Skip to main content
 

“...ถ้าอุณหภูมิผิวน้ำทะเลสูงขึ้น 1 องศาเซียลเซียส ความถี่ที่จะเกิดพายุชนิดรุนแรงจะเพิ่มขึ้นอีก 31% ... ในปี พ.ศ. 2643 อุณหภูมิดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 2 องศา”  

“ผลการวิจัยพบว่า ค่าความเสียหายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาจจะมากกว่าผลผลิตทางเศรษฐกิจของคนทั้งโลก ทั้งนี้ภายในก่อนปี พ.ศ. 2608”
 
1. คำนำ

ภายในระยะเวลาไม่ถึง 30 วันของปลายปี 2553 ภัยพิบัติจากธรรมชาติได้เกิดขึ้นกับประเทศไทยกว่าครึ่งประเทศ ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วมภาคอีสาน ภาคกลาง รวมทั้งพายุและดินถล่มในภาคใต้ และถ้าเราสังเกตให้ดีจะพบว่าในระหว่างที่คนไทยกำลังประสบภัยพิบัติอยู่ ในบางประเทศก็กำลังผจญกับภัยธรรมชาติอีกแบบหนึ่งคือภูเขาไฟระเบิด

บทความนี้จะไม่ขอพรรณนาถึงความเสียหายในภาพรวมที่เกิดขึ้น เพราะท่านผู้อ่านคงได้รับทราบจากสื่อต่างๆเรียบร้อยแล้ว แต่จะขอนำผลการวิจัยทั้งของนักวิทยาศาสตร์และบริษัทประกันภัย เพื่อที่จะอธิบายว่า (1) ทำไมภัยธรรมชาติ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากพายุขนาดใหญ่) จึงเกิดถี่และดุร้ายขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก และ (2) บริษัทประกันภัยที่ใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลกได้ศึกษาเรื่องค่าเสียหายจากการประกันภัยในอนาคตว่าอย่างไร
 
2. ประวัติพายุในประเทศไทย

ในช่วง 50 ปีมานี้ ประเทศไทยเราได้ประสบกับภัยจากพายุหรือวาตภัยครั้งใหญ่ ๆ จำนวน 4 ครั้ง นับตั้งแต่ (1) พายุโซนร้อน
“แฮเรียต” ที่แหลมตะลุมพุก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ในปี 2505  (2) อีก 27 ปีต่อมา พายุไต้ฝุ่น “เกย์” พัดเข้าสู่จังหวัดชุมพร ปี 2532 (3) อีก 8 ปีถัดมาอีกพายุไต้ฝุ่น “ลินดา”  พฤศจิกายน 2540 ใน 11 จังหวัดภาคใต้และภาคตะวันออก  และล่าสุด (4) พายุดีเปรสชัน เมื่อ วันที่ 1  พฤศจิกายน 2553 โดยเริ่มขึ้นฝั่งที่จังหวัดปัตตานีด้วยความเร็ว 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เข้าสงขลา พัทลุง นครศรีธรรมราช ตรัง และออกจากกระบี่เวลา 13.00 น. ของวันรุ่งขึ้นด้วยความเร็วลม  45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง  

ผมเองมีประสบการณ์ตรงถึง 3 ครั้ง คือ ครั้งแรกและสองครั้งหลัง โดยเฉพาะครั้งแรกผมอยู่ห่างจากแหลมตะลุมพุกที่มีคนเสียชีวิตและสูญหายประมาณหนึ่งพันคนเพียง 4 กิโลเมตร เกือบเอาชีวิตไม่รอดได้เห็นศพไม่น้อยกว่า 5 ศพและยังจำภาพติดตามาถึงทุกวันนี้

แม้ความเร็วลมในครั้งหลังสุดจะน้อยกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา แต่ได้สร้างความเสียหายในทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก อาจจะมากกว่าทุกครั้งที่ผ่านมาหลายเท่าตัว
           
3. ผลการวิจัยจากนักวิทยาศาสตร์ 

จากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ตีพิมพ์ในวารสาร
“Nature” (3 กันยายน 2008) พาดหัวว่า “พายุเกิดถี่ขึ้นเพราะปัญหาโลกร้อน” พร้อมเสริมว่า “ความเร็วสูงสุดของพายุโซนร้อนได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 เป็นต้นมา”  

ข้อโต้เถียงกันว่า ความแรงของลมพายุ ความถี่ในการเกิด และระยะเวลาในการเกิดพายุมีความสัมพันธ์กับภูมิอากาศของโลกที่เพิ่มสูงขึ้นหรือไม่ จากความรู้พื้นฐานทางฟิสิกส์และการศึกษาด้วยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์พบว่า   น้ำในมหาสมุทร์ที่มีอุณหภูมิสูงขึ้นจะมีพลังงานมากขึ้น แล้วพลังงานนี้จะแปรเปลี่ยนเป็นพลังงานลม

รายงานฉบับนี้ยังบอกอีกว่า
“อุณหภูมิของน้ำที่ผิวบนของทะเลที่สูงขึ้น 1 องศาเซียลเซียส จะทำให้ความถี่ในเกิดพายุ (ชนิดความเร็วระดับสูงสุดและรองสูงสุด) ถึง 31%  คือจะเพิ่มขึ้นจากปีละ 13 ครั้งเป็น 17 ครั้ง ผลการศึกษาพบว่า ในปี  ค.ศ. 2100  หรืออีก 90 ปี อุณหภูมิของน้ำทะเลจะเพิ่มเป็น 2 องศาเซียลเซียส”

ด้วยข้อมูลดังกล่าว เราคงคาดการณ์ได้เองว่า ความถี่จะเพิ่มมากขึ้นแค่ไหน ประวัติของพายุในประเทศไทยที่ได้กล่าวมาแล้วในหัวข้อที่ 2 คงพอจะเป็นพยานได้ดีถึงแนวโน้วดังกล่าว
 
4. คำเตือนจากบริษัทประกันภัย

ปัจจุบัน ภัยธรรมชาติที่มีขนาดใหญ่ ๆ ได้เกิดขึ้นมากและบ่อยกว่าเมื่อ 50 ปีที่แล้วถึง 3 เท่าตัว และถ้าสถานการณ์ยังคงเป็นเช่นนี้  บริษัทประกันภัยที่ชื่อย่อว่า
CGNU ซึ่งเป็นบริษัทประกันภัยที่ใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลกและใหญ่ที่สุดในประเทศอังกฤษ ได้ทำการศึกษาแล้วพบว่า “ความสูญเสียจากภัยธรรมชาติทั่วโลกในปี พ.ศ. 2608  จะมากกว่าผลผลิตทางเศรษฐกิจของคนทั้งโลกรวมกัน”

เฉพาะพายุเฮอริเคน
“Katrina” เพียงครั้งเดียวในปี 2548 ที่รัฐนิวออร์ลีน สหรัฐอเมริกา บริษัทประกันภัยต้องจ่ายค่าเสียหายสูงถึง 6 หมื่นล้านดอลลาร์ (ประมาณ 2 ล้านล้านบาทหรืองบประมาณของรัฐบาลไทยปี 2553) แต่ความเสียหายที่เจ้าของทรัพย์ต้องเสียไปจะมากกว่านี้ประมาณ 3- 4  เท่าตัว  

รายงานอีกฉบับหนึ่งกล่าวว่า
“ในประเทศยากจนหรือประเทศกำลังพัฒนา คนส่วนใหญ่ก็ไม่มีปัญญาจะทำประกันภัย มีเพียงน้อยกว่าร้อยละ 10 ของทรัพย์สินส่วนบุคคลเท่านั้นที่ได้ทำประกันภัย”

เจ้าของร้านขายคอมพิวเตอร์ร้านหนึ่งในหาดใหญ่บอกผมว่า
“ปกติร้านเราจะทำประกันภัยรวมทั้งน้ำท่วมทุกปี แต่มาถึงตอนต่อสัญญาปีนี้ทางบริษัทประกันได้ตัดเงื่อนไขน้ำท่วมออกไป โดยไม่บอกให้ทางร้านรู้เลย ราวกับบริษัทเป็นนกรู้แฮะ เพื่อน ๆ ร้านอื่นก็โดนแบบนี้เหมือนกัน”
 
5. ทัศนะของนักการเมืองกับโลกร้อน

สำหรับสาเหตุของโลกร้อนที่ทำให้เกิดพายุบ่อยและแรงขึ้น นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของโลกได้สรุปตรงกันว่า มาจากการใช้พลังงานหลัก 3 ชนิด คือ ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติรวมกันถึง 70% ของสาเหตุทั้งหมดที่มนุษย์ก่อขึ้น แต่ผู้นำทั้งระดับโลกและระดับประเทศไม่สนใจจะแก้ไขอย่างจริงยัง ทั้ง ๆ ที่มีทางเลือกจากพลังงานหมุนเวียน เช่น ลม แสงอาทิตย์ ชีวมวล เป็นต้น

ในเดือนมกราคม 2548 ประธานองค์กรความร่วมมือระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (
IPCC) ได้กล่าวในที่ประชุม 114 ประเทศว่า “ชาวโลกได้มาถึงระดับที่อันตรายเรียบร้อยแล้วเพราะระดับความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อันตราย” พร้อมกับเรียกร้องให้ทั่วโลกช่วยกันลด “ในทันที” แต่ไม่มีอะไรเป็นมรรคเป็นผล   แม้กระทั่งการประชุมระดับโลกที่กรุงโคเปนเฮเกนเมื่อปลายปี 2552 ก็ล้มเหลวอย่างไม่เป็นท่า
 
6. สรุป

จากที่ได้กล่าวมาแล้ว ภัยธรรมชาติเป็นผลมาจากปัญหาโลกร้อนซึ่งเป็นสาเหตุระดับโลกเพียงอย่างเดียว แต่ในความเป็นจริงแล้ว ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ระดับประเทศและระดับท้องถิ่นได้ร่วมกันก่อขึ้นมา  เช่น ทิศทางการพัฒนาที่มุ่งแต่อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจหรือจีดีพี โดยไม่คำนึงถึงสมดุลของระบบนิเวศน์  การสนใจแต่ภาคการส่งออกของกลุ่มทุนต่างชาติและนายทุนชาติส่วนน้อย ไม่สนใจปัญหาของประชาชนส่วนใหญ่ เป็นต้น

เมื่อสองภัยนี้มาประสาน คนส่วนใหญ่ก็เดือดร้อนอย่างที่ทราบกันแล้วและจะยิ่งรุนแรงกว่าเดิม จนสักวันหนึ่งแม้รัฐบาลและระบบทุนเองก็จะประสบกับภัยพิบัติเช่นกัน

แต่คราวนี้อาจจะไม่ใช่ภัยธรรมชาติแล้วนะครับ แต่จะเป็น “ภัยสังคม” ในความหมายของจริงที่เราเริ่มเห็นลางๆ กันบ้างแล้วนั่นเอง. 

 

 

บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
    “คดีโลกร้อน” เป็นชื่อที่ใช้เรียกคดีที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นโจทก์ฟ้องผู้บุกรุกป่า ผู้บุกรุกต้องชดใช้ค่าเสียหาย  ที่ผ่านมามีเกษตรกรถูกฟ้องดำเนินคดีไปแล้วหลายสิบรายทั่วประเทศ ในช่วงปี 2549-52 ในจังหวัดตรังและพัทลุงมีราษฎรถูกดำเนินคดีไปแล้ว 13 ราย ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว 7 ราย และอยู่ระหว่างดำเนินคดี 6 ราย กรมอุทยานฯ ได้เรียกค่าเสียหาย 20.306 ล้านบาท แต่ศาลพิพากษาให้จ่าย 14.76 ล้านบาทพร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี
ประสาท มีแต้ม
    ขณะนี้รัฐบาลกำลังคิดค้นโครงการประชานิยมหลายอย่าง คาดว่าจะประกาศรายละเอียดภายในต้นปี 2554   ทั้งนี้เพื่อรองรับการเลือกตั้งใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในช่วงปลายปี ทำไปทำมานโยบายประชานิยมที่เริ่มต้นอย่างประปรายตั้งแต่รัฐบาลคึกฤทธิ์ ปราโมช (2518) และเริ่มเข้มข้นมากขึ้นในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร จะเป็นสิ่งที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้เสียแล้ว บทความนี้จะกล่าวถึงนโยบายประชานิยมในเรื่องค่าไฟฟ้าสำหรับผู้อยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้ารายย่อยไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน โครงการนี้เกิดในสมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช (2551) และใช้ต่อกันมาจนถึงรัฐบาลปัจจุบันและในอนาคตด้วย ผมได้มีโอกาสคุยกับผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อยในชนบท…
ประสาท มีแต้ม
    คำนำ เป็นที่ทราบกันทั่วไปแล้วว่า ขณะนี้สังคมไทยเรากำลังมีความขัดแย้งรุนแรงครอบคลุมเกือบทุกพื้นที่ของประเทศ จนรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปขึ้นมาหลายชุด หนึ่งในนั้นคือ คณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) โดยมีคุณอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน เมื่อกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการชุดนี้ได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นขึ้น โดยขึ้นคำขวัญซึ่งสะท้อนแนวคิดรวบยอดของการปฏิรูปประเทศไทยว่า “ลดอำนาจรัฐ ขจัดความเหลื่อมล้ำ” ผมเองได้ติดตามชมการถ่ายทอดโทรทัศน์จากรายการนี้ตั้งแต่ต้นจนจบ ได้ทราบถึงเจตนารมณ์ในการรับฟังความคิดเห็น ได้ชมวีดิทัศน์ที่บอกถึง “ความเหลื่อมล้ำ” …
ประสาท มีแต้ม
  “...ถ้าอุณหภูมิผิวน้ำทะเลสูงขึ้น 1 องศาเซียลเซียส ความถี่ที่จะเกิดพายุชนิดรุนแรงจะเพิ่มขึ้นอีก 31% ... ในปี พ.ศ. 2643 อุณหภูมิดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 2 องศา”   “ผลการวิจัยพบว่า ค่าความเสียหายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาจจะมากกว่าผลผลิตทางเศรษฐกิจของคนทั้งโลก ทั้งนี้ภายในก่อนปี พ.ศ. 2608”  
ประสาท มีแต้ม
ขณะนี้ทางรัฐบาลโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (หรือ กฟผ.) กำลังเสนอให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ขนาด 700 เมกกะวัตต์  ชาวหัวไทรที่ไม่คุ้นเคยกับเรื่องนี้อาจเกิดความสงสัยหลายอย่าง เป็นต้นว่า 1.โรงไฟฟ้าขนาด 700 เมกกะวัตต์นั้น มันใหญ่เท่าใด ไฟฟ้าที่ผลิตมาได้จะใช้ได้สักกี่ครอบครัวหรือกี่จังหวัด
ประสาท มีแต้ม
    คำว่า “ไฟต์บังคับ” เป็นภาษาในวงการมวย  หมายความว่าเมื่อนักมวยคนหนึ่ง(มักจะเป็นแชมป์) ถูกกำหนดโดยองค์กรที่เกี่ยวข้องว่า ครั้งต่อไปนักมวยคนนี้จะต้องชกกับใคร จะเลี่ยงไปเลือกชกกับคนอื่นที่ตนคิดว่าได้เปรียบกว่าไม่ได้
ประสาท มีแต้ม
  ๑.  คำนำ บทความนี้ประกอบด้วย 6 หัวข้อย่อย ท่านสามารถอ่านหัวข้อที่ 6 ก่อนก็ได้เลย เพราะเป็นนิทานที่สะท้อนปัญหาระบบการศึกษาได้ดี เรื่อง “โรงเรียนสัตว์”   ถ้าท่านรู้สึกสนุกและเห็นคุณค่าของนิทานดังกล่าว (ซึ่งทั้งแสบ ทั้งคัน) จึงค่อยกลับมาอ่านหัวข้อที่ 2  จนจบ หากท่านไม่เกิดความรู้สึกดังกล่าว  ก็โปรดโยนทิ้งไปได้เลย ๒. ปัญหาของการศึกษากระแสหลักคืออะไร
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ชื่อบทความนี้อาจจะทำให้บางท่านรู้สึกว่าเป็นการทอนพลังของการปฏิรูป ที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ แต่ผมขอเรียนว่า ไม่ใช่การทอนพลังครับ แต่เป็นการทำให้การปฏิรูปมีประเด็นที่เป็นรูปธรรม สัมผัสได้ชัดเจน สามารถปฏิบัติได้ง่าย รวดเร็ว  เมื่อเทียบกับการปฏิรูปมหาวิทยาลัย ปฏิรูปการศึกษาที่ต้องใช้เวลานานกว่าจะเห็นผล ผมได้ตรวจสอบประเด็นของการปฏิรูปของคณะกรรมการชุดที่คุณหมอประเวศ วะสี เป็นประธานแล้วพบว่า ไม่มีประเด็นเรื่องนโยบายพลังงานเลย บทความนี้จะนำเสนอให้เห็นว่า (1) ทำไมจะต้องปฏิรูปนโยบายพลังงานในทันที  (2) จะปฏิรูปไปสู่อะไร และ (3) ทำอย่างไร เริ่มต้นที่ไหนก่อน  …
ประสาท มีแต้ม
“ในการเดินทาง เรามักใช้ยานพาหนะช่วย   แต่ในการคิดเชิงวิพากษ์ (Critical) เราใช้อะไรเป็นเครื่องมือหรือเป็นพาหนะ”
ประสาท มีแต้ม
“คุณรู้ไหม คนเราสามารถคิดได้เร็วกว่าที่อาจารย์พูดถึงสี่เท่าตัว ดังนั้น เราสามารถฟังและจดโน้ตดี ๆ ได้”   1.    คำนำ ในแต่ละปีผมพบว่า นักศึกษาชั้นปีที่หนึ่ง (ซึ่งยังสด ๆ และมองชีวิตในมหาวิทยาลัยแบบสดใสอยู่) จำนวนมากใช้วิธีจดเลคเชอร์ของแต่ละวิชาลงในสมุดเล่มเดียวกัน  เมื่อสอบถามได้ความว่า ค่อยไปลอกและทั้งปรับปรุงแก้ไขลงในสมุดของแต่ละวิชาในภายหลัง  
ประสาท มีแต้ม
1.    คำนำ เราคงยอมรับร่วมกันแล้วว่า ขณะนี้สังคมไทยกำลังมีความขัดแย้งอย่างรุนแรงทั้งในระดับความคิด ความเชื่อทางการเมือง และวัฒนธรรมซึ่งนักสังคมศาสตร์จัดว่าเป็นโครงสร้างส่วนบน และความขัดแย้งทางเศรษฐกิจที่รวมศูนย์ การแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติและการทำลายสิ่งแวดล้อมซึ่งถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานของสังคม  ความขัดแย้งเชิงโครงสร้างทั้งสองระดับนี้กำลังวิกฤติสุด ๆ จนอาจพลิกผันนำสังคมไทยไปสู่หายนะได้ในอนาคตอันใกล้นี้
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ภาพที่ท่านเห็นอยู่นี้เป็นปกหน้าและหลังของเอกสารขนาดกระดาษ A4 ที่หนาเพียง 16 หน้า แม้ว่าหลายท่านอาจจะยังไม่คุ้นเคยกับศัพท์แสงที่ปรากฏ แต่ผมเชื่อว่าแววตาและท่าทางของเจ้าหนูน้อยในภาพคงทำให้ท่านรู้สึกได้ว่าเธอทึ่งและมีความหวัง บรรณาธิการกรุณาอย่าทำให้ภาพเล็กลงเพื่อประหยัดเนื้อที่ เพราะจะทำให้เราเห็นแววตาของเธอไม่สดใสเท่าที่ควร เอกสารนี้จัดทำโดย “สภาเพื่ออนาคตโลก” หรือ World Future Council (WFC) ค้นหาได้จาก www.worldfuturecouncil.org