ชาวหัวไทรที่ไม่คุ้นเคยกับเรื่องนี้อาจเกิดความสงสัยหลายอย่าง เป็นต้นว่า
1.โรงไฟฟ้าขนาด 700 เมกกะวัตต์นั้น มันใหญ่เท่าใด ไฟฟ้าที่ผลิตมาได้จะใช้ได้สักกี่ครอบครัวหรือกี่จังหวัด
บทความสั้นๆ นี้จะพยายามตอบข้อสงสัยเหล่านี้ ดังต่อไปนี้
ดังนั้นโรงไฟฟ้าขนาด 700 เมกกะวัตต์จะสามารถทำให้เราใช้กับหลอดไฟดังกล่าวถึงกว่า 38 ล้าน 8 แสนหลอดพร้อมกัน โดยปกติโรงไฟฟ้าจะทำงานประมาณ 75% ของเวลาทั้งปี ดังนั้น โรงไฟฟ้าขนาดนี้สามารถป้อนพลังงานให้หลอดไฟฟ้าขนาดนี้ได้ถึง 29 ล้านหลอดตลอด 24 ชั่วโมงและตลอดทั้งปี
ถ้าเราเกิดความสงสัยต่อว่า คนทั้งจังหวัดนครศรีธรรมราชจะต้องมีโรงไฟฟ้าขนาดเท่าใดจึงจะพอใช้ เราก็ต้องค้นข้อมูลกันต่อไป
จากข้อมูลพบว่า ในปี 2551 คนนครศรีธรรมราชใช้ไฟฟ้ารวมกัน 1,141 ล้านหน่วย (http://www.thaienergydata.in.th/) (1 หน่วย = 1 กิโลวัตต์ชั่วโมง) พลังงานไฟฟ้าจำนวนนี้โรงไฟฟ้าขนาด 174 เมกกะวัตต์สามารถผลิตให้ได้ตลอดไป ไม่ขาด
ถ้าอย่างนั้น ทำไมเขาจึงจะสร้างใหญ่ถึงขนาด 700 เมกกะวัตต์ หรือว่าเขาสร้างให้ชาวจังหวัดพัทลุงและตรังใช้ด้วย จากข้อมูลเดียวกันพบว่า คน 2 จังหวัดนี้ใช้ไฟฟ้ารวมกันเพียง 133 เมกกะวัตต์เท่านั้น
ความต้องการของคนใน 3 จังหวัด (นคร, พัทลุง ตรัง) รวมกันยังไม่ถึงครึ่งหนึ่งของที่เขาจะสร้างใหม่ คือ 700 เมกกะวัตต์ แล้วทำไมเขาจึงสร้างมหึมาขนาดนี้
ยิ่งคิด ก็ยิ่งสงสัยจังหู หรือว่าเขาจะสร้างไว้รองรับโรงถลุงเหล็ก หรือนิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ฯลฯ
ก่อนจะตอบข้อ 2 และ 3 ขอข้ามไปตอบข้อ 4 ก่อน
คำตอบสำหรับข้อที่ 4 เรามีทางเลือกอื่นบ้างไหม? เราลองคิดเปรียบเทียบเป็น 2 กรณี ว่าอย่างไหนจะดีกว่ากัน คือ
กรณีแรก สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินตามที่ กฟผ. เสนอ คำถามก็คือ เอาเชื้อเพลิงคือถ่านหินมาจากไหน
กรณีที่สอง สร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็กเพียง 1 เมกกะวัตต์ โดยใช้ไม้ฟืน กะลามะพร้าว ทางปาล์ม หรืออื่นๆ ที่สามารถหาได้ในท้องถิ่นเป็นระยะทางไม่เกิน 10 ก.ม.
ถ้าเราคิดคร่าว ๆ ว่า โรงไฟฟ้าแต่ละโรงต้องใช้ไม้ฟืนวันละ 2 หมื่นกิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 2 บาท ชาวหัวไทรจะมีรายได้จากการขายไม้ฟืนวันละ 2 แสน 4 หมื่นบาท หรือปีละ 87 ล้านบาทตลอดไป ดีกว่าจ่ายเงินซื้อถ่านหินจากต่างชาติไหม?
ลองคิดซิครับว่า มันสามารถสร้างงานให้ชาวบ้านได้มากน้อยขนาดไหน คนเหล่านี้ไม่ต้องไปดิ้นรนทำงานในเมือง ไม่ต้องใช้ฝีมือแรงงาน แค่ตัดไม้ขายวันละ 200 กิโลกรัม ก็สามารถมีรายได้มากกว่าเด็กจบปริญญาตรีใหม่ ๆ แล้ว
คำตอบข้อที่ 2 ถ่านหินนั้นมันคืออะไร มีสารพิษปนมาบ้างหรือไม่
องค์กรที่รณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมที่ได้รับการยอมรับระดับโลกอย่างกรีนพีชกล่าวว่า “ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงที่สกปรกที่สุดในโลก”
นายอัล กอร์ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพเมื่อปี 2550 กล่าวว่า
โดยปกติโรงไฟฟ้าขนาด 700 เมกกะวัตต์จะใช้
- ถ่านหินวันละประมาณ 5,370 ตัน ประมาณ 250 รถสิบล้อ
- ใช้น้ำปีละ 12 ล้านลิตร (พอสำหรับคนเมือง 3.5 แสนคน)
- น้ำที่สูบเข้าจะติดลูกปลา กุ้ง 29 ล้านชีวิต ชาวประมงจะเดือดร้อน
- เกิดหมอกควัน ฝนกรด น้ำฝนใช้ไม่ได้ ผักที่ปลูกจะเสียหาย
- หน้าดินในแหล่งน้ำใกล้ลานกองถ่านหินจะปนเปื้อน จนปลาอยู่ไม่ได้
- ปล่อยน้ำร้อนไปทำลายปลาในแหล่งน้ำ
- ปล่อยขี้เถ้าจำนวน 175,000 ตัน และ 270,000 ตันของขี้โคลน (sludge)
ตอบไปแล้วในข้อที่ 2 ภาพข้างบนเป็นภาพเด็กข้างโรงไฟฟ้าในอินโดนีเซีย เป็นโรคหอบ
ที่ผ่านมาการพัฒนาของบ้านเราถูกกำหนดโดยคนใหญ่คนโตจากข้างบน ไม่เคยถามความเห็นของคนข้างล่างที่หาเลี้ยงชีพด้วยธรรมชาติ ส่งผลให้สิ่งแวดล้อมถูกทำลาย หากินลำบาก ทั้งในทะเลและแหล่งน้ำจืด ต้องไปเป็นกรรมกรในเมือง
ต่อไปนี้เราจะขอคิด ขอวางแผนพัฒนาตนเองเองบ้าง และจะไม่ขอเต้นไปตามจังหวะกลองที่คนอื่นตีอีกต่อไป เราจะขอตีเอง เต้นเอง ตามจังหวะที่เราชอบ