Skip to main content

1. คำนำและปัญหา


ขณะนี้ได้มีการเรียกร้องให้สังคมมาร่วมกันสร้าง “การเมืองใหม่” บทความนี้จะยังไม่เสนอกระบวนการที่จะนำไปสู่การเมืองใหม่ แต่จะมองว่าการเมืองใหม่ควรจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร พร้อมนำเสนอตัวอย่างที่เป็นจริงเพื่อให้เราได้เห็นทั้งแนวคิดและหน้าตาของการเมืองใหม่ชัดเจนขึ้น


สังคมในการเมืองใหม่ควรจะเป็นสังคมที่ ผู้คนมีศักดิ์ศรี พึ่งตนเองได้ ทุกคนมีงานทำ มีความสุข การบริหารบ้านเมืองต้องโปร่งไส ตรวจสอบได้และ ปราศจากการคอร์รัปชัน


ในที่นี้จะขอนำเสนอนโยบายและรูปธรรมด้านพลังงาน ทั้งนี้เพราะเรื่องพลังงานเป็นเรื่องใหญ่มาก กล่าวคือทุกๆ 100 บาทของรายได้ของคนไทย ต้องจ่ายไปกับค่าพลังงานถึง 18 บาท และค่าใช้จ่ายนี้กำลังเพิ่มสูงขึ้นทุกปี แสดงว่า ค่าอาหาร การศึกษา ฯลฯ ของเราลดลง


สินค้าสองชนิดที่ไทยส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของโลกคือ ข้าวและยางพารานั้น สามารถซื้อพลังงานใช้ได้เพียง 73 วันเท่านั้น


เนื่องจากเนื้อที่อันจำกัด บทความนี้จึงขอกล่าวถึงเฉพาะเรื่องไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว เป้าหมายของบทความนี้อยู่ที่การแสดงให้ผู้อ่านทราบว่า ถ้ารัฐบาลมีนโยบายแบบใหม่ นอกจากคนไทยจะมีไฟฟ้าใช้โดยไม่ก่อมลพิษแล้ว ชาวบ้านทั่วไปไม่ว่าจะเป็นชาวชนบทในหัวไร่ปลายนาหรือชาวเมืองในป่าคอนกรีตก็สามารถผลิตไฟฟ้าขายได้ด้วย


ปี 2550 คนไทยทั้งประเทศต้องจ่ายค่าไฟฟ้าถึง 4 แสนล้านบาท. และตามแผนผลิตไฟฟ้าฉบับใหม่ (หรือที่เรียกว่าแผนพีดีพี 2007) จะมีงบลงทุนในอนาคตถึงปีละกว่า 1.3 แสนล้านบาท


เกือบทั้งหมดของเงินจำนวนนี้ (คือปีละกว่า 5 แสนล้านบาท) ล้วนไหลเข้าสู่กระเป๋าของกลุ่มพ่อค้าที่ผูกขาดเชื้อเพลิงและการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเพียงไม่กี่รายเท่านั้น เช่น บริษัท ปตท. ที่ส่งก๊าซเป็นเชื้อเพลิง และบริษัทผลิตไฟฟ้าอีกจำนวนหนึ่ง


เป็นไปได้ไหม ถ้าจะแบ่งปันเงินจำนวนนี้มาสัก 10% เป็นอย่างน้อย หรือปีละ 5 หมื่นล้านบาท มาสู่กระเป๋าของคนที่ใช้เชื้อเพลิงที่ยังไม่มีการผูกขาดได้ นั่นคือ พลังงานหมุนเวียน ซึ่งเป็นพลังงานที่ใช้ไปแล้ว ไม่มีวันหมด เพราะสามารถจะเกิดขึ้นใหม่ได้ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานชีวมวลจากต้นไม้ เป็นต้น


ภาพข้างล่างนี้เป็นโปสเตอร์ของเครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมกลุ่มหนึ่ง ในคราวที่มีการประชุมใหญ่เมื่อ ปี 2549 ที่ประเทศแอฟริกาใต้


1_07_01


ข้อความใหญ่ซึ่งเป็นประเด็นหลักโปสเตอร์ คือ “พลังงานหมุนเวียนคือพลังของประชาชน”


การเมืองใหม่จะเกิดขึ้นไม่ได้อย่างเด็ดขาด ถ้าเราไม่เข้าใจว่าอะไรบ้างที่เป็นพลังของประชาชน เราต้องเข้าใจว่าปัจจุบัน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน หรือนิวเคลียร์ ได้กลายเป็น “พลังของพ่อค้าผูกขาด” ไปนานหลายทศวรรษแล้ว. เชื้อเพลิงที่ถูกผูกขาดเหล่านี้แหละที่เราต้องจ่ายเงินซื้อถึง 18 % ของรายได้ที่หากันแทบเป็นแทบตาย


คงเหลือแต่พลังงานจากพระอาทิตย์เท่านั้นที่ชาวบ้านยังพอมีสิทธิ์. ตราบเท่าที่ “กรมที่ดิน” ยังไม่สามารถไปทำรางวัดเพื่อออกโฉนดบนพระอาทิตย์ได้


ในโปสเตอร์ดังกล่าว มีข้อความตัวเล็กๆว่า “พลังงานหมุนเวียนนำงานมาให้เรามากกว่าพลังงานชนิดอื่น” และ “พลังงานหมุนเวียนมีความเหมาะสมกว่าสำหรับการพัฒนาที่เริ่มต้นจากประชาชนข้างล่างสู่ระดับนโยบายข้างบนของประเทศ วิธีการพัฒนาแบบนี้ทำให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมโดยตรง”


ข้อความที่ทุกคนต้องเก็บมาคิดต่อก็คือคำถามที่ว่า

เรามีพระอาทิตย์ แต่ทำไม เราไม่มีงานทำ”


ปัญหาการไม่มีงานทำ ไม่ได้มีปัญหาเฉพาะแต่ชาวแอฟริกา หรือชาวอีสานบ้านเราเท่านั้น. แม้แต่ในภาคใต้ของเราก็หางานทำได้ยากมาก ที่เป็นเช่นนี้ เพราะงานที่เคยเป็นของเราได้ถูกระบบทุนผูกขาดดูดไปหมดแล้ว

2. พลังงานลมในบ้านเราเป็นไปได้จริงหรือ และจะได้เท่าใด


ผู้บริหารระดับสูงของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยคนหนึ่งเคยบอกกับประชาชนในเวทีสาธารณะว่า “ลมในประเทศไทยไม่แรงพอที่จะทำกังหันลมผลิตไฟฟ้าได้” ดังนั้น จึงจำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ หรือนิวเคลียร์เป็นเชื้อเพลิง


แต่การจากศึกษาและติดตามข้อมูลทั้งด้วยตนเองและจากการแลกเปลี่ยนกับวิศวกรและนักธุรกิจขนาดเล็กจำนวนหนึ่ง ตลอดจนเอกสารงานวิจัยหลายชิ้น ผมทราบว่า ลมในบริเวณชายฝั่งในภาคใต้ของประเทศเรานั้น มีศักยภาพที่จะทำกังหันลมขนาดเล็กได้อย่างแน่นอน


ขณะนี้ วิศวกรคนดังกล่าวได้รวมตัวกับเพื่อนๆ สามารถผลิตและติดตั้งกังหันลมมาแล้วไม่น้อยกว่า 15 จังหวัดทุกภาคของประเทศไทย. เป็นกังหันลมที่ใช้วัสดุภายในประเทศ. นอกจากนี้พวกเขายังได้เป็นวิทยากรฝึกอบรมให้ชาวบ้านธรรมดาๆ สามารถผลิตกังหันลมผลิตไฟฟ้า


ปัจจุบันนี้ ได้มีบริษัทร่วมทุนระหว่าง บมจ. ปตท., บมจ.ผลิตไฟฟ้า(EGCO), บริษัท ผลิตไฟฟ้าพลังลม จำกัด และ EURUS Energy Japan Corporation เพิ่งลงนามศึกษาความเป็นไปได้ เมื่อ กุมภาพันธ์ 2550 การศึกษาใช้เวลานาน 18 เดือน การลงทุนใช้งบประมาณ 1800 ล้านบาท

จากสองข่าวดังกล่าวนี้ ทำให้เราพอจะเชื่อได้ว่า กังหันลมผลิตไฟฟ้าในประเทศไทยนั้นมีความเป็นไปได้

ท่านผู้อ่านอาจจะสงสัยว่า เมื่อประเทศไทยมีศักยภาพที่สามารถผลิตไฟฟ้าจากกังหันลมได้แล้ว มันจะดีอย่างไร เกี่ยวข้องกับการเมืองใหม่อย่างไร? ผมขออนุญาตลำดับเหตุผลจากตัวอย่างจริงที่เกิดขึ้นแล้ว ดังนี้

มีหมู่บ้านหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา คือหมู่บ้าน ร๊อค พอร์ต (Rock Port) รัฐมิตซูรี หมู่บ้านนี้มีประชากร 1400 คน. มีกังหันลมเพียง 4 ตัว (ขนาดตัวละ 1.25 เมกกะวัตต์-ดูรูปประกอบ) สามารถผลิตไฟฟ้าได้มากกว่าที่คนทั้งหมู่บ้านใช้ถึง 23% ไฟฟ้าที่เหลือใช้เขาสามารถส่งเข้าสู่ระบบสายส่งไฟฟ้าให้กับหมู่บ้านอื่น ทำรายได้ให้กับหมู่บ้านได้ระดับหนึ่ง

1_07_02


เคยมีการศึกษาจากส่วนราชการของไทยพบว่า บนเกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีลมแรงพอที่จะผลิตกังหันลมได้
(ชายฝั่งของภาคใต้ตั้งแต่ จังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา มีลมแรงกว่าที่อื่น) ผลการศึกษาพบว่า ถ้ากังหันลมขนาด 1.2 เมกกะวัตต์หนึ่งตัว สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 2.16 ล้านหน่วย

สมมติว่ามีหมู่บ้านหนึ่งของประเทศไทยเรา มีความเร็วลมเฉลี่ยเท่ากับเกาะเต่า ติดตั้งกังหันขนาด 1.2 เมกกะวัตต์จำนวน 4 ตัว ด้วยอัตราการรับซื้อไฟฟ้าจากกังหันลมของการไฟฟ้าภูมิภาคในปัจจุบัน (6.10 บาทต่อหน่วย) ชาวหมู่บ้านนี้จะมีรายได้จากการขายไฟฟ้าที่ผลิตได้ถึงประมาณปีละ 50 ล้านบาท

ถ้ากังหันลมนี้เป็นของสหกรณ์ในหมู่บ้านที่ชาวบ้านถือหุ้น ถามว่าจะแก้ปัญหาความยากจนให้ชาวบ้านจำนวน 1,400 คนได้หรือไม่ ลองเฉลี่ยรายได้ออกมาดูซิครับถ้าไม่แน่ใจ

ถ้าการลงทุนในอนาคตเป็นของนักลงทุนท้องถิ่น หรือขององค์กรชาวบ้าน การจ้างงานก็จะเกิดขึ้นมากมาย. ตั้งแต่การทำกังหัน การขุดดิน ติดตั้งเสากังหัน การผลิตทำไดนาโม ฯลฯ

ปัจจุบันการใช้กังหันลมในประเทศไทยไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควรจะเป็น เช่น ประเทศในยุโรป สหรัฐอเมริกา จีน หรือประเทศชิลี ก็เพราะประเทศเราขาดการส่งเสริมด้วยมาตรการทางกฎหมายที่เรียกว่า Feed-in Law ที่มีการส่งเสริมและอนุญาตให้ชาวบ้านสามารถขายไฟฟ้าได้โดยอัตโนมัติ

กฎหมายฉบับนี้เป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้ชาวบ้านมีงานทำ มีรายได้ และมีศักดิ์ศรี ไม่ต้องคอยรับเงินจากนักการเมืองซื้อเสียงตอนเลือกตั้ง ไม่ต้องเงินจากโครงการประชานิยม

3. สรุป

ผู้สันทัดกรณีกล่าวว่า “การเกิดขึ้นของกังหันลมผลิตไฟฟ้า ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยี ไม่ได้ขึ้นอยู่กับต้นทุนการผลิต แต่ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐ”

หวังว่า บทความนี้คงจะมีส่วนช่วยให้เราได้เห็นภาพของการเมืองใหม่ ได้เห็นภาพของประชาธิปไตยที่กินได้

บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
    “คดีโลกร้อน” เป็นชื่อที่ใช้เรียกคดีที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นโจทก์ฟ้องผู้บุกรุกป่า ผู้บุกรุกต้องชดใช้ค่าเสียหาย  ที่ผ่านมามีเกษตรกรถูกฟ้องดำเนินคดีไปแล้วหลายสิบรายทั่วประเทศ ในช่วงปี 2549-52 ในจังหวัดตรังและพัทลุงมีราษฎรถูกดำเนินคดีไปแล้ว 13 ราย ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว 7 ราย และอยู่ระหว่างดำเนินคดี 6 ราย กรมอุทยานฯ ได้เรียกค่าเสียหาย 20.306 ล้านบาท แต่ศาลพิพากษาให้จ่าย 14.76 ล้านบาทพร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี
ประสาท มีแต้ม
    ขณะนี้รัฐบาลกำลังคิดค้นโครงการประชานิยมหลายอย่าง คาดว่าจะประกาศรายละเอียดภายในต้นปี 2554   ทั้งนี้เพื่อรองรับการเลือกตั้งใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในช่วงปลายปี ทำไปทำมานโยบายประชานิยมที่เริ่มต้นอย่างประปรายตั้งแต่รัฐบาลคึกฤทธิ์ ปราโมช (2518) และเริ่มเข้มข้นมากขึ้นในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร จะเป็นสิ่งที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้เสียแล้ว บทความนี้จะกล่าวถึงนโยบายประชานิยมในเรื่องค่าไฟฟ้าสำหรับผู้อยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้ารายย่อยไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน โครงการนี้เกิดในสมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช (2551) และใช้ต่อกันมาจนถึงรัฐบาลปัจจุบันและในอนาคตด้วย ผมได้มีโอกาสคุยกับผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อยในชนบท…
ประสาท มีแต้ม
    คำนำ เป็นที่ทราบกันทั่วไปแล้วว่า ขณะนี้สังคมไทยเรากำลังมีความขัดแย้งรุนแรงครอบคลุมเกือบทุกพื้นที่ของประเทศ จนรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปขึ้นมาหลายชุด หนึ่งในนั้นคือ คณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) โดยมีคุณอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน เมื่อกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการชุดนี้ได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นขึ้น โดยขึ้นคำขวัญซึ่งสะท้อนแนวคิดรวบยอดของการปฏิรูปประเทศไทยว่า “ลดอำนาจรัฐ ขจัดความเหลื่อมล้ำ” ผมเองได้ติดตามชมการถ่ายทอดโทรทัศน์จากรายการนี้ตั้งแต่ต้นจนจบ ได้ทราบถึงเจตนารมณ์ในการรับฟังความคิดเห็น ได้ชมวีดิทัศน์ที่บอกถึง “ความเหลื่อมล้ำ” …
ประสาท มีแต้ม
  “...ถ้าอุณหภูมิผิวน้ำทะเลสูงขึ้น 1 องศาเซียลเซียส ความถี่ที่จะเกิดพายุชนิดรุนแรงจะเพิ่มขึ้นอีก 31% ... ในปี พ.ศ. 2643 อุณหภูมิดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 2 องศา”   “ผลการวิจัยพบว่า ค่าความเสียหายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาจจะมากกว่าผลผลิตทางเศรษฐกิจของคนทั้งโลก ทั้งนี้ภายในก่อนปี พ.ศ. 2608”  
ประสาท มีแต้ม
ขณะนี้ทางรัฐบาลโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (หรือ กฟผ.) กำลังเสนอให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ขนาด 700 เมกกะวัตต์  ชาวหัวไทรที่ไม่คุ้นเคยกับเรื่องนี้อาจเกิดความสงสัยหลายอย่าง เป็นต้นว่า 1.โรงไฟฟ้าขนาด 700 เมกกะวัตต์นั้น มันใหญ่เท่าใด ไฟฟ้าที่ผลิตมาได้จะใช้ได้สักกี่ครอบครัวหรือกี่จังหวัด
ประสาท มีแต้ม
    คำว่า “ไฟต์บังคับ” เป็นภาษาในวงการมวย  หมายความว่าเมื่อนักมวยคนหนึ่ง(มักจะเป็นแชมป์) ถูกกำหนดโดยองค์กรที่เกี่ยวข้องว่า ครั้งต่อไปนักมวยคนนี้จะต้องชกกับใคร จะเลี่ยงไปเลือกชกกับคนอื่นที่ตนคิดว่าได้เปรียบกว่าไม่ได้
ประสาท มีแต้ม
  ๑.  คำนำ บทความนี้ประกอบด้วย 6 หัวข้อย่อย ท่านสามารถอ่านหัวข้อที่ 6 ก่อนก็ได้เลย เพราะเป็นนิทานที่สะท้อนปัญหาระบบการศึกษาได้ดี เรื่อง “โรงเรียนสัตว์”   ถ้าท่านรู้สึกสนุกและเห็นคุณค่าของนิทานดังกล่าว (ซึ่งทั้งแสบ ทั้งคัน) จึงค่อยกลับมาอ่านหัวข้อที่ 2  จนจบ หากท่านไม่เกิดความรู้สึกดังกล่าว  ก็โปรดโยนทิ้งไปได้เลย ๒. ปัญหาของการศึกษากระแสหลักคืออะไร
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ชื่อบทความนี้อาจจะทำให้บางท่านรู้สึกว่าเป็นการทอนพลังของการปฏิรูป ที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ แต่ผมขอเรียนว่า ไม่ใช่การทอนพลังครับ แต่เป็นการทำให้การปฏิรูปมีประเด็นที่เป็นรูปธรรม สัมผัสได้ชัดเจน สามารถปฏิบัติได้ง่าย รวดเร็ว  เมื่อเทียบกับการปฏิรูปมหาวิทยาลัย ปฏิรูปการศึกษาที่ต้องใช้เวลานานกว่าจะเห็นผล ผมได้ตรวจสอบประเด็นของการปฏิรูปของคณะกรรมการชุดที่คุณหมอประเวศ วะสี เป็นประธานแล้วพบว่า ไม่มีประเด็นเรื่องนโยบายพลังงานเลย บทความนี้จะนำเสนอให้เห็นว่า (1) ทำไมจะต้องปฏิรูปนโยบายพลังงานในทันที  (2) จะปฏิรูปไปสู่อะไร และ (3) ทำอย่างไร เริ่มต้นที่ไหนก่อน  …
ประสาท มีแต้ม
“ในการเดินทาง เรามักใช้ยานพาหนะช่วย   แต่ในการคิดเชิงวิพากษ์ (Critical) เราใช้อะไรเป็นเครื่องมือหรือเป็นพาหนะ”
ประสาท มีแต้ม
“คุณรู้ไหม คนเราสามารถคิดได้เร็วกว่าที่อาจารย์พูดถึงสี่เท่าตัว ดังนั้น เราสามารถฟังและจดโน้ตดี ๆ ได้”   1.    คำนำ ในแต่ละปีผมพบว่า นักศึกษาชั้นปีที่หนึ่ง (ซึ่งยังสด ๆ และมองชีวิตในมหาวิทยาลัยแบบสดใสอยู่) จำนวนมากใช้วิธีจดเลคเชอร์ของแต่ละวิชาลงในสมุดเล่มเดียวกัน  เมื่อสอบถามได้ความว่า ค่อยไปลอกและทั้งปรับปรุงแก้ไขลงในสมุดของแต่ละวิชาในภายหลัง  
ประสาท มีแต้ม
1.    คำนำ เราคงยอมรับร่วมกันแล้วว่า ขณะนี้สังคมไทยกำลังมีความขัดแย้งอย่างรุนแรงทั้งในระดับความคิด ความเชื่อทางการเมือง และวัฒนธรรมซึ่งนักสังคมศาสตร์จัดว่าเป็นโครงสร้างส่วนบน และความขัดแย้งทางเศรษฐกิจที่รวมศูนย์ การแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติและการทำลายสิ่งแวดล้อมซึ่งถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานของสังคม  ความขัดแย้งเชิงโครงสร้างทั้งสองระดับนี้กำลังวิกฤติสุด ๆ จนอาจพลิกผันนำสังคมไทยไปสู่หายนะได้ในอนาคตอันใกล้นี้
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ภาพที่ท่านเห็นอยู่นี้เป็นปกหน้าและหลังของเอกสารขนาดกระดาษ A4 ที่หนาเพียง 16 หน้า แม้ว่าหลายท่านอาจจะยังไม่คุ้นเคยกับศัพท์แสงที่ปรากฏ แต่ผมเชื่อว่าแววตาและท่าทางของเจ้าหนูน้อยในภาพคงทำให้ท่านรู้สึกได้ว่าเธอทึ่งและมีความหวัง บรรณาธิการกรุณาอย่าทำให้ภาพเล็กลงเพื่อประหยัดเนื้อที่ เพราะจะทำให้เราเห็นแววตาของเธอไม่สดใสเท่าที่ควร เอกสารนี้จัดทำโดย “สภาเพื่ออนาคตโลก” หรือ World Future Council (WFC) ค้นหาได้จาก www.worldfuturecouncil.org