Skip to main content

1. ความเดิม


ในตอนที่ 1 ผมได้นำข้อมูลที่มาจากงานวิจัยของกระทรวงศึกษาธิการที่พบว่า นักเรียนทุกระดับชั้นของประเทศไทย ทั้งระดับ ป.6 , .3 และมัธยมปลายมีคะแนนเฉลี่ยไม่ถึงครึ่งทุกวิชา โดยวิชาที่สอบได้คะแนนน้อยที่สุดคือวิชาคณิตศาสตร์ ได้เพียงร้อยละ 29.6 เท่านั้น


ในตอนที่ 2 นี้ ผมจะกล่าวถึงปัญหาที่ได้ตั้งไว้ในชื่อบทความ ซึ่งผมคิดว่าน่าจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คุณภาพการศึกษาเราตกต่ำ นอกจากนี้ ผมได้นำเสนอความคิดเห็นและความพยายามของผู้บริหารระดับสูงสุดของมหาวิทยาลัยด้วย

2. สาเหตุของปัญหาคุณภาพตกต่ำในทัศนะของอธิการบดี


ท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (รศ.ดร. บุญสม ศิริบำรุงสุข) ได้ให้ความสนใจในการแก้ปัญหาดังกล่าว โดยเรียกประชุมอาจารย์ผู้สอนคณิตศาสตร์ทั้ง 5 วิทยาเขตพร้อมตั้งโจทย์ว่า “ทำอย่างไรจึงจะนำคณิตศาสตร์ไปสู่ศิษย์ให้ดีที่สุด”


ท่านอธิการไม่ได้วิเคราะห์เพื่อค้นหาสาเหตุหลัก-สาเหตุรองของปัญหา แต่ท่านกล่าวว่า “ปัจจุบันการสอบคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย (ทั่วประเทศ) นักเรียนมี 8 แสนคน มหาวิทยาลัยสามารถรับเด็กเข้ามา 6 แสนคนต่อปี จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะรับเด็กอ่อนเข้ามา (เด็กขี้เบื่อ สมาธิสั้น ความสามารถในการสื่อสารน้อยลง) ดังนั้น ไม่มีทางที่จะหวนกลับไปยังสิ่งแวดล้อมที่เคยผ่านมา อาจารย์ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากการปรับตัวให้เข้ากับเด็กหรือผู้เรียน”


นอกจากนี้ท่านยัง “ให้โอวาท” เพิ่มเติมอีกว่า “อาจารย์มหาวิทยาลัยเปรียบเสมือนปลั๊ก 3 ขา โดยที่ขาที่หนึ่ง เป็นผู้รู้ที่แท้จริง ลึกซึ้งในศาสตร์ และถ่ายทอดได้ ขาที่สอง รู้เทคนิคการถ่ายทอดให้เหมาะกับเด็กทั้งเก่ง ปานกลางและอ่อน ส่วนขาที่สาม คือความรู้สึกของความเป็นครู”

 

3. ปัญหาการให้คุณค่าของเวลาและทักษะการเรียนรู้


ผมเห็นด้วยกับคำกล่าวของท่าน แต่สิ่งที่ผมจะนำเสนอต่อไปนี้เป็นทัศนะของผมเอง และเป็นสิ่งที่ “ท่านยังไม่ได้พูด” ซึ่งเกี่ยวข้องกับทั้งตัวนักศึกษาและผู้บริหารที่ “ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากการปรับตัว” เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 3 ประเด็นต่อไปนี้คือ

(1) กรอบเวลามาตรฐานสำหรับการเรียนรู้ นั่นคือ จะต้องใช้เวลาเท่าใดในการจะเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง

(2) การบริหารเวลา เมื่อรู้ว่าจะต้องใช้เวลานานเท่าใดในการทำกิจกรรมใดแล้ว ผู้เรียนรวมทั้งผู้บริหารด้วย ได้บริหารหรือจัดสรรเวลาตลอดทั้งภาคการศึกษาให้สอดคล้องกับสิ่งที่ “จำเป็นต้องทำ” หรือไม่ และ

(3) ทักษะในการเรียนรู้ซึ่งรวมถึงการฟัง การจดเล็คเชอร์ ซึ่งขณะนี้พบว่า แม้แต่ในกลุ่มนักศึกษาที่ถือกันว่า “เก่ง” ที่สุดแล้ว ยังคุยกันและลุกเข้าห้องน้ำระหว่างอาจารย์บรรยายราวกับเป็นชั้นเรียนเด็กอนุบาล

 

3.1 กรอบเวลามาตรฐานสำหรับการเรียนรู้


ตามปกติ คนเราจะใช้เวลาเพื่อทำอะไรเป็นเวลานานเท่าใด เขาก็จะมีค่าเฉลี่ยของเวลากันอยู่ เช่น ต้องนอนวันละกี่ชั่วโมงจึงจะเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย เป็นต้น


ในการศึกษาก็เช่นกัน ในการเรียนระดับมหาวิทยาลัย องค์การยูเนสโก (UNESCO) ซึ่งเป็นองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐานสำหรับการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยว่า ในการฟังคำบรรยายในห้องเรียนหนึ่งชั่วโมง นักศึกษาจะต้องใช้เวลาฝึกฝน ทำแบบฝึกหัด และค้นคว้าเพิ่มเติมด้วยตนเองอีกอย่างน้อยสองชั่วโมง


ถ้านักศึกษาลงเรียนทั้งภาคการศึกษาจำนวน 18 หน่วยกิต ดังนั้นเขาจะต้องใช้เวลานอกห้องเรียนเพิ่มเติมอีก 36 ชั่วโมง รวมเวลาทั้งหมดที่ใช้ไปกับการเรียนดังกล่าวจำนวน 54 ชั่วโมง เวลาที่ว่านี้เป็นเพียงขั้นต่ำเท่านั้น นักศึกษาที่อ่อนก็ต้องใช้เวลาที่มากกว่านี้จึงจะบรรลุความสำเร็จได้


ผมคิดว่าหลักข้อนี้เป็นกรอบมาตรฐานที่จำเป็นสำหรับนักศึกษาร้อยละ 99 ที่ต้องยกเว้นไปบ้างนั้น เผื่อไว้สำหรับพวกอัจฉริยะเท่านั้น


คำถามใหญ่ ๆ ก็คือ นักศึกษาส่วนใหญ่ของเราได้ปฏิบัติตามกรอบเวลานี้หรือไม่

 

3.2 การบริหารเวลา

ในแต่ละสัปดาห์มีเวลา 7x24 = 168 ชั่วโมง ถ้าเรานอนวันละ 8 ชั่วโมง รับประทานอาหาร 3 มื้อวันละ 3 ชั่วโมง อาบน้ำ เข้าส้วม (รวมปัสสาวะ) วันละ 2 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังต้องเวลาที่ใช้ในการเดินทางอีก ถ้าเป็นนักศึกษาหอพักของมหาวิทยาลัยต่างจังหวัด คาดว่าวันละ 2 ชั่วโมง รวมสัปดาห์ละ 105 ชั่วโมง


เพียงกิจกรรม 4 อย่างที่ทุกคนไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ก็หมดเวลาไปแล้ว 105 ชั่วโมงต่อสัปดาห์หรือคิดเป็น 63% ของเวลาทั้งหมด ผมคิดว่าคุณภาพของนักศึกษาน่าจะวัดกันที่การใช้เวลาที่เหลืออีกสัปดาห์ละ 63 ชั่วโมง (หรือ 37%) ไปทำอะไรบ้าง ระหว่างเรียนในห้องเรียน ค้นคว้า ทำแบบฝึกหัด กับการทำกิจกรรมอย่างอื่นที่กลายเป็นวัฒนธรรมระหว่างรุ่นพี่กับรุ่นน้อง ที่ต้องใช้เวลาไปจำนวนมาก


ตัวอย่างที่แปลกมากสำหรับผม คือนักศึกษาชั้นปีที่สองคนหนึ่งบอกผมว่า บ่ายวันนี้จะไปรับน้องกลุ่มที่ต่างอำเภอ เป็นกิจกรรมที่ต้องไปค้างคืนที่รีสอร์ทหรูแห่งหนึ่ง (โดยเก็บเงินจากรุ่นพี่คนละมากกว่า 1,000 บาท)


ผมถามว่า “รับน้องภาควิชาเหรอ” เขาบอกไม่ใช่ รับน้องภาควิชานั้นเป็นอีกกิจกรรมหนึ่ง แต่นี่คือ ตอนเข้าปีหนึ่งมายังไม่มีภาค มีแต่กลุ่ม เช่น กลุ่มเอ นักศึกษาปีที่สองถึงสี่ที่เคยอยู่กลุ่มเอมาก่อนจะต้องไปร่วมรับน้องกลุ่มเอ


เรื่องนี้ไม่เคยมีมาก่อน นี่ยังไม่นับการรับน้องโรงเรียน น้องจังหวัด น้องโครงการทุน รับน้องตระกูล ฯลฯ ตลอดจนการจัดแข่งเชียร์กีฬาโดยไม่มีกีฬา (พิมพ์ไม่ผิดครับ!)


ถามอีกครั้งครับว่า เด็กจะเอาเวลาที่ไหนมาใช้กับกระบวนการเรียนรู้(ตำรา)ที่วัดกันด้วยเกรด

 

3.3 ทักษะในการเรียนรู้


ผมเข้าเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยต่างประเทศหลายสถาบัน เช่น มหาวิทยาลัยคอร์เนล ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงระดับโลก พบว่า เขามีเอกสารรวมทั้งมีการสอนรายวิชาที่ให้นักศึกษาได้รู้จักคุณค่าของเวลา รู้จักการบริหารเวลา รู้จักการฟัง การคิด การเขียน แม้แต่การเว้นหน้ากระดาษสักกี่นิ้วในการจดเล็คเชอร์เขาก็สอนครับ ไม่น่าเชื่อว่าเขามีความละเอียดถึงเพียงนี้


แต่ในมหาวิทยาลัยของบ้านเราผมไม่เห็นครับ

ผมเคยถามนักศึกษาแพทย์คนหนึ่งที่ได้เกรด E ในวิชาที่ผมสอนว่า “ใช้เวลาในการศึกษาวิชานี้นานเท่าใด” ผมได้คำตอบว่า 8 ชั่วโมงสุดท้ายก่อนเข้าห้องสอบเท่านั้น


นักศึกษาปีที่ 4 คณิตศาสตร์(คนหนึ่ง) มาปรึกษาผมในวิชาสัมมนา (ตามบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร) โดยไม่มีกระดาษทดเลย


ตัวอย่างที่ยกมานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการขาดทักษะการเรียนรู้และการจัดการเวลาของนักศึกษา


ใครก็ตาม (ยกเว้นพวกอัจฉริยะ) ที่ขาดความรู้ในส่วนนี้ ก็จะเป็นเหมือนนิทานอีสปเรื่อง “อึ่งอ่างกับวัว” ที่แม่อึ่งอ่างพยายามพองตัวเองให้ลูกเห็นว่า รอยเท้าของสัตว์ที่มาเหยียบลูก ๆ ของตนตายไปนั้นมีขนาดเท่าใหญ่แค่ไหน ในที่สุดก็ท้องแตกตาย

 

 

เรื่องนักศึกษาประเมินเวลาที่ใช้ในการศึกษาน้อยเกินความเป็นจริงที่เป็นมาตรฐานสากล ก็เป็นบทกลับของนิทานเรื่องนี้ คือ งานหนักเท่าแม่วัว แต่นักศึกษาเราประเมินว่าเบาเท่าอึ่งอ่าง ผมไม่เข้าใจว่าทำไมผู้มีหน้าที่จัดการศึกษาจึงคิดบทกลับของนิทานเรื่องนี้ไม่ได้

 

4. การจัดสรรเวลาของผู้บริหาร


เรื่องนี้มี 3 ประเด็นใหญ่ ๆ ซึ่งจะขอกล่าวเพียงสั้น ๆ คือ

(1) ตามปกติ การจัดการศึกษาในระบบ 2 ภาค (semester) จะต้องใช้เวลา 16-18 สัปดาห์ แต่มหาวิทยาลัยจัดเวลาให้เพียง 16 สัปดาห์เท่านั้น เมื่อหักวันหยุดพิเศษอีก ก็จะเหลือเพียง 15 สัปดาห์เท่านั้น

(2) มหาวิทยาลัยไม่ได้ให้ความสำคัญกับกรอบเวลามาตรฐานของการเรียนรู้

(3) เวลาที่ใช้ในการเรียนแต่ละคาบ 50 นาที และเวลาสำหรับการเดินทางระหว่างคาบ 10 นาที ในขณะที่พื้นที่วิทยาเขตกว้างขวาง ส่งผลให้นักศึกษาเข้าเรียนสายเป็นประจำ นักศึกษาบางคนบอกว่า “เวลาเพียง 10 นาที แม้แต่เหาะไปเรียนก็ยังไม่ทันเลยคะ”


5.
สรุป


ผมยังคงมีกำลังใจและสัญญาว่า ผมจะใช้เวลาเพื่อเขียนเป็นหนังสือคู่มือให้กับนักศึกษาได้เข้าใจและเห็นคุณค่าของเวลา รวมทั้งทักษะการเรียนรู้ด้วย แม้จะเป็นเรื่องที่ท่านอธิการ “ยังไม่ได้พูด” ก็ตามครับ

 

 

บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
    “คดีโลกร้อน” เป็นชื่อที่ใช้เรียกคดีที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นโจทก์ฟ้องผู้บุกรุกป่า ผู้บุกรุกต้องชดใช้ค่าเสียหาย  ที่ผ่านมามีเกษตรกรถูกฟ้องดำเนินคดีไปแล้วหลายสิบรายทั่วประเทศ ในช่วงปี 2549-52 ในจังหวัดตรังและพัทลุงมีราษฎรถูกดำเนินคดีไปแล้ว 13 ราย ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว 7 ราย และอยู่ระหว่างดำเนินคดี 6 ราย กรมอุทยานฯ ได้เรียกค่าเสียหาย 20.306 ล้านบาท แต่ศาลพิพากษาให้จ่าย 14.76 ล้านบาทพร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี
ประสาท มีแต้ม
    ขณะนี้รัฐบาลกำลังคิดค้นโครงการประชานิยมหลายอย่าง คาดว่าจะประกาศรายละเอียดภายในต้นปี 2554   ทั้งนี้เพื่อรองรับการเลือกตั้งใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในช่วงปลายปี ทำไปทำมานโยบายประชานิยมที่เริ่มต้นอย่างประปรายตั้งแต่รัฐบาลคึกฤทธิ์ ปราโมช (2518) และเริ่มเข้มข้นมากขึ้นในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร จะเป็นสิ่งที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้เสียแล้ว บทความนี้จะกล่าวถึงนโยบายประชานิยมในเรื่องค่าไฟฟ้าสำหรับผู้อยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้ารายย่อยไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน โครงการนี้เกิดในสมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช (2551) และใช้ต่อกันมาจนถึงรัฐบาลปัจจุบันและในอนาคตด้วย ผมได้มีโอกาสคุยกับผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อยในชนบท…
ประสาท มีแต้ม
    คำนำ เป็นที่ทราบกันทั่วไปแล้วว่า ขณะนี้สังคมไทยเรากำลังมีความขัดแย้งรุนแรงครอบคลุมเกือบทุกพื้นที่ของประเทศ จนรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปขึ้นมาหลายชุด หนึ่งในนั้นคือ คณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) โดยมีคุณอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน เมื่อกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการชุดนี้ได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นขึ้น โดยขึ้นคำขวัญซึ่งสะท้อนแนวคิดรวบยอดของการปฏิรูปประเทศไทยว่า “ลดอำนาจรัฐ ขจัดความเหลื่อมล้ำ” ผมเองได้ติดตามชมการถ่ายทอดโทรทัศน์จากรายการนี้ตั้งแต่ต้นจนจบ ได้ทราบถึงเจตนารมณ์ในการรับฟังความคิดเห็น ได้ชมวีดิทัศน์ที่บอกถึง “ความเหลื่อมล้ำ” …
ประสาท มีแต้ม
  “...ถ้าอุณหภูมิผิวน้ำทะเลสูงขึ้น 1 องศาเซียลเซียส ความถี่ที่จะเกิดพายุชนิดรุนแรงจะเพิ่มขึ้นอีก 31% ... ในปี พ.ศ. 2643 อุณหภูมิดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 2 องศา”   “ผลการวิจัยพบว่า ค่าความเสียหายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาจจะมากกว่าผลผลิตทางเศรษฐกิจของคนทั้งโลก ทั้งนี้ภายในก่อนปี พ.ศ. 2608”  
ประสาท มีแต้ม
ขณะนี้ทางรัฐบาลโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (หรือ กฟผ.) กำลังเสนอให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ขนาด 700 เมกกะวัตต์  ชาวหัวไทรที่ไม่คุ้นเคยกับเรื่องนี้อาจเกิดความสงสัยหลายอย่าง เป็นต้นว่า 1.โรงไฟฟ้าขนาด 700 เมกกะวัตต์นั้น มันใหญ่เท่าใด ไฟฟ้าที่ผลิตมาได้จะใช้ได้สักกี่ครอบครัวหรือกี่จังหวัด
ประสาท มีแต้ม
    คำว่า “ไฟต์บังคับ” เป็นภาษาในวงการมวย  หมายความว่าเมื่อนักมวยคนหนึ่ง(มักจะเป็นแชมป์) ถูกกำหนดโดยองค์กรที่เกี่ยวข้องว่า ครั้งต่อไปนักมวยคนนี้จะต้องชกกับใคร จะเลี่ยงไปเลือกชกกับคนอื่นที่ตนคิดว่าได้เปรียบกว่าไม่ได้
ประสาท มีแต้ม
  ๑.  คำนำ บทความนี้ประกอบด้วย 6 หัวข้อย่อย ท่านสามารถอ่านหัวข้อที่ 6 ก่อนก็ได้เลย เพราะเป็นนิทานที่สะท้อนปัญหาระบบการศึกษาได้ดี เรื่อง “โรงเรียนสัตว์”   ถ้าท่านรู้สึกสนุกและเห็นคุณค่าของนิทานดังกล่าว (ซึ่งทั้งแสบ ทั้งคัน) จึงค่อยกลับมาอ่านหัวข้อที่ 2  จนจบ หากท่านไม่เกิดความรู้สึกดังกล่าว  ก็โปรดโยนทิ้งไปได้เลย ๒. ปัญหาของการศึกษากระแสหลักคืออะไร
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ชื่อบทความนี้อาจจะทำให้บางท่านรู้สึกว่าเป็นการทอนพลังของการปฏิรูป ที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ แต่ผมขอเรียนว่า ไม่ใช่การทอนพลังครับ แต่เป็นการทำให้การปฏิรูปมีประเด็นที่เป็นรูปธรรม สัมผัสได้ชัดเจน สามารถปฏิบัติได้ง่าย รวดเร็ว  เมื่อเทียบกับการปฏิรูปมหาวิทยาลัย ปฏิรูปการศึกษาที่ต้องใช้เวลานานกว่าจะเห็นผล ผมได้ตรวจสอบประเด็นของการปฏิรูปของคณะกรรมการชุดที่คุณหมอประเวศ วะสี เป็นประธานแล้วพบว่า ไม่มีประเด็นเรื่องนโยบายพลังงานเลย บทความนี้จะนำเสนอให้เห็นว่า (1) ทำไมจะต้องปฏิรูปนโยบายพลังงานในทันที  (2) จะปฏิรูปไปสู่อะไร และ (3) ทำอย่างไร เริ่มต้นที่ไหนก่อน  …
ประสาท มีแต้ม
“ในการเดินทาง เรามักใช้ยานพาหนะช่วย   แต่ในการคิดเชิงวิพากษ์ (Critical) เราใช้อะไรเป็นเครื่องมือหรือเป็นพาหนะ”
ประสาท มีแต้ม
“คุณรู้ไหม คนเราสามารถคิดได้เร็วกว่าที่อาจารย์พูดถึงสี่เท่าตัว ดังนั้น เราสามารถฟังและจดโน้ตดี ๆ ได้”   1.    คำนำ ในแต่ละปีผมพบว่า นักศึกษาชั้นปีที่หนึ่ง (ซึ่งยังสด ๆ และมองชีวิตในมหาวิทยาลัยแบบสดใสอยู่) จำนวนมากใช้วิธีจดเลคเชอร์ของแต่ละวิชาลงในสมุดเล่มเดียวกัน  เมื่อสอบถามได้ความว่า ค่อยไปลอกและทั้งปรับปรุงแก้ไขลงในสมุดของแต่ละวิชาในภายหลัง  
ประสาท มีแต้ม
1.    คำนำ เราคงยอมรับร่วมกันแล้วว่า ขณะนี้สังคมไทยกำลังมีความขัดแย้งอย่างรุนแรงทั้งในระดับความคิด ความเชื่อทางการเมือง และวัฒนธรรมซึ่งนักสังคมศาสตร์จัดว่าเป็นโครงสร้างส่วนบน และความขัดแย้งทางเศรษฐกิจที่รวมศูนย์ การแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติและการทำลายสิ่งแวดล้อมซึ่งถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานของสังคม  ความขัดแย้งเชิงโครงสร้างทั้งสองระดับนี้กำลังวิกฤติสุด ๆ จนอาจพลิกผันนำสังคมไทยไปสู่หายนะได้ในอนาคตอันใกล้นี้
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ภาพที่ท่านเห็นอยู่นี้เป็นปกหน้าและหลังของเอกสารขนาดกระดาษ A4 ที่หนาเพียง 16 หน้า แม้ว่าหลายท่านอาจจะยังไม่คุ้นเคยกับศัพท์แสงที่ปรากฏ แต่ผมเชื่อว่าแววตาและท่าทางของเจ้าหนูน้อยในภาพคงทำให้ท่านรู้สึกได้ว่าเธอทึ่งและมีความหวัง บรรณาธิการกรุณาอย่าทำให้ภาพเล็กลงเพื่อประหยัดเนื้อที่ เพราะจะทำให้เราเห็นแววตาของเธอไม่สดใสเท่าที่ควร เอกสารนี้จัดทำโดย “สภาเพื่ออนาคตโลก” หรือ World Future Council (WFC) ค้นหาได้จาก www.worldfuturecouncil.org