Skip to main content
ขณะนี้ทางรัฐบาลโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (หรือ กฟผ.) กำลังเสนอให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ขนาด 700 เมกกะวัตต์ 

ชาวหัวไทรที่ไม่คุ้นเคยกับเรื่องนี้อาจเกิดความสงสัยหลายอย่าง เป็นต้นว่า

1.โรงไฟฟ้าขนาด 700 เมกกะวัตต์นั้น มันใหญ่เท่าใด ไฟฟ้าที่ผลิตมาได้จะใช้ได้สักกี่ครอบครัวหรือกี่จังหวัด
3. ถ้ามีโรงไฟฟ้าที่ว่านี้จริง ผลดี ผลเสียอะไรบ้างที่จะเกิดขึ้นกับบ้านเรา
4. เรามีทางเลือกอย่างอื่นบ้างหรือไม่

บทความสั้นๆ นี้จะพยายามตอบข้อสงสัยเหล่านี้ ดังต่อไปนี้

คำตอบสำหรับข้อที่ 1
ถ้าเดินเครื่องจักรโรงไฟฟ้าขนาด 1 เมกกะวัตต์ให้ทำงานเป็นเวลานาน 1 ชั่วโมง พลังงานที่ได้จะทำให้เราสามารถเปิดหลอดไฟฟ้าขนาดผอม-สั้น (18 วัตต์) ได้จำนวน 55, 555  หลอดเป็นเวลานาน 1 ชั่วโมง  (แค่หนึ่งเมกกะวัตต์นะ)

ดังนั้นโรงไฟฟ้าขนาด 700 เมกกะวัตต์จะสามารถทำให้เราใช้กับหลอดไฟดังกล่าวถึงกว่า 38 ล้าน 8 แสนหลอดพร้อมกัน โดยปกติโรงไฟฟ้าจะทำงานประมาณ 75% ของเวลาทั้งปี
 ดังนั้น โรงไฟฟ้าขนาดนี้สามารถป้อนพลังงานให้หลอดไฟฟ้าขนาดนี้ได้ถึง 29 ล้านหลอดตลอด 24 ชั่วโมงและตลอดทั้งปี

ถ้าเราเกิดความสงสัยต่อว่า คนทั้งจังหวัดนครศรีธรรมราชจะต้องมีโรงไฟฟ้าขนาดเท่าใดจึงจะพอใช้ เราก็ต้องค้นข้อมูลกันต่อไป

จากข้อมูลพบว่า ในปี 2551 คนนครศรีธรรมราชใช้ไฟฟ้ารวมกัน 1
,141 ล้านหน่วย (http://www.thaienergydata.in.th/)  (1 หน่วย = 1 กิโลวัตต์ชั่วโมง) พลังงานไฟฟ้าจำนวนนี้โรงไฟฟ้าขนาด 174 เมกกะวัตต์สามารถผลิตให้ได้ตลอดไป ไม่ขาด

ถ้าอย่างนั้น ทำไมเขาจึงจะสร้างใหญ่ถึงขนาด 700 เมกกะวัตต์ หรือว่าเขาสร้างให้ชาวจังหวัดพัทลุงและตรังใช้ด้วย จากข้อมูลเดียวกันพบว่า คน 2 จังหวัดนี้ใช้ไฟฟ้ารวมกันเพียง 133 เมกกะวัตต์เท่านั้น

ความต้องการของคนใน 3 จังหวัด (นคร
, พัทลุง ตรัง) รวมกันยังไม่ถึงครึ่งหนึ่งของที่เขาจะสร้างใหม่ คือ 700 เมกกะวัตต์  แล้วทำไมเขาจึงสร้างมหึมาขนาดนี้

ยิ่งคิด ก็ยิ่งสงสัยจังหู  หรือว่าเขาจะสร้างไว้รองรับโรงถลุงเหล็ก หรือนิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ฯลฯ
เป็นไปได้ครับ ท่านที่ติดตามข่าวจากนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดคงจะนึกภาพออก
 

ก่อนจะตอบข้อ 2 และ 3 ขอข้ามไปตอบข้อ 4 ก่อน


คำตอบสำหรับข้อที่ 4 
เรามีทางเลือกอื่นบ้างไหม? เราลองคิดเปรียบเทียบเป็น 2 กรณี ว่าอย่างไหนจะดีกว่ากัน คือ

กรณีแรก
สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินตามที่ กฟผ. เสนอ คำถามก็คือ เอาเชื้อเพลิงคือถ่านหินมาจากไหน
คำตอบคือนำเข้าจากต่างประเทศ ในปี 2552 ประเทศไทยนำเข้าถ่านหินคิดเป็นเงิน 3 หมื่น 7 พันล้านบาท เงินจำนวนนี้ไปตกที่ใครไม่รู้ ที่แน่ ๆ มลพิษที่จะกล่าวถึงในข้อ 2 จะตกลงที่ชาวหัวไทร ชาวปากพนัง เชียรใหญ่ และอำเภออื่น ๆรวมทั้งชาวไทยทั้งประเทศอย่างแน่นอน เพราะถ่านหินก่อให้เกิดปัญหาโลกร้อนมากที่สุด

กรณีที่สอง
 สร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็กเพียง 1 เมกกะวัตต์ โดยใช้ไม้ฟืน กะลามะพร้าว ทางปาล์ม หรืออื่นๆ ที่สามารถหาได้ในท้องถิ่นเป็นระยะทางไม่เกิน 10 ก.ม.
 
ชาวบ้านสามารถปลูกไม้โตเร็วเพื่อป้อนโรงไฟฟ้าได้ตลอดไป โดยที่ไม้ฟืนไม่บูด ไม่เน่าเหมือนผลไม้ และไม่ล้นตลาดในบางฤดูอีกด้วย

โรงไฟฟ้าขนาด 1 เมกกะวัตต์สามารถผลิตไฟฟ้าได้ประมาณปีละ 6.57 ล้านหน่วย หรือวันละ 18,000 หน่วย ซึ่งเพียงสำหรับครอบครัวในชนบทที่มีตู้เย็น ทีวี (แต่ไม่มีแอร์) ถึงประมาณ 4,500  ถึง 6,000 ครอบครัว ในอำเภอหัวไทรมี 17,417 บ้าน ดังนั้น ในอำเภอหัวไทร ถ้ามีโรงไฟฟ้าชีวมวล ขนาด 1 เมกกะวัตต์จำนวนสัก 6 โรงก็พอใช้แล้ว (คิดรวมการใช้ของภาคธุรกิจและอื่น ๆ ด้วย)

ถ้าเราคิดคร่าว ๆ ว่า โรงไฟฟ้าแต่ละโรงต้องใช้ไม้ฟืนวันละ 2 หมื่นกิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 2 บาท ชาวหัวไทรจะมีรายได้จากการขายไม้ฟืนวันละ 2 แสน 4 หมื่นบาท หรือปีละ 87 ล้านบาทตลอดไป ดีกว่าจ่ายเงินซื้อถ่านหินจากต่างชาติไหม?

ลองคิดซิครับว่า มันสามารถสร้างงานให้ชาวบ้านได้มากน้อยขนาดไหน คนเหล่านี้ไม่ต้องไปดิ้นรนทำงานในเมือง ไม่ต้องใช้ฝีมือแรงงาน แค่ตัดไม้ขายวันละ 200 กิโลกรัม ก็สามารถมีรายได้มากกว่าเด็กจบปริญญาตรีใหม่ ๆ แล้ว
นี่เป็นเพียงการคิดเคร่า ๆ เท่านั้นนะครับ ถ้ารัฐบาลสนับสนุนด้วยการจ่ายเงินชดเชยในฐานะที่ช่วยให้ไม่ต้องใช้ถ่านหินซึ่งเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิต ต่อสิ่งแวดล้อม ทุกอย่างจะดีกว่านี้มาก

คำตอบข้อที่ 2
 ถ่านหินนั้นมันคืออะไร   มีสารพิษปนมาบ้างหรือไม่

องค์กรที่รณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมที่ได้รับการยอมรับระดับโลกอย่างกรีนพีชกล่าวว่า  
“ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงที่สกปรกที่สุดในโลก”

นายอัล กอร์ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพเมื่อปี 2550 กล่าวว่า
ถึงเวลาแล้วที่เราต้องใช้อารยะขัดขืน เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่ๆ ขึ้นอีก”
 
 
 
รูปข้างหน้าคือถ่านหินที่ยังเป็นก้อน ก่อนจะนำไปใช้ในโรงไฟฟ้าจะต้องมีการบดให้ละเอียด แล้วนำไปเทกองไว้ที่ลานกองถ่านหิน เพื่อรอป้อนเข้าไปเผาในโรงไฟฟ้า

โดยปกติโรงไฟฟ้าขนาด 700 เมกกะวัตต์จะใช้
  • ถ่านหินวันละประมาณ 5,370  ตัน ประมาณ 250 รถสิบล้อ
  • ใช้น้ำปีละ 12 ล้านลิตร (พอสำหรับคนเมือง 3.5 แสนคน)
  • น้ำที่สูบเข้าจะติดลูกปลา กุ้ง 29 ล้านชีวิต ชาวประมงจะเดือดร้อน
  • เกิดหมอกควัน ฝนกรด น้ำฝนใช้ไม่ได้  ผักที่ปลูกจะเสียหาย
  • หน้าดินในแหล่งน้ำใกล้ลานกองถ่านหินจะปนเปื้อน จนปลาอยู่ไม่ได้
  • ปล่อยน้ำร้อนไปทำลายปลาในแหล่งน้ำ
  • ปล่อยขี้เถ้าจำนวน 175,000 ตัน และ 270,000 ตันของขี้โคลน (sludge)
สารพิษจากของเสียเหล่านี้ประกอบด้วย สารหนู สารปรอท โครเมียมและแคดเมียม ซึ่งจะปนเปื้อนเข้าไปกับน้ำดื่ม แล้วจะไปทำลายอวัยวะที่สำคัญรวมทั้งระบบประสาทของคน จากการศึกษาพบว่า ทุก ๆ 100 คนที่ดื่มน้ำบ่อที่ปนเปื้อนสารหนูจากโรงไฟฟ้าถ่านจะเป็นมะเร็ง 1 คน

 
คำตอบข้อที่ 3

ตอบไปแล้วในข้อที่ 2 ภาพข้างบนเป็นภาพเด็กข้างโรงไฟฟ้าในอินโดนีเซีย เป็นโรคหอบ
 
สรุป

ที่ผ่านมาการพัฒนาของบ้านเราถูกกำหนดโดยคนใหญ่คนโตจากข้างบน ไม่เคยถามความเห็นของคนข้างล่างที่หาเลี้ยงชีพด้วยธรรมชาติ ส่งผลให้สิ่งแวดล้อมถูกทำลาย หากินลำบาก ทั้งในทะเลและแหล่งน้ำจืด ต้องไปเป็นกรรมกรในเมือง

ต่อไปนี้เราจะขอคิด ขอวางแผนพัฒนาตนเองเองบ้าง และจะไม่ขอเต้นไปตามจังหวะกลองที่คนอื่นตีอีกต่อไป เราจะขอตีเอง เต้นเอง ตามจังหวะที่เราชอบ
 
 
 

 

บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
เคยมีคนไปถาม อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ว่า “ท่านคิดว่าสิ่งประดิษฐ์ใดของมนุษย์ที่มีอำนาจในการทำลายล้างมากที่สุด” ผู้ถามคงจะคาดหวังว่าไอน์สไตน์น่าจะตอบว่า “ระเบิดนิวเคลียร์” เพราะเขามีส่วนเกี่ยวข้องในการประดิษฐ์คิดค้นอยู่ด้วยไม่มากก็น้อย แต่ไอน์สไตน์กลับตอบว่า “สูตรดอกเบี้ยทบต้น”
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ เมื่อกลางเดือนธันวาคม ปี 2552 ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุม “สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ” ในงานนี้ได้มีโอกาสฟังปาฐกถาจากประธานศูนย์ศึกษาประเทศภูฎาน คือท่าน Dasho Karma Ura
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ “รักเจ้าจึงปลูก” เป็นชื่อโครงการที่ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กำลังครุ่นคิดเพื่อใช้ในการพัฒนาคุณภาพนักศึกษา ผมเองได้เขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้มา 2 ตอนแล้ว
ประสาท มีแต้ม
  1. คำนำ       ภาพที่เห็นคือบริเวณชายหาดชลาทัศน์ อ.เมือง จังหวัดสงขลา (ถ่ายเมื่อพฤศจิกายน 2552) หาดนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญมากของชาวเมืองสงขลา อยู่ทางตอนใต้ของหาดสมิหลาที่คนไทยส่วนใหญ่รู้จักดีประมาณหนึ่งกิโลเมตร สิ่งที่เห็นในภาพที่มีถุงทรายสีขาว ยางรถยนต์เก่ายึดด้วยไม้หลักปักทราย รวมทั้งรูปต้นสนล้ม คงสะท้อนทั้งความรุนแรงของปัญหาและความพยายามแก้ปัญหาของผู้ที่เกี่ยวข้องได้เป็นอย่างดี
ประสาท มีแต้ม
1. ความเดิม ในตอนที่ 1 ผมได้นำข้อมูลที่มาจากงานวิจัยของกระทรวงศึกษาธิการที่พบว่า นักเรียนทุกระดับชั้นของประเทศไทย ทั้งระดับ ป.6 , ม.3 และมัธยมปลายมีคะแนนเฉลี่ยไม่ถึงครึ่งทุกวิชา โดยวิชาที่สอบได้คะแนนน้อยที่สุดคือวิชาคณิตศาสตร์ ได้เพียงร้อยละ 29.6 เท่านั้น ในตอนที่ 2 นี้ ผมจะกล่าวถึงปัญหาที่ได้ตั้งไว้ในชื่อบทความ ซึ่งผมคิดว่าน่าจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คุณภาพการศึกษาเราตกต่ำ นอกจากนี้ ผมได้นำเสนอความคิดเห็นและความพยายามของผู้บริหารระดับสูงสุดของมหาวิทยาลัยด้วย
ประสาท มีแต้ม
๑. คำนำ ผมขอเรียนกับท่านผู้อ่าน “ประชาไท” ตามตรงว่า ผมใช้เวลานานมากในการคิดว่าจะเขียนเรื่องอะไรดี เขียนทิ้งเขียนขว้างไปหลายชิ้น ที่เป็นเช่นนี้ส่วนหนึ่งเพราะว่าผมสับสนในตัวเอง ไม่ทราบว่าจะนำเสนออะไรดีให้เข้ากับสถานการณ์บ้านเมือง
ประสาท มีแต้ม
๑. ปัญหาในภาพเล็ก ที่ภาควิชาที่ผมทำงานอยู่คือ ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กำลังคิดทำโครงการที่จะพัฒนานักศึกษานอกเหนือจากรายวิชาและกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่ทำกันอยู่ตามปกติแล้ว โครงการยังไม่เป็นรูปเป็นร่างดีนัก แต่ชื่อโครงการก็ค่อนข้างจะเห็นตรงกันคือ “โครงการรักเจ้าจึงปลูก” ที่มาจากเนื้อเพลง “อิ่มอุ่น” ของ ศุ บุญเลี้ยง
ประสาท มีแต้ม
ที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีวิชาบังคับให้นักศึกษาต้องเรียนอยู่วิชาหนึ่งจำนวน 3 หน่วยกิต ชื่อว่า “วิชาวิทยาเขตสีเขียว (greening the campus)” วัตถุประสงค์หลักของวิชานี้ก็คือ ให้นักศึกษาลุกขึ้นมาศึกษาปัญหาส่วนรวมหรือปัญหาสาธารณะที่อยู่ในวิทยาเขตของตนเอง แต่โดยมากมักจะเน้นไปที่ปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาการจราจร ปัญหาขวดน้ำพลาสติกที่มีมากอย่างไม่น่าเชื่อ ปัญหาการประหยัดพลังงาน และกระดาษ เป็นต้น
ประสาท มีแต้ม
ทั้ง ๆ ที่ประเทศเรากำลังประสบกับวิกฤติหลายด้าน ทั้งความขัดแย้งทางการเมือง วิกฤติเศรษฐกิจ และการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เป็นต้น แต่สื่อกระแสหลักก็ให้ความสำคัญกับข่าวความขัดแย้งในการแต่งตั้งข้าราชการระดับสูงซ้ำแล้วซ้ำเล่า รวมทั้งความขัดแย้งในพรรคร่วมรัฐบาลโดยไม่มีอะไรใหม่สร้างสรรค์ให้กับสังคม
ประสาท มีแต้ม
ในขณะที่กระแสสังคมส่งสัญญาณไม่พอใจกับราคาน้ำมันที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นทุกขณะ คณะรัฐมนตรีก็มีมติเห็นชอบตามคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติให้ลดการนำเงินเข้ากองทุนน้ำมันและกองทุนส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในส่วนของ ดีเซล ลิตรละ 2 บาท
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำขณะนี้หลายท่านคงจะรู้สึกกังวลร่วมกันว่า ราคาน้ำมันกำลังมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นจนอาจถึงหรือสูงกว่าเมื่อกลางปี 2551 (ดูกราฟประกอบ-ต่ำสุดเดือนธันวาคม 2551 ที่ 40 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จนมาถึงเกือบ 80 ในเดือนสิงหาคมปีนี้)   ซึ่งจะนำความเดือดร้อนมาสู่เรามากน้อยแค่ไหนก็คงพอจะนึกกันออก
ประสาท มีแต้ม
ผมได้รับเชิญจากคณะกรรมาธิการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร เพื่อ"ชี้แจงแสดงความคิดเห็น" เรื่อง ค่าการกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง เมื่อ 1 กรกฎาคม 52 คนนอกที่นอกจากผมแล้วก็มีอีก 6 -7 ท่าน ได้แก่ผู้แทนกระทรวงพลังงาน ผู้แทนบริษัทบางจาก, บริษัท ปตท. นายกสมาคมผู้ค้าน้ำมันแห่งประเทศไทย, คุณรสนา โตสิตระกูล และนักวิชาการปิโตรเลียม เป็นต้น