Skip to main content

คุณรู้ไหม คนเราสามารถคิดได้เร็วกว่าที่อาจารย์พูดถึงสี่เท่าตัว

ดังนั้น เราสามารถฟังและจดโน้ตดี ๆ ได้

 

1.    คำนำ


ในแต่ละปีผมพบว่า นักศึกษาชั้นปีที่หนึ่ง (ซึ่งยังสด ๆ และมองชีวิตในมหาวิทยาลัยแบบสดใสอยู่) จำนวนมากใช้วิธีจดเลคเชอร์ของแต่ละวิชาลงในสมุดเล่มเดียวกัน  เมื่อสอบถามได้ความว่า ค่อยไปลอกและทั้งปรับปรุงแก้ไขลงในสมุดของแต่ละวิชาในภายหลัง  


ผมได้ตั้งคำถามเชิงแนะนำนักศึกษาไปว่า
มันจะเป็นการเสียเวลาเกินความจำเป็นไปไหม?   ทำไมไม่ลองอีกวิธีหนึ่งซึ่งเปิดโอกาสให้เราสามารถปรับปรุงเนื้อหาได้ดีกว่าโดยไม่ต้องลอกใหม่และเสียเวลาน้อยกว่า


วิธีที่ว่านี้คือ  วิธีการจดเลคเชอร์แบบมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์  
(Cornell Note Taking  Method) ซึ่งเป็นประเด็นใหญ่ของบทความนี้  แต่ก่อนที่จะกล่าวถึงอย่างชนิดที่สามารถนำไปปฏิบัติใช้งานได้  ผมขออนุญาตชี้ให้เห็นปัญหาของการจดเล็คเชอร์ของนักศึกษาไทยก่อน

 

2. ปัญหาการจดเลคเชอร์


ผมเองเรียนและสอนทางสาขาคณิตศาสตร์ซึ่งเป็นสาขาที่มีปัญหาในการจดเลคเชอร์น้อยที่สุดเมื่อเทียบกับสาขาอื่น ๆ  เพราะอาจารย์คณิตศาสตร์ (ทั่วโลก) จะเขียนเกือบทุกตัวอักษรลงบนกระดานในขณะที่สาขาอื่น ๆ อาจารย์นิยมพูดเป็นส่วนใหญ่


ในการสอนวิชาคณิตศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เป็นนิยาม ทฤษฎีบท หากเนื้อหาผิดพลาดไปแม้เพียงคำเดียวก็จะกลายเป็นความผิดพลาดที่ไม่อาจยอมรับกันได้  อาจารย์จึงต้องเขียนทุกคำบนกระดาน  นอกจากนี้ในระหว่างการ
ทำโจทย์ ยังต้องการแสดงให้เห็นถึงวิธีการคิด วิธีการทำอีกต่างหาก


อย่างไรก็ตาม ในวิชาที่ผมสอนเอง บางครั้งมีบางเนื้อหาที่ไม่จำเป็นต้องจดลงบนกระดาน เช่น การเปรียบเทียบว่าวิธีที่หนึ่งดีกว่าวิธีที่สองอย่างไร  นักศึกษาก็จดบันทึกไม่ถูก หรือไม่จดเลย เป็นต้น


ผมถามอาจารย์รุ่นใหม่ว่า
เคยมีการสอนวิธีการจดเลคเชอร์ในช่วงที่คุณเป็นนักศึกษาบ้างไหม คำตอบที่ได้คือไม่มีครับ   หากใครจดเลคเชอร์ได้ดีก็เป็นเพราะความสามารถเฉพาะตัว ไม่ใช่เพราะโดยการเรียนการสอนจากสถาบันการศึกษา


ผมเองก็ไม่เคยเรียนเรื่องเทคนิคการจดเลคเชอร์มาก่อนเช่นเดียวกัน  เพิ่งจะได้เรียนรู้ก็ตอนที่โลกเรามีอินเตอร์เนตใช้นี่เอง  ขอบคุณอินเตอร์เนตที่เปิดโอกาสให้เราได้
ท่องโลกเพื่อการเรียนรู้และนำมาถ่ายทอดต่อในที่นี้


อนึ่ง การที่เราจะจดเลคเชอร์ได้ดีหรือไม่ นอกจากจะต้องมีเทคนิควิธีการที่จะกล่าวถึงแล้ว ยังขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการฟัง การมีสมาธิและการจับประเด็น ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่และใหญ่มาก ๆ สำหรับสังคมนักศึกษาไทยเราในวันนี้ รวมทั้งในสังคมของผู้ใหญ่ด้วย


นักศึกษาบางคนไม่ยอมจดเลคเชอร์ โดยอ้างว่า
ต้องการฟังให้ได้มากที่สุดและทำความเข้าใจเนื้อหาไปเลย แล้วค่อยขอยืมของเพื่อนไปถ่ายเอกสาร


เรื่องนี้นักการศึกษาบางคนถึงกับเตือนว่า
การจดเลคเชอร์และการทำโน้ตย่อขณะอ่านหนังสือ ไม่ใช่เป็นกิจกรรมที่เราชอบแล้วจึงลงมือทำ แต่เป็นกิจกรรมที่ต้องทำ


การจดเล็คเชอร์เป็นการบังคับตัวเราเองให้ฟังอย่างตั้งใจ  ไม่เผลอหลับเพราะมีการเคลื่อนไหวทั้งมือและสมอง  เมื่อกลับไปเปิดเลคเชอร์โน้ตในภายหลัง เราจะพบว่ามันคือเข็มทิศที่นำเราไปสู่การค้นคว้าเพิ่มเติมจากตำราต่อไป  นอกจากนี้ โน้ตของเราจะทำให้จำได้ง่ายกว่าตำรา


โดยสรุป การจดเลคเชอร์เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนักเรียนและนักศึกษาทุกคน แต่จะทำอย่างไรให้ได้ดี คำตอบคือต้องฝึกหัดเหมือนกับที่เราหัดเดินตอนเป็นทารก การจดเลคเชอร์ที่ดีจะส่งผลให้การเรียนของเราดีและได้เกรดดีขึ้น  ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่ง

 

3. การจดเล็คเชอร์แบบมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์  


วิธีนี้ได้คิดค้นโดย
Dr. Walter Pauk     ผู้ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์และได้รับตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์การอ่านและการศึกษา (Cornell University's reading and study center) ของมหาวิทยาลัย เป็นผู้ที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งในสาขาพัฒนาการศึกษาและทักษะการเรียนรู้ และเป็นผู้เขียนหนังสือชื่อ How To Study In College  ซึ่งเป็นหนังสือที่ถูกจัดเป็นประเภทที่ขายดีที่สุด


มหาวิทยาลัยที่ผมทำงานอยู่และคิดว่ารวมถึงมหาวิทยาลัยแห่งอื่นด้วย ไม่มี
ศูนย์หรือ สถาบันในลักษณะที่ช่วยพัฒนานักศึกษาเช่นนี้   แต่มีศูนย์ทางด้านธุรกิจและอื่น ๆ มากมาย


วิธีการจดเลคเชอร์ มีหลายวิธี  แต่
Wikepedia จัดว่าวิธีที่จะกล่าวถึงนี้เป็นวิธีที่มีการใช้กันแพร่หลายมาก  โดยมีวิธีการดังต่อไปนี้

 

ขั้นที่ 1  การจัดแบ่งหน้ากระดาษ


ให้แบ่งหน้ากระดาษออกเป็น  2  คอลัมน์  ถ้าเป็นกระดาษขนาด
 A4  (ขนาด 8.5x11 นิ้ว) คอลัมน์ซ้ายมือกว้าง 2 นิ้วครึ่ง ส่วนที่เหลือเป็นคอลัมน์ขวามือกว้างประมาณ 6  นิ้ว    ถ้าเป็นกระดาษสมุดก็ปรับตามความเหมาะสม  แต่คอลัมน์ทางซ้ายมือไม่ควรจะกว้างน้อยกว่า 2.25 นิ้ว  เพราะจะต้องใช้พื้นที่ส่วนนี้เขียนข้อความสำคัญในภายหลัง


เว้นด้านล่างของกระดาษไว้ประมาณ 2 นิ้ว ไว้สำหรับเขียนสรุปหลังจากได้ทบทวนแล้ว  ดังรูป

 

 


 

หมายเหตุ คำว่า Cue ในที่นี้ หมายถึง สัญญาณหรือคำที่ช่วยเตือนความจำ ช่วยให้เราทำกิจกรรมอื่นต่อไป   ภาพข้างล่างนี้จะช่วยขยายความถึงการใช้หน้ากระดาษ (ซึ่งจะอธิบายต่อไป)



 


ขั้นที่ 2  คำแนะนำทั่วไป


ถ้าใช้กระดาษขนาด
 A4   ควรเขียน วันที่  รายวิชา  และเลขหน้าไว้บนหัวกระดาษ  เพราะเหมาะสำหรับการนำไปรวมกันเป็นแฟ้มของแต่ละวิชาได้สะดวก  เช่น  2 มิ.ย. 53     คณิตศาสตร์ 101   หน้า 1


นักศึกษาควรเข้าห้องเรียนก่อนเวลาเล็กน้อย เพราะโดยปกติ ในช่วง 5 นาทีแรกอาจารย์มักจะแนะนำสาระสำคัญของเนื้อหาที่จะบรรยายในคาบนี้ รวมทั้งความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับเนื้อหาเดิม
  การที่เราได้รับทราบแนวของเนื้อหาก่อนจะทำให้เราสามารถเข้าใจสิ่งที่จะได้ฟังง่ายขึ้น


ควรอ่านเอกสารล่วงหน้า (ถ้าเป็นไปได้)   และควรมีปากกาและดินสอหลายสี หากสามารถพกกล่องปากกาติดตัวได้ก็ยิ่งเป็นการดี  นักศึกษาชายใส่ในย่าม นักศึกษาหญิงใส่ที่เดียวกับเครื่องสำอาง(
!)

 

ขั้นที่ 3  การฟังและจดเลคเชอร์

-  จดเนื้อหาสำคัญลงในคอลัมน์ขวามือ (Note Taking Area)  ในชั่วโมงบรรยาย

- อย่าจดทุกคำ เลือกเฉพาะที่ประเด็นสำคัญ พร้อมเหตุผลสนับสนุน  ถ้าจดละเอียดมากเกินไปจะทำให้เป็นนักฟังแย่ลงและจดไม่ทัน

- อย่าเขียนให้เป็นประโยค ถ้าสามารถใช้วลีได้ และอย่าเขียนเป็นวลี ถ้าสามารถเขียนเป็นคำเดียวโดด ๆ ได้

- พยายามใช้ตัวย่อ สัญลักษณ์  ลูกศร   เช่น  ใช้  “&”  แทน และ”,  "~"  แทน  "ประมาณ"

- หากจับประเด็นไม่ได้หรือจับไม่ทัน  ควรเว้นกระดาษพร้อมทำเครื่องหมาย ? เพื่อถามเพื่อนหรือค้นเพิ่มเติมภายหลัง  อย่าเสียดายกระดาษ  ความรู้มีค่ามากกว่ากระดาษ

-  พยายามตั้งใจฟังประโยคสำคัญ ๆ  เช่น เรื่องนี้มีเหตุผล 3 ประการคือหรือฟังการย้ำ การเน้นเสียงของอาจารย์

 

ขั้นที่ 4  การทบทวนและทำให้เลคเชอร์โน้ตกระชับ

-  หลังจากจดเลคเชอร์มาแล้ว (เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้)  ให้อ่านที่จดมาได้ ไม่ใช่ศึกษาเพื่อทำความเข้าใจ แต่เพื่อตรวจสอบความถูกต้องกับตำรา ถ้าพบที่ผิดก็แก้ไข ปรับปรุง

- ทบทวนและทำเนื้อหาให้กระชับและสั้นลง โดยเขียนประเด็นสำคัญ (Main ideas) คำถาม แผนผัง สัญญาณเตือนความจำลงในคอลัมน์ซ้ายมือ (Cue Column)  เขียนเมื่อได้ทบทวนเนื้อหาแล้ว  ถ้าสามารถทบทวนได้ภายใน 24 - 48 ชั่วโมงหลังจากการฟังคำบรรยาย เรายังคงจำเนื้อเรื่องได้ถึง 80%  ถ้าเลยเวลานี้ไปเราจะลืมไปแล้ว 80%  นั่นหมายความว่าเราต้องเสียเวลาเรียนใหม่เกือบทั้งหมด

-  เขียนเฉพาะคำสำคัญ หรือวลี เพื่อสรุปประเด็นสำคัญ เขียนคำถามที่คาดว่าน่าจะเป็นข้อสอบ

 

ขั้นที่ 5  เขียนสรุปลงในส่วนที่สาม


สรุปเนื้อหาสัก 1- 2 ประโยคด้วยภาษาของเราเองลงในส่วนที่ 3 ของกระดาษ  โดยเขียนหลังจากที่เราได้ทบทวนและทำความเข้าใจบทเรียนแล้ว


4. สรุป 
 ข้างล่างนี้คือตัวอย่างหนึ่งที่ได้ทำครบถ้วนทุกขั้นตอนแล้ว   อาจจะช่วยให้เราเข้าใจดีขึ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอลัมน์แรก  อย่างไรก็ตาม ถ้าเราไม่เริ่มต้นลงมือทำ เราก็ไม่มีวันที่จะเป็น ทุกอย่างต้องมีการฝึกฝนครับ

 

 

 

 

บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
    “คดีโลกร้อน” เป็นชื่อที่ใช้เรียกคดีที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นโจทก์ฟ้องผู้บุกรุกป่า ผู้บุกรุกต้องชดใช้ค่าเสียหาย  ที่ผ่านมามีเกษตรกรถูกฟ้องดำเนินคดีไปแล้วหลายสิบรายทั่วประเทศ ในช่วงปี 2549-52 ในจังหวัดตรังและพัทลุงมีราษฎรถูกดำเนินคดีไปแล้ว 13 ราย ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว 7 ราย และอยู่ระหว่างดำเนินคดี 6 ราย กรมอุทยานฯ ได้เรียกค่าเสียหาย 20.306 ล้านบาท แต่ศาลพิพากษาให้จ่าย 14.76 ล้านบาทพร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี
ประสาท มีแต้ม
    ขณะนี้รัฐบาลกำลังคิดค้นโครงการประชานิยมหลายอย่าง คาดว่าจะประกาศรายละเอียดภายในต้นปี 2554   ทั้งนี้เพื่อรองรับการเลือกตั้งใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในช่วงปลายปี ทำไปทำมานโยบายประชานิยมที่เริ่มต้นอย่างประปรายตั้งแต่รัฐบาลคึกฤทธิ์ ปราโมช (2518) และเริ่มเข้มข้นมากขึ้นในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร จะเป็นสิ่งที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้เสียแล้ว บทความนี้จะกล่าวถึงนโยบายประชานิยมในเรื่องค่าไฟฟ้าสำหรับผู้อยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้ารายย่อยไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน โครงการนี้เกิดในสมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช (2551) และใช้ต่อกันมาจนถึงรัฐบาลปัจจุบันและในอนาคตด้วย ผมได้มีโอกาสคุยกับผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อยในชนบท…
ประสาท มีแต้ม
    คำนำ เป็นที่ทราบกันทั่วไปแล้วว่า ขณะนี้สังคมไทยเรากำลังมีความขัดแย้งรุนแรงครอบคลุมเกือบทุกพื้นที่ของประเทศ จนรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปขึ้นมาหลายชุด หนึ่งในนั้นคือ คณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) โดยมีคุณอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน เมื่อกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการชุดนี้ได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นขึ้น โดยขึ้นคำขวัญซึ่งสะท้อนแนวคิดรวบยอดของการปฏิรูปประเทศไทยว่า “ลดอำนาจรัฐ ขจัดความเหลื่อมล้ำ” ผมเองได้ติดตามชมการถ่ายทอดโทรทัศน์จากรายการนี้ตั้งแต่ต้นจนจบ ได้ทราบถึงเจตนารมณ์ในการรับฟังความคิดเห็น ได้ชมวีดิทัศน์ที่บอกถึง “ความเหลื่อมล้ำ” …
ประสาท มีแต้ม
  “...ถ้าอุณหภูมิผิวน้ำทะเลสูงขึ้น 1 องศาเซียลเซียส ความถี่ที่จะเกิดพายุชนิดรุนแรงจะเพิ่มขึ้นอีก 31% ... ในปี พ.ศ. 2643 อุณหภูมิดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 2 องศา”   “ผลการวิจัยพบว่า ค่าความเสียหายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาจจะมากกว่าผลผลิตทางเศรษฐกิจของคนทั้งโลก ทั้งนี้ภายในก่อนปี พ.ศ. 2608”  
ประสาท มีแต้ม
ขณะนี้ทางรัฐบาลโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (หรือ กฟผ.) กำลังเสนอให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ขนาด 700 เมกกะวัตต์  ชาวหัวไทรที่ไม่คุ้นเคยกับเรื่องนี้อาจเกิดความสงสัยหลายอย่าง เป็นต้นว่า 1.โรงไฟฟ้าขนาด 700 เมกกะวัตต์นั้น มันใหญ่เท่าใด ไฟฟ้าที่ผลิตมาได้จะใช้ได้สักกี่ครอบครัวหรือกี่จังหวัด
ประสาท มีแต้ม
    คำว่า “ไฟต์บังคับ” เป็นภาษาในวงการมวย  หมายความว่าเมื่อนักมวยคนหนึ่ง(มักจะเป็นแชมป์) ถูกกำหนดโดยองค์กรที่เกี่ยวข้องว่า ครั้งต่อไปนักมวยคนนี้จะต้องชกกับใคร จะเลี่ยงไปเลือกชกกับคนอื่นที่ตนคิดว่าได้เปรียบกว่าไม่ได้
ประสาท มีแต้ม
  ๑.  คำนำ บทความนี้ประกอบด้วย 6 หัวข้อย่อย ท่านสามารถอ่านหัวข้อที่ 6 ก่อนก็ได้เลย เพราะเป็นนิทานที่สะท้อนปัญหาระบบการศึกษาได้ดี เรื่อง “โรงเรียนสัตว์”   ถ้าท่านรู้สึกสนุกและเห็นคุณค่าของนิทานดังกล่าว (ซึ่งทั้งแสบ ทั้งคัน) จึงค่อยกลับมาอ่านหัวข้อที่ 2  จนจบ หากท่านไม่เกิดความรู้สึกดังกล่าว  ก็โปรดโยนทิ้งไปได้เลย ๒. ปัญหาของการศึกษากระแสหลักคืออะไร
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ชื่อบทความนี้อาจจะทำให้บางท่านรู้สึกว่าเป็นการทอนพลังของการปฏิรูป ที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ แต่ผมขอเรียนว่า ไม่ใช่การทอนพลังครับ แต่เป็นการทำให้การปฏิรูปมีประเด็นที่เป็นรูปธรรม สัมผัสได้ชัดเจน สามารถปฏิบัติได้ง่าย รวดเร็ว  เมื่อเทียบกับการปฏิรูปมหาวิทยาลัย ปฏิรูปการศึกษาที่ต้องใช้เวลานานกว่าจะเห็นผล ผมได้ตรวจสอบประเด็นของการปฏิรูปของคณะกรรมการชุดที่คุณหมอประเวศ วะสี เป็นประธานแล้วพบว่า ไม่มีประเด็นเรื่องนโยบายพลังงานเลย บทความนี้จะนำเสนอให้เห็นว่า (1) ทำไมจะต้องปฏิรูปนโยบายพลังงานในทันที  (2) จะปฏิรูปไปสู่อะไร และ (3) ทำอย่างไร เริ่มต้นที่ไหนก่อน  …
ประสาท มีแต้ม
“ในการเดินทาง เรามักใช้ยานพาหนะช่วย   แต่ในการคิดเชิงวิพากษ์ (Critical) เราใช้อะไรเป็นเครื่องมือหรือเป็นพาหนะ”
ประสาท มีแต้ม
“คุณรู้ไหม คนเราสามารถคิดได้เร็วกว่าที่อาจารย์พูดถึงสี่เท่าตัว ดังนั้น เราสามารถฟังและจดโน้ตดี ๆ ได้”   1.    คำนำ ในแต่ละปีผมพบว่า นักศึกษาชั้นปีที่หนึ่ง (ซึ่งยังสด ๆ และมองชีวิตในมหาวิทยาลัยแบบสดใสอยู่) จำนวนมากใช้วิธีจดเลคเชอร์ของแต่ละวิชาลงในสมุดเล่มเดียวกัน  เมื่อสอบถามได้ความว่า ค่อยไปลอกและทั้งปรับปรุงแก้ไขลงในสมุดของแต่ละวิชาในภายหลัง  
ประสาท มีแต้ม
1.    คำนำ เราคงยอมรับร่วมกันแล้วว่า ขณะนี้สังคมไทยกำลังมีความขัดแย้งอย่างรุนแรงทั้งในระดับความคิด ความเชื่อทางการเมือง และวัฒนธรรมซึ่งนักสังคมศาสตร์จัดว่าเป็นโครงสร้างส่วนบน และความขัดแย้งทางเศรษฐกิจที่รวมศูนย์ การแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติและการทำลายสิ่งแวดล้อมซึ่งถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานของสังคม  ความขัดแย้งเชิงโครงสร้างทั้งสองระดับนี้กำลังวิกฤติสุด ๆ จนอาจพลิกผันนำสังคมไทยไปสู่หายนะได้ในอนาคตอันใกล้นี้
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ภาพที่ท่านเห็นอยู่นี้เป็นปกหน้าและหลังของเอกสารขนาดกระดาษ A4 ที่หนาเพียง 16 หน้า แม้ว่าหลายท่านอาจจะยังไม่คุ้นเคยกับศัพท์แสงที่ปรากฏ แต่ผมเชื่อว่าแววตาและท่าทางของเจ้าหนูน้อยในภาพคงทำให้ท่านรู้สึกได้ว่าเธอทึ่งและมีความหวัง บรรณาธิการกรุณาอย่าทำให้ภาพเล็กลงเพื่อประหยัดเนื้อที่ เพราะจะทำให้เราเห็นแววตาของเธอไม่สดใสเท่าที่ควร เอกสารนี้จัดทำโดย “สภาเพื่ออนาคตโลก” หรือ World Future Council (WFC) ค้นหาได้จาก www.worldfuturecouncil.org