Skip to main content

ผมได้รับเชิญจากคณะกรรมาธิการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร เพื่อ"ชี้แจงแสดงความคิดเห็น" เรื่อง ค่าการกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง เมื่อ 1 กรกฎาคม 52

คนนอกที่นอกจากผมแล้วก็มีอีก 6 -7 ท่าน ได้แก่ผู้แทนกระทรวงพลังงาน ผู้แทนบริษัทบางจาก, บริษัท ปตท. นายกสมาคมผู้ค้าน้ำมันแห่งประเทศไทย, คุณรสนา โตสิตระกูล และนักวิชาการปิโตรเลียม เป็นต้น

ในเรื่องค่าการกลั่น ประธานในที่ประชุมได้เปิดประเด็นว่า อยากจะฟังความคิดเห็นของทั้งสองฝ่าย ทั้งฝ่ายผู้ประกอบการกลั่นน้ำมัน และฝ่ายที่บอกว่าค่าการกลั่นนั้นสูงเกินไป รวมทั้งฝ่ายข้าราชการประจำด้วย

ประเด็นเรื่องราคาน้ำมันในบ้านเรานั้นมีอะไรน่าสนใจหลายอย่าง แต่ที่ผมอยากจะกล่าวถึงในวันนี้คือ ระบบการค้าที่มีผลกระทบต่อสถานีจำหน่ายน้ำมันหรือที่เราเรียกกันว่าปั๊มน้ำมัน และกระทบต่อประชาชนผู้บริโภคด้วย

ผมขอลำดับเรื่องราวเพื่อความเข้าใจง่าย ๆ ดังนี้

1. ประเทศไทยมีโรงกลั่นน้ำมันจำนวน 7 โรง มีกำลังการผลิตรวมกันวันละ 1.227 ล้านบาร์เรลต่อวัน (หรือ 195 ล้านลิตร ใกล้เคียงกับประเทศสิงคโปร์) โดยที่ 85% ของกำลังการผลิตทั้งหมดเป็นของบริษัทที่มีบริษัท ปตท. จำกัด (ที่เคยเป็นของรัฐทั้งร้อยเปอร์เซนต์) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่

2. การกำหนดราคาขายส่งหน้าโรงกลั่น มีการอ้างว่า "เป็นไปตามกลไกการตลาดที่สิงคโปร์" แต่ผมได้นำเสนอข้อมูลที่ผมศึกษาเอง (แต่ใช้ข้อมูลของทางราชการ) พบว่า "ค่าการกลั่น" ในประเทศไทยสูงกว่าของประเทศสิงคโปร์และประเทศยุโรปเยอะเลย

3. ผู้แทนบริษัทบางจากและผู้แทนกระทรวงพลังงาน ได้แย้งผมว่า การคิดค่าการกลั่นจะนำข้อมูลเพียงวันเดียวมาใช้ไม่ได้ ต้องใช้ก็มูลทั้งปี ผมได้เรียนต่อที่ประชุมก่อนแล้วว่า "เดิมทีกระทรวงพลังงานนำเสนอข้อมูลค่าการกลั่นมาตลอด แต่หลังจากปลายปี 2551 เป็นต้นมา กระทรวงฯได้ตัดทิ้งไปเฉยๆ การนำเสนอข้อมูลก็ยากต่อการค้นหามาวิเคราะห์ ข้อมูลที่ผมนำมาเสนอจึงเป็นการสุ่มทั้งเดือน "

หลังจากเลิกประชุม ผมกลับมาสุ่มข้อมูลเพิ่มเติมทั้งปี จำนวน 105 วัน พบว่าในปี 2550 ค่าการกลั่นในประเทศไทยอยู่ที่ 9.5 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในขณะที่ประเทศยุโรปอยู่ที่ 5.3 เท่านั้น เมื่อแปลงเป็นหน่วยที่คนไทยคุ้นเคยแล้วพบว่า ค่าการกลั่นของไทยแพงกว่าลิตรละเกือบหนึ่งบาท

4. การกำหนดราคาน้ำมัน รัฐบาลไทยไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมแต่ประการใด คงใช้คาถาเดิมว่า "เป็นตามกลไกการตลาด" แต่ความเป็นจริงแล้วกลับแพงกว่าตลาดของโลกเสียอีก

การที่รัฐบาลไทยปล่อยให้บริษัทที่มีกำลังการผลิตอยู่ในมือถึง 85% เป็นผู้กำหนดราคาเอง แล้วคาดหวังว่าจะให้เป็นตลาดเสรีนั้น เป็นไปได้หรือ

นี่คือ "ระบบทุนนิยมผูกขาด" ชัดเจนครับ

ทั้งผู้แทนบริษัทน้ำมันและผู้แทนกระทรวงพลังงานกล่าวตรงกันว่า การกำหนดราคาน้ำมันแบบ "บวกต้นทุน (cost plus)" นั้นไม่สามารถทำได้ เพราะแต่ละโรงกลั่นซื้อน้ำมันมาจากหลายแหล่ง แต่ละแหล่งราคาไม่เท่ากัน และถ้ามีการกำหนดราคาขายต่ำกว่าในตลาดโลก ผู้ค้าก็จะส่งออกไปขายต่างประเทศ ทำให้คนไทยไม่มีน้ำมันใช้ได้

น่าสงสารจริง ๆ คนไทยเรา
ต่อไปเป็นปัญหาของปั๊มน้ำมันครับ

5. ผมได้เรียนต่อที่ประชุมเชิงตั้งคำถามว่า "ในบางเดือนค่าการตลาดอยู่ที่ 1.42 บาทต่อลิตร แต่บางเดือน (ขอย้ำว่าทั้งเดือนไม่ใช่บางวัน) ค่าการตลาดสูงถึง 3.10 บาท โดยไม่มีกลไกใดๆ มาควบคุมเช่นกัน ถ้า 1.42 บาทต่อลิตรมีกำไร แล้ว 3.10 บาทต่อลิตรจะเรียกว่าอะไร แต่ละเดือนมีการใช้น้ำมันเกือบ 100 ล้านลิตร คิดเป็นเงินเท่าไหร่"

ค่าการตลาด คือรายได้ของผู้ค้าน้ำมัน(ทั้งรายใหญ่ขายส่งและเจ้าของปั๊มรวมกัน) โดยไม่หักค่าใช้จ่ายด้านค่าแรง ค่าลงทุน เป็นต้น

6. ปัญหาของปั๊มน้ำมันที่นำเสนอโดยนายกสมาคมผู้ค้าน้ำมันฯ (คุณสมภพ ธนะธีระพงษ์) ว่า "ปั๊มน้ำมันทั่วประเทศในขณะนี้เป็นหนี้รวมกันกว่า 3 หมื่นล้านบาท" ท่าทีของคุณสมภพต้องการจะให้โรงกลั่นลดค่าการกลั่นลงมา พร้อมกล่าวขอบคุณฝ่ายที่เห็นว่า "โรงกลั่นสร้างปัญหา" ให้กับปั๊ม

เท่าที่ผมทราบ เจ้าของปั๊มน้ำมันจะมีรายได้จากการขายน้ำมันลิตรละประมาณ 30-40 สตางค์ต่อลิตร ในขณะที่ต้องลงทุนสร้างปั๊มสูงถึง 10 ถึง 30 ล้านบาท ค่าดอกเบี้ยอย่างเดียวก็ปาเข้าไปเท่าไหร่แล้ว ทางออกของเจ้าของปั๊มจึงอยู่ที่การขายอย่างอื่นที่ไม่ใช่น้ำมัน เช่น น้ำ ขนม กาแฟ ข้างแกง เป็นต้น

ผมเดาใจท่านนายกสมาคมฯว่า คงต้องการให้บริษัทผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่รวมทั้งโรงกลั่นลดกำไรของตนเองลงบ้าง แล้วมาเพิ่มรายได้ให้เจ้าของปั๊มมากขึ้นกว่าเดิม ท่านคงไม่ได้ตั้งใจจะให้ผู้บริโภคต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้นหรอก

ผมสนใจปัญหาของเจ้าของปั๊มครับ จึงลงมือค้นข้อมูลทั้งของไทยและของประเทศอังกฤษ พบว่า

7. ประเทศไทยมีจำนวนปั๊มน้ำมันมากเกินไป เข้าทำนอง "ใครใคร่ค้า ค้า" หรือ "แข่งขันโดยเสรี" ส่งผลให้ปั๊มจำนวนหนึ่งอยู่ไม่ได้

เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอังกฤษพบว่า คนไทยทั้งประเทศใช้น้ำมันประมาณ 1 ใน 3 ของคนอังกฤษ แต่มีปั๊มน้ำมันมากกว่าถึง 2 เท่าตัว

ถ้าคิดให้อังกฤษเป็นมาตรฐาน คนไทยเราก็ควรจะมีปั๊มเพียง 1 ใน 5 ของปัจจุบันก็พอ ถ้าเป็นอย่างนี้ รายได้ของปั๊มก็สูงขึ้น

ผู้บริโภคน้ำมันก็น่าจะจ่ายน้อยลง

พูดถึงจำนวนปั๊มในอังกฤษ ปัจจุบันเหลือเพียงประมาณครึ่งหนึ่งของเมื่อเกือบ 20 ปีที่แล้ว ที่หายไปส่วนมากเป็นของผู้ค้าอิสระ ในขณะที่เจ้าของซุปเปอร์มาร์เก็ตกลับมีจำนวนมากขึ้น

 

 

8. ส่วนแบ่งการตลาดของน้ำมันในบ้านเราประมาณ 80% เป็นของ 6 บริษัท คือ ปตท. (34.9%) เอสโซ่ (12.3%) เชลล์ (11.5%) เชฟรอน (11.3% คาลเท็กซ์เดิม) และบางจาก (7.6%)

ถ้าคิดภาพรวม นับจากปี 2549 ถึง 2552 จำนวนปั๊มน้ำมันในประเทศไทยหายไป 136 ปั๊ม (ปัจจุบัน 18,857 ปั๊ม) แต่ถ้าจำแนกเป็นประเภทอิสระได้หายไปถึง 311 ปั๊ม

นี่คือ ผลลัพธ์ของ "การแข่งขันโดยเสรี" โดยแท้ครับ

9. คุณรสนา ได้ตั้งคำถามโดยไม่หวังคำตอบว่า "จริงหรือไม่ที่ขณะนี้ประเทศไทยส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปได้คิดเป็นมูลค่ามากกว่าข้าวที่เป็นสินค้าเกษตรหลักของประเทศ"

ผมเช็คดูแล้วพบว่า มูลค่าการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปในปี 2551 คิดเป็นมูลค่าถึงกว่า 2 แสน 6 หมื่นล้านบาท ถ้ารวมน้ำมันดิบที่ขุดได้ในบ้านเราเข้าไปอีก 56,575 ล้านบาท ก็กว่า 3 แสนล้านบาทแล้ว

10. ในปี 2551 ประเทศไทยผลิตน้ำมันสำเร็จรูปได้ 5 หมื่นล้านลิตร โดยที่มีการใช้ภายในประเทศประมาณ 4 หมื่นล้านลิตร ส่วนต่างก็คือการส่งออก (ดูกราฟประกอบ)

 

 
11. โดยสรุป ในขณะที่คนไทยใช้น้ำมันคิดเป็นมูลค่าปีละประมาณ 1 ล้านล้านบาท (ประมาณ 11% ของรายได้ประชาชาติ) แทนที่รัฐบาลจะมีกลไกมาควบคุมพ่อค้ารายใหญ่ให้ค้าขายอย่างเป็นธรรม กลับปล่อยให้มีการผูกขาดอย่างเสรี

ขณะเดียวกัน แทนที่จะดูแลคุ้มครองผู้ประกอบการรายย่อย กลับปล่อยให้มีการแข่งขันอย่างเสรี แบบใครดีใครอยู่

เราจะเรียกว่า "หนึ่งประเทศ สองระบบ(เลว ๆ)" ได้ไหมนี่

 

 

บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
    “คดีโลกร้อน” เป็นชื่อที่ใช้เรียกคดีที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นโจทก์ฟ้องผู้บุกรุกป่า ผู้บุกรุกต้องชดใช้ค่าเสียหาย  ที่ผ่านมามีเกษตรกรถูกฟ้องดำเนินคดีไปแล้วหลายสิบรายทั่วประเทศ ในช่วงปี 2549-52 ในจังหวัดตรังและพัทลุงมีราษฎรถูกดำเนินคดีไปแล้ว 13 ราย ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว 7 ราย และอยู่ระหว่างดำเนินคดี 6 ราย กรมอุทยานฯ ได้เรียกค่าเสียหาย 20.306 ล้านบาท แต่ศาลพิพากษาให้จ่าย 14.76 ล้านบาทพร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี
ประสาท มีแต้ม
    ขณะนี้รัฐบาลกำลังคิดค้นโครงการประชานิยมหลายอย่าง คาดว่าจะประกาศรายละเอียดภายในต้นปี 2554   ทั้งนี้เพื่อรองรับการเลือกตั้งใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในช่วงปลายปี ทำไปทำมานโยบายประชานิยมที่เริ่มต้นอย่างประปรายตั้งแต่รัฐบาลคึกฤทธิ์ ปราโมช (2518) และเริ่มเข้มข้นมากขึ้นในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร จะเป็นสิ่งที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้เสียแล้ว บทความนี้จะกล่าวถึงนโยบายประชานิยมในเรื่องค่าไฟฟ้าสำหรับผู้อยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้ารายย่อยไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน โครงการนี้เกิดในสมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช (2551) และใช้ต่อกันมาจนถึงรัฐบาลปัจจุบันและในอนาคตด้วย ผมได้มีโอกาสคุยกับผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อยในชนบท…
ประสาท มีแต้ม
    คำนำ เป็นที่ทราบกันทั่วไปแล้วว่า ขณะนี้สังคมไทยเรากำลังมีความขัดแย้งรุนแรงครอบคลุมเกือบทุกพื้นที่ของประเทศ จนรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปขึ้นมาหลายชุด หนึ่งในนั้นคือ คณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) โดยมีคุณอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน เมื่อกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการชุดนี้ได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นขึ้น โดยขึ้นคำขวัญซึ่งสะท้อนแนวคิดรวบยอดของการปฏิรูปประเทศไทยว่า “ลดอำนาจรัฐ ขจัดความเหลื่อมล้ำ” ผมเองได้ติดตามชมการถ่ายทอดโทรทัศน์จากรายการนี้ตั้งแต่ต้นจนจบ ได้ทราบถึงเจตนารมณ์ในการรับฟังความคิดเห็น ได้ชมวีดิทัศน์ที่บอกถึง “ความเหลื่อมล้ำ” …
ประสาท มีแต้ม
  “...ถ้าอุณหภูมิผิวน้ำทะเลสูงขึ้น 1 องศาเซียลเซียส ความถี่ที่จะเกิดพายุชนิดรุนแรงจะเพิ่มขึ้นอีก 31% ... ในปี พ.ศ. 2643 อุณหภูมิดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 2 องศา”   “ผลการวิจัยพบว่า ค่าความเสียหายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาจจะมากกว่าผลผลิตทางเศรษฐกิจของคนทั้งโลก ทั้งนี้ภายในก่อนปี พ.ศ. 2608”  
ประสาท มีแต้ม
ขณะนี้ทางรัฐบาลโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (หรือ กฟผ.) กำลังเสนอให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ขนาด 700 เมกกะวัตต์  ชาวหัวไทรที่ไม่คุ้นเคยกับเรื่องนี้อาจเกิดความสงสัยหลายอย่าง เป็นต้นว่า 1.โรงไฟฟ้าขนาด 700 เมกกะวัตต์นั้น มันใหญ่เท่าใด ไฟฟ้าที่ผลิตมาได้จะใช้ได้สักกี่ครอบครัวหรือกี่จังหวัด
ประสาท มีแต้ม
    คำว่า “ไฟต์บังคับ” เป็นภาษาในวงการมวย  หมายความว่าเมื่อนักมวยคนหนึ่ง(มักจะเป็นแชมป์) ถูกกำหนดโดยองค์กรที่เกี่ยวข้องว่า ครั้งต่อไปนักมวยคนนี้จะต้องชกกับใคร จะเลี่ยงไปเลือกชกกับคนอื่นที่ตนคิดว่าได้เปรียบกว่าไม่ได้
ประสาท มีแต้ม
  ๑.  คำนำ บทความนี้ประกอบด้วย 6 หัวข้อย่อย ท่านสามารถอ่านหัวข้อที่ 6 ก่อนก็ได้เลย เพราะเป็นนิทานที่สะท้อนปัญหาระบบการศึกษาได้ดี เรื่อง “โรงเรียนสัตว์”   ถ้าท่านรู้สึกสนุกและเห็นคุณค่าของนิทานดังกล่าว (ซึ่งทั้งแสบ ทั้งคัน) จึงค่อยกลับมาอ่านหัวข้อที่ 2  จนจบ หากท่านไม่เกิดความรู้สึกดังกล่าว  ก็โปรดโยนทิ้งไปได้เลย ๒. ปัญหาของการศึกษากระแสหลักคืออะไร
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ชื่อบทความนี้อาจจะทำให้บางท่านรู้สึกว่าเป็นการทอนพลังของการปฏิรูป ที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ แต่ผมขอเรียนว่า ไม่ใช่การทอนพลังครับ แต่เป็นการทำให้การปฏิรูปมีประเด็นที่เป็นรูปธรรม สัมผัสได้ชัดเจน สามารถปฏิบัติได้ง่าย รวดเร็ว  เมื่อเทียบกับการปฏิรูปมหาวิทยาลัย ปฏิรูปการศึกษาที่ต้องใช้เวลานานกว่าจะเห็นผล ผมได้ตรวจสอบประเด็นของการปฏิรูปของคณะกรรมการชุดที่คุณหมอประเวศ วะสี เป็นประธานแล้วพบว่า ไม่มีประเด็นเรื่องนโยบายพลังงานเลย บทความนี้จะนำเสนอให้เห็นว่า (1) ทำไมจะต้องปฏิรูปนโยบายพลังงานในทันที  (2) จะปฏิรูปไปสู่อะไร และ (3) ทำอย่างไร เริ่มต้นที่ไหนก่อน  …
ประสาท มีแต้ม
“ในการเดินทาง เรามักใช้ยานพาหนะช่วย   แต่ในการคิดเชิงวิพากษ์ (Critical) เราใช้อะไรเป็นเครื่องมือหรือเป็นพาหนะ”
ประสาท มีแต้ม
“คุณรู้ไหม คนเราสามารถคิดได้เร็วกว่าที่อาจารย์พูดถึงสี่เท่าตัว ดังนั้น เราสามารถฟังและจดโน้ตดี ๆ ได้”   1.    คำนำ ในแต่ละปีผมพบว่า นักศึกษาชั้นปีที่หนึ่ง (ซึ่งยังสด ๆ และมองชีวิตในมหาวิทยาลัยแบบสดใสอยู่) จำนวนมากใช้วิธีจดเลคเชอร์ของแต่ละวิชาลงในสมุดเล่มเดียวกัน  เมื่อสอบถามได้ความว่า ค่อยไปลอกและทั้งปรับปรุงแก้ไขลงในสมุดของแต่ละวิชาในภายหลัง  
ประสาท มีแต้ม
1.    คำนำ เราคงยอมรับร่วมกันแล้วว่า ขณะนี้สังคมไทยกำลังมีความขัดแย้งอย่างรุนแรงทั้งในระดับความคิด ความเชื่อทางการเมือง และวัฒนธรรมซึ่งนักสังคมศาสตร์จัดว่าเป็นโครงสร้างส่วนบน และความขัดแย้งทางเศรษฐกิจที่รวมศูนย์ การแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติและการทำลายสิ่งแวดล้อมซึ่งถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานของสังคม  ความขัดแย้งเชิงโครงสร้างทั้งสองระดับนี้กำลังวิกฤติสุด ๆ จนอาจพลิกผันนำสังคมไทยไปสู่หายนะได้ในอนาคตอันใกล้นี้
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ภาพที่ท่านเห็นอยู่นี้เป็นปกหน้าและหลังของเอกสารขนาดกระดาษ A4 ที่หนาเพียง 16 หน้า แม้ว่าหลายท่านอาจจะยังไม่คุ้นเคยกับศัพท์แสงที่ปรากฏ แต่ผมเชื่อว่าแววตาและท่าทางของเจ้าหนูน้อยในภาพคงทำให้ท่านรู้สึกได้ว่าเธอทึ่งและมีความหวัง บรรณาธิการกรุณาอย่าทำให้ภาพเล็กลงเพื่อประหยัดเนื้อที่ เพราะจะทำให้เราเห็นแววตาของเธอไม่สดใสเท่าที่ควร เอกสารนี้จัดทำโดย “สภาเพื่ออนาคตโลก” หรือ World Future Council (WFC) ค้นหาได้จาก www.worldfuturecouncil.org