Skip to main content

. ปัญหาในภาพเล็ก


ที่ภาควิชาที่ผมทำงานอยู่คือ ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กำลังคิดทำโครงการที่จะพัฒนานักศึกษานอกเหนือจากรายวิชาและกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่ทำกันอยู่ตามปกติแล้ว โครงการยังไม่เป็นรูปเป็นร่างดีนัก แต่ชื่อโครงการก็ค่อนข้างจะเห็นตรงกันคือ “โครงการรักเจ้าจึงปลูก” ที่มาจากเนื้อเพลง “อิ่มอุ่น” ของ ศุ บุญเลี้ยง

\\/--break--\>
ภาควิชาฯ มีหลักสูตรระดับปริญญาตรีอยู่ 2 หลักสูตร คือ คณิตศาสตร์และสถิติ แต่ละหลักสูตรจะรับนักศึกษาปีละประมาณ 50 คน โดยรับมาจากนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของคณะเกือบทั้งหมด วิธีการคัดเลือกก็ใช้ผลการเรียนหรือเกรดของนักศึกษาเป็นสำคัญ ผู้ที่ได้เกรดสูง ๆ ก็ได้ภาควิชาที่ตนชอบไปก่อน ส่วนผู้ที่ได้เกรดต่ำ ๆ แต่สูงกว่าเกณฑ์ที่จะถูกรีไทร์ ก็จะถูกส่งไปยังภาควิชาที่มีที่ว่างไม่ว่านักศึกษาคนนั้นจะมีความถนัดหรือไม่ก็ตาม


จะกล่าวโทษเกณฑ์การคัดเลือกดังกล่าวก็ไม่ถูกต้องนัก เพราะความจริงแล้วนักศึกษาที่ได้เกรดต่ำ ๆ โดยมาก(อาจมียกเว้นบ้าง) ก็มักจะไม่มีความถนัดที่จะเรียนสาขาคณิตศาสตร์และสถิติอยู่แล้ว


จากข้อมูลพบว่า ในปีการศึกษา 2550 นักศึกษาที่เข้ามาเรียนสาขาสถิติได้เกรดต่ำกว่า 2.00 ถึงร้อยละ 27 และตัวเลขดังกล่าวได้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 47 ในปีถัดมา


คณาจารย์หลายท่านก็ได้แนะนำให้นักศึกษาที่ได้เกรดต่ำมาก ๆ ลาออกไปสอบใหม่เพื่อเลือกเรียนในสาขาที่ตนเองถนัด แต่ความหวังดีดังกล่าวของอาจารย์ก็ไม่เป็นผล พวกเขาก็ยังตื๊อเรียนต่อไป ส่งผลให้นักศึกษาสาขาสถิติชั้นปีที่ 3 ปีนี้เหลืออยู่เพียง 15 คนจากที่รับมาทั้งหมด 50 คน

 

. ปัญหาในภาพรวมของประเทศ


เรื่องคุณภาพที่ตกต่ำของนักเรียน นักศึกษาไทย(หรืออาจจะอีกหลายประเทศ) ในปัจจุบันเป็นที่รับรู้กันทั่วไป โดยเฉพาะในหมู่อาจารย์ทุกสถาบัน ไม่ใช่แต่ในภาควิชาที่ผมทำงานอยู่เท่านั้น แต่ก็ไม่มีใครคิดจะแก้ไขให้เป็นระบบหรือ “คิดใหญ่” คิดจริงจัง คิดให้เป็นนโยบายสาธารณะหรือ “วาระแห่งชาติ”


ยิ่งในหมู่นักการเมืองด้วยแล้ว เราจะไม่เคยได้ยินเรื่องที่ผมจะนำมาเล่าต่อไปนี้จากปากของพวกเขาเลย แต่เขายอมทุ่มเงินนับหลายหมื่น นับหลายแสนล้านบาทไปกับโครงการถนนปลอดฝุ่น และ ท่อน้ำชลประทาน เป็นต้น


จากรายงานการวิจัยที่ชื่อยาว ๆ ว่า “สภาวะการศึกษาไทย ปี 2550/2551 ปัญหาความเสมอภาคและคุณภาพของการศึกษาไทย” ซึ่งจัดทำโดยกระทรวงศึกษาธิการ โดยมี รศ. วิทยากร เชียงกูล เป็นหัวหน้า พบว่า การสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหรือ National Test ระดับ ป.6 และ ม.3 ประจำปีการศึกษา 2549 นั้น คะแนนเฉลี่ยไม่ถึงครึ่งทุกวิชา จากผู้เข้าสอบโดยการสุ่มจากทุกโรงเรียนทั่วประเทศ วิชาละ กว่า 4 แสนคน


เด็ก ป.6 ได้คะแนนเฉลี่ยในวิชาคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษที่ 15.5 และ 13.8 จากคะแนนเต็ม 40 คะแนน

เด็ก ม.3 จากผู้เข้าสอบเกือบ 2 แสนคน มีคะแนนเฉลี่ยในวิชาคณิตศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่ 12.5 และ 12.3 จากคะแนนเต็ม 40 คะแนนเช่นกัน

สำหรับเด็ก ม. ปลาย ผลการสอบวัดความรู้พื้นฐานหรือ O-Net ในปีการศึกษา 2549 พบว่า มีเพียงวิชาภาษาไทยเท่านั้นที่ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 50.3 ที่เหลือไม่ถึงครึ่งทุกวิชา โดยมีวิชาคณิตศาสตร์ต่ำสุด คือร้อยละ 29.6


เมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศ โดยองค์กรที่ชื่อว่า International Institute for Management Development ในเรื่องปัจจัยพื้นฐาน(ที่รวมการศึกษาและวิทยาศาสตร์) พบว่าความสามารถของประทศไทยอยู่ในอันดับเกือบรั้งท้ายและตกต่ำลงมาเรื่อย คือ จากอันดับที่ 39 ในปี 2548 มาเป็นอันดับที่ 48 ในปี 2550 จากทั้งหมด 55 ประเทศ (รายงานไม่ได้บอกว่ามีประเทศใดบ้าง)


ท่านผู้อ่านเห็นด้วยกับผมไหมครับว่า เราไม่เคยได้ยินนักการเมืองพูดถึงเรื่องนี้เลย ทั้ง ๆ ที่เป็นเรื่องหัวใจสำคัญของประเทศ


กลับมาที่ปัญหาของภาควิชาที่ผมสอน ในขณะที่ระดับประเทศและระดับภาควิชาฯ กำลังมีปัญหาอย่างรุนแรง ผู้บริหารของมหาวิทยาลัยกำลังนำมหาวิทยาลัยไปสู่ “มหาวิทยาลัยวิจัย” และกำลัง “ไต่อันดับโลก” โดยนับจำนวนงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารต่างประเทศ


ทิศทางของมหาวิทยาลัยของผมรวมทั้งมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ของประเทศไทยด้วยกำลังถูกลากจูงไปในทิศทางที่เรียกสั้น ๆ ว่า “เพื่อให้ฝรั่งชม” โดยขาดสติสัมปชัญญะ โดยไม่ตั้งคำถามสักคำว่างานวิจัยที่ใช้เงินภาษีของประชาชนเหล่านั้นสามารถนำไปแก้ปัญหาในภาควิชา ในภาคใต้ หรือในประเทศไทยได้อย่างไร


. แนวคิดของโครงการ “รักเจ้าจึงปลูก”


เมื่อปัญหาของภาควิชาและปัญหาของประเทศเราเป็นไปอย่างที่ผมได้เล่ามาแล้ว โดยหวังพึ่งอะไรไม่ได้จากนักการเมืองและนักบริหาร แล้วเราควรจะทำอย่างไรกันดี


แนะนำให้นักศึกษาที่มีปัญหามาก ๆ ให้ลาออก “ไปสู่ที่ชอบ ๆ ” ก็ไม่ได้ผล แนะนำแกมบังคับให้ตั้งใจเรียนก็ไม่ได้ผล


ขณะที่ผมนั่งเขียนบทความอยู่นี้ หน้าห้องเพื่อนอาจารย์บางท่านก็มีจดหมายน้อยจากนักศึกษาเสียบไว้หลายฉบับ ทุกฉบับเขียนไปทำนองเดียวกันคือ “ไม่ทราบอาจารย์ว่างตอนไหนบ้างคะ ช่วงนี้จะมาขอคำปรึกษาเรื่องคะแนนหน่อยคะ โปรดระบุด้วยคะ”


อาจารย์ท่านนี้ทราบดีว่า วิธีการเช่นนี้เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง จึงพยายามหนีนักศึกษา

อาจารย์หลายท่านรวมทั้งผมด้วยก็ได้พยายามสร้างแรงบันดาลใจให้นักศึกษาเกิดความรักในการเรียน เห็นความสำคัญในการเรียน แต่ก็เป็นไปในลักษณะต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างคิด (แต่ส่วนมากมักจะเน้นไปที่ให้นักศึกษาแต่งกายให้เรียบร้อย ให้เคารพสถานที่ราชการเท่านั้น)


มาวันนี้ เราจะลองทำกันให้เป็นระบบ แต่ครั้นจะถามว่าแล้วทำอย่างไรละ ผมต้องขอเรียนตามตรงว่า คณาจารย์เองก็ยังเห็นไม่ตรงกัน ผมเองก็ยังหนักใจอยู่เหมือนกันครับ การเขียนบทความนี้ถือเป็นการเตรียมตัว เตรียมความคิดของผมเอง เพื่อจะได้นำไปแลกเปลี่ยนกับเพื่อนร่วมงาน


ต่อไปนี้เป็นเพียงความเห็นของผมคนเดียว ที่ผมครุ่นคิดมานานแล้ว หลังจากได้อ่านงานของท่าน ว. วชิรเมธี และพระไพศาล วิสาโล รวมทั้งประสบการณ์ของตนเองที่ทำงานมาจนใกล้วันเกษียณ ผมคิดว่าเราต้องใช้หลักอิทธิบาทสี่ ที่แปลว่าบาทฐานแห่งความสำเร็จ


หลายท่านอาจจะรู้สึกว่าดูเชย ๆ ชอบกล

ท่าน ว. วชิรเมธีบอกว่า “ไม่มีมนุษย์คนไหนที่จะทนทำอะไรซึ่งเขาไม่รักได้อย่างยาวนาน”

ทำนองเดียวกัน ไม่มีนักศึกษาคนไหนที่จะทนเรียนวิชาคณิตศาสตร์และสถิติได้อย่างยาวนาน ถ้าเขาไม่รู้ ไม่เห็นความสำคัญของวิชาดังกล่าว หรือไม่มี “ฉันทะ” ในหลักอิทธิบาทสี่ นั่นเอง


ผมรู้จักและคุ้นเคยกับวงการเรียนการสอนคณิตศาสตร์มาร่วม 50 ปี ผมคิดว่าผมเข้าใจข้อความข้างต้นเป็นอย่างดี โดยส่วนตัวผมชอบและรักวิชา “เรขาคณิต” ที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า “geometry” มาก แถมรักอาจารย์ที่สอนวิชานี้ด้วย แต่ผมไม่เคยทราบเลยว่าชื่อวิชาเรขาคณิตแปลว่าอะไร


จนถึงเวลาที่โลกเรามีอินเตอร์เนตใช้เมื่อประมาณสิบกว่าปีที่แล้ว ผมพบว่า geo แปลว่า โลกหรือเกี่ยวกับโลก metry แปลว่า การวัด ออ! วิชาเรขาคณิตจึงหมายถึงวิชาที่ว่าด้วยการวัดโลกการวัดพื้นที่ นั่นเอง


ถ้านักเรียนรู้อย่างนี้ตั้งแต่แรก เขาน่าจะมีความรัก มีแรงจูงใจให้ตั้งใจเรียนมากขึ้นนานแล้ว


ในการเรียนการสอนวิชาสถิติก็ทำนองเดียวกัน เมื่อประมาณเกือบสิบปีที่แล้ว ศาสตราจารย์ท่านหนึ่งจากประเทศออสเตรเลียได้นำบทความวิชาการมาสัมมนาที่ภาควิชาฯ ความโดยสรุปว่า ถ้าแบ่งกระบวนการทางสถิติออกเป็นสี่ส่วน เราสอนกันเพียงสามส่วนเท่านั้น หนึ่งส่วนที่หายไป ถ้าผมฟังไม่ผิดก็คือส่วนที่เป็นกระบวนการที่นำไปใช้ประโยชน์จริง ๆ นั่นเอง


. สรุป


ผมได้ให้คำมั่นสัญญากับตนเองว่า จะพยายามเขียนและค้นหาความสำคัญของวิชาคณิตศาสตร์และสถิติแบบง่าย ๆ มาให้นักศึกษารวมทั้งสังคมไทยได้อ่านกัน


ถ้าเราพยายามอย่างเต็มที่ อย่างเป็นยุทธศาสตร์แล้ว นักศึกษายังไม่ปรับปรุงพัฒนาตนเองอีก ก็ต้องขอกล่าวคำว่า อุเบกขา หรือวางเฉย อันเป็นข้อสุดท้ายในพรหมวิหารสี่ ครับ


สุดท้าย ผมคิดว่าจุดมุ่งหมายของบทความนี้ อยู่ในบริบทของ “หวันตั้งดาน” ด้วยครับ

 

 

บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
    “คดีโลกร้อน” เป็นชื่อที่ใช้เรียกคดีที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นโจทก์ฟ้องผู้บุกรุกป่า ผู้บุกรุกต้องชดใช้ค่าเสียหาย  ที่ผ่านมามีเกษตรกรถูกฟ้องดำเนินคดีไปแล้วหลายสิบรายทั่วประเทศ ในช่วงปี 2549-52 ในจังหวัดตรังและพัทลุงมีราษฎรถูกดำเนินคดีไปแล้ว 13 ราย ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว 7 ราย และอยู่ระหว่างดำเนินคดี 6 ราย กรมอุทยานฯ ได้เรียกค่าเสียหาย 20.306 ล้านบาท แต่ศาลพิพากษาให้จ่าย 14.76 ล้านบาทพร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี
ประสาท มีแต้ม
    ขณะนี้รัฐบาลกำลังคิดค้นโครงการประชานิยมหลายอย่าง คาดว่าจะประกาศรายละเอียดภายในต้นปี 2554   ทั้งนี้เพื่อรองรับการเลือกตั้งใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในช่วงปลายปี ทำไปทำมานโยบายประชานิยมที่เริ่มต้นอย่างประปรายตั้งแต่รัฐบาลคึกฤทธิ์ ปราโมช (2518) และเริ่มเข้มข้นมากขึ้นในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร จะเป็นสิ่งที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้เสียแล้ว บทความนี้จะกล่าวถึงนโยบายประชานิยมในเรื่องค่าไฟฟ้าสำหรับผู้อยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้ารายย่อยไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน โครงการนี้เกิดในสมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช (2551) และใช้ต่อกันมาจนถึงรัฐบาลปัจจุบันและในอนาคตด้วย ผมได้มีโอกาสคุยกับผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อยในชนบท…
ประสาท มีแต้ม
    คำนำ เป็นที่ทราบกันทั่วไปแล้วว่า ขณะนี้สังคมไทยเรากำลังมีความขัดแย้งรุนแรงครอบคลุมเกือบทุกพื้นที่ของประเทศ จนรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปขึ้นมาหลายชุด หนึ่งในนั้นคือ คณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) โดยมีคุณอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน เมื่อกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการชุดนี้ได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นขึ้น โดยขึ้นคำขวัญซึ่งสะท้อนแนวคิดรวบยอดของการปฏิรูปประเทศไทยว่า “ลดอำนาจรัฐ ขจัดความเหลื่อมล้ำ” ผมเองได้ติดตามชมการถ่ายทอดโทรทัศน์จากรายการนี้ตั้งแต่ต้นจนจบ ได้ทราบถึงเจตนารมณ์ในการรับฟังความคิดเห็น ได้ชมวีดิทัศน์ที่บอกถึง “ความเหลื่อมล้ำ” …
ประสาท มีแต้ม
  “...ถ้าอุณหภูมิผิวน้ำทะเลสูงขึ้น 1 องศาเซียลเซียส ความถี่ที่จะเกิดพายุชนิดรุนแรงจะเพิ่มขึ้นอีก 31% ... ในปี พ.ศ. 2643 อุณหภูมิดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 2 องศา”   “ผลการวิจัยพบว่า ค่าความเสียหายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาจจะมากกว่าผลผลิตทางเศรษฐกิจของคนทั้งโลก ทั้งนี้ภายในก่อนปี พ.ศ. 2608”  
ประสาท มีแต้ม
ขณะนี้ทางรัฐบาลโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (หรือ กฟผ.) กำลังเสนอให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ขนาด 700 เมกกะวัตต์  ชาวหัวไทรที่ไม่คุ้นเคยกับเรื่องนี้อาจเกิดความสงสัยหลายอย่าง เป็นต้นว่า 1.โรงไฟฟ้าขนาด 700 เมกกะวัตต์นั้น มันใหญ่เท่าใด ไฟฟ้าที่ผลิตมาได้จะใช้ได้สักกี่ครอบครัวหรือกี่จังหวัด
ประสาท มีแต้ม
    คำว่า “ไฟต์บังคับ” เป็นภาษาในวงการมวย  หมายความว่าเมื่อนักมวยคนหนึ่ง(มักจะเป็นแชมป์) ถูกกำหนดโดยองค์กรที่เกี่ยวข้องว่า ครั้งต่อไปนักมวยคนนี้จะต้องชกกับใคร จะเลี่ยงไปเลือกชกกับคนอื่นที่ตนคิดว่าได้เปรียบกว่าไม่ได้
ประสาท มีแต้ม
  ๑.  คำนำ บทความนี้ประกอบด้วย 6 หัวข้อย่อย ท่านสามารถอ่านหัวข้อที่ 6 ก่อนก็ได้เลย เพราะเป็นนิทานที่สะท้อนปัญหาระบบการศึกษาได้ดี เรื่อง “โรงเรียนสัตว์”   ถ้าท่านรู้สึกสนุกและเห็นคุณค่าของนิทานดังกล่าว (ซึ่งทั้งแสบ ทั้งคัน) จึงค่อยกลับมาอ่านหัวข้อที่ 2  จนจบ หากท่านไม่เกิดความรู้สึกดังกล่าว  ก็โปรดโยนทิ้งไปได้เลย ๒. ปัญหาของการศึกษากระแสหลักคืออะไร
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ชื่อบทความนี้อาจจะทำให้บางท่านรู้สึกว่าเป็นการทอนพลังของการปฏิรูป ที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ แต่ผมขอเรียนว่า ไม่ใช่การทอนพลังครับ แต่เป็นการทำให้การปฏิรูปมีประเด็นที่เป็นรูปธรรม สัมผัสได้ชัดเจน สามารถปฏิบัติได้ง่าย รวดเร็ว  เมื่อเทียบกับการปฏิรูปมหาวิทยาลัย ปฏิรูปการศึกษาที่ต้องใช้เวลานานกว่าจะเห็นผล ผมได้ตรวจสอบประเด็นของการปฏิรูปของคณะกรรมการชุดที่คุณหมอประเวศ วะสี เป็นประธานแล้วพบว่า ไม่มีประเด็นเรื่องนโยบายพลังงานเลย บทความนี้จะนำเสนอให้เห็นว่า (1) ทำไมจะต้องปฏิรูปนโยบายพลังงานในทันที  (2) จะปฏิรูปไปสู่อะไร และ (3) ทำอย่างไร เริ่มต้นที่ไหนก่อน  …
ประสาท มีแต้ม
“ในการเดินทาง เรามักใช้ยานพาหนะช่วย   แต่ในการคิดเชิงวิพากษ์ (Critical) เราใช้อะไรเป็นเครื่องมือหรือเป็นพาหนะ”
ประสาท มีแต้ม
“คุณรู้ไหม คนเราสามารถคิดได้เร็วกว่าที่อาจารย์พูดถึงสี่เท่าตัว ดังนั้น เราสามารถฟังและจดโน้ตดี ๆ ได้”   1.    คำนำ ในแต่ละปีผมพบว่า นักศึกษาชั้นปีที่หนึ่ง (ซึ่งยังสด ๆ และมองชีวิตในมหาวิทยาลัยแบบสดใสอยู่) จำนวนมากใช้วิธีจดเลคเชอร์ของแต่ละวิชาลงในสมุดเล่มเดียวกัน  เมื่อสอบถามได้ความว่า ค่อยไปลอกและทั้งปรับปรุงแก้ไขลงในสมุดของแต่ละวิชาในภายหลัง  
ประสาท มีแต้ม
1.    คำนำ เราคงยอมรับร่วมกันแล้วว่า ขณะนี้สังคมไทยกำลังมีความขัดแย้งอย่างรุนแรงทั้งในระดับความคิด ความเชื่อทางการเมือง และวัฒนธรรมซึ่งนักสังคมศาสตร์จัดว่าเป็นโครงสร้างส่วนบน และความขัดแย้งทางเศรษฐกิจที่รวมศูนย์ การแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติและการทำลายสิ่งแวดล้อมซึ่งถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานของสังคม  ความขัดแย้งเชิงโครงสร้างทั้งสองระดับนี้กำลังวิกฤติสุด ๆ จนอาจพลิกผันนำสังคมไทยไปสู่หายนะได้ในอนาคตอันใกล้นี้
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ภาพที่ท่านเห็นอยู่นี้เป็นปกหน้าและหลังของเอกสารขนาดกระดาษ A4 ที่หนาเพียง 16 หน้า แม้ว่าหลายท่านอาจจะยังไม่คุ้นเคยกับศัพท์แสงที่ปรากฏ แต่ผมเชื่อว่าแววตาและท่าทางของเจ้าหนูน้อยในภาพคงทำให้ท่านรู้สึกได้ว่าเธอทึ่งและมีความหวัง บรรณาธิการกรุณาอย่าทำให้ภาพเล็กลงเพื่อประหยัดเนื้อที่ เพราะจะทำให้เราเห็นแววตาของเธอไม่สดใสเท่าที่ควร เอกสารนี้จัดทำโดย “สภาเพื่ออนาคตโลก” หรือ World Future Council (WFC) ค้นหาได้จาก www.worldfuturecouncil.org