Skip to main content

“มื้ออื่นไปแต่เช้าเด้อ เดี๋ยวพ่อสิไปเอิ้นดอก”
ถ้อยคำสุดท้ายของชายวัย ๖๐ กว่าที่นั่งอยู่ในบ้านดังแว่วออกมา ขณะเรากำลังเดินจากกระท่อมของพ่อเฒ่ามา หลังพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปไม่นาน หมู่บ้านจมอยู่ในความมืด ถ้าเป็นเมื่อ ๑๐ กว่าปีก่อนในตอนเย็นเช่นนี้หมู่บ้านจะเงียบกว่าที่เป็นอยู่ เพราะคนในหมู่บ้านยังไม่ได้เดินทางกลับมาจากไร่

20080519 1

หลังเดินจากบ้านพ่อเฒ่ามา เราหยุดแวะทักทายชาวบ้านที่กำลังเดินสวนทางมา สำเนียงของคนไทเลยแปร่งหู บางครั้งต้องหยุดคิด เพื่อตอบคำถาม เมื่อกลับมาถึงบ้านพัก กับข้าวจากในครัวถูกยกออกมา บนจานมีห่อหมกปลา และน้ำพริก และนี่แหละคือต้นธารที่จะพาเราออกเดินทางไปกับพ่อเฒ่าในตอนเช้าพรุ่งนี้

ขณะอาทิตย์ยามเช้ายังไม่ออกมาเตร็ดเตร่ริมขอบฟ้าตะวันออก เราก็เดินมาถึงบ้านของพ่อเฒ่า ซึ่งแต่งตัวรออยู่แล้ว หลังพูดคุยกันได้ไม่นาน แกก็ออกเดินนำหน้ามุ่งสู่ปลายทาง

พ่อเฒ่าคนนี้ชื่อ ‘พ่อตู้เริญ’  

‘ตู้’ ในความหมายของคนไทเลยคือ คำนำหน้าของคนที่มีอายุทั้งที่เป็นพ่อใหญ่ พ่อลุง พ่อตู้เริญนอกจากจะมีอาชีพเป็นคนหาปลาแล้ว แกยังเป็นมัคทายกวัดของหมู่บ้านอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย

การเดินทางบนเส้นทางสองเส้นของพ่อตู้เริญช่างแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ในวันที่เดินทางไปวัด แกก็ยังเดินทางไปหาปลาเช่นกัน เมื่อถามถึงวิถีทางที่เป็นอยู่ พ่อตู้เริญก็จะอธิบายให้ฟังอย่างแยบยลว่า

“มันบ่แม่นเรื่องแปลกดอก เพราะในสมัยก่อนมันมีนิทานเว้าสืบต่อกันมาว่า ปลานี่มันเกิดมาเพื่อสืบพระศาสนา ตอนนั้นพระอินทร์ฮู้ว่าสิมีพระพุทธเจ้ามาบังเกิด เพื่อดำรงพระศาสนา พระอินทร์เลยเอิ้นหมู่สัตว์ต่างๆ ที่มีอยู่ทั้งหมดมาประชุมกัน เมื่อสัตว์ต่างๆ มาพร้อมแล้ว พระอินทร์กะถามว่า สัตว์ตัวไหนจะอาสาเพื่อสืบต่อพระศาสนา สัตว์หลายชนิดต่างขันอาสา แต่สุดท้าย พระอินทร์ก็เลือกเอาปลา เพราะปลานี่เกิดไข่ทีละหลาย และออกลูกออกหลานหลาย ฉะนั้นปลาจึงเหมาะสมกับการที่จะเป็นสัตว์สืบต่อพระศาสนา สังเกตเบิ่งงานบุญเด้อ อย่างงานบุญขึ้นบ้านใหม่นี่อาหารถวายพระกะสิมีปลา อย่างงานบุญเขาสากนี่ก็เอาปลาดุกมาฮ่วมกินฮ่วมทาน”

หลังพูดจบ พ่อตู้เริญก็หัวเราะเสียงดัง คงไม่ต้องอธิบายมากว่า ตู้เริญหัวเราะเพราะอะไร เราเองก็อดที่จะหัวเราะไม่ได้ พ่อตู้นี่ไม่ธรรมดา เราแอบบนึกในใจ แม้ว่าเส้นแบ่งระหว่างบุญและบาปจะเป็นเส้นแบ่งบางๆ แต่วิธีการอธิบายให้คนเข้าใจในวิถีทางที่พ่อตู้เริญเป็นอยู่ก็คงทำให้หลายคนหายสงสัยในความเป็นอยู่ของพ่อตู้ได้

“ถอดเกิบเด้อ มันสิได้ข้ามน้ำ เดี๋ยวมันสิย่างยาก”
พ่อตู้เริญบอก ขณะเราเดินตามหลังแกมาจนถึงจุดหมาย
“ข้ามน้ำนี่ไปก็ฮอดแล้ว บุ่งนี่พ่อใส่เหยาะกับกะโล้ไว้”
“แม่นหยังน้อพ่อตู้บุ่งกับกะโล้นี่”
“ไปฮอดก่อนกะสิเห็นดอก อย่าเพิ่งถาม”

‘กะโล้’ ที่พ่อตู้เริญพูดถึงเป็นเครื่องมือหาปลาชนิดหนึ่งมี ๒ แบบ ในแบบที่ ๑ มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมคล้ายกล่องไม้ขีดไฟ และแบบที่ ๒ มีลักษณะเป็นแนวยาวคล้ายไซ เวลาใช้คนหาปลาจะนำมาวางไว้ตรงที่เป็นดางสีเขียวที่วางกั้นน้ำไว้คล้ายการทำโพงพาง เครื่องมือหาปลาทั้งสองแบบนี้คนหาปลาจะนำมาใส่ไว้ตามบุ่ง ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงหน้าแล้งตามริมฝั่งแม่น้ำโขง บริเวณที่พ่อตู้เริญเอากะโล้ไปใส่ ชาวบ้านเรียกว่า ‘บุ่งข้าโม้’ นอกจากบริเวณนี้จะมีบุ่งข้าโม้แล้วยังมีอีกหลายบุ่ง เช่น บุ่งปลาตอง บุ่งไผ่ บุ่งปลาเคิง บุ่งปากทาง แต่ละบุ่งที่มีอยู่ในบริเวณบ้านปากเนียมนี้ ชาวบ้านจะลงมาวางเครื่องมือหาปลา เพื่อเอาปลาขนาดเล็ก เพราะน้ำในบุ่งไม่ลึกมาก จึงเหมาะสำหรับการวางกะโล้

20080519 2

20080519 3

พ่อตู้เริญเล่าให้ฟังเพิ่มอีกว่า ในแต่ละปี น้ำในบุ่งจะมากน้อยไม่เท่ากัน และในแต่ละวันปลาที่ได้จากบุ่งก็มากน้อยไม่เท่ากัน แต่ได้ปลาทุกวัน

‘บุ่ง’ ที่พ่อตู้เริญพูดถึงมีลักษณะเป็นหนองน้ำขนาดเล็กลึกประมาณ ๑-๒ เมตร เกิดขึ้นตามริมฝั่งแม่น้ำโขง ระบบนิเวศแบบบุ่งในแม่น้ำโขงสามารถพบได้ในแม่น้ำโขงช่วงที่ไหลผ่านภาคอีสาน โดยเฉพาะที่อำเภอปากชม และอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย

20080519 4

20080519 5

“นอกจากจะมาหาปลาในบุ่งแล้ว ดอนรอบบุ่งชาวบ้านยังลงมาแบ่งพื้นที่ปลูกผักเอาไว้ขายด้วย”
พ่อตู้เริญเล่าให้เราฟังขณะเดินนำหน้าลิ่วๆ กลับไปตามทางเดิม
“ยามอีกบ่อนหนึ่งกะแล้ว หิวข้าวกันหรือยัง”
“ยังบ่หิวครับ”

หลังรู้คำตอบ พ่อตู้เริญก็เดินดุ่มมุ่งหน้าลงไปสู่บุ่ง สายตาทั้งสองข้างจับจ้องอยู่ตรงกะโล้ที่เชื่อมต่อกับดางสีฟ้าเป็นแนวยาวเหยียด
“มื้อหนึ่งหาได้หลายบ่ พ่อตู้”
“กะพอได้กินได้ขาย มื้อใด๋ได้หลายขายกะมี แต่ถ้ามื้อได้น้อยกะเอาไปเฮ็ดปลาแดกไว้กิน”

กะโล้อันสุดท้ายของพ่อตู้เริญถูกยกลงไปวางไว้ที่เดิมอีกครั้งหลังเสร็จจากการเก็บกู้ แสงแดดของยามสายโผล่พ้นขอบฟ้ามาแล้ว ความร้อนเริ่มปรากฏ เรากำลังเดินตามหลังของพ่อตู้เริญคืนสู่บ้าน

 

บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
วารสารวรรณศิลป์บนแผ่นดินลาว ลมหนาวและความร้อนแล้งโชยผ่านยอดขุนเขาด้านทิศตะวันตกแห่งเมืองหลวงของราชอาณาจักรล้านนามาแผ่วๆ แล้วฤดูกาลแห่งความเหน็บหนาวก็เดินทางมาอีกครั้งพร้อมกับลมสายลมนั้น
สุมาตร ภูลายยาว
สี่พันดอน: บ้านของคนและปลา เมื่อเอ่ยถึงสี่พันดอนเชื่อว่าหลายคนที่เคยไปเยือนคงจินตนาการถึงได้ แต่สำหรับคนที่ไม่เคยไปเยือนคงงุนงงไม่น้อยว่าหมายถึงอะไร คำว่า ‘สี่พันดอน’ เป็นชื่อเรียกเกาะ ดอนต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแม่น้ำโขงในเขตเมืองโขง แขวงจำปาสัก ภาคใต้ของประเทศลาว ดินแดนแห่งนี้ได้ถูกเรียกขานว่า สี่พันดอน เพราะเต็มไปด้วยเกาะน้อยใหญ่ที่มีจำนวนมากมายเรียงรายอยู่ในแม่น้ำโขงที่มีความกว้างกว่า ๑๔ กิโลเมตร เกาะต่างๆ เริ่มขึ้นที่เมืองโขงและยาวลงไปจนถึงชายแดนลาว-กัมพูชาที่บ้านเวินคามกับเมืองสตรึงเตร็ง ในจำนวนเกาะที่มีอยู่มากมาย เกาะใหญ่ที่สุดชื่อ ‘ดอนโขง’ คำว่า ‘ดอน’…
สุมาตร ภูลายยาว
เจ้าม้าศึกสีเทา ๒,๒๐๐ ซีซี ทะยานไปตามทางลูกรังสีแดงเบื้องหลังฝุ่นคลุ้งตลบ หากมีรถวิ่งตามมาคงบอกได้คำเดียวว่า ‘ขอโทษ’ ก่อนจะถึงทางแยกเสียงโทรศัพท์ของผู้ไปถึงก่อนก็บอกให้ตรงมาตามทางอย่าได้เลี้ยวซ้ายเป็นอันขาด เพราะนั่นหมายถึงการหลงทางจะเกิดขึ้น
สุมาตร ภูลายยาว
การเดินทางเที่ยวนี้มีผู้หญิงนำ เช้านี้เป็นอีกวันที่ตื่นเช้ากว่าวันอื่น แต่หากว่าเมื่อเทียบกับชาวบ้านทั่วไปแล้ว ถือว่ายังสาย โดยเฉพาะกับพ่อค้าแม่ค้าการตื่นนอนตอน ๖ โมงเช้านั้นถือว่าสายมากแล้ว เช้านี้กว่าจะเปิดเปลือกตาตื่นช่างหนักหนาสาหัส ราวกับว่าเปือกตาทั้งสองข้างถูกปิดทับไว้ด้วยเทปกาวชั้นดี หลังล้างหน้าแปรงฟันเสร็จ สมองยังคงงุนงง อาจเป็นเพราะช่วงนี้พักผ่อนไม่ค่อยพอ รวมทั้งมีเรื่องหลายเรื่องให้ได้คิด แต่เพราะงานที่ทำจึงต้องบังคับตัวเองให้ลุกจากที่นอน
สุมาตร ภูลายยาว
จะแกคนเลี้ยงวัวผู้ไม่เคยขุ่นมัวในหัวใจ ผมจำได้ว่าพบชายคนนี้ครั้งแรกเมื่อเข้าไปบ้านสองพี่น้อง เขาดูแปลกกว่าคนอื่นในหมู่บ้าน เพราะเขาเป็นผู้ชายคนเดียวในหมู่บ้านที่ไว้ผมยาว เค้าโครงใบหน้าของเขาราวกับถอดแบบออกมาจากหัวหน้าชนเผ่าของอินเดียนแดง
สุมาตร ภูลายยาว
การงานของชีวิตที่ตกค้าง ฝนเทลงมาอีกวันแล้ว...เสียงสังกะสีดังราวกับมีก้อนหินนับล้านร่วงลงมาใส่ เย็นวันนี้มีเรื่องราวให้ขบคิดมากมาย กลับมาจากการประชุมที่เคร่งเครียด อันนับว่าเป็นการงานส่วนหนึ่งของชีวิต เล่นเอาเหนื่อยสายตัวแทบขาด แล้วยังมีงานอะไรที่ยังไม่ได้ทำอีกไหมนี่
สุมาตร ภูลายยาว
บันทึกในค่ำคืนที่เปลี่ยนผ่านกับนิทรรศการที่ไม่ได้จัด สายฝนของเดือนกันยายนโปรยสายลงมาทั้งวัน เราออกเดินทางจากเชียงของมาแต่ตอนเช้าด้วยรถคันเล็ก บนกระบะทางตอนท้ายบรรทุกเอกสารต่างๆ รวมทั้งนิทรรศการมาเต็ม รถต้องจดหลายครั้ง เพื่อห่มผ้ายางกันฝนให้ของบนกระบะรถ เราผ่านมากว่าครึ่งทาง ฝนยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดตก ซ้ำร้ายยังตกลงมาหนักกว่าเดิม รถวิ่งทำความเร็วได้ไม่มากนัก ทั้งที่ความเป็นจริงแม้ฝนจะไม่ตก มันก็ไม่เคยวิ่งได้เร็วกว่าที่วิ่งอยู่เท่าใดนัก
สุมาตร ภูลายยาว
เมฆสีดำเหนือฟ้าด้านตะวันออกส่งสายฝนลงมาตั้งแต่เช้าจนล่วงบ่าย แม่น้ำเป็นสีชานมเย็น เศษขยะ ขอนไม้ ท่อนไม้ และต้นไม้ลอยมากับสายน้ำ และไหลไปตามแรงเฉื่อยของกระแสน้ำ
สุมาตร ภูลายยาว
เช้านี้เหมือนกับทุกเช้าในช่วงนี้พ่อท่อน ยาแก้วเดินทอดน่องในสวนบนดอนทรายริมฝั่งแม่น้ำโขงเพื่อดูแปลงมะเขือราว ๔ ไร่ ในใจพ่อท่อนเองไม่อยากเก็บมะเขือในตอนนี้แม้ว่าจะถึงช่วงเวลาในการเก็บแล้ว สาเหตุที่ทำให้พ่อท่อนไม่อยากเก็บมะเขือในตอนนี้ เพราะราคามะเขือต่ำกว่าปีที่ผ่านมา ปีนี้มะเขือหนึ่งหมื่น (๑๒ กิโลกรัม) ขายส่งจากสวนได้เงิน ๑๒ บาท
สุมาตร ภูลายยาว

รถตู้วิ่งไปบนถนนลาดยางมะตอยที่บางช่วงเป็นหลุมเป็นบ่อ ถนนสายนี้เป็นเส้นทางจากจังหวัดกระแจะไปอำเภอสามบอ เพราะถนนไม่ค่อยดีนัก ระยะทาง ๓๕ กิโลเมตรต้องใช้เวลาเกือบ ๑ ชั่วโมงจึงถึงจุดหมาย เมื่อรถตู้ทั้ง ๓ คันจอดสงบนิ่งลงตรงประตูหน้าวัด ผู้โดยสารในรถตู้ก็พากันทยอยลงจากรถ เบื้องล่างของถนนเป็นแม่น้ำสายใหญ่ คนท้องถิ่นเรียกแม่น้ำสายนี้ว่า ‘โตนเลของ-แม่น้ำของ-โขง’ แม้ยังไม่สายมากนัก แต่แสงแดดก็ส่องประกายร้อนแรงเหนือสายน้ำ ฟ้ากว้างเปล่าแปนเป็นสีฟ้าไกลสุดสายตาหยั่งถึง บนสายน้ำเรือหลายลำจอดลอยลำอยู่ ใกล้กับเรือตรงโคนต้นจามจุรีมีเด็ก ๓-๔ คนนั่งอยู่ ถัดจากโคนต้นจามจุรีไปมีเรือลำหนึ่งลอยลำอยู่…
สุมาตร ภูลายยาว
จากพื้นที่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำที่แม่น้ำโขงไหลผ่าน ผู้คนสองฝั่งได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำที่มีความยาว ๔,๙๐๔ กิโลเมตรสายนี้ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้าน ลักษณะการใช้ประโยชน์ก็แตกต่างกันออกไปตามแต่สภาพของพื้นที่ ในช่วงที่ไหลผ่านประเทศไทยตั้งแต่จังหวัดเชียงรายจนถึงจังหวัดอุบลราชธานี ก็มีผู้คนไม่จำนวนไม่น้อยได้ใช้ประโยชน์ในด้านแตกต่างกันออกไป ผู้ใหญ่ใช้หาปลา และใช้พื้นที่ตามหาดทรายที่โผล่พ้นน้ำ และริมฝั่งทำการเกษตร เด็กๆ ใช้เป็นห้องเรียนสำหรับฝึกหาปลา และว่ายน้ำ
สุมาตร ภูลายยาว
  ผาชันเป็นหมู่บ้านอีกแห่งหนึ่งที่อยู่ริมแม่น้ำโขงอยู่ในเขตอำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี หมู่บ้านแห่งนี้มีเรื่องราวน่าสนใจหลายอย่าง เริ่มแรกเดิมทีก่อนเดินทางไปถึง ผมจินตนาการถึงหมู่บ้านแห่งนี้ในรูปแบบต่างๆ และพอเดินทางไปถึงบ้านผาชันเป็นครั้งแรก ซึ่งอยู่ในหน้าฝน ผมก็พบว่า ในฤดูฝนหมู่บ้านแห่งนี้กลายเป็นเกาะขนาดย่อมๆ ชาวบ้านบอกว่า "ในฤดูฝน น้ำจากห้วยจะไหลจนท่วมสะพาน และถนนที่เข้าสู่หมู่บ้าน การเดินทางเข้าหมู่บ้านต้องใช้เรือข้ามลำห้วยแล้วไปต่อรถ" ร่องรอยของคำพูดปรากฏให้เห็นเมื่อผมเดินทางเข้าสู่หมู่บ้าน รถข้ามสะพานที่น้ำในลำห้วยเริ่มปริ่มอยู่ใต้สะพาน…