Skip to main content

“มื้ออื่นไปแต่เช้าเด้อ เดี๋ยวพ่อสิไปเอิ้นดอก”
ถ้อยคำสุดท้ายของชายวัย ๖๐ กว่าที่นั่งอยู่ในบ้านดังแว่วออกมา ขณะเรากำลังเดินจากกระท่อมของพ่อเฒ่ามา หลังพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปไม่นาน หมู่บ้านจมอยู่ในความมืด ถ้าเป็นเมื่อ ๑๐ กว่าปีก่อนในตอนเย็นเช่นนี้หมู่บ้านจะเงียบกว่าที่เป็นอยู่ เพราะคนในหมู่บ้านยังไม่ได้เดินทางกลับมาจากไร่

20080519 1

หลังเดินจากบ้านพ่อเฒ่ามา เราหยุดแวะทักทายชาวบ้านที่กำลังเดินสวนทางมา สำเนียงของคนไทเลยแปร่งหู บางครั้งต้องหยุดคิด เพื่อตอบคำถาม เมื่อกลับมาถึงบ้านพัก กับข้าวจากในครัวถูกยกออกมา บนจานมีห่อหมกปลา และน้ำพริก และนี่แหละคือต้นธารที่จะพาเราออกเดินทางไปกับพ่อเฒ่าในตอนเช้าพรุ่งนี้

ขณะอาทิตย์ยามเช้ายังไม่ออกมาเตร็ดเตร่ริมขอบฟ้าตะวันออก เราก็เดินมาถึงบ้านของพ่อเฒ่า ซึ่งแต่งตัวรออยู่แล้ว หลังพูดคุยกันได้ไม่นาน แกก็ออกเดินนำหน้ามุ่งสู่ปลายทาง

พ่อเฒ่าคนนี้ชื่อ ‘พ่อตู้เริญ’  

‘ตู้’ ในความหมายของคนไทเลยคือ คำนำหน้าของคนที่มีอายุทั้งที่เป็นพ่อใหญ่ พ่อลุง พ่อตู้เริญนอกจากจะมีอาชีพเป็นคนหาปลาแล้ว แกยังเป็นมัคทายกวัดของหมู่บ้านอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย

การเดินทางบนเส้นทางสองเส้นของพ่อตู้เริญช่างแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ในวันที่เดินทางไปวัด แกก็ยังเดินทางไปหาปลาเช่นกัน เมื่อถามถึงวิถีทางที่เป็นอยู่ พ่อตู้เริญก็จะอธิบายให้ฟังอย่างแยบยลว่า

“มันบ่แม่นเรื่องแปลกดอก เพราะในสมัยก่อนมันมีนิทานเว้าสืบต่อกันมาว่า ปลานี่มันเกิดมาเพื่อสืบพระศาสนา ตอนนั้นพระอินทร์ฮู้ว่าสิมีพระพุทธเจ้ามาบังเกิด เพื่อดำรงพระศาสนา พระอินทร์เลยเอิ้นหมู่สัตว์ต่างๆ ที่มีอยู่ทั้งหมดมาประชุมกัน เมื่อสัตว์ต่างๆ มาพร้อมแล้ว พระอินทร์กะถามว่า สัตว์ตัวไหนจะอาสาเพื่อสืบต่อพระศาสนา สัตว์หลายชนิดต่างขันอาสา แต่สุดท้าย พระอินทร์ก็เลือกเอาปลา เพราะปลานี่เกิดไข่ทีละหลาย และออกลูกออกหลานหลาย ฉะนั้นปลาจึงเหมาะสมกับการที่จะเป็นสัตว์สืบต่อพระศาสนา สังเกตเบิ่งงานบุญเด้อ อย่างงานบุญขึ้นบ้านใหม่นี่อาหารถวายพระกะสิมีปลา อย่างงานบุญเขาสากนี่ก็เอาปลาดุกมาฮ่วมกินฮ่วมทาน”

หลังพูดจบ พ่อตู้เริญก็หัวเราะเสียงดัง คงไม่ต้องอธิบายมากว่า ตู้เริญหัวเราะเพราะอะไร เราเองก็อดที่จะหัวเราะไม่ได้ พ่อตู้นี่ไม่ธรรมดา เราแอบบนึกในใจ แม้ว่าเส้นแบ่งระหว่างบุญและบาปจะเป็นเส้นแบ่งบางๆ แต่วิธีการอธิบายให้คนเข้าใจในวิถีทางที่พ่อตู้เริญเป็นอยู่ก็คงทำให้หลายคนหายสงสัยในความเป็นอยู่ของพ่อตู้ได้

“ถอดเกิบเด้อ มันสิได้ข้ามน้ำ เดี๋ยวมันสิย่างยาก”
พ่อตู้เริญบอก ขณะเราเดินตามหลังแกมาจนถึงจุดหมาย
“ข้ามน้ำนี่ไปก็ฮอดแล้ว บุ่งนี่พ่อใส่เหยาะกับกะโล้ไว้”
“แม่นหยังน้อพ่อตู้บุ่งกับกะโล้นี่”
“ไปฮอดก่อนกะสิเห็นดอก อย่าเพิ่งถาม”

‘กะโล้’ ที่พ่อตู้เริญพูดถึงเป็นเครื่องมือหาปลาชนิดหนึ่งมี ๒ แบบ ในแบบที่ ๑ มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมคล้ายกล่องไม้ขีดไฟ และแบบที่ ๒ มีลักษณะเป็นแนวยาวคล้ายไซ เวลาใช้คนหาปลาจะนำมาวางไว้ตรงที่เป็นดางสีเขียวที่วางกั้นน้ำไว้คล้ายการทำโพงพาง เครื่องมือหาปลาทั้งสองแบบนี้คนหาปลาจะนำมาใส่ไว้ตามบุ่ง ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงหน้าแล้งตามริมฝั่งแม่น้ำโขง บริเวณที่พ่อตู้เริญเอากะโล้ไปใส่ ชาวบ้านเรียกว่า ‘บุ่งข้าโม้’ นอกจากบริเวณนี้จะมีบุ่งข้าโม้แล้วยังมีอีกหลายบุ่ง เช่น บุ่งปลาตอง บุ่งไผ่ บุ่งปลาเคิง บุ่งปากทาง แต่ละบุ่งที่มีอยู่ในบริเวณบ้านปากเนียมนี้ ชาวบ้านจะลงมาวางเครื่องมือหาปลา เพื่อเอาปลาขนาดเล็ก เพราะน้ำในบุ่งไม่ลึกมาก จึงเหมาะสำหรับการวางกะโล้

20080519 2

20080519 3

พ่อตู้เริญเล่าให้ฟังเพิ่มอีกว่า ในแต่ละปี น้ำในบุ่งจะมากน้อยไม่เท่ากัน และในแต่ละวันปลาที่ได้จากบุ่งก็มากน้อยไม่เท่ากัน แต่ได้ปลาทุกวัน

‘บุ่ง’ ที่พ่อตู้เริญพูดถึงมีลักษณะเป็นหนองน้ำขนาดเล็กลึกประมาณ ๑-๒ เมตร เกิดขึ้นตามริมฝั่งแม่น้ำโขง ระบบนิเวศแบบบุ่งในแม่น้ำโขงสามารถพบได้ในแม่น้ำโขงช่วงที่ไหลผ่านภาคอีสาน โดยเฉพาะที่อำเภอปากชม และอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย

20080519 4

20080519 5

“นอกจากจะมาหาปลาในบุ่งแล้ว ดอนรอบบุ่งชาวบ้านยังลงมาแบ่งพื้นที่ปลูกผักเอาไว้ขายด้วย”
พ่อตู้เริญเล่าให้เราฟังขณะเดินนำหน้าลิ่วๆ กลับไปตามทางเดิม
“ยามอีกบ่อนหนึ่งกะแล้ว หิวข้าวกันหรือยัง”
“ยังบ่หิวครับ”

หลังรู้คำตอบ พ่อตู้เริญก็เดินดุ่มมุ่งหน้าลงไปสู่บุ่ง สายตาทั้งสองข้างจับจ้องอยู่ตรงกะโล้ที่เชื่อมต่อกับดางสีฟ้าเป็นแนวยาวเหยียด
“มื้อหนึ่งหาได้หลายบ่ พ่อตู้”
“กะพอได้กินได้ขาย มื้อใด๋ได้หลายขายกะมี แต่ถ้ามื้อได้น้อยกะเอาไปเฮ็ดปลาแดกไว้กิน”

กะโล้อันสุดท้ายของพ่อตู้เริญถูกยกลงไปวางไว้ที่เดิมอีกครั้งหลังเสร็จจากการเก็บกู้ แสงแดดของยามสายโผล่พ้นขอบฟ้ามาแล้ว ความร้อนเริ่มปรากฏ เรากำลังเดินตามหลังของพ่อตู้เริญคืนสู่บ้าน

 

บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
หากท่วงทำนองของสายน้ำในฤดูฝนคือท่วงทำนองของเพลงร๊อคที่โหมกระหน่ำดุเดือดด้วยเสียงกระเดื่องกลองสลับกับเสียงเบสหนักๆ ปนกับเสียงร้องอันแหลมคม และสูงปรี้ดของนักร้อง สำหรับท่วงทำนองของสายน้ำในหน้าแล้งที่อยู่ในฤดูหนาว ท่วงทำนองของสายน้ำอันปกคลุมไปด้วยหมอกหนาวคงเป็นเสียงเพลงบูลล์หม่นเศร้า และในช่วงหน้าแล้ง ท่วงทำนองของสายน้ำคงเป็นท่วงทำนองของเพลงแคนอันเศร้าสร้อยอ้อยอิ่ง ชวนให้คิดถึงบรรยากาศของท้องทุ่ง และดินแตกระแหงของผืนดินอีสาน ฤดูแต่ละฤดูที่ผ่านไป หากแม่น้ำพูดได้ น้ำคงอยากบอกอะไรกับมนุษย์ผู้ได้ชื่อว่าใช้ประโยชน์จากแม่น้ำมากที่สุด อย่างน้อยคนที่ผิดหวังพลาดหวัง…
สุมาตร ภูลายยาว
ในชีวิตผมถือว่า สองปีที่ผ่านมา ผมโชคดีไม่น้อยที่มีโอกาสได้ไปยังสถานที่ที่ตัวเองไม่คาดคิดว่าจะได้ไป สถานที่ที่ว่านั่นคือ ‘สันเขื่อน’ และจุดสำรวจที่จะมีการสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงในตอนล่าง ไล่ตั้งแต่ปากแบ่ง หลวงพระบาง ไซยะบุรี ปากลาย ปากชม และบ้านกุ่ม จำนวนพื้นที่ที่กล่าวมาทั้งหมดแถบทุกพื้นที่ได้มีการสำรวจศึกษาความเป็นไปได้ของพื้นที่ในการก่อสร้างเขื่อนหมดแล้วการไปในแต่ละครั้ง บางทีก็ต้องทำตัวให้กลมกลืนกับพื้นที่โดยการปลอมตัวเป็นนักท่องเที่ยวผู้อยากรู้อยากเห็น และที่สำคัญต้องตีสนิทกับคนท้องถิ่น เพื่อจะได้เดินทางไปสู่เป้าหมายง่ายขึ้น ในจำนวนพื้นที่ที่กล่าวมาทั้งหมด หากไม่นับรวมปากชมแล้ว…
สุมาตร ภูลายยาว
-ห้องพัก ๒๐๑, เฮือนพักเพียงจัน,หลวงพระบาง- สายฝนที่โปรยสายลงมาอย่างหนักตั้งแต่ตอนกลางคืนหายไปเมื่อตอนเช้าตรู่ ฟ้ากลับมาเป็นสีฟ้าใสอีกครั้ง หลังจากผู้คนของเมืองตื่นจากหลับใหลในอ้อมกอดของบ้านพักอบอุ่น ความเคลื่อนไหวจึงปรากฏ ถนนแต่ละสายผู้คนเริ่มพลุกพล่านโดยเฉพาะส่วนที่เป็นตลาด หลายครั้งที่มาถึงเมืองนี้ในการดำรงอยู่ของเมืองยังคงมีเรื่องราวให้น่าค้นหาในมุมมองอันหลากหลายมากขึ้น การมาถึงเมืองนี้ในแต่ละช่วงเวลาที่แตกต่างกันย่อมมีเรื่องเล่าแตกต่างกันออกไปด้วย การมาหลวงพระบางในครั้งนี้ก็เช่นกัน เรามาถึงในตอนเกือบ ๓ ทุ่ม สายฝนยังตกลงมา…
สุมาตร ภูลายยาว
ลมหนาวพัดข้ามยอดเขามา ตอซังข้าวลู่ลงแนบพื้นดิน น้ำในแม่น้ำหมันแห้งขอดลงตามฤดูกาล ถัดจากแม่น้ำขึ้นไปเป็นภูเขา แม่น้ำหมันมีต้นกำเนิดจากภูโลมโลอันเป็นเทือกเขาของเทืือกเขาเพชรบูรณ์ สายน้ำเล็กๆ ที่เป็นเส้นเลือดใหญ่ของคนอำเภอด่านซ้ายไหลเอื่อยช้าคล้ายคนเพิ่งหายจากการป่วยไข้ แม่น้ำหมันช่วงที่ไหลผ่านอำเภอด่านซ้ายไปจนถึงบ้านปากหมัน ตรงที่แม่น้ำหมันเดินทางไปบรรจบกับแม่น้ำเหืองมีความยาวทั้งสิ้น ๖๖ กิโลเมตร ตลอดริมสองฝั่งแม่น้ำจะมีต้นไผ่จำนวนมากขึ้นอยู่เป็นระยะ ต้นไผ่-แม่น้ำหมัน-คนริมฝั่งน้ำมีความสำคัญต่อกันจนแยกขาดจากกันไม่ได้
สุมาตร ภูลายยาว
หลังได้รับมอบหมายให้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการตัดสินภาพวาดของเด็กๆ ที่ประกอบไปด้วยเด็กจากช่วงชั้นต่างๆ ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ของโรงเรียนบ้านคกเว้า ตำบลหาดคำภีร์ อำเภอปากชม จังหวัดเลย ข้าพเจ้าเองแบ่งรับแบ่งสู้ในตอนแรก เพราะโดยส่วนตัวแล้วการเป็นกรรมการประเภทนี้มีเงื่อนไขหลายอย่าง สำคัญกรรมการควรมีความรู้ทางศิลปะมาบ้าง เพื่อให้ผลการตัดสินออกมาดูน่าเชื่อถือ แต่สวนทางกันอย่างสิ้นเชิง ข้าพเจ้าไม่มีความรู้ทางศิลปะเอาเสียเลย อย่างมากก็พอรู้ว่ารูปไหนสวยไม่สวย ซ้ำร้ายเรื่องของทฤษฏีสีแล้ว ข้าพเจ้าไม่รู้เอาเสียเลย แม้จะเคยลองวาดรูปอยู่บ้าง แต่ก็งูๆ ปลาๆ…
สุมาตร ภูลายยาว
โศกนาฏกรรมสองฝั่งน้ำ มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับสายน้ำเรื่องหนึ่งที่ผู้เฒ่าปกากะญอ มักเล่าให้ลูกหลานฟังอยู่เสมอ เรื่องเล่าเรื่องนี้มีอยู่ว่า ‘นานมาแล้วมีเจ้าเมืององค์หนึ่งจะตึกแค-กั้นน้ำ เพื่อจับปลาในแม่น้ำสาละวิน ให้ลูกที่อยากกิน ปลาตัวนี้ใหญ่มาก ส่วนหัวของปลาอยู่โจโหละกุย-วังน้ำใหญ่อยู่ในเขตสาละวินตอนกลาง ลำตัวของปลายาวลงไปตามลำน้ำ ส่วนหางอยู่ที่แจแปนทีลอซู แต่ก็มีเรื่องที่ทำให้ชาวบ้านชาวเมืองตกอกตกใจ เพราะหากว่าเลือดหรือน้ำมันจากปลาตัวนี้ไหลลงพื้นดินเมื่อใด แผ่นดินก็จะลุกเป็นไฟ เมื่อชาวบ้านทราบข่าวก็เกิดความกังวลว่า เมื่อน้ำท่วมบ้านแล้วไม่รู้ว่าจะหนีไปอยู่ที่ไหน…
สุมาตร ภูลายยาว
การพัฒนาบนคราบน้ำตาคนชายขอบ ในอดีตอันยาวไกลของแม่น้ำสายนี้เคยไหลอย่างอิสระมาตลอด แต่แม่น้ำนานาชาติสายสำคัญแห่งนี้อาจมิได้ไหลอย่างอิสระต่อไปอีกแล้ว เพราะปัจจุบันแม่น้ำสายนี้ได้ถูกผลักดันให้เข้าไปอยู่ในแผนพัฒนาต่างๆ แผนพัฒนาที่สำคัญ คือแผนพัฒนาพลังงานไฟฟ้า โดยเฉพาะกับประเทศไทย แม่น้ำสาละวินกลายเป็นแม่น้ำยุทธศาสตร์สำคัญสายหนึ่งที่น้ำในแม่น้ำจะถูกนำมาแปรเป็นกระแสไฟฟ้า ภายใต้วาทะกรรมของนักพัฒนาที่ว่า ‘พื้นที่ชายขอบของประเทศมีคนอยู่น้อย และผู้ที่ได้รับผลกระทบย่อมมีส่วนน้อยเช่นกัน’
สุมาตร ภูลายยาว
ผู้คนแห่งสาละวิน  สาละวิน ถือเป็นสายน้ำแห่งกลุ่มชาติพันธุ์อย่างแท้จริง เพราะสองฟากฝั่งลุ่มน้ำสาละวิน ตั้งแต่เทือกเขาหิมาลัยลงมาจนถึงอ่าวเมาะตะมะ ในเขตหุบเขาอันไกลโพ้นในประเทศจีนก็มีกลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่ไม่น้อยกว่า ๑๔ กลุ่ม โดยส่วนใหญ่เป็นชาวนู ลีซู และตู๋หลง เมื่อล่องตามน้ำลงมาจนถึงพรมแดนพม่า-จีน พม่า-ไทยก็มีกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อาศัยอยู่มากมายไม่ต่ำกว่า ๑๖ กลุ่ม เช่น นู ลีซู ไทยใหญ่ กะยา กะยัน กะเหรี่ยง และมอญ กลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้ล้วนมีภาษา ตัวอักษร วรรณคดี ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีของตนเอง ในบรรดากลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอยู่หลากหลายบนลุ่มน้ำแห่งนี้ กลุ่มยินตาเล…
สุมาตร ภูลายยาว
สาละวินบนนิยามของความหลากหลาย สาละวิน บนเส้นทางงานวิจัยชาวบ้าน งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวิน ตลอดแนวพรมแดนไทย-พม่า โดยได้มีการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในประเด็นพันธุ์ปลา เครื่องมือหาปลาพื้นบ้าน การทำเกษตร พรรณพืชในป่า และสังคมวัฒนธรรมของชาวปกาะกญอ เพื่อนำมาอธิบายความสลับซับซ้อนของระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพในลุ่มน้ำสาละวิน และวิถีชีวิต เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรมของชุมชนที่ตั้งอยู่บนฐานของระบบนิเวศดังกล่าว ตลอดจนพิธีกรรม และความเชื่อของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ผลการศึกษาพบว่า แม่น้ำสาละวิน ตลอดพรมแดนไทย-พม่า มีระบบนิเวศที่สลับซับซ้อน อาทิ แก่ง วังน้ำ หาดทราย…
สุมาตร ภูลายยาว
ระบบนิเวศลุ่มน้ำสาละวิน ระบบนิเวศลุ่มน้ำสาละวิน ถือว่า มีความสำคัญต่อภูมิภาคนี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากแม่น้ำสาละวินเป็นแม่น้ำนานาชาติสายสุดท้ายในภูมิภาคนี้ที่ยังไม่ได้ถูกล่ามโซ่ด้วยเขื่อน นักนิเวศวิทยาได้จัดให้แม่น้ำสาละวินเป็นศูนย์กลางของการกระจายพันธุ์ไม้สักของโลก พื้นที่ลุ่มน้ำสาละวิน เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง มีระบบนิเวศสลับซับซ้อนเนื่องจากเป็นพื้นที่ต่อเนื่องระหว่างเขตชีวภูมิศาสตร์ย่อยอินโดจีนกับพื้นที่ต่อเนื่องจากชีวภูมิศาสตร์สิโนหิมาลายันหรือเขตชีวภูมิศาสตร์ย่อยอินเดีย แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายว่า เกือบครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา การศึกษาระบบนิเวศวิทยาของแม่น้ำสาละวิน มีอยู่น้อยมาก…
สุมาตร ภูลายยาว
หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ สหราชอาณาจักรได้คืนอิสรภาพให้กับพม่า ภายหลังพม่าได้รับอิสรภาพ ในปี ๒๔๙๐ นายพลอู่อองซาน ผู้นำพม่าในขณะนั้นก็ถูกสังหารเสียชีวิต การล้มเหลวลงอย่างสิ้นเชิงของสัญญาปางโหลง จึงเกิดขึ้น เมื่อคำมั่นในสัญญาปางโหลงไม่เป็นผล ชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ จึงได้จับอาวุธลุกขึ้นสู้กับรัฐบาลทหารพม่า เพื่อแยกตัวเป็นรัฐอิสระและปกครองตนเอง ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสาละวิน จึงเกิดกองกำลังปลดปล่อยขึ้นหลายกลุ่ม เขตรอยต่อพรมแดนไทย-พม่าริมฝั่งแม่น้ำสาละวิน ด้านตะวันตก เป็นดินแดนที่กล่าวได้ว่า กฎหมายอาจไม่มีความสำคัญ ทุกชีวิตที่ยังมีลมหายใจ จึงอยู่ภายใต้กฎของปืน และความเหลื่อมล้ำในการดำเนินชีวิต…
สุมาตร ภูลายยาว
พ่อตู้เริญได้เล่านิทานเรื่องนี้ให้ผมฟังขณะเรานั่งหย่อนอารมณ์ในบ้านของแก เพื่อรอฝนหายจากฟ้า เดือนตุลาคมแล้ว ฝนยังมิจากจางเลย ลมหนาวมิมีทีท่าว่าจะพัดมา สายฝนเทลงมาจั่กๆ พ่อตู้เริญต้องเล่านิทานเรื่องนี้ด้วยเสียงดัง เพื่อจะให้ผมได้ยินถนัด ผมกดเครื่องบันทึกเสียงเพื่อบันทึกเสียงการเล่านิทานของพ่อตู้เอาไว้ เพราะคิดว่าจะเก็บเอามาเล่าต่อให้คนอื่นได้ฟังด้วย พ่อตู้เริญเล่าว่า... นานมาแล้ว ยุคสมัยก่อนการเกิดขึ้นของพุทธศาสนา องค์อินทร์ผู้เป็นนายของทุกสิ่ง และทรงสร้างทุกสิ่งในจักรวาลได้นั่งตรวจยามสามตา เพื่อตรวจดูทุกสรรพสัตว์ใตอานัติของตนเอง แล้วในญาณนั้นก็ปรากฏการเกิดขึ้นของพระพุทธศาสนา…