู้ดี น้ำครำมองออกไปนอกหน้าต่างสูงลิบของห้องอาหารโรงแรมเสียดฟ้า เบื้องล่างแม่น้ำไหลเอื่อยเหนื่อยปานจะขาดใจตาย ผู้ดีน้ำครำละเลียดไข่คาเวียราคาแพง เพื่อเลิศหรูมีหน้ามีตา…
สุมาตร ภูลายยาว
สายลมหนาวพัดมาพร้อมกับสายฝนที่โปรยสายลงมา ว่ากันว่านี่คือฝนหลงฤดู! กาแฟแก้วของวันเป็นคาปูชิโน่ร้อนสองแก้ว แต่ไม่ใช่ของผมเป็นของลูกค้าต่างชาติ รสชาติของกาแฟเป็นอย่างไรในเช้านี้ ผมไม่อาจรู้ เพราะไม่ได้ชิม หลังสตรีมนมสดจนร้อนได้ที่ กลิ่นกาแฟสดหอมกรุ่นโชยออกมา และพร้อมแล้วสำหรับการดื่ม-กิน
สุมาตร ภูลายยาว
เนิ่นนานหลายปีแล้วที่ผมพเนจรจากบ้านเกิด แต่หลายๆ ความรู้สึกเกี่ยวกับบ้าน ผมไม่มีทางลืมได้เด็ดขาด บางค่ำคืนที่มีโอกาสอยู่กับตัวเองเพียงลำพัง ด้วยความสงบเงียบ ภาพบ้านเกิดจะย้อนกลับมาสู่ความทรงจำ-ความทรงจำในวัยเยาว์เกี่ยวกับบ้านเกิด
สุมาตร ภูลายยาว
เวลาผ่านไปเร็ว ยามที่เราโตขึ้น เราเชื่อเช่นนั้น เพราะเราโหยหาเวลาของวัยเยาว์ เมื่อเราเติบโตขึ้นเป็นลำดับมีหลายความรู้สึกของวัยเยาว์ที่หล่นหายไปอย่างไม่อาจเรียกคืนกลับมา ราวกับสายน้ำที่ไหลไกลออกไปทุกทีๆ มิอาจหวนกลับมาเป็นสายน้ำได้เช่นเดิม แต่กลายเป็นสายฝนพรำลงมาแทน หากพูดถึงอดีตแล้ว บางด้านที่เลวร้าย เราอยากผ่านเลย แต่กลับจำได้ฝังใจ...
สุมาตร ภูลายยาว
บุนทะนอง ซมไซผล แปลโดย สุมาตร ภูลายยาว    ๑.ผลน้ำเต้าบุ่ง และวรรณคดีพื้นเมือง ถ้าจะให้พูดถึงความสัมพันธ์ไทย-ลาว ความเชื่อมโยงด้านวรรณคดีของชนชาติเผ่าพันธุ์ต่างๆ ในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำของ สิ่งแรกที่ข้าพเจ้าคิดถึงคือ น้ำเต้าบุ่ง
สุมาตร ภูลายยาว
ดอกเกดเป็นดอกไม้ชนิดหนึ่งที่ลำต้นมีลักษณะเหมือนต้นปาล์ม เวลาออกดอก ดอกจะส่งกลิ่นหอม คนเฒ่าคนแก่จะนิยมนำไปบูชาพระและนำมาทัดหู ผมไม่รู้เหมือนกันว่าดอกไม้ชนิดนี้จะมีอยู่ทั่วไปในประเทศไทยหรือมีเฉพาะที่ภาคอีสานและประเทศลาว
สุมาตร ภูลายยาว
จากใบไม้ใบสุดท้ายถึงซิ่นไหมผืนเก่าๆ: ๒ เรื่องสั้นซีไรต์บนแผ่นดินเบื้องซ้ายแม่น้ำของ (โขง) เมื่อพูดถึงวรรณกรรมบนแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงแล้ว หลายคนคงอดที่จะพูดถึงวรรณกรรมชิ้นคลาสสิกเช่น ‘สังสินไซ’ ไม่ได้ เพราะสังสินไซเป็นวรรณกรรมพื้นบ้านที่คนทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงรู้จักมากที่สุดชิ้นหนึ่ง นอกจากสังสินไซแล้ว ผลงานของนักเขียนลาวหลายคนในความรับรู้ของคนไทยคงหนีไม่พ้นผลงานเขียนของท่านมหาสีลา วีระวงค์ ผู้รจนางานมหากาพย์อันยิ่งใหญ่ในนาม ‘ท้าวฮุ่งและขุนเจือง’